โครงการอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์


ที่อยู่:
เลขที่ 185 - 191 ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม 75110
โทรศัพท์:
034-752199
วันและเวลาทำการ:
วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 15.00-22.00 น. วันเสาร์และวันอาทิตย์ 12.00-22.00 น. // ห้องนิทรรศการเปิดทุกวัน 09.00-17.00 น. (วันธรรมดา) วันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ เปิดถึงค่ำตามเวลาตลาดน้ำ โดยมีคุณป้ามาสาธิตและสอนการจักสานในห้องนิทรรศการทุกวันเสาร์-อาทิตย์
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
ปีที่ก่อตั้ง:
2551
ของเด่น:
นิทรรศการการจักสานใบมะพร้าว ภาพถ่ายวิถีชีวิตคนอัมพวาสมัยก่อน
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล

การพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการศึกษาเชิงสร้างสรรค์: พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นอัมพวาชัยพัฒนานุรักษ์ จังหวัดสมุทรสงคราม

ชื่อผู้แต่ง: ธันยพร วณิชฤทธา | ปีที่พิมพ์: 2554;2011

ที่มา: โครงการวิจัยการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการศึกษาเชิงสร้างสรรค์ ภายใต้โครงการศิลปากรพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 15 ตุลาคม 2558


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของโครงการอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์

จากชุมชนริมคลอง ผู้คนใช้เรือในการสัญจรไปมา เมื่อมีผลผลิตจำนวนมาก  ผลไม้ในสวน พืชผักต่างๆ  ได้ขนลงลำเรือมาที่ตลาดน้ำ  มาแลกเปลี่ยนซื้อขายกัน  ตลาดน้ำอัมพวาในวันนี้ ความรุ่งเรืองได้เปลี่ยนไป  บรรดาเรือมากมายส่วนใหญ่ขายอาหารเพื่อตอบสนองต่อความต้องการนักท่องเที่ยว  กุ้งหอยปูปลาอาหารทะเล ก๋วยเตี๋ยว ผัดไทย กาแฟโบราณ ผลไม้ ขนมของกินต่างๆ สองฟากฝั่งมีร้านค้าเปิดกันมากมาย  นักท่องเที่ยวหลั่งไหลมา  เรือนแถวไม้บางแห่งทำเป็นที่พักรองรับนักท่องเที่ยว
       
ตลาดน้ำยามเย็นชุมชนอัมพวาเริ่มต้นเมื่อวันแม่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2547 เป็นความคิดริเริ่มของชาวอัมพวาโดยการนำของชมรมแผงลอยอัมพวาที่เป็นเครือข่ายของสมัชชาอาหารปลอดภัยสมุทรสงคราม ต่อมาเทศบาลตำบลอัมพวาและผู้นำชุมชนจำนวนหนึ่งได้ลงทุนด้วยงบประมาณส่วนตัว ช่วงแรกมีการจัดมหกรรมอาหาร  มีเรือมาค้าขายเพียง 12 ลำ โดยต้องรับประกันรายได้ให้เรือนำสินค้ามาขายลำละ 300 บาท มาถึงวันนี้จากกระแสการท่องเที่ยวอาหาร การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และการเผยแพร่ข่าวสารของสื่อมวลชน  ทำให้ตลาดน้ำยามเย็นวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์  จึงกลายมาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอย่างเต็มรูปแบบ มีเรือขายของและเรือนำเที่ยวเป็นร้อยลำ
 
เมื่อเกิดการเติบโตอย่างรวดเร็ว ปัญหาต่างๆได้ตามมาอย่างมากมาย สถานที่จอดรถ ห้องน้ำไม่เพียงพอ ผลกระทบต่อวิถีชีวิตชาวบ้าน การนำนักท่องเที่ยวชมหิงห้อยเวลากลางคืน เสียงเครื่องยนต์เรือรบกวนความสงบเงียบของชาวบ้านริมคลอง  การจัดระเบียบทางเดินเท้าหน้าร้าน การขายที่ดินให้กับนายทุน  การรื้อและสิ่งก่อสร้างที่เป็นการทำลายอัตลักษณ์เรือนแถวไม้ริมคลอง  และยังมีความห่วงใยต่อสภาพแวดล้อม  เริ่มจากอัมพวาตลอดไปทั้งแม่น้ำแม่กลองที่สองฟากฝั่งมีรีสอร์ต ร้านอาหารผุดขึ้นมาอย่างมากมาย
 
สำหรับผู้ที่ได้ไปเยือนอัมพวา  เดินไปตามทางเท้าเลียบคลอง ด้านหนึ่งเป็นตลาดน้ำ  ด้านหนึ่งเป็นร้านค้า  สิ่งสะดุดตาเป็นห้องนิทรรศการวิถีชีวิตชาวบ้านที่น่าค้นหา  มีนักท่องเที่ยวแวะเวียนเข้าไปถ่ายรูปเป็นที่ระลึก  มุมหนึ่งมีคุณป้านั่งจักสานหมวกกะโล่  อีกมุมหนึ่งจักสานพัดใบมะพร้าว นักท่องเที่ยวสามารถไปนั่งเรียน ทดลองจักสานได้  ใกล้กันมีเปลเด็ก กรงนกคุ้ม  ห้องครัวสมัยก่อน นิทรรศการภาพถ่ายของคนรักแม่กลอง  หรือจะไปนั่งที่ร้านชานชาลา ร้านตกแต่งสวยงามแบบโบราณ  ภายในร้านจำหน่ายเครื่องดื่ม อาทิ กาแฟ ชา น้ำผลไม้ปั่น น้ำสมุนไพร น้ำอัดลม น้ำแข็งไส น้ำดื่ม และอาหารว่าง  นี้เป็นเพียงบางส่วนที่น่าสนใจ   เป็นด้านหน้าทางเข้าส่วนอื่นๆของโครงการอัมพวา ชัยพัฒนาอนุรักษ์ 
 
โครงการอัมพวา ชัยพัฒนาอนุรักษ์  ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2551  เป็นโครงการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี  มีพระราชดำริให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา นำที่ดินที่คุณประยงค์ นาคะวะรังค์ ชาวอัมพวา ได้น้อมเกล้าฯถวาย  มาดำเนินการพัฒนาให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนอัมพวา   โครงการอัมพวา ชัยพัฒนาอนุรักษ์ประกอบด้วยห้องนิทรรศการชุมชน  ลานวัฒนธรรม “นาคะวะรังค์”ร้านค้าชุมชน  ร้านชานชาลา  สวนสาธิตเกษตร
 
คุณกฤตย มีทวี  ที่ปรึกษาโครงการอัมพวา ชัยพัฒนาอนุรักษ์   ได้อธิบายการดำเนินงานโครงการฯว่า การพัฒนาไม่ได้หมายถึงการทำให้ชาวบ้านเปลี่ยนอาชีพ เปลี่ยนวิถีชีวิต  การพัฒนาจะต้องอยู่บนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเอง  โครงการทำหน้าที่เป็นผู้ให้ความรู้  ช่วยประสานงาน การดำเนินงานต่างๆ ชุมชนต้องได้ประโยชน์ 
 
ร้านค้าชุมชนที่โครงการฯ จัดทำมีประมาณ  80 ร้าน ค่าเช่าร้านถูกมาก แต่มีข้อตกลงว่าให้ขายสินค้าชุมชนและต้องมาขายทุกสัปดาห์  ทำให้ร้านค้าเกือบทั้งหมดเป็นคนในชุมชน เนื่องจากไม่มีค่าใช้จ่ายเรื่องที่พัก ส่วนผู้ซื้อก็มีส่วนกำหนดตัวสินค้า ถ้าเป็นขนมของกินที่ไม่เข้ากับบรรยากาศของอัมพวาจะขายไม่ค่อยดี ดังนั้นนักท่องเที่ยวที่เดินเข้าไปจะได้พบกับร้านจำหน่ายสินค้าชุมชน เช่น ผ้าไทย เศียรโขน ขนมไทย ส้มโอ อาหารทะเลย่าง ปลาทูแม่กลอง หมี่กรอบสมุนไพร กล้วยกวนโบราณ ผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว งานศิลปหัตถกรรมต่างๆ เป็นต้น ส่วนเรือนแถวด้านหน้า 31 ห้อง  ทางโครงการยังให้เช่าเหมือนเดิม ตอนนี้ต่างก็มีกิจการรุ่งเรือง
 
บุคลากรที่ทำงานในโครงการฯ นี้ คุณกฤตยบอกว่า ทุกคนสามารถเป็นวิทยากรได้หมด นอกเหนือจากหน้าที่หลักของแต่ละคน  เพราะโครงการฯ มีการติดต่อประสานงานกับหน่วยงาน  องค์กรท้องถิ่นและชาวสวนอยู่ตลอดเวลา  ไม่เฉพาะแต่พื้นที่ใกล้เคียง  โรงเรียนพานักเรียนมาจัดกิจกรรมทำขนมไทย มาเรียนรู้การทำนาเกลือ อย่างวันนี้ประชาคมคนรักแม่กลองได้มาจัดสัมมนาที่ลานวัฒนธรรม หัวข้อเรื่อง โอ...อัมพวา “นี่หนางามจริง...หรือ”ซึ่งในห้องนิทรรศการด้านหนึ่งประชาคมคนรักแม่กลองได้มาขอจัดนิทรรศการศิลปะ รวมภาพเขียนและภาพถ่ายเรื่อง “อัมพวา...หาย”มาจัดแสดงให้คนชม ส่วนของห้องนิทรรศการ โครงการฯมีแผนงานว่าปีหน้าจะจัดแสดงเรื่องวิถีชีวิตชาวนาเกลือของคนสมุทรสงคราม
 
บริเวณลานวัฒนธรรม “นาคะวะรังค์”โดยปกติจะมีการแสดงด้านวัฒนธรรมท้องถิ่นหมุนเวียนกันมา ได้แก่ การบรรเลงดนตรีไทย การสาธิตการจักสานจาทางมะพร้าว การสาธิตการประกอบอาหารพื้นบ้าน การเชิดหุ่นสาย การแกะหนังใหญ่ การแสดงหุ่นกระบอก การแสดงลำตัด การแสดงพวงมาลัย ฯลฯ  ผู้ที่มาพักค้างคืนตามรีสอร์ตหรือโฮมสเตย์  เจ้าของที่พักเขาจะแนะนำว่าให้ไปนั่งเล่นฟังดนตรีที่โครงการชัยพัฒนา นั่นเป็นสิ่งแสดงให้เห็นว่าโครงการได้เป็นที่ยอมรับและเป็นความภูมิใจนำเสนอของคนในชุมชน
 
การมาเที่ยวตลาดน้ำอัมพวา  ไม่ควรพลาดการนั่งเรือไปตามแม่น้ำแม่กลองยามเย็น  สองฝั่งมีบ้านริมน้ำ วัดวาอาราม ซึ่งมีความเปลี่ยนแปลงจากสมัยก่อนตรงที่มีรีสอร์ตเกิดขึ้นมากมาย  แต่ยังมีส่วนที่เป็นสวนมะพร้าวอยู่  บางช่วงจะมีนกกระยางตัวโตสีขาวบินมาเกาะกับกิ่งของต้นลำพูริมน้ำ  กลางแม่น้ำยังพอมีโพงพางอุปกรณ์ดักปลาแบบพื้นบ้านให้เห็นปักอยู่กลางแม่น้ำ  เรือท่องเที่ยวจะพาไปจนถึงส่วนกว้างของแม่น้ำ ซึ่งไปอีกไม่ไกลก็จะออกทะเล  คนขับเรือที่นี่เขาจะทำหน้าที่เป็นไกด์แนะนำสถานที่ด้วย   
 
กลับจากนั่งเรือชมวิถีชีวิตริมน้ำแม่กลองแล้ว  ตอนค่ำเดินเที่ยวเลือกรับประทานอาหารที่มีให้เลือกตามใจชอบ  ตลาดน้ำอัมพวาตอนค่ำมีแสงไฟสวยงามมีเสน่ห์อีกแบบ โดยเฉพาะเวลาขึ้นไปมองจากสะพานข้ามคลอง  ในสวนมะพร้าวของโครงการอัมพวา ชัยพัฒนาอนุรักษ์  ยังเป็นสถานที่กว้างสบายสามารถหลบความวุ่นวายจอแจของตลาด มีที่นั่งในสวนใต้ต้นมะพร้าว ครอบครัวสามารถซื้ออาหารมารับประทานร่วมกันได้  ท่ามกลางเสียงขับกล่อมของเพลงย้อนยุค
 
----------------------------------------------------
สาวิตรี  ตลับแป้น /ผู้เขียน /ถ่ายภาพ
ข้อมูลจาก  :  สำรวจภาคสนาม วันที่ 15 กันยายน 2555
----------------------------------------------------
การเดินทาง : ไปตามทางหลวงหมายเลข 35 - ใช้ทางลาดไปยัง เส้นทาง 3093/ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 325 - เลี้ยวขวา ที่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 325 สมุทรสงคราม-บางแพ ตรงไปประมาณ 6 กิโลเมตร อยู่ที่หลักกิโลเมตรที่ 36- 37 พบป้ายสีขาว ประกอบหัวโขน 3 หัว ขนาดใหญ่ เลี้ยวซ้ายเข้า อ.อัมพวา ตรงไป เจอธนาคารนครหลวงไทย
-> ขับตรงไปข้ามสะพานสูง ลงสะพานสูง เลี้ยวซ้ายเข้าวัดอัมพวันฯ ที่จอดรถเพื่อเที่ยวตลาดน้ำอัม
พวา ถ้าตรงไปอีก พบกับ อุทยาน ร. 2
-> เลี้ยวซ้าย ตรงไปสุดทางลงแม่น้ำ เป็นอาคารสีขาว เหลือง ที่ตั้งอาคารเอนกประสงค์ และท่าเรือเทศบาลอัมพวา ที่ตั้งศูนย์ประสานงานท้องเที่ยวสมุทรสงคราม
* กรณีมาจาก ถ.วิภาดี-รังสิต
ถนนวิภาวดีรังสิต - ใช้ทางลาดไปยัง ทางยกระดับอุตราภิมุข(ทางพิเศษ) - ขับต่อไปยัง เส้นทาง 3119(ทางพิเศษ) -ใช้ทางออกด้านขวา ไปยังดาวคะนอง(ทางพิเศษ) - ตัดเข้าไปยัง เส้นทาง 31/ทางพิเศษเฉลิมมหานคร - ขับต่อไปยัง เส้นทาง 35
-----------------------------------------------
อ้างอิง  :  ข้อมูลการสัมภาษณ์ วันที่ 15 กันยายน 2555
      นิศย์  สัมมาพันธ์และเอมอร ณรงค์.(2550).แนวทางพัฒนาการบริหารจัดการการท่องเที่ยว   เชิงอนุรักษ์  ณ จังหวัดสมุทรสงคราม. ว.ร่มพฤกษ์ก.พ.-พ.ค. 2550 ;25(2) : 146-184.
                แผ่นพับประชาสัมพันธ์ “อัมพวา ชัยพัฒนาอนุรักษ์”              
 
