พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดคงคาราม


ที่อยู่:
วัดคงคาราม เลขที่ 1 หมู่ 3 ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี 70120
โทรศัพท์:
089-2578726
วันและเวลาทำการ:
เปิดเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ 09.00-16.30 น.
ค่าเข้าชม:
คนละ 10 บาท
เว็บไซต์:
อีเมล:
watkhongkharamg@gmail.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2542
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านและจิตรกรรมฝาผนังวัดคงคาราม

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์:

ที่มา: ราชบุรี: วัดคงคาราม1

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านและจิตรกรรมฝาผนัง

ชื่อผู้แต่ง: วัดคงคาราม | ปีที่พิมพ์: -

ที่มา: ราชบุรี: วัดคงคาราม

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดคงคาราม

วัดคงคารามสันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาต่อกรุงธนบุรี ตามประวัติกล่าวว่า เจ้าเมืองรามัญ ๗ เมืองอันได้แก่ พระสมิงสิงหบุรินทร์ เมืองสิงห์ พระนินนะภูมินบดี เมืองลุ่มสุ่ม พระชินติฐบดี เมืองท่าตะกั่ว พระนิโครธาภิโยค เมืองไทรโยค พระปนัสติฐบดี เมืองท่าขนุน พระเสลภูมิบดี เมืองทองผาภูมิ และพระผลกติฐบดี เมืองท่ากระดาน และครอบครัวชาวมอญที่อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง ได้ร่วมกันบูรณะปฏิสังขรณ์วัดคงคารามขึ้นเป็นวัดกลาง เพื่อใช้เป็นศูนย์รวมในการร่วมทำสังฆกรรมของสงฆ์แบบรามัญนิกายในวันเข้าและออกพรรษาของทุกปี อีกทั้งยังเป็นศูนย์รวมของชาวมอญในจังหวัดราชบุรีและจังหวัดใกล้เคียง   โดยมีชื่อเรียกเป็นภาษามอญว่า "เภี้ยโต้" แปลว่าวัดกลาง และเป็นชื่อวัดหนึ่งในเมืองมอญ 
             
ในปลายสมัยรัชกาลที่ ๒ พระยามหาโยธา (เจ่ง คชเสนี) ขุนนางไทยเชื้อสายมอญได้นิมนต์พระราชาคณะฝ่ายรามัญนิกายมาเป็นเจ้าอาวาส วัดคงคารามเจริญรุ่งเรืองถึงขั้นสูงสุดในสมัยรัชกาลที่ ๔ พระครูรามัญญาธิบดี เจ้าอาวาสเป็นที่เคารพนับถือมากกิจกรรมต่างๆ ของวัดได้รับการอุปถัมภ์โดยเจ้าจอมมารดากลิ่นในรัชกาลที่ ๔ และทูลเกล้าฯ ถวายให้เป็นพระอารามหลวง ซึ่งได้รับพระราชทานนามวัดใหม่ว่า "วัดคงคาราม"  โบราณสถานที่สำคัญภายในวัดคือ พระอุโบสถ ซึ่งมีเจดีย์ทรงรามัญ 7 องค์ รายรอบ หมายถึงเมืองรามัญ 7 เมือง ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังอันทรงคุณค่าทางศิลปะเป็นอย่างยิ่ง เขียนเป็นรูปพระอดีตพุทธเจ้า ภาพเทพชุมนุม พุทธประวัติ และทศชาติชาดก ฝีมือช่างสกุลกรุงเทพฯ ช่วงปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนวัดคงคารามเป็นโบราณสถานของชาติในปี 2518
           
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดคงคารามก่อตั้งในปี 2542 โดยใช้กุฏิ 9 ห้อง ซึ่งเป็นเรือนไม้ทรงไทยที่ใหญ่และงามที่สุดแห่งหนึ่ง จัดเป็นที่แสดงโบราณวัตถุ และศิลปวัตถุที่ล้ำค่าอันเป็นสมบัติของวัดมาตั้งแต่สมัยโบราณ 

บนกุฏิ 9 ห้อง ดัดแปลงพื้นที่เพื่อทำเป็นพิพิธภัณฑ์ โดยก่อสร้างหมู่เรือนไทยเพิ่มเติมเชื่อมต่อกับตัวกุฏิ สามารถเดินทะลุถึงกันได้   เนื่องจากวัดคงคาคามเป็นวัดสำคัญมาตั้งแต่สมัยโบราณ ข้าวของต่าง ๆ ที่ทางวัดเก็บไว้จึงมีจำนวนมาก ข้าวของส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของชาวมอญ ของชิ้นเด่นในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้แก่ โลงมอญ อายุกว่า 200 ปี แกะสลักลายดอกพุดตาลลงรักปิดทองประณีตงดงาม   คัมภีร์ใบลานและสมุดไทยที่จารเป็นภาษามอญจำนวนมาก หีบและตู้พระธรรม เครื่องปั้นดินเผาศิลปะมอญแกะสลักลวดลายวิจิตรหาชมได้ยากในปัจจุบัน เครื่องมือช่างสมัยโบราณ อาทิ กบไสไม้ขนาดต่าง ๆ   หนังช้างอานม้าลงรักปิดทอง ตาลปัตรพัดยศรูปทรงงดงาม เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายชาวมอญ เครื่องถ้วยลายคราม เครื่องทองเหลือง เป็นต้น โดยพิพิธภัณฑ์ได้จัดหมวดหมู่ของ และแบ่งการจัดแสดงออกเป็น 10 ห้อง ได้แก่ห้องตู้เก็บคัมภีร์ใบลาน   ห้องคัมภีร์   ห้องเครื่องมือช่าง   ห้องทองเหลือง ห้องลายคราม   ห้องเครื่องปั้นดินเผาสุโขทัย-อยุธยา   ห้องดนตรีไทย   ห้องเครื่องถ้วยชา   ห้องหนังสือ  และห้องรวมสมัย การจัดแสดงภายในได้รับความช่วยเหลือจากกรมศิลปากร มีการจัดทำป้ายอธิบายของแต่ละชิ้นไว้โดยย่อ                                                                            
 
ข้อมูลจาก: 
1. การสำรวจภาคสนาม วันที่ 11 กันยายน 2547  
2. แผ่นพับประชาสัมพันธ์พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านและจิตรกรรมฝาผนังวัดคงคาราม.
3. เว็บไซต์สำนักงานศิลปากรที่ 1 ราชบุรี สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
ชื่อผู้แต่ง:
-

ข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง