พิพิธภัณฑ์ตลาดเก้าห้อง


ที่อยู่:
ตลาดเก้าห้อง อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี 72150
โทรศัพท์:
0-3558-7044,081-828-8695
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวันเสาร์-อาทิตย์ มีมัคคุเทศน์น้อยนำชม กรุณาติดต่อล่วงหน้า
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2548
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์ตลาดเก้าห้อง

ชื่อผู้แต่ง: วิชญดา ทองแดง | ปีที่พิมพ์:

ที่มา: วารสารเมืองโบราณ

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์ตลาดเก้าห้อง

ตลาดเก้าห้อง อยู่ที่ อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี อดีตเคยเป็นตลาดท่าค้าขายทางน้ำที่รุ่งเรือง ของแม่น้ำสุพรรณบุรี หรือแม่น้ำท่าจีนมาก่อน เมื่อการคมนาคมทางน้ำหมดลดบทบาทลง ตลาด แห่งนี้จึงเริ่มซบเซา เหลือแต่ร่องรอยอดีตความรุ่งเรืองอาคารพาณิชย์สร้างด้วยไม้ขนาดใหญ่ ตั้งเรียงรายอยู่ริมน้ำ ตลาดแห่งนี้แม้จะไม่คึกคักเหมือนเดิมแต่ก็ยังมีผู้คนดั้งเดิมอาศัยอยู่และมีความพยายามจะ ทำให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเหมือนกับตลาดสามชุกที่อยู่ใกล้เคียง และจัดทำพิพิธภัณฑ์ตลาดเก้าห้องขึ้น เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้แวะเข้าไปชมเรื่องราวของตลาดเก้าห้องที่ผ่านกาลเวลามาเนิ่นนาน
 
ตลาดเก้าห้อง ชื่อนี้มีที่มาจากบ้านของท่านขุนกำแหง ซึ่งสร้างบ้านเรือนไทยขนาดใหญ่ขนาดเก้าห้องอยู่ฝั่งตรงข้ามกับตัวตลาด มีเรื่องเล่าว่าเจ้าของบ้านเคยจะเพิ่มหรือลดขนาดห้อง ก็จะมีอาถรรพ์ต้องเกิดเหตุไฟไหม้ทุกครั้ง จึงต้องเป็นบ้านเก้าห้องอย่างเช่นปัจจุบัน ใครอยากเห็นของจริงก็สามารถมองไปฝั่งตรงข้ามของตลาดได้ ต่อมาคนจีนค้าขายชื่อนายฮง หรือ บุญรอด เหลียงพานิชย์ ได้แต่งงานกับลูกสาวของขุนกำแหงชื่อคุณแพ และสร้างบ้านเป็นแพลอยน้ำขายของอยู่บริเวณหน้า บ้านเก้าห้อง ต่อมาในยุคที่โจรชุกชุม ตลาดเรือนแพถูกโจรปล้นทรัพย์สินและฆ่านางแพภรรยาของท่าน นายฮงจึงได้คิดแผนผังตลาดและย้ายขึ้นมาค้าขายบนบกแทนจนกลายเป็นตลาดแห่งนี้ และแต่งงานใหม่กับนางส้มจีน ปัจจุบันทายาทตระกูลเหลียงพานิชย์ก็ยังคงเป็นเจ้าของเก็บค่าเช่าอาคารตลาดเก้าห้องบริเวณตลาดอยู่ หลักฐานสำคัญของการป้องกันโจรก็คือหอดูโจรที่ท่านเจ้าของได้สร้างไว้เพื่อระวังภัยให้กับตลาดของตนเอง ตลาดเก้าห้องแบ่งเป็นสามกลุ่มคือ ตลาดบน ตลาดกลาง และตลาดล่าง
 
พิพิธภัณฑ์ตลาดเก้าห้องอยู่บริเวณตลาดล่าง ซึ่งเป็นตลาดดั้งเดิม เป็นห้องเล็กๆ 1 คูหาซึ่งคณะกรรมการการพัฒนาตลาดเก้าห้อง ได้เช่าเพื่อจัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑ์ของชาวตลาดเก้าห้องด้วยค่าเช่าเพียงเดือนละ 300 บาทเท่านั้น การจัดแสดง เมื่อเข้าไปส่วนแรกคือรูปถ่ายเก่าของชาวชุมชนตลาดเก้าห้องภาพสีซีดแทนความทรงจำเก่าๆ แต่ละครอบครัวบริจาครูปถ่ายของตน ที่ถ่ายในชุมชนจากเทศกาลงานต่างๆ อยู่ในเฟรมเดียวกัน และประดับฝาผนังไปด้วยภาพวาดฝีมือนักศึกษาวิทยาลัยช่างศิลป์ จ.สุพรรณบุรี ที่เคยมาวาดมุมต่างๆ ของตลาดเก้าห้องก่อนที่จะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเอาไว้ ตลอดจนภาพกิจกรรมและข่าวต่างๆ ของตลาดเก้าห้อง
 
สิ่งที่โดดเด่นของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก็คือเครื่องมือประกอบอาชีพต่างๆ ของคนในชุมชน ที่บอกเล่าความรุ่งเรื่องของตลาด เริ่มจากด้านซ้ายมือ จะมีตะกร้า กระเป๋า กระจาด ที่หาชมได้ยากคือที่หนีบคั้นน้ำอ้อยขนาดเล็กทำจากไม้ กระต่ายขูดมะพร้าวซ้อนสามที่เรียงขนาดตั้งแต่ใหญ่ไปจนอันเล็ก แลดูน่ารัก เครื่องทำลอดช่อง เครื่องทำขนมขุยหนู ถังไม้ กระบุง ตะกร้า กระจาด และไหขนาดต่างๆ ตรงกลางเป็นโต๊ะรับแขกทั้งด้านหน้าและด้านหลัง และตู้แสดงเงินเก่าทั้งเหรียญและธนบัตรวิทยุเก่า โทรทัศน์รุ่นที่ตัวเครื่องเป็นไม้ โต๊ะอุปกรณ์เขียงหมู มีดแบบต่างๆ 
 
ด้านขวาเป็นจำพวกเครื่องไม้เครื่องมือยุคเก่า เช่นพัดลมเก่า เตารีดเตาถ่าน กระป๋องกระติกรุ่นเก่าที่ดูหนาและทนทานกว่าของในปัจจุบัน กระดิ่งแขวนคอช้างจากเจ้าของบ้านสมาชิกตลาดเก้าห้องที่บรรพบุรุษเคยเลี้ยงช้างไว้ใช้งาน ลูกคิด และไม้ที่ถูกมาตีเป็นช่องๆ ตารางก็คือเครื่องทำเต้าหู้ขาวที่ต้องแบ่งเป็นช่องๆ นั่นเอง ส่วนกล่องไม้เล็กๆ ที่อยู่ใกล้กันก็คือเครื่องสูบลมของช่างตีเหล็ก
 
ชั้นสองของห้องแถวก็คือห้องนอน ผู้จัดได้หาเตียงยุคเก่าที่มีเสาและผ้าม่านตาพริกไทยมากางไว้จำลองเหมือนเป็นบ้านที่มีคนอาศัยอยู่จริงในสมัยก่อนด้วย ได้เข้าชมพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก็จะได้เห็นเครื่องไม้เครื่องมือแปลกๆ ได้ความรู้กลับไปด้วย
 
แต่เมื่อมาที่ตลาดเก้าห้องแล้วก็ควรจะเดินดูให้ทั่วทั้ง 3 ตลาดบน กลาง และล่าง จะทึ่งกับตลาดไม้โบราณที่มีความใหญ่โตแห่งนี้อีกทั้งชาวชุมชนยังขายขนมที่เป็นเอกลักษณ์อีกหลายชนิด อาหารอร่อยอีกหลายอย่างที่ต้องมาชิมมาเที่ยวกันในวันเสาร์อาทิตย์ หรือถ้าอยากจะดูตลาดเก้าห้องในมุมสูงก็สามารถปีนขึ้นไปดูบนหอดูโจรได้ จะพบกับวิวตลาดในมุมกว้าง เห็นบ้านเก้าห้องที่อยู่ฝั่งตรงข้ามได้อย่างชัดเจน และทึ่งกับภูมิปัญญาการสร้างหอดูโจร การเจาะช่องให้ปลายปืนสามารถลอดออกไปยิงผู้ร้ายได้
 
คุณศิริพรรณ ตันศักดิ์ดา ประธานคณะกรรมการการพัฒนาตลาดเก้าห้อง บอกว่านอกจากของเก่าที่พิพิธภัณฑ์ได้จัดแสดงไว้นั้น ท่านสามารถเดินดูพิพิธภัณฑ์ส่วนตัวตามบ้านของชาวตลาดได้ เพราะบ้านบางหลังมีของเก่าเครื่องไม้เครื่องมือแปลกๆ สินค้ายุคเก่าให้ได้ชมมากมายจนบางบ้านอาจจะมีของเยอะกว่าที่พิพิธภัณฑ์มีด้วยซ้ำ และเชิญชวนมาเที่ยวช่ วยกันเพิ่มชีวิตชีวาให้กับ ตลาดเก้าห้อง แห่งนี้ได้ทุกวันโดยเฉพาะวันเสาร์ - อาทิตย์
 
ข้อมูลจาก: สำรวจภาคสนามวันที่ 29 ธันวาคม 2552
 
 
ชื่อผู้แต่ง:
-

พิพิธภัณฑ์ตลาดเก้าห้อง

ตลาดเก้าห้องนี้มีสามตลาดสามเจ้าของอยู่ติดกัน ตลาดบนมีร้านขนมจันอับกับห้องแถวไม้สองชั้นมีหลังคาสูงคลุมเชื่อมกลางทางเดิน ตลาดกลางมีโรงสีเก่าริมน้ำ ส่วนตลาดล่างมีหอดูโจรและพิพิธภัณฑ์เป็นหมาย ส่วนชื่อตลาดเก้าห้องนั้นบ้างก็ว่ากันว่าเรียกตามบ้านเก้าห้องของขุนกำแหงฤทธิ์ คหบดีในถิ่นนี้ที่มีบ้านเรือนไทย อยู่ตรงข้ามฝั่งน้ำกับตัวตลาด ส่วนห้องแถวที่ขึ้นป้าย “พิพิธภัณฑ์ตลาดเก้าห้อง” อยู่ในพื้นที่ตลาดล่าง ใกล้ๆ กับหอดูโจรอันเป็นสถาปัตยกรรมจีนที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๗ แต่เดิมห้องแถวห้องนี้เป็นร้านขายยาโบราณ
ชื่อผู้แต่ง:
-

ข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง