พิพิธภัณฑ์บ้านเขายี่สาร


ที่อยู่:
วัดเขายี่สาร ต.ยี่สาร อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม 75110
โทรศัพท์:
0-3476-3108
วันและเวลาทำการ:
เปิดเสาร์-อาทิตย์ 09.00-15.00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2539
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

นำชม พิพิธภัณฑ์บ้านเขายี่สาร

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: พ.ศ.2543

ที่มา: สมุทรสงคราม: พิพิธภัณฑ์บ้านเขายี่สาร

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

เปิดแล้วพิพิธภัณฑ์เขายี่สาร

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: ปีที่22ฉบับที่ 2 ธ.ค. 2543

ที่มา: ศิลปวัฒนธรรม

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์ชุมชน

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 17/12/2543

ที่มา: เดลินิวส์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

อ่านเรื่องเล่าพื้นถิ่นจากพิพิธภัณฑ์ "เขายี่สาร"

ชื่อผู้แต่ง: พี่ขิม | ปีที่พิมพ์: 27/10/2547 หน้า 22

ที่มา: ข่าวสด

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ชุมชนโบราณที่บ้านยี่สาร

ชื่อผู้แต่ง: วลัยลักษณ์ ทรงศิริ | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 24 ฉบับ 3 (ก.ค. - ก.ย. 2541)

ที่มา: เมืองโบราณ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

การขุดค้นทางโบราณคดีบริเวณอู่ตะเภา ชุมชนบ้านยี่สาร

ชื่อผู้แต่ง: ศรีศักร วัลลิโภดม และคณะ | ปีที่พิมพ์: 2541

ที่มา:

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

สังคมและวัฒนธรรมชุมชนคนยี่สาร

ชื่อผู้แต่ง: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร | ปีที่พิมพ์: 2545

ที่มา: กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ยี่สาร: ชุมชนที่ถูกลืม

ชื่อผู้แต่ง: ปราณี กล่ำส้ม | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 26 ฉบับที่ 3(ก.ค.-ก.ย.2543)

ที่มา: วารสารเมืองโบราณ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พลังท้องถิ่นในกระแสความเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม

ชื่อผู้แต่ง: สิริอาภา รัชติหิรัญ | ปีที่พิมพ์: 2545

ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

'พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นบ้านยี่สาร' ประตูยังปิดตายและกุญแจก็โยนทิ้งน้ำ ไปแล้วหรือ...

ชื่อผู้แต่ง: วลัยลักษณ์ ทรงศิริ | ปีที่พิมพ์: ฉบับ 104 (ต.ค.-ธ.ค. 2557);vol. 104 October-December 2014

ที่มา: จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 05 มกราคม 2558


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์บ้านเขายี่สาร

พิพิธภัณฑ์บ้านยี่สารเริ่มก่อตั้งราวปี พ.ศ. 2539 จากการที่ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งช่วยกันเก็บรวบรวมข้าวของเครื่องใช้ โบราณวัตถุจากวัดเขายี่สาร และรับบริจาคสิ่งของต่าง ๆ จากชาวบ้านในชุมชนยี่สาร  ตั้งใจว่าอยากจะนำมาจัดแสดงไว้ให้ผู้ที่สนใจได้เข้าชม และได้ขออนุญาตจากวัดเขายี่สาร ใช้พื้นที่ใต้ถุนศาลาการเปรียญเป็นสถานที่จัดแสดง โดยท่านพระครูสมุทรวิสุทธิคุณ เจ้าอาวาสวัดเขายี่สาร ได้สมทบเงินสนับสนุนมาจำนวนหนึ่ง ชาวบ้านที่พอจะมีฐานะบ้างก็ช่วยบริจาคเงินสมทบ บ้างก็ให้ยืมโดยไม่มีกำหนดส่งคืนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจัดทำพิพิธภัณฑ์ จนเริ่มสร้างเป็นห้องพิพิธภัณฑ์ขึ้นมา และมีการตั้งคณะกรรมการบริหารและดูแลจัดการพิพิธภัณฑ์  เริ่มแรกมีนายธนู พยนต์ยิ้ม เป็นหัวหน้าพิพิธภัณฑ์ ปลายปี พ.ศ. 2540 มีการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพิพิธภัณฑ์ชุดใหม่ โดยมีอาจารย์สิริอาภา รัชตะหิรัญ เป็นประธานคณะกรรมการดำเนินการ  

อาจารย์สิริอาภาเป็นบุคคลหนึ่งที่มีบทบาทอย่างสำคัญต่อพัฒนาการของพิพิธภัณฑ์บ้านเขายี่สาร ด้วยความเป็นนักวิชาการ และเป็นคนยี่สารโดยกำเนิด ทำให้อาจารย์เป็นเสมือนข้อต่อหรือตัวกลางเชื่อมประสานระหว่างคนในชุมชนกับคนจากภายนอกชุมชน  หลังจากที่ได้เห็นการริเริ่มของคนในชุมชนโดยเฉพาะคนหนุ่มคนสาวซึ่งส่วนใหญ่ก็สัมพันธ์เป็นเครือญาติกัน จึงคิดว่าน่าจะเข้ามาช่วยบ้านเกิด โดยมีแนวคิดว่าหากจะจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ก็ควรมีความเป็นวิชาการมีการจัดแสดงเป็นเรื่องราวได้  จึงได้มีการติดต่อขอคำแนะนำและประสานงานกับ รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร มหาวิทยาลัยศิลปากร เข้ามาสนับสนุนทางด้านการศึกษาค้นคว้ารวบรวมข้อมูล โดยส่งนักวิชาการและเจ้าหน้าที่ภาคสนามเข้ามาช่วยทำทะเบียนวัตถุสิ่งของและสำรวจขุดค้นทางโบราณคดีแหล่งอู่ตะเภา โดยมีคุณวลัยลักษณ์ ทรงศิริ เป็นกำลังสำคัญ วัตถุสิ่งของ และเรื่องราวจากการศึกษาค้นคว้าเหล่านี้เป็นข้อมูลสำคัญในการจัดแสดงเนื้อหาในพิพิธภัณฑ์บ้านเขายี่สาร