 
ชื่อผู้แต่ง:
-

รีวิวของโครงการอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์

อัมพวาเป็นชุมชนเล็กๆ ตั้งอยู่ริมน้ำ มีประวัติและมีความเป็นมาสืบทอดกันมาช้านาน ในอดีตเคยเป็นศูนย์กลางการค้าขายทางน้ำที่คับคั่ง มีตลาดน้ำ เรือนแพ และบ้านเรือนปลูกขนานไปตามแนวคลอง ซึ่งมีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาสมัยนั้นเรียกกันว่า"บางช้าง" เป็น ชุมชนริมน้ำที่ทำสวนไม้ผลและพืชผักจนมีชื่อเสียงในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาท ทองแขวงบางช้างเริ่มปรากฏมีสวนผลไม้และพืชผักที่อุดมสมบูรณ์มีความเจริญทาง ด้านเกษตรกรรมและการค้าขายจนมีตลาดเรียกว่า “ตลาดบางช้าง” เป็นตลาดน้ำขนาดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนผลผลิตจากสวนแถบบางช้างและบริเวณใกล้เคียง แถบบางช้างเป็นที่รู้จักในนาม "สวนนอก" และเปรียบเทียบกับ "สวนใน" โดยมีคำเรียกที่ว่า "บางช้างสวนนอกบางกอกสวนใน"หมาย ถึงสวนบ้านนอกคือสวนบางช้างส่วนสวนที่อยู่ในเมืองใกล้รั้ววังเจ้านายคือสวน

ในปัจจุบันวิถีชีวิตของชุมชนอัมพวาในอดีต ยังปรากฏให้เห็นและสัมผัสได้ในปัจจุบัน แม้กาลเวลาจะผ่านเลยไปแต่ภาพความทรงจำในอดีตยังคงหลงเหลือให้เห็นแม้จะลบเลือน ไปบ้างตามกาลเวลาหากแต่ชุมชนแห่งนี้ก็ยังพยายามปกปักษ์รักษาให้คงสภาพเหมือน เดิมให้ได้มากที่สุด....ภาพบ้านเรือนไม้ที่ขนานไปตามริมสองฝั่งคลอง ควบคู่ไปกับการค้าขาย และการใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย พร้อมๆ ไปกับการรักษาวัฒนธรรมรวมถึงศิลปะต่างๆ ในชุมชน ยังปรากฏให้เห็นเด่นชัด สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งดึงดูดให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศแวะ เวียนมาเยือน อัมพวาอยู่เป็นนิจ

กาลเวลาผ่านไปจากอดีตสู่ปัจจุบันวิถีชีวิตของชาวอัพวา ยังคงดำเนินไปเรื่อยๆ หากแต่วันนี้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์และพัฒนาชุมชนภายใต้ชื่อ "โครงการอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์ " เป็นโครงการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนานำที่ดินที่คุณประยงค์ นาคะวะรังค์ ชาวอัมพวาได้น้อมเกล้าฯ ถวายมาดำเนินการพัฒนาให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนอัมพวา และด้วยที่ " ชุมชนอัมพวา " เป็นชุมชนที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานที่เกี่ยวข้องกับความเป็นชาติไทย ซึ่งอนุชนรุ่นหลังสามารถหวนรำลึกและมองย้อนเห็นภาพอดีตอันรุ่งเรืองถึงความเป็นชุมชนที่มีวัฒนธรรม และประเพณีที่งดงามที่สะท้อนความเป็นไทยได้อย่างน่าภาคภูมิใจ ดังนั้น การพัฒนาและการจัดการพื้นที่แห่งนี้ จึงต้องดำเนินไปอย่างถูกต้องเหมาะสม และที่สำคัญคือ ได้รับความร่วมมือพร้อมใจจากชาวอัมพวาทุกคน การจัดการพื้นที่แห่งนี้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาคำนึงถึงความเหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวอัมพวาโดยนำหลักการพัฒนาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว "ภูมิสังคม" และ พระราชดำริ -เศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางและหลักการดำเนินงานที่สำคัญซึ่งเป้าหมายอยู่ที่การมีส่วนร่วมการร่วมมือร่วมใจระหว่างสำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาและชาวอัมพวาทุกคนในการอนุรักษ์และ ฟื้นฟูวิถีการดำรงชีวิตชุมชนอัมพวาให้สามารถอยู่ได้อย่างเข้มแข็ง เรียบง่าย ยั่งยืน และมีความสุข ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วของสังคม

ในโครงการอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์ ได้ประกอบไปด้วย ร้านค้าชุมชน อยู่ริมถนนประชาอุทิศ ใกล้สวนสาธิตการเกษตร จัดเป็นร้านค้าให้กับชุมชนๆ ในเขตเทศบาลตำบลอัมพวาเช่าพื้นที่เพื่อจำหน่าย หรือจัดแสดงสินค้า เพื่อให้ชุมชนอัมพวาได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานและสร้างรายได้ให้ชาวอัมพวา ร้านชานชาลา เป็นร้านจำหน่ายเครื่องดื่มและอาหารว่าง มีมุมจำหน่ายขอลที่ระลึกของโครงการฯ ผลิตภัณฑ์ของมูลนิธิชัยพัฒนา และผลิตภัณฑ์ของท้องถิ่น รวมทั้งเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่กิจกรรมต่างๆ ภายในโครงการฯ

ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว และกิจกรรมต่างๆของชุมชนอัมพวาซึ่งได้มีการตกแต่งภายในร้านชานชาลา ให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็นร้านสมัยโบราณ ห้องนิทรรศการชุมชน เป็นพื้นที่การจัดแสดงนิทรรศการและกิจกรรมเกี่ยวกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตชุมชนแม่กลองและอัมพวา มีการจัดรูปแบบและเนื้อหาของนิทรรศการให้มีการหมุนเวียนและสอดคล้องกับเนื้อหาการจัดกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยให้ความสำคัญกับการให้ความรู้และความเช้าใจ เกี่ยวกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตเกี่ยวกับชุมชนอัมพวา เพื่อสร้างความภาคภูมิใจแก่ชุมชน ส่งเสริมเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ความรู้ ภูมิปัญญาและผลิตภัณฑ์ของชุมชนและท้องถิ่น สวนสาธิตการเกษตรเพื่อการรียนรู้ เป็นการพื้นที่สวนผลไม้ท้องถิ่นแบบผสมผสาน เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ถึงภูมิปัญญาและวิถีชีวิตท้องถิ่นชาวอัมพวาในด้านการเกษตร โดยเฉพาะไม้ผล ซึ่งเป็นพืชทางเศรษฐกิจที่สำคัญของชาวอัมพวา ทั้งยังเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างนักวิชาการเกษตร เกษตรชาวสวนและผู้ที่สนใจ

และสุดท้าย คือ ลานวัฒนธรรมนาคะวะรังค์ เป็นลานอเนกประสงค์ใช้สำหรับจัดการแสดงและจัดกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่นลุ่มแม่น้ำแม่กลองและชุมชนชาวอัมพวา ได้แก่ การบรรเลงดนตรีไทย การสาธิตจักสานจากทางมะพร้าว สาธิตการประกอบอาหารพื้นบ้าน การเชิดหุ่นสาย การแกะหนังใหญ่ การสดงหุ่นกระบอก การแสดงลำตัด การแสดงพวงมาลัย ฯลฯ หมุนเวียนสับเปลี่ยนต่อเนื่องทุกเดือนและยังได้จัดให้มีการจำหน่ายสินค้าท้องถิ่นของอัมพวาอันหลากหลายผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์สำหรับบำรุงเส้นผมและผิวพรรณ บ้านเรือนไทย และเรือจำลอง ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว เศียรโขน ศิลปหัตถกรรมบนเปลือกไข่ ขนมเทียนสลัดงา น้ำตาลมะพร้าว และขนมไทยต่างๆ สำหรับการตั้งชื่อลานวัฒนธรรมแห่งนี้ว่า “นาคะวะรังค์” นั้น เพื่อเป็นเกียรติคุณแก่ คุณประยงค์ นาคะวะรังค์ ผู้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ชาวอัมพวา และชาวไทยที่รักวิถีชีวิตแห่งความเป็นไทย



ข้อมูลจาก แผ่นพับประชาสัมพันธ์ อัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์
สรุปความโดย วริสรา แสงอัมพรไชย

ชื่อผู้แต่ง:
-