พิพิธภัณฑ์ขนมไทย


ที่อยู่:
อาคารอเนกประสงค์ เทศบาลตำบลอัมพวา 17 ถนนโชติธำรงค์ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม 75110 (หมายเหตุ:พิพิธภัณฑ์ขนมไทย ได้ย้ายที่ตั้งใหม่ไปอยู่ในบริเวณอุทยาน ร.2)
โทรศัพท์:
034-751351
วันและเวลาทำการ:
ปิดถาวร (เดิมเปิดวันศุกร์ 13.00-19.00น. เสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ 10.00-19.00น.)
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าเข้าชม
อีเมล:
peerawong@hotmail.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2551
ของเด่น:
ขนมไทยจำลอง
สถานะ:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

เปิด"พิพิธภัณฑ์ขนมไทย"อัมพวา ชูต้นแบบวิสาหกิจชุมชน

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 29/09/2551

ที่มา: มติชนรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ตามล่าขนมไทย

ชื่อผู้แต่ง: สร้าง บุญสอง | ปีที่พิมพ์: 04-10-2551

ที่มา: มติชนรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

สัมผัส “พิพิธภัณฑ์ขนมไทยอัมพวา” แนวรบใหม่ที่ยั่งยืน

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2551

ที่มา: นิตยสาร SMEs Today

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

เปิดตำนานขนมไทย ตามรอยพระราชนิพนธ์ที่อัมพวา

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 9 ก.ย. 2551;09-09-2008

ที่มา: ผู้จัดการรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 29 สิงหาคม 2557

การพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการศึกษาเชิงสร้างสรรค์: พิพิธภัณฑ์ขนมไทย จังหวัดสมุทรสงคราม

ชื่อผู้แต่ง: พีรเทพ รุ่งคุณากร | ปีที่พิมพ์: 2554;2011

ที่มา: โครงการวิจัยการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการศึกษาเชิงสร้างสรรค์ ภายใต้โครงการศิลปากรพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 15 ตุลาคม 2558


ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์ขนมไทย

พิพิธภัณฑ์ขนมไทย ตั้งอยู่บริเวณตลาดน้ำอัมพวา ได้รับการสนับสนุนงบประมาณการจัดแสดงจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กระทรวงอุตสาหกรรม   เปิดให้บริการแก่นักท่องเที่ยวเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2551 ที่ผ่านมา วัตถุประสงค์คือเพื่อสร้างองค์ความรู้ อนุรักษ์ สืบสานความรู้เกี่ยวกับขนมไทย เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับผู้ที่สนใจ  และเพื่อเป็นแรงผลักดันให้เกิดแรงบันดาลใจแก่ประชาชนในการคิดทำกิจการหรือสร้างแรงบันดาลในการการสร้างผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องกับขนมไทยที่มีอยู่แล้ว
 
การจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์นั้น แยกประเภทของขนมไทยดังนี้  คือ  ขนมในสมัยสุโขทัย ซึ่งมีขนมน้อยอย่างมาก  ขนมที่ได้นำเสนอในพิพิธภัณฑ์เป็นขนมในพิธีกรรมสำคัญของสมัยนั้น คือ  ไข่กบ(เม็ดแมงลัก)  นกปล่อย(ลอดช่อง)  บัวลอย(ข้าวตอก)  อ้ายตื้อ(ข้าวเหนียวดำ)  ขนมต้มขาว-ต้มแดง ซึ่งเป็นขนมสำหรับเซ่นไหว้เทพเจ้าแบบพราหมณ์   ขนมในสมัยอยุธยา  “ยุคทองของขนม”  ที่มีการนำวิธีการและการทำขนมของฝรั่งโปรตุเกสมาประยุกต์ เช่น ทองหยอด ฝอยทอง ขนมหม้อดิน  เป็นขนมที่มีแนวคิดว่า ต้องทานให้หมดภายในวันเดียวเพราะเป็นขนมที่ทำจากกะทิ น้ำตาล แล้วใส่ผลไม้อย่างกล้วย ฟักทอง มันเทศ  ในอดีตใส่ในภาชนะหม้อดิน  จำพวกขนมที่จัดแสดงเช่น ฟักทองแกงบวช  กล้วยบวชชี  มันต้มน้ำตาล ข้าวเหนียวถั่วดำ บัวลอยไข่หวาน จัดวางขนมไว้บนเคาน์เตอร์และมีในถ้วยเล็กๆ ให้เห็นรายละเอียดของขนมด้วย
 
