อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม


ที่อยู่:
41/1 หมู่ 3 ต.วังเย็น อ.บางแพ จ.ราชบุรี 70610
โทรศัพท์:
0-3238-1401, 0-3238-1402, 0-3238-1403
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน เวลา 8.30-17.00 น
ค่าเข้าชม:
ผู้ใหญ่ 50 บาท เด็ก 20 บาท พระสงฆ์ 20 บาท
เว็บไซต์:
อีเมล:
info@scppark.com
จัดการโดย:
เนื้อหา:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งสยามแหล่งท่องเที่ยวร่มรื่นเรียนรู้ศิลปะวัฒนธรรม

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 02-08-2551

ที่มา: ไทยรัฐ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยามเที่ยววันหยุดยุคน้ำมันแพง

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 30-03-2551(หน้า23)

ที่มา: มติชนรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของอุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม

อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม เกิดขึ้นจากความตั้งใจ และความคิดของท่านผู้ก่อตั้งซึ่งมีรากฐานการเริ่มต้นของงานมาจากงานหล่อพระพุทธรูป งานหล่อประติมากรรมรูปต่างๆ นับจากอดีตจนสู่ปัจจุบัน เป็นระยะเวลากว่า 40 ปีที่ผ่านมา จากประสบการณ์ทำให้ผู้ก่อตั้งมีความคิดที่จะสร้างสรรค์ ผลงานประติมากรรมรูปเหมือนของพระสงฆ์รูปต่างๆ ซึ่งจำพรรษาในกุฏิ และรูปเหมือนบุคคลสำคัญต่างๆที่ท่านผู้ก่อตั้ง มีความศรัทธายกย่อง ในด้าน แนวความคิด ในการทำงาน และการดำเนินชีวิต จนประสบความสำเร็จ รวมทั้งรูปเหมือน วิถีชีวิตวัฒนธรรม ความเป็นไทย ในภาคต่างๆ ของประเทศไทย จึงได้เริ่มก่อตั้ง โครงการอุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยามขึ้นมา ในปีพุทธศักราช 2540 และด้วยความมุ่งมั่น ที่มาจากความคิดสร้างสรรค์ จากความเชื่อมั่น ในคำสอน เรื่องทำความดี ความศรัทธาในบุคคล กำลังใจจากครูอาจารย์ เพื่อนมิตรและครอบครัว ทำให้โครงการอุทยานหุ่นขี้ผึ้ง ได้มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย ที่จะนำเสนอ งานสร้างสรรค์ ด้านศิลปะ วัฒนธรรมไทย วิถีชีวิตความเป็นอยู่ในสังคมไทย นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อสืบทอด สิ่งดีงามเอกลักษณ์ ของไทยให้คงอยู่สืบต่อชนรุ่นหลัง
 
ด้านหน้าอุทยานมีองค์พระพิฆเนศหล่อสำริดลงดำ เทพแห่งความรู้ ใกล้ๆกันมีโมเดลจำลองให้เห็นถึงจุดจัดแสดงแต่ละจุดอย่างคร่าวๆ ก่อนจะไปสัมผัสของจริงภายในพื้นที่ทั้งหมด 42 ไร่
 
ภายในอุทยานแบ่งพื้นที่จัดแสดงเป็น 6 จุด คืออาคารเชิดชูเกียรติ ลานพระสามสมัย ถ้ำชาดก กุฏิพระสงฆ์ บ้านไทย 4 ภาค และลานพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร  
 
อาคารเชิดชูเกียรติ นำเสนอเรื่องราวของ 10 บุคคลสำคัญ  เป็นอาคารสองชั้น ชั้นล่างของอาคารจัดแสดงเรื่องราวรูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งไฟเบอร์กลาส ของบุคคล สำคัญทั้งในประเทศไทย และในภูมิภาค โดยบุคคลสำคัญที่ถูกเลือกมานำเสนอนั้น ล้วนเป็นผู้ ที่มีเกียรติ ประวัติ และคุณความดี ในการสร้างสรรค์ ผลงานอันเป็นประโยชน์ ต่อส่วนรวม จนได้รับการยกย่องนับถือ ให้เป็น แบบอย่างที่ดีทั้งในหมู่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ อาทิ ม.ล. ปิ่น มาลากุล นักการศึกษาคนสำคัญของไทย ผู้ริเริ่ม การจัดตั้งสถาบันการศึกษาระดับวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยในส่วน ภูมิภาค ฯพณฯ ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ นักกฎหมาย ซึ่งได้ดำรงตำแหน่งสูงสุด ทั้งทางฝ่าย ตุลาการ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติ ศาสตราจารย์ ดร. ป๋วย อึ้งภากรณ์ นักเศรษฐศาสตร์ผู้วาง รากฐานนโยบายเศรษฐกิจของไทย รวมถึงการร่าง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อาจารย์ มนตรี ตราโมท บรมครูผู้อนุรักษ์และสืบสานงานดนตรีไทย สืบ นาคะเสถียร นักอนุรักษ์ธรรมชาติซึ่ง ยอมสละชีพเพื่อรักษาผืนป่าอันเป็นที่รัก แม่ชีเทเรซ่า แม่พระของชาวโลก ผู้ให้การช่วยเหลือแก่ผู้ป่วย และผู้ยากไร้โดย ไม่คำนึงถึง เชื้อชาติและศาสนา ประธานาธิบดีโฮจิมินห์ วีรบุรุษผู้กอบกู้เอกราชของ เวียดนาม เหมา เจ๋อ ตุง และ เติ้ง เสี่ยว ผิง นักปฏิวัติผู้นำประเทศจีน เข้าสู่ยุค เปิดประเทศ และก้าว ขึ้นเป็นประเทศมหาอำนาจของโลก เป็นต้น
 
ทั้งนี้ เพื่อให้การนำเสนอเรื่องราