จิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว


ที่อยู่:
วัดโขลงสุวรรณคีรี ต.คูบัว อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000
โทรศัพท์:
032-323197, 081-763-1989
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน 8.00 - 16.30 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
ปีที่ก่อตั้ง:
2546
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

จิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมไท-ยวน

ชื่อผู้แต่ง: ศิวพร อ่องศรี | ปีที่พิมพ์: 24-10-2550

ที่มา: มติชนรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

จิปาถะภัณฑ์ 'บ้านคูบัว' วิถีชีวิตไทโยนก-ทวารวดี

ชื่อผู้แต่ง: วิจิตรา เนตรอุบล | ปีที่พิมพ์: 01-10-2549(หน้า24)

ที่มา: ข่าวสด

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

Keeping Tai Yuan culture alive

ชื่อผู้แต่ง: Chaiwat Satyaem | ปีที่พิมพ์: 23-02-2552

ที่มา: Bangkok Post

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

จิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว

ชื่อผู้แต่ง: อู่ทอง ประศาสน์วินิจฉัย | ปีที่พิมพ์: 28 กันยายน 2551

ที่มา: เว็บไซต์จดหมายเหตุสังคม

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

จิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว พิพิธภัณฑ์ร่วมสมัยสไตล์ไท-ยวน

ชื่อผู้แต่ง: ธรรมฤทธิ์ เอกสมิทธ์ | ปีที่พิมพ์: 9 พฤษภาคม 2552

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

การพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการศึกษาเชิงสร้างสรรค์: จิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว จังหวัดราชบุรี

ชื่อผู้แต่ง: หทัยรัตน์ ขาวอ่อน | ปีที่พิมพ์: 2554;2011

ที่มา: โครงการวิจัยการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการศึกษาเชิงสร้างสรรค์ ภายใต้โครงการศิลปากรพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 ตุลาคม 2558

“จิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว” แหล่งรวมของดี สืบสานวัฒนธรรมไท-ยวนแห่งเมืองราชบุรี

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 22 พ.ย. 2558;22-11-2015

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 18 เมษายน 2559


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของจิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว

จิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัวเริ่มก่อตั้งในช่วงปี 2542 โดยได้ขออนุญาตใช้พื้นที่วัดจากท่านพระครูสิทธิวชิราธร  เจ้าอาวาสวัดโขลงสุวรรณคีรี  การก่อสร้างอาคารแล้วเสร็จเมื่อ  13  มีนาคม  2546  โดยใช้งบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัด  เพื่อใช้เป็นอาคารสำหรับการส่งเสริมอาชีพและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น  จากนั้นได้มอบให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลคูบัวและคณะกรรมการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์เป็นผู้รับผิดชอบ  การตกแต่งและจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์แล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์  2549   ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายจำพวกค่าน้ำค่าไฟทางอบต.เป็นผู้รับผิดชอบ  ส่วนค่าบำรุงรักษาอื่นๆ ใช้เงินจากผู้บริจาค  โดยแต่ละเดือนจะมีค่าใช้จ่ายเดือนละหมื่นกว่าบาท  
 
สำหรับดร.อุดม  สมพร ซึ่งเป็นหัวเรือใหญ่ในการทำพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ กล่าวว่า จิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว  คือสถานที่สำหรับบอกเล่าเรื่องราวของคนไท-ยวน  ให้กับคนในอนาคต  ในการสร้างและออกแบบที่นี่  ดร.อุดม  สมพร  มีจินตนาการว่า  เมื่อคนในอนาคตเดินมาที่นี่  พวกเขาจะได้เห็นว่าคนไท-ยวนมีวิถีชีวิตอย่างไร  ไม่ว่าจะเป็นการประกอบอาชีพ  ความเป็นอยู่  เครื่องไม้เครื่องมือพื้นบ้าน  และเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่บอกผ่านลายผ้า
 
ส่วนจัดแสดงแบ่งเป็น  10 ห้องได้แก่  ห้องที่  1  แสดงภูมิปัญญาสมัยทวารวดี  ห้องที่  2  แสดงเครื่องมือทำมาหากิน  ห้องที่ 3  มุมหลับนอนสอนลูกหลาน  ห้องที่  4  แสดงการระดมความคิดของคนในชุมชน  ห้องที่  5  แสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไท-ยวน  ห้องที่  6  แสดงเรื่องทำมาหากินของไท-ยวน  ห้องที่  7  ห้องโถงสำหรับจัดนิทรรศการ  ห้องที่  8  ภูมิปัญญาทอผ้าจก  ห้องที่  9  ห้องอนุรักษ์ผ้าโบราณ  ห้องที่  10  ห้องชาติพันธุ์ในจังหวัดราชบุรี
 
