พิพิธภัณฑ์เครื่องราชศรัทธา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (พิพิธภัณฑ์วัดประดู่)


ที่อยู่:
วัดประดู่ ต.วัดประดู่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม 75110
โทรศัพท์:
034-735237
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2543
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

วัดประดู่แหล่งเรียนรู้ชุมชนที่อัมพวา

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 10-06-2551

ที่มา: ผู้จัดการรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์เครื่องราชศรัทธา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5(พิพิธภัณฑ์วัดประดู่)

วัดประดู่เป็นวัดโบราณที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย “พิพิธภัณฑ์เครื่องราชศรัทธา” มีที่มา เนื่องจากในสมัยแผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวง เมื่อครั้งเสด็จประพาสต้นตามหัวเมืองต่างๆ ในช่วง พ.ศ.2447 ได้เสด็จโดยทางเรือมายังมณฑลราชบุรี และในวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ.2447 ได้เสด็จมาแวะพักเสวยพระยาหารเช้าที่หน้าวัดประดู่ และทรงเสด็จไปทอดพระเนตรการรดน้ำมนต์ที่วัดประดู่ในครั้งนั้น หลวงปู่แจ้งซึ่งเป็นเจ้าอาวาสอยู่ขณะนั้นก็ได้รับกิจนิมนต์จากในพระราชวังเรื่อยมา  การเข้าไปรักษาในพระบรมมหาราชวังหลายครั้งหลายคราด้วยกัน ก็ได้รับพระราชทาน “เครื่องราชศรัทธา” มาเป็นจำนวนมาก หลวงปู่แจ้งและเจ้าอาวาสรูปต่อๆ มาจนถึงก่อนรูปปัจจุบันได้เก็บเครื่องราชศรัทธาไว้ตามห้องและกุฏิต่างๆ ภายในวัด  จนถึงสมัยของพระมหาจุลศักดิ์ อติศฺกดิโข เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน  จึงรวบรวมเครื่องราชศรัทธามาจัดระเบียบเสียใหม่   โดยในช่วงแรกประมาณปีพ.ศ.2540-2543 ได้แบ่งห้องภายในหมู่กุฏิของวัดมา 3 ห้องเพื่อจัดวางและให้ผู้ที่เข้ามาทำบุญหรือมาเที่ยววัดได้เข้าชม เครื่องราชศรัทธาที่ในหลวงรัชกาลที่ 5 พระราชทานมายังวัดประดู่ มีทั้ง ย่าม ตาลปัตร กาน้ำ ฝาบาตรฝังมุก ปิ่นโตอาหาร เครื่องราชศรัทธาหลายๆ ชิ้นที่ได้รับพระราชทานมานั้น จะมีการสลักไว้ว่า ได้มาจากงานใด เช่น งานฉลองพระราชพิธีโสกันต์ เป็นต้น 
 
จากนั้นประมาณ ปี พ.ศ. 2547 -2548 ท่านเจ้าอาวาส มีโครงการขยายพิพิธภัณฑ์เครื่องราชศรัทธา  ออกจากตัวอาคารกูฏิหลังเดิม  โดยก่อสร้างอาคารหลังใหม่เพื่อรองรับการจัดพิพิธภัณฑ์ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น  ปัจจุบันอาคารพิพิธภัณฑ์แบ่งออกเป็น 2 อาคาร
 
 อาคารหลังแรก จัดแสดงเครื่องราชศรัทธาที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5  เป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นห้องจัดแสดงสิ่งของต่างๆ ที่ได้รับถวายมาจากประชาชนทั่วไปที่มีความศรัทธาในหลวปู่แจ้งและพระมหาจุลศักดิ์ อติศฺกโข รวมถึงเจ้าอดีตอาวาสรูปอื่นๆด้วย  ส่วนชั้นบนจัดแสดงเครื่องราชศรัทธา และหุ่นจำลองพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ภายในจังหวัดสมุทรสงคราม ตั้งแต่ในอดีตสมัยต้นรัตนโกสินทร์เป็นต้นมา ด้านบน มีห้องจัดแสดงทั้งหมด 3 ห้องใหญ่ๆ ตามผังหลักของเรือนไทย คือ มีอาคาร 3 หลังมาประกอบกันและพื้นที่ตรงกลางระหว่างอาคารทั้งสามหลังประดิษฐานพระพุทธรูปหยกขาว และหุ่นจำลองของหลวงปู่แจ้งและสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ห้องด้านซ้ายมือ  ในแต่ละห้องก็จะจัดเครื่องราชศรัทธาไว้ไม่แน่นมากหนัก นอกจากนั้นยังมีพระเครื่อง เครื่องเบญจรงค์ และหุ่นเรซินจำลองของพระเกจิอาจารย์ในอดีต  ภายในติดแอร์เพื่อรักษาอุณหภูมิภายในห้องเนื่องจากเรซิ่นนั้นต้องมีการควบคุมอุณหภูมิในการจัดวางด้วย 
 
ห้องที่ 2 ภายในอาคารเรือนไทยหลังเดียวกันก็ยังจัดแสดงเรื่องราวคล้ายๆ กัน แต่จะมีเน้นเรื่องราวพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมากขึ้น  มีพระรูปแกะสลักของพระองค์ท่านและสิ่งของจัดแสดงต่างๆ ทั้งที่เป็นพระบรมฉายาลักษณ์ และป้ายความรู้ที่เกี่ยวกับพระองค์  บริเวณหน้าประตูทางเข้าเรือนหลังที่ 2 จะมีรั้วลูกกรงของวังกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เป็นรูปทหารเรือแบกปืนอยู่ในท่าเดิน พระมหาจุลศักดิ์เล่าว่า เมื่อก่อนนั้น ตรงบริเวณวัดประดู่นั้นเป็นอำเภอวัดประดู่ของมณฑลราชบุรี แล้วต่อมาเปลี่ยนเป็นอำเภอแม่น้ำอ้อม จากนั้นก็เป็นกิ่งอำเภอวัดเพลง และปัจจุบันก็เป็นอำเภออัมพวา ของจังหวัดสมุทรสงคราม บริเวณของวัดประดู่แต่เดิมเคยเป็นพื้นที่ฝึกทหารเรือ ทำให้ในปัจจุบันรั้วที่ริมเขื่อนหน้าวัดประดู่นั้น ยังเป็นรูปทหารเรือ โดยถอดเแบบจากรั้วเดิม ห้องที่ 3 ของเรือนหลังนี้ จัดแสดงเครื่องเบญจรงค์เล็กและเครื่องถ้วยเก่าของวัด
 
เมื่อลงจากอาคารพิพิธภัณฑ์หลังแรก ออกมาทางที่จอดรถ จะพบอาคารไม้ซึ่งเป็นอาคารอีกส่วนหนึ่งของที่จัดแสดงหุ่นจำลองพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง  นอกจากนั้นยัวจัดแสดงเครื่องถ้วยชามเบญจรงค์  กระเบื้องเคลือบ  เครื่องทองเหลือง และหม้อน้ำมนต์เก่าของทางวัด ด้านบนของเพดานอาคารพิพิธภัณฑ์นั้น ท่านเจ้าอาวาสได้ให้ช่างเขียนรูปจำลองจากวรรณคดีเรื่องทศกัณฐ์ ไว้อย่างน่าชม
 
การเข้ามาเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์นั้นไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น นอกจากนี้ทางวัดยังมีมัคคุเทศก์น้อยนำชมอย่างน่าสนุกสนาน เด็กๆ ที่มาทำหน้าที่นำชมนี้บางคนเพิ่งอยู่ประถม 4 หรือ 5 เท่านั้น แต่พูดจาฉะฉาน เนื่องจากก่อนหน้านี้ทางวัดเคยจัดหลักสูตรมัคคุเทศก์น้อย  แต่ต่อมาเมื่อพระที่เป็นผู้อบรมได้ย้ายไปที่อื่นก็ไม่ได้มีการจัดหลักสูตรนี้อีก
 
ภูมิประเทศของบริเวณโดยรอบพิพิธภัณฑ์  ส่วนใหญ่เป็นสวนผลไม้เช่น ส้มโอ  ลิ้นจี่  สวนมะพร้าว มีลำคลองไหลผ่านหน้าวัด ในอดีตเป็นเส้นทางสัญจรไปมาระหว่างชาวบ้านอัมพวากับวัดเพลงเพราะสามารถพายเรือลัดเลาะไปตามเส้นทางคลองนี้เรื่อยๆ ก็จะสามารถเดินทางถึงตัวจังหวัดราชบุรีได้
 
เมธินีย์  ชอุ่มผล เรื่อง
สำรวจวันที่ 26 เมษายน 2552
ชื่อผู้แต่ง:
-

"วัดประดู่" แหล่งเรียนรู้ชุมชนที่อัมพวา

ในอดีตวัดถือเป็นศูนย์กลางสำคัญของชุมชน แต่วันนี้ชุมชนดูเหมือนจะห่างไกลวัดมากขึ้น เฉกเช่นเดียวกับที่วัดก็ดูเหมือนจะแปลกแยกจากชุมชนมากขึ้นเช่นกัน และนั่นย่อมเป็นผลทำให้สังคมในทุกวันนี้ไร้ศีลธรรม คุณธรรม และจริยธรรมมากขึ้น ซึ่ง จุฬารัตน์ บุณยากร ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กล่าวว่า ความเปลี่ยนแปลงของสังคมในปัจจุบัน ทำให้ประชาชนขาดแหล่งอบรมปลูกฝังด้านคุณธรรมจริยธรรม ส่งผลถึงคุณภาพชีวิตของประชาชน ด้วยเหตุนี้ทางสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จึงได้จัดโครงการ "วัดเป็นศูนย์กลางชุมชน"ขึ้น เพื่อพัฒนาวัดให้เจริญรุ่งเรือง นำไปสู่ความยั่งยืนในทุกๆด้าน โดยวัดจะต้องประสานความร่วมมือระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียนและราชการ หรือที่เรียกว่า "บวร" ให้ได้
ชื่อผู้แต่ง:
-