พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร


ที่อยู่:
ภายในบริเวณศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณบุรี ถนนมาลัยแมน อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี 72000
โทรศัพท์:
0-3552-6211
วันและเวลาทำการ:
วันพุธ-วันอาทิตย์ (หยุดทุกวันจันทร์และวันอังคาร) วันละ 13 รอบ เริ่ม 10.00-16.00น.
ค่าเข้าชม:
คนไทย เด็ก 149 บาท ผู้ใหญ่ 299 บาท, ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 499 บาท เด็ก 299 บาท
ปีที่ก่อตั้ง:
2551

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

อุทยานมังกรสวรรค์ พิพิธภัณฑ์ลูกหลานมังกร

ชื่อผู้แต่ง: อนุชา ทรงศิริ | ปีที่พิมพ์: 08/12/2551

ที่มา: มติชน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

เปิดโลก "เมืองสุพรรณบุรี" อุทยานมังกรสวรรค์...พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 01/12/2551

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธ์มังกร งานใหม่ 'บรรหาร ศิลปอาชา'

ชื่อผู้แต่ง: สกุณา ประยูรศุข | ปีที่พิมพ์: 09-12-2551

ที่มา: มติชนรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์เมกะโพรเจ็ค

ชื่อผู้แต่ง: อู่ทอง ประศาสน์วินิจฉัย | ปีที่พิมพ์: 1 เมษายน 2552

ที่มา: เว็บไซต์จดหมายเหตุสังคม

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ดี...แต่แพง "พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร" มังกรยักษ์สุดอลังการแห่งเมืองสุพรรณ

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 9 มิ.ย. 56;09-06-2013

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์ 12

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 10 มิถุนายน 2556


ไม่มีข้อมูล

เที่ยวสุพรรณฉบับครอบครัวกระต่าย

http://supandragon.blogspot.com
ชื่อผู้แต่ง:
-

รีวิวของพิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร

พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร ก่อสร้างขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการที่มีมานาน 20 ปีระหว่างไทยกับจีน ในปีพ.ศ.2538  โดยนายบรรหาร ศิลปอาชา ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีของไทยในตอนนั้น  มีดำริให้สร้างขึ้นในบริเวณศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณบุรี ซึ่งท่านมีตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมการศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณบุรี
 
การสร้างพิพิธภัณฑ์นี้มีงบประมาณเบื้องต้น 150 ล้านบาท ได้มาจากการบริจาคของประชาชน  จากนั้นอาคารมังกรแบบจีนพ่นน้ำออกมาจากปากจึงถูกสร้างขึ้นอย่างโดดเด่นเป็นสง่า  ภายในพื้นที่ของศาลเจ้าพ่อหลักเมือง  การดำเนินงานที่นี่  มีผู้อำนวยการ พนมบุตร  จันทรโชติ  และคณะกรรมการมูลนิธิศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเป็นผู้ดูแล  ถึงแม้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เพิ่งจะเปิดให้คนเข้าชมได้ไม่นาน  โดยทำพิธีเปิดในวันที่ 24 ธันวาคม 2551   ปัจจุบันมีผู้เข้าชมเป็นจำนวนมากกว่าแสนคน   ระยะเวลาการก่อสร้างและเตรียมงานของพิพิธภัณฑ์นี้นานนับสิบปี   ผู้เข้าชมมีทุกเพศทุกวัย  กลุ่มใหญ่ที่สุดเป็นประชาชนทั่วไป  รองลงมาเป็นนักเรียนนักศึกษา  แล้วก็เป็นส่วนราชการ  การประชาสัมพันธ์มีทางเวปไซต์  แผ่นพับ  โฆษณาทางเคเบิ้ลทีวี
 
การออกแบบเป็นงานสถาปัตยกรรมรูปมังกรที่ใหญ่ที่สุดในโลก  ด้วยความยาว 100 เมตร สูง 35 เมตร และกว้าง 18 เมตร   ส่วนจัดแสดงมีชั้นเดียวในส่วนของก้อนเมฆที่รองรับตัวมังกร   การนำมังกรจีนมาเป็นสัญลักษณ์  มาจากมังกรเป็นสัตว์วิเศษตามความเชื่อของชาวจีน  ผอ.พนมบุตรอธิบายว่าถ้าเป็นมังกรจีนจะพ่นน้ำ  ถ้าเป็นมังกรของตะวันตกจะพ่นไฟ  การจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์นี้เป็นเรื่องราวประวัติศาสตร์อารยธรรมจีน  เริ่มตั้งแต่ตำนานการกำเนิดโลก  กำเนิดมนุษย์  จากนั้นจะพาไปยังอดีตในประวัติศาสตร์จีนทุกราชวงศ์ในช่วงระยะเวลายาวนานถึง 5,000 ปี  โดยเรื่องราวที่นำเสนอได้ผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยปักกิ่ง  ในส่วนของประเทศไทยที่ปรึกษาคนสำคัญได้แก่ อาจารย์วิโรจน์ ตั้งวาณิชย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมไทย – จีน   และนายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ที่ปรึกษาพิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร 
 
การเข้าชมพิพิธภัณฑ์  ได้จัดเป็นรอบ ทุกรอบจะมีมัคคุเทศก์นำชม  ในวันธรรมดาระยะเวลาการเข้าชมจะห่างกันประมาณ 1 ชั่วโมง  ถ้าเป็นวันเสาร์-อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์  แต่ละรอบจะห่างกันประมาณ 20 นาที   การจัดแสดงในแต่ละรอบใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 20 นาที  การเดินชมเป็นแบบต่อเนื่องกันไป 21 ห้อง  โดยแต่ละห้องจะมีประตูเปิด-ปิดอัติโนมัติ  ผู้เข้าชมไม่สามารถเดินย้อนกลับทางเดิม
 
ส่วนจัดแสดงทั้ง 21 ห้อง ได้แก่  ห้องที่ 1  ห้องฉายภาพยนตร์  ห้องที่ 2 ห้องเทพนิยาย (กำเนิดโลก) ห้องที่ 3 ห้องเทพนิยาย(กำเนิดมนุษย์) ห้องที่ 4 ห้องตำนาน(เสินหนิง)  ห้องที่ 5 ห้องตำนาน(ปฐมกษัตริย์)  ห้องที่ 6 ห้องราชวงศ์เซี่ย-ซาง  ห้องที่ 7 ห้องราชวงศ์โจว  ห้องที่ 8 ห้องราชวงศ์ฉิน  ห้องที่ 9 ห้องราชวงศ์ฮั่น  ห้องที่ 10 ห้องสามก๊ก  ห้องที่ 11 ห้องราชวงศ์สุย ห้องที่ 12 ห้องราชวงศ์ถัง  ห้องที่ 13 ห้องราชวงศ์ซ่งเหนือ(เปาบุ้นจิ้น)  ห้องที่ 14 ห้องราชวงศ์ซ่งใต้(งักฮุย) ห้องที่ 15 ห้องราชวงศ์หยวน  ห้องที่ 16 ห้องราชวงศ์หมิง(เจิ้งเหอ) ห้องที่ 17 ห้องราชวงศ์หมิง(เครื่องลายคราม) ห้องที่18 ห้องราชวงศ์ชิง(โรงงิ้ว-โรงฝิ่น)  ห้องที่ 19 ห้องราชวงศ์ชิง(จักรพรรดิองค์สุดท้าย) ห้องที่ 20 ห้องยุคสาธารณรัฐ  ห้องที่ 21 ห้องชาวจีนในประเทศสยาม
 
ลักษณะเฉพาะของพิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกรคือ  การเน้นใช้เทคนิคแสงสีเสียง  มาประกอบในแต่ละฉากแต่ละตอนสำคัญๆ ในแต่ละยุคสมัย  วัตถุสิ่งของที่จัดแสดงเป็นของที่ทำขึ้นใหม่ทั้งหมด  ความเก่าแก่โบราณอยู่ที่เนื้อหา  หลายฉากผู้เข้าชมจะรู้สึกเพลิดเพลิน  บางฉากมีความคุ้นเคย  บางฉากเป็นความรู้ใหม่ที่น่าสนใจ
 
ฉากที่ผู้เข้าชมต่างรู้จักได้แก่  บรรยากาศศาลไคฟงของเปาบุ้นจิ้น  ในคดีประหารราชบุตรเขย  ผู้เข้าชมจะเหมือนได้เข้าไปเป็นสักขีพยาน  ได้เห็นเปาบุ้นจิ้นโยนติ้วสั่งประหาร  พร้อมกับเห็นหน้าทุกตัวละครสำคัญของเรื่อง  ไม่ว่าจะเป็นจั่นเจา กงซุนเช่อ หวังเฉา หม่าฮั่น  หรือจะเป็นในห้องสามก๊ก  ห้องนี้ได้ใช้เทคนิคประกอบในฉากยุทธนาวีตอนโจโฉแตกทัพเรือ  ผู้เข้าชมจะได้เห็นฉากที่กองทัพเรือถูกไฟไหม้   กับเรื่องราวความรู้ใหม่เรื่องหนึ่งคือเรื่องขนมปาท่องโก๋ที่คนไทยคุ้นเคย  ขนมปาท่องโก๋มีที่มาอยู่ว่าในสมัยราชวงศ์ซ่งใต้(งักฮุย) ขุนพลผู้รักชาติ  ถูกกังฉินใส่ร้ายจนเสียชีวิตด้วยสุราพิษพระราชทาน  ชาวบ้านจึงนำขนมปาท่องโก๋หรืออิ้วจาก้วย  ทำมาจากแป้ง  มาใช้เป็นสัญลักษณ์แทนกังฉินผัวเมีย  แล้วนำมาทอดน้ำมันเอามากินขบเคี้ยวเป็นการระบายความแค้น
 
 ฉากที่สวยงามอลังการและเก็บรายละเอียดได้อย่างน่าทึ่งคือ  จักรพรรดิองค์สุดท้าย  ในห้องราชวงศ์ชิง  โดยผู้เข้าชมจะได้เห็น “ปูยี” ฮ่องเต้วัย 3 ชันษาประทับนั่งบนบัลลังก์ในฐานะโอรสแห่งสวรรค์  กับอีกฉากคือโรงงิ้วหรืออุปรากรจีนในห้องราชวงศ์ชิง  งิ้วจัดเป็นศิลปะการแสดงที่งดงาม  ได้รับการยกย่องว่าเป็นนาฏศิลป์สำคัญแขนงหนึ่งของโลก หรือจะเป็นสิ่งของที่เป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของจีน  ในห้องราชวงศ์หมิง  ได้ปรากฏเครื่องลายคราม  เครื่องกระเบื้องเคลือบสีขาวเขียนลายน้ำเงิน   
 
ในห้องสุดท้ายของการจัดแสดงคือ ห้องชาวจีนในประเทศสยาม  ห้องนี้ให้ความรู้เป็นอย่างมาก  เริ่มตั้งแต่ประวัติความเป็นมาของชาวไทยเชื้อสายจีน  เราจะได้รู้จักต้นกำเนิดของตระกูลแซ่ต่างๆ 
 
ก่อนจะเดินกลับออกไป  หลายคนสะดุดตากับร้านขายสินค้าที่ระลึก  สินค้าที่นำมาจำหน่ายที่นี่  ดูแล้วไม่ต่างกับได้ไปเที่ยวประเทศจีนแล้วซื้อของที่ระลึกกลับไปฝากญาติมิตร 
 
สำหรับศาลเจ้าพ่อหลักเมือง  ถือเป็นที่เคารพสักการะของพี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีน “เจ้าพ่อหลักเมือง” เป็นประติมากรรมสลักหินแบบนูนต่ำ  สันนิษฐานว่าเป็นรูปพระนารายณ์สี่กร  มีอายุประมาณ 1300-1400 ปี  เมื่อประมาณ 150 ปีมาแล้ว  คาดว่าชาวจีนเป็นผู้พบเจ้าพ่อหลักเมืองจมอยู่ในโคลนอยู่ริมคลอง  จึงได้อัญเชิญขึ้นพร้อมสร้างศาลให้เป็นที่ประทับตามหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์  ในบริเวณใกล้กันมีหอระฆังสัมฤทธิ์  ที่มีระฆังสำริดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย  สูง 3.47 เมตร  ปากระฆังกว้าง 2.14 เมตร  น้ำหนัก 3.28 ตัน  ส่วนศาลากลางน้ำเจ็ดชั้น  และศาลาเทียนอันเหมิน  ใช้เป็นสถานที่ประชุมคณะกรรมการศาลเจ้าพ่อหลักเมืองและใช้เป็นที่รับประทานอาหาร 
 
สาวิตรี  ตลับแป้น /ผู้เขียน /ถ่ายภาพ
ข้อมูลจาก  :  
สำรวจภาคสนามเมื่อวันที่   6  เดือนกรกฎาคม   พ.ศ.2553
 http://www.bansansuk.com/travel/seed%20varietiesDragon/ [Accessed  01/09/2010]
แผ่นพับประชาสัมพันธ์พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร  จ. สุพรรณบุรี
ชื่อผู้แต่ง:
-

ดี...แต่แพง "พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร" มังกรยักษ์สุดอลังการแห่งเมืองสุพรรณ

ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ของประเทศไทยและประเทศจีนนั้นสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ซึ่งสามารถเห็นได้จากผู้คนที่สืบเชื้อสายชาวจีนมาอยู่ในเมือง ในย่าน ในชุมชนต่างๆของเมืองไทย รวมทั้งด้านวัฒนธรรม ประเพณี แม้กระทั่งภาษา ก็เป็นสิ่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนได้ “พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร”(อุทยานมังกรสวรรค์) ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ตอกย้ำความสัมพันธ์อันยาวนานของสองชนชาติระหว่างชาวไทยกับจีน
ชื่อผู้แต่ง:
-

เที่ยวสุพรรณฉบับครอบครัวกระต่าย

พบกับการเดินทางอีกครั้งหนึ่งของกระต่ายใน“เที่ยวสุพรรณฯ ฉบับครอบครัวกระต่าย” ฉบับนี้ห่างจากการเดินทางไหว้พระ 9 วัดเพียงนิดเดียวเท่านั้น ในโอกาสที่ครอบครัวกระต่ายได้ออกเดินทางท่องเที่ยวพร้อมเพรียงกัน ซึ่งมีโอกาสเพียงนานๆ ครั้งเท่านั้น แม้จะเป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆ แต่ก็อบอุ่น และอบอวลไปด้วยไอรักที่มิอาจลืมเลือน
ชื่อผู้แต่ง:
-

พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร ย้อนอดีตสู่ตำนาน ประวัติศาสตร์จีน 5,000 ปี

ถ้าพูดถึง “พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร” แห่งเมืองสุพรรณบุรี เชื่อว่าคงมีน้อยคนนักที่ไม่รู้จักอาคารรูปทรงมังกรขนาดใหญ่ที่ตั้งตระหง่านอยู่ในบริเวณศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณบุรี และที่นี่คือจุดหมายปลายทางที่เราจะพาไปเที่ยวชมกันในคราวนี้ ถ้าพร้อมแล้วก็กระโดดขึ้นรถตามเราไปเที่ยวกันได้เลย
ชื่อผู้แต่ง:
-