ขนมในขวดโหล ต้องเป็นขนมแห้งและสามารถเก็บได้นาน เช่น กรอบเค็ม  อาลัว  ขนมกง ทองม้วน ขนมข้าวตู  ขนมข้าวตัง  ขนมข้าวตอกตั้ง  ถั่วทอด ดอกจอก กรรมวิธีในการทำก็จะเป็นการทอด อบ กวน ในอดีตส่วนใหญ่ขนมเหล่านี้จะขายในขวดโหลใหญ่  ขนมน้ำแข็งใส   ส่วนประกอบของขนมก็จะเอาใส่โถแก้วใสกลมๆซ้อนกันไว้ มีทั้ง ทับทิมกรอบ  มันเทศ-ฟักทอง-ฟัก-กล้วยเชื่อมหวานสีสวย  ลูกจาก ลูกชิด  ลอดช่อง เผือกต้ม ข้าวเหนียวดำ ข้าวต้มน้ำวุ้น  รากบัว เม็ดแปะก๊วย เฉาก๊วย  ขนมในรถเข็น  ขนมแห้งกินง่ายไม่ต้องมีภาชนะก็ได้ บริการถึงหน้าบ้านท่าน  เช่น เปียกปูน บ้าบิ่น ขนมชั้น ตะโก้ กล้วยไข่เชื่อม ข้าวเกรียบปากหม้อ สาคูไส้หมู  สังขยา ซึ่งขนมแต่ละอย่างก็เก็บได้ไม่นานอาจจะ 1-2 วันเท่านั้น  ขนมมงคล   ในงานมงคลของไทย นำไปใช้ประกอบเครื่องคาวหวาน ถวายพระ เลี้ยงแขก ในงานพิธีมงคลต่างๆ เช่น งานมงคลสมรส งานบวช หรืองานขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น โดยจะต้องเลือกใช้เฉพาะขนมไทยที่มีชื่อไพเราะและเป็นสิริมงคล ดังเช่น  "ขนมมงคล 9 อย่าง" คือ ทองหยิบ  ขนมชั้น ฝอยทอง ทองหยอด  ทองเอก เม็ดขนุน  จ่ามงกุฎ  ถ้วยฟู เสน่ห์จันทน์   ขนมในหาบ  เป็นการจัดแสดงว่าเมื่อก่อนการขายขนมนั้นนอกจากขายในรถเข็นแล้ว ยังมีพ่อค้าแม่ค้าที่หาบขนมขายด้วย ขนมในหาบที่เห็นกันบ่อยมากๆเมื่อก่อนนี้คือ ขนมปลากริม  ข้าวต้มมัด ขนมกล้วยนึ่ง ขนมใส่ไส้ ขนมตาล ไข่หงส์ 
 
นอกจากนี้ยังมีเตาขนมจำลอง เช่น เตาปิ้งข้าวโพด ปิ้งมัน  เตาขนมครกจำลองที่สามารถให้ผู้เข้าชมทดลองแคะเล่น จับต้องได้ เนื่องจากผู้จัดการพิพิธภัณฑ์ต้องการสร้างที่แห่งนี้ให้เป็น “พิพิธภัณฑ์มีชีวิต” โดยผู้เข้าชมสามารถจับต้องสัมผัสได้ว่า ส่วนประกอบต่างๆของขนมประเภทนี้มีอะไรบ้าง ขนมทุกชิ้นที่จัดแสดงเป็นของทำเลียนแบบ แต่ผู้จัดพยายามที่จะทำให้เหมือนจริงมากมที่สุดและอนุญาตให้จับต้องได้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้  และยังจำลองบรรยากาศตลาดน้ำเล็กๆ โดยมีเรือขายขนม เรือขายของดอง เรือขายอาหารทะเลปิ้งย่าง ให้นักท่องเที่ยวได้ชมกันด้วย  นอกจากนี้พิพิธภัณฑ์ยังพยายามค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับขนมไทยให้ได้มากที่สุด และเปิดรับบริจาคเครื่องมือในการทำขนม ฯลฯ และพยายามที่จะค้นหาสูตรขนมไทยโบราณเพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่องการทำขนมโบราณให้เป็นที่แพร่หลาย 
 
