โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
ในอดีต คนไทยมีความผูกพันกับสายน้ำเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการใช้น้ำในการอุปโภค หรือบริโภค ด้วยเหตุนี้เองคนไทยจึงต้องมีเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์จากน้ำ ไม่ว่าจะเป็นขันตักน้ำ กระบุงที่ใช้หาบน้ำ โอ่งน้ำ เป็นต้น ซึ่งนอกจากเครื่องมือเครื่องใช้เหล่านี้แล้ว ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์จากน้ำอีกเช่นเดียวกัน นั่นก็คือ เรือ เมื่อครั้งที่ประเทศไทยยังไม่มีถนนหนทางที่สะดวกสบายอย่างเช่นทุกวันนี้ การคมนาคมในสมัยนั้นจะใช้เส้นทางน้ำ โดยการพายเรือเป็นหลัก ซึ่งเรือไทยในสมัยก่อนมีอยู่หลากหลายรูปแบบตามประโยชน์ใช้สอยที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเรือที่ใช้สำหรับขนส่งสินค้า หรือใช้เพื่อการเดินทาง ปัจจุบันเรือไทยนั้นแทบจะไม่มีหลงเหลือให้เห็น เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาการและเทคโนโลยีต่างๆ ทำให้มีการสร้างเส้นทางเพื่อการคมนาคมเพิ่มขึ้นไม่ว่าจะเป็นทางบกหรือทางอากาศ ทำให้เรือไทยลดจำนวนและบทบาทลง ด้วยเหตุนี้คุณอนันต์ชัย ชุนนิตินันท์ เล็งเห็นถึงความสำคัญที่จะอนุรักษ์เรือไทยโบราณไว้ จึงมีความคิดที่จะเปิดพิพิธภัณฑ์เรือไทยจำลองขึ้น เพื่อที่จะอนุรักษ์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยในแขนงนี้ให้เป็นที่รู้จัก โดยมีจุดเริ่มต้นจากการที่คุณอนันต์ชัยเป็นผู้ที่ชอบสะสมเรือโบราณมาตั้งแต่เด็กแล้ว คุณอนันต์ชัยจึงเรียนเกี่ยวกับการทำเรือจำลอง เมื่อคุณอนันต์ชัยมีเรือจำลองที่ทำขึ้นเองเยอะมากขึ้นจึงได้เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ชั้นล่างบริเวณที่พักของครอบครัว แม้จะมีขนาดไม่ใหญ่มากนักแต่บรรดาเรือจำลองเล็กๆ ต่างๆ ที่จัดแสดงไว้ ก็ทำให้ผู้ชมตื่นตาตื่นใจและอดไม่ได้ที่จะเดินเข้าไปดูใกล้ๆ การจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์อนันต์ชัยไทยโบท แบ่งออกเป็นทั้งหมด 4 ส่วน ได้แก่ 1. วิวัฒนาการเรือไทย โดยแสดงตั้งแต่วิวัฒนาการในยุคแรกๆ ที่ใช้วัสดุจากธรรมชาติที่ลอยน้ำได้ไม่ว่าจะเป็นพืชชนิดต่างหรือท่อนไม้ การใช้ท่อนไม้ใหญ่ท่อนเดียว การนำท่อนไม้หลายๆท่อนมาผูกเป็นแพ จนมาถึงในระยะสุดท้ายที่มีการนำไม้มาขุดทำเป็นเรือขุด 2. ขั้นตอนการสร้างเรือขุด เรือจำลองของพิพิธภัณฑ์อนันต์ชัยไทยโบทจะสร้างมาจากไม้สักทั้งหมด โดยการแสดงวิธีการขุดเรือนั้นจะแสดงโดยเริ่มตั้งแต่ตอนที่ยังเป็นเพียงท่อนไม้อยู่จนกระทั่งเสร็จสมบูรณ์เป็นตัวเรือ 3. เรือไทยพื้นบ้าน ในหัวข้อนี้จะแสดงเรือทั้งในอดีตและปัจจุบันทั้งหมอ 20 รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเรือเข็ม เรือมาดประทุน เรือชะล่า เรือกระแชง เรือข้างกระดาน เรือเอี้ยมจุ๊น เรือผีหลอก เรือบด เป็นต้น 4.วิถีชีวิตชาวน้ำ หัวข้อนี้จะมีสองส่วนด้วยกันคือ ชุดวิถีชาวน้ำ 1 และชุดวิถีชาวน้ำ 2 บริเวณหน้าบ้านคุณอนันต์ชัยทำเป็นมุมทำงานเล็กๆ ด้านข้างผนังมีแผงอุปกรณ์การทำเรือจำลอง ซึ่งน่าสนใจไม่แพ้เรือจำลอง เพื่อไปแล้วไม่เสียเที่ยว ผู้ชมที่สนใจควรจะติดต่อนัดหมายล่วงหน้า เพื่อความสะดวกของเจ้าของในการเตรียมตัวให้ความรู้ นอกจากนี้บางครั้งพิพิธภัณฑ์อาจจะนำนิทรรศการไปจัดแสดงนอกสถานที่ เช่น เมื่อต้นปี 2553 พิพิธภัณฑ์ได้มีโอกาสไปจัดแสดงที่อาคารชัยพัฒนานุรักษ์ ตลาดน้ำอัมพวา ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ชมจำนวนมาก ข้อมูลจาก: แผ่นพับประชาสัมพันธ์พิพิธภัณฑ์อนันตชัยไทยโบ๊ท
หมายเหตุ ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ได้ย้ายที่ทำการจากบ้านพักในเขตหนองแขม กรุงเทพฯ ไปยังโครงการอัมพวาชัยพัฒนานุรักษ์ จ.สมุทรสงคราม
จ. สมุทรสงคราม
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของพิพิธภัณฑ์อนันต์ชัยไทยโบท
ในอดีต คนไทยมีความผูกพันกับสายน้ำเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการใช้น้ำในการอุปโภค หรือบริโภค ด้วยเหตุนี้เองคนไทยจึงต้องมีเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์จากน้ำ ไม่ว่าจะเป็นขันตักน้ำ กระบุงที่ใช้หาบน้ำ โอ่งน้ำ เป็นต้น ซึ่งนอกจากเครื่องมือเครื่องใช้เหล่านี้แล้ว ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์จากน้ำอีกเช่นเดียวกัน นั่นก็คือ เรือ
เมื่อครั้งที่ประเทศไทยยังไม่มีถนนหนทางที่สะดวกสบายอย่างเช่นทุกวันนี้ การคมนาคมในสมัยนั้นจะใช้เส้นทางน้ำ โดยการพายเรือเป็นหลัก ซึ่งเรือไทยในสมัยก่อนมีอยู่หลากหลายรูปแบบตามประโยชน์ใช้สอยที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเรือที่ใช้สำหรับขนส่งสินค้า หรือใช้เพื่อการเดินทาง
ปัจจุบันเรือไทยนั้นแทบจะไม่มีหลงเหลือให้เห็น เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาการและเทคโนโลยีต่างๆ ทำให้มีการสร้างเส้นทางเพื่อการคมนาคมเพิ่มขึ้นไม่ว่าจะเป็นทางบกหรือทางอากาศ ทำให้เรือไทยลดจำนวนและบทบาทลง ด้วยเหตุนี้คุณอนันต์ชัย ชุนนิตินันท์ เล็งเห็นถึงความสำคัญที่จะอนุรักษ์เรือไทยโบราณไว้ จึงมีความคิดที่จะเปิดพิพิธภัณฑ์เรือไทยจำลองขึ้น