ช่วงที่เริ่มมีการขุดค้นทางโบราณคดี  แม้ว่าจะมีนักวิชาการจากภายนอกเข้ามาเหลือด้านวิชาการแต่ชาวบ้านเองก็เป็นผู้สนับสนุนงบประมาณทั้งหมด  ขณะนั้นรวบรวมเงินได้ 60,000 บาท  จากการทอดผ้าป่าและชาวบ้านร่วมกันสมทบแต่ก็ยังไม่เพียงพอ  เมื่อทราบว่ารัฐบาลจัดตั้งสำนักงานกองทุนเพื่อการลงทุนทางสังคมขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นเขียนโครงการขอรับทุนสนับสนุนกิจกรรมของชุมชนได้ ชุมชนยี่สารก็เลยเสนอโครงการเข้าไป  ได้รับเงินทุนสนับสนุนโครงการจัดตั้ง "พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นบ้านเขายี่สารเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์" จากสำนักงานกองทุนเพื่อการลงทุนทางสังคม (SIF) จำนวน  1,201,141 บาท โดยชาวชุมชนยี่สารสมทบเพิ่มเติมอีกจำนวนหนึ่ง นำมาจัดทำพิพิธภัณฑ์ชั้นบน ในที่สุดการจัดทำพิพิธภัณฑ์บ้านเขายี่สารก็สำเร็จพร้อมเปิดให้เข้าชม  ดำเนินการโดยชาวบ้านยี่สารในรูปของคณะกรรมการบริหารงานพิพิธภัณฑ์ ใช้ชื่อเป็นทางการว่า "พิพิธภัณฑ์บ้านเขายี่สาร

การจัดแสดง     บริเวณชั้นล่างบอกเล่าถึงวิถีชีวิตของคนยี่สารที่เป็นเอกลักษณ์ เนื่องจากเป็นชุมชนอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบป่าชายเลน  สภาพภูมิศาสตร์มีส่วนเข้ามากำหนดวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนยี่สารอย่างมาก ข้าวของที่จัดแสดงเป็นของที่ชาวบ้านนำมามอบให้พิพิธภัณฑ์ เช่น เข็มฉีดยาโบราณ หม้อดินเผา รางบดยา เป็นต้น ส่วนชั้นบนก็จัดแสดงเกี่ยวกับสภาพภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ ความเชื่อถือศรัทธาของคนยี่สารที่มีต่อพ่อปู่ศรีราชา  สิ่งของและเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา                                                      
 

ข้อมูลจาก: 
กิจกรรมการดูงาน โครงการวิจัยและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2548
หนังสือคู่มือ นำชมพิพิธภัณฑ์บ้านเขายี่สาร  อำเภออัมพวา  จังหวัดสมุทรสงคราม
ชื่อผู้แต่ง:
-

'พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นบ้านยี่สาร' ประตูยังปิดตายและกุญแจก็โยนทิ้งน้ำ ไปแล้วหรือ...

ราวกลางปี พ.ศ. 2540 พิพิธภัณฑ์จันเสนเริ่มลงตัวเป็นรูปร่างและเหลือเพียงการรอเวลาเหมาะสมที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ จะเสด็จเปิดพิพิธภัณฑ์ของชาวบ้านที่วัดจันเสนอย่างเป็นทางการ เป็นช่วงเวลาที่การทดลองทำพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในหลายๆ พื้นที่ก็กำลังดำเนินไปอย่างคึกคัก ในช่วงเวลานั้นมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริพันธุ์ เริ่มมีพนักงานประจำและมีกิจกรรมออกไปช่วยชุมชนหลายแห่งจัดการทำพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นของตนเอง ผ่านทาง อาจารย์ศรีศักรวัลลิโภดม ที่ปรึกษาของมูลนิธิฯ ซึ่งหลังจากที่ทำพิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดม่วงไปแล้ว
ชื่อผู้แต่ง:
-

เล่าอดีตผ่าน'พิพิธภัณฑ์บ้านเขายี่สาร'

เขายี่สาร เขาเตี้ยๆ ลูกเดียว ของจ.สมุทรสงคราม อยู่ในเขต อ.อัมพวา จริงๆ เขาเล่าว่าเป็นเกาะ แต่ตอนมาเกิดดินตะกอนพอกพูน และมีการเข้ามาตั้งรกรากของชุมชนเมื่อ 800-900 ปีมาแล้ว หรือราวต้นสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยต้นกำเนิดชุมชนเล่าว่า คือพ่อปู่ศรีราชา หรือจีนขาน ที่เดินทางล่องเรือมาจากจีนด้วยกัน 3 คนพี่น้อง เกิดเรือแตก พี่น้องสามคนเลยพลัดพรากจากกัน โดยจีนเคราพี่คนโต ไปอยู่เขาตะเครา และจีนกู่น้องคนเล็กไปอยู่เขาอีโต้ ส่วนจีนขาน คนกลางก็มาอยู่ที่เขายี่สารนี่เอง ประวัติคร่าวๆ ของบ้านยี่สาร หาอ่านได้ทั่วไป
ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-