นอกเหนือจากวัฒนธรรมสมัยทวารวดีที่เคยปรากฏหลักฐานที่นี่เมื่อพันกว่าปีมาแล้ว  คือเมืองโบราณคูบัว  แล้ว  ที่นี่ยังแสดงวัฒนธรรมของคนไทยวนที่อพยพมาตั้งรกรากที่นี่เมื่อกว่า 200 ปีที่ผ่านมา  โดยแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตตั้งแต่การเกิด  การกิน  การสอนลูกหลาน  การนับถือศาสนา  ได้เห็นความสัมพันธ์ของพระสงฆ์ในสมัยก่อนกับฆราวาส  จากนั้นจะเป็นวิถีชีวิตของคนที่นี่ในด้านการทำเกษตรทำนาทำไร่  เครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพ  
 
ส่วนที่จัดแสดงที่อยู่ชั้นบนเป็นเรื่องผ้าจกไท-ยวน  โดยมีห้องเกี่ยวกับวิธีทอผ้าจกด้วยหุ่น  อีกห้องเป็นห้องใหญ่ที่จัดเก็บรวบรวมผ้าจกใหญ่  ผ้าจกโบราณ  และมีผ้าจกใหม่ไว้ให้เปรียบเทียบกัน  มีลวดลายไว้ให้ลูกหลานได้เรียนรู้แบบลายถักทอ  ห้องสุดท้ายคือห้องชาติพันธุ์  เนื่องจากว่าคนราชบุรีไม่ได้มีแต่คนไท-ยวนอย่างเดียว  ห้องนี้จึงจัดเป็นห้องชาติพันธุ์ในราชบุรีซึ่งมี  7  ชาติพันธุ์  ได้แก่  ไทยวน  ไทยทรงดำ  มอญ จีน  กะเหรี่ยง  ลาวเวียง  ไทยพื้นถิ่น  และผ้าของชาวติมอร์ตะวันออก
 
อาจารย์อุดมเป็นประธานคณะทำงานตกแต่งและจัดแสดง  โดยที่ไม่ได้จ้างคนอื่นทำ   อาจารย์ให้เหตุผลว่า  เพราะจะไม่ถูกใจในสิ่งที่เราอยากทำ   คนอื่นเขาจะเอาภูมิของเขาที่ได้ไปเรียนในระบบ  ความสวยความงามแบบสากลในพิพิธภัณฑ์ที่ทำกันทั้งโลกนี้มาใส่ให้  ซึ่งแบบนั้นไม่ใช่เรื่องราวของเราที่ชาวบ้านอยากจะทำ  ที่นี่จะใช้หลักคิดแบบพอเพียงให้เหมาะสมกับเงินที่มีอยู่  ให้สื่อความหมายชัดเจนเป็นกันเองกับผู้เข้าเยี่ยมชม  ไม่มุ่งเน้นสะสมวัตถุโบราณ   
ด้วยความเชื่อมั่นในตนเองในการจัดพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านของคนท้องถิ่น   สิ่งที่อาจารย์อุดมและคณะได้จัดทำ   ได้แสดงให้เห็นว่าที่นี่มีการจัดแสดงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวจริงๆ  ที่เด่นชัดที่สุดคือ  การนำเสนอเรื่องราวด้วยหุ่นจำนวนมากมาย  ประกอบอยู่ทุกห้องทุกเรื่องราว  
 
สำหรับคนที่เข้ามาเป็นครั้งแรก  ความรู้สึกแรกคือความตื่นตาตื่นใจ  โดยปกติเราจะไม่เคยอยู่ท่ามกลางแวดล้อมด้วยหุ่นที่ดูคล้ายคนจริงๆมากมายขนาดนี้มาก่อน  การจัดสภาพแวดล้อมและการหยุดตัวละครในฉากใดฉากหนึ่งของช่วงชีวิต  เป็นการบอกเล่าวิถีชีวิตอย่างตรงไปตรงมาโดยไม่ต้องเอื้อนเอ่ยอธิบาย  ฉากสำคัญที่จัดแสดงแลดูโดดเด่นได้แก่  ห้องคลอดลูกอยู่ไฟของผู้หญิง  ใกล้กันมีเปลที่มีหุ่นเด็กนั่งอยู่  การให้แสงในห้องเป็นแสงไฟจากฟืน  เป็นความสมจริงที่ให้ความรู้สึกได้อย่างประหลาด  อีกฉากในห้องประชุม  คนเข้าชมจะรู้สึกว่ากำลังอยู่ในเหตุการณ์ที่ชาวบ้าน  ผู้นำชุมชน กำลังนั่งล้อมโต๊ะแลกเปลี่ยนความคิดกัน  ใกล้กันมีพระสงฆ์ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนั่งกันอยู่ด้วย   
หรือจะเป็นห้องทอผ้าจกชั้นบน  การมีหุ่นกำลังทอผ้าเป็นการสร้างเรื่องราวและบรรยากาศได้อย่างสมบูรณ์  นอกจากความเพลิดเพลินแล้วเรายังได้เห็นถึงที่มาของผ้าตั้งแต่การย้อมเส้นด้ายด้วยสีธรรมชาติจากพืชชนิดต่างๆ  ทำให้เห็นว่ากว่าจะเป็นผ้าทอมือสักผืนให้ได้ใช้กันต้องผ่านวิธีการอย่างไรบ้าง  ในส่วนของห้องที่เก็บผ้าจกทั้งผ้าโบราณและผ้าจกฝีมือประณีต  ห้องนี้ทรงคุณค่าอย่างมากในด้านความงามและการเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องผ้า
 
ในการเข้าชมที่นี่มีการบันทึกไว้   โดยมีมาแล้ว  3198  คณะ  บางคณะ  3-4  คน  บางคณะถึง  80  คน  โดยรวมก็ประมาณสองหมื่นคน  คนที่เข้าชมจะมีทุกรุ่น  มีทั้งนักเรียนนักศึกษาจะมีตั้งแต่ประถมมัธยมจนถึงมหาวิทยาลัย   
การที่ให้ชื่อที่นี่ว่าจิปาถะภัณฑ์สถาน  มาจากว่านอกจากการจัดแสดงความเป็นไท-ยวนแล้ว  ที่นี่ยังมีสิ่งของอีกมากมายไม่จำกัดประเภท  มีตั้งแต่เครื่องใช้สมัยก่อน  ธนบัตร  รถจักรยาน  มอเตอร์ไซด์   สามล้อ  โดยเฉพาะรถยนต์ที่จอดอยู่ข้างเกวียน  ดร.อุดมบอกว่ารถคันนี้เคยใช้มาแล้ว  27  ปี
 
ทุกวันนี้จิปาถะภัณฑ์สถานยังคงยืนหยัดอยู่อย่างมั่นคงตามแนวทางของตนเอง  ตามหน้าที่ของการเชื่อมโยงอดีต  ปัจจุบัน  อนาคต   ฉากชีวิตวิถีของคนไท-ยวนยังคงสะกดผู้คนที่ผลัดเปลี่ยนกันเข้าเยี่ยมชม   บางคนกลับออกไปพร้อมกับซื้อผ้าจกทอมือก่อนกลับบ้าน   บางคนกลับไปพร้อมกับความประทับใจและความทรงจำที่ดี
 
สาวิตรี  ตลับแป้น /ผู้เขียน 
อวยพร  ระเบียบธรรม/ถ่ายภาพ
ข้อมูลจาก  :  สำรวจภาคสนามเมื่อวันที่  3  เดือนมิถุนายน  พ.ศ.2552
ชื่อผู้แต่ง:
-

“จิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว” แหล่งรวมของดี สืบสานวัฒนธรรมไท-ยวนแห่งเมืองราชบุรี

“ราชบุรี” แม้ว่าจะอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ มากนัก แต่ก็มีสถานที่ท่องเที่ยวให้เลือกเที่ยวกันได้ตามความชอบอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติป่าเขา วัดวาอาราม หรือการท่องเที่ยวในชุมชน ซึ่งแต่ละแห่งก็ล้วนมีเสน่ห์ของตัวเอง สำหรับที่ “จิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว” ที่เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ ก็เป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจไม่น้อย
ชื่อผู้แต่ง:
-

จิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว พิพิธภัณฑ์ร่วมสมัยสไตล์ไท-ยวน

หากเริ่มเบื่อพิพิธภัณฑ์แบบเก่า ที่มีแต่ตัวหนังสือเต็มพรืดมากมายจนลายตา ลองหาวันว่างช่วงเสาร์อาทิตย์สักหนึ่งวัน ไปขับรถเล่นเที่ยวราชบุรีกันบ้าง เป็นการเปลี่ยนบรรยากาศ เพราะที่นี่มีพิพิธภัณฑ์ดีๆ ที่มีแนวคิดใหม่ใช้หลักคิดแบบพอเพียง ไม่เน้นความสวยงามตระการตา แต่ทว่าสื่อความหมายได้เข้าใจชัดเจน จิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว เป็นพิพิธภัณฑ์ใหม่ที่เพิ่งสร้างเสร็จเมื่อปี 2550 โดยความร่วมมือของวัดโขลงสุวรรณคีรี มูลนิธิพัฒนาประชากรตำบลคูบัว และศูนย์สืบทอดศิลปะผ้าจกราชบุรี
ชื่อผู้แต่ง:
-

จิปาถะภัณฑ์สถาน บ้านคูบัว

บ้านคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี มีความสำคัญเชิงประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ และโบราณคดี ตรงที่มีสถานะเป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดีขนาดใหญ่อายุพันกว่าปี และเป็นแหล่งตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยของชาวลาวยวนอพยพตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์จนปัจจุบัน ความสำคัญประการแรกแม้ดูเหมือนห่างไกลจากชีวิตประจำวัน แต่ก็ได้รับความสนใจและการรับรองจากรัฐไทย ดังเห็นจากความพยายามในการจัดการโบราณสถาน โบราณวัตถุ และการนำเรื่องราวทวารวดีที่คูบัวไปจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ทั้งที่ราชบุรีและพระนคร
ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-