เพื่อที่จะอนุรักษ์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยในแขนงนี้ให้เป็นที่รู้จัก โดยมีจุดเริ่มต้นจากการที่คุณอนันต์ชัยเป็นผู้ที่ชอบสะสมเรือโบราณมาตั้งแต่เด็กแล้ว คุณอนันต์ชัยจึงเรียนเกี่ยวกับการทำเรือจำลอง เมื่อคุณอนันต์ชัยมีเรือจำลองที่ทำขึ้นเองเยอะมากขึ้นจึงได้เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ชั้นล่างบริเวณที่พักของครอบครัว แม้จะมีขนาดไม่ใหญ่มากนักแต่บรรดาเรือจำลองเล็กๆ ต่างๆ ที่จัดแสดงไว้ ก็ทำให้ผู้ชมตื่นตาตื่นใจและอดไม่ได้ที่จะเดินเข้าไปดูใกล้ๆ การจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์อนันต์ชัยไทยโบท แบ่งออกเป็นทั้งหมด 4 ส่วน ได้แก่
1. วิวัฒนาการเรือไทย โดยแสดงตั้งแต่วิวัฒนาการในยุคแรกๆ ที่ใช้วัสดุจากธรรมชาติที่ลอยน้ำได้ไม่ว่าจะเป็นพืชชนิดต่างหรือท่อนไม้ การใช้ท่อนไม้ใหญ่ท่อนเดียว การนำท่อนไม้หลายๆท่อนมาผูกเป็นแพ จนมาถึงในระยะสุดท้ายที่มีการนำไม้มาขุดทำเป็นเรือขุด
2. ขั้นตอนการสร้างเรือขุด เรือจำลองของพิพิธภัณฑ์อนันต์ชัยไทยโบทจะสร้างมาจากไม้สักทั้งหมด โดยการแสดงวิธีการขุดเรือนั้นจะแสดงโดยเริ่มตั้งแต่ตอนที่ยังเป็นเพียงท่อนไม้อยู่จนกระทั่งเสร็จสมบูรณ์เป็นตัวเรือ
3. เรือไทยพื้นบ้าน ในหัวข้อนี้จะแสดงเรือทั้งในอดีตและปัจจุบันทั้งหมอ 20 รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเรือเข็ม เรือมาดประทุน เรือชะล่า เรือกระแชง เรือข้างกระดาน เรือเอี้ยมจุ๊น เรือผีหลอก เรือบด เป็นต้น
4.วิถีชีวิตชาวน้ำ หัวข้อนี้จะมีสองส่วนด้วยกันคือ ชุดวิถีชาวน้ำ 1 และชุดวิถีชาวน้ำ 2
บริเวณหน้าบ้านคุณอนันต์ชัยทำเป็นมุมทำงานเล็กๆ ด้านข้างผนังมีแผงอุปกรณ์การทำเรือจำลอง ซึ่งน่าสนใจไม่แพ้เรือจำลอง เพื่อไปแล้วไม่เสียเที่ยว ผู้ชมที่สนใจควรจะติดต่อนัดหมายล่วงหน้า เพื่อความสะดวกของเจ้าของในการเตรียมตัวให้ความรู้ นอกจากนี้บางครั้งพิพิธภัณฑ์อาจจะนำนิทรรศการไปจัดแสดงนอกสถานที่ เช่น เมื่อต้นปี 2553 พิพิธภัณฑ์ได้มีโอกาสไปจัดแสดงที่อาคารชัยพัฒนานุรักษ์ ตลาดน้ำอัมพวา ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ชมจำนวนมาก
ข้อมูลจาก: แผ่นพับประชาสัมพันธ์พิพิธภัณฑ์อนันตชัยไทยโบ๊ท
หมายเหตุ ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ได้ย้ายที่ทำการจากบ้านพักในเขตหนองแขม กรุงเทพฯ ไปยังโครงการอัมพวาชัยพัฒนานุรักษ์ จ.สมุทรสงคราม
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
เรือ เรือจำลอง เรือไทย
พิพิธภัณฑ์บ้านเขายี่สาร
จ. สมุทรสงคราม
อู่เรือจิ๋วบ้านปากมาบ
จ. สมุทรสงคราม
พิพิธภัณฑ์เมื่อวันก่อน
จ. สมุทรสงคราม