พิพิธภัณฑ์ได้รับความช่วยเหลือจากเทศบาลในเรื่องของค่าน้ำไฟ อาคารสถานที่  ทำให้ลดภาระแก่ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์  พิพิพิธภัณฑ์ไม่เก็บค่าเข้าชม  ผู้เข้าชมส่วนใหญ่ก็จะเป็นนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวตลาดน้ำอัมพวา ผู้เข้าชมจะเริ่มมีมาเรื่อยๆ ตั้งแต่เริ่มเปิดคือประมาณ 10.00 – 20.00 น. บางครั้งอาจจะปิดดึกไปกว่านี้เนื่องจากยังมีนักท่องเที่ยวเดินเข้ามาชมเรื่อยๆ โดยเฉพาะในเย็นวันศุกร์และวันเสาร์จะเป็นวันที่มีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวตลาดมากที่สุด
 
เมธินีย์ ชอุ่มผล เรื่องและภาพ
สำรวจวันที่ 6 มีนาคม 2552

หมายเหตุ: ปัจจุบัน พิพิธภัณฑ์ขนมไทย ได้ย้ายไปอยู่ภายในบริเวณอุทยาน ร.2
ชื่อผู้แต่ง:
-

เปิดตำนานขนมไทย ตามรอยพระราชนิพนธ์ที่อัมพวา

พระราชนิพนธ์กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งคัดมาเฉพาะบทเห่ชมเครื่องหวานข้างต้น แสดงถึงความประณีตในการกินอยู่ของชาวไทยในอดีต ที่ให้ความสำคัญต่อการค้นคิดประดิษฐ์อาหารคาวหวานนานาชนิด โดยเฉพาะขนมไทยที่ขึ้นชื่อเป็นเอกลักษณ์ยากจะหาชาติใดเสมอเหมือน แม้ปัจจุบัน ขนมไทยจะลดความสำคัญลงไปจากขนมหวานที่มีต้นตำรับจากในวัง
ชื่อผู้แต่ง:
-

พิพิธภัณฑ์ขนมไทยหยิบชมเมื่อไหร่ หิวได้เมื่อนั้น

หนึ่งที่มีความสำคัญและผูกพันกับผู้คนทุกชนชาติมาตั้งแต่ไหนแต่ไรก็คือ เรื่องของอาหารการกิน และถ้าให้พูดแบบตรงไปตรงมาไม่เข้าข้างกันเองละก็คงจะเอ่ยได้อย่างสนิทใจว่าอาหารไทยนั้นมีรสชาติเป็นเอกลักษณ์ไม่น้อยหน้าความอร่อยของอาหารสัญชาติใดอยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นขนมไทยล่ะ เรามั่นใจว่าคุ้นเคยหรือรู้จักกันมากน้อยแค่ไหน วันนี้เราจึงอยากแนะนำให้รู้จักกับเรื่องราวของขนมไทยให้มากขึ้นกว่าเก่า ณ พิพิธภัณฑ์ที่มีรสชาติหวานกลมกล่อมเป็นพิเศษอย่าง พิพิธภัณฑ์ขนมไทย ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ ตลาดน้ำอัมพวา ขนาดที่เดินผิวปากไปยังไม่ทันจบเพลงก็ถึงแล้ว
ชื่อผู้แต่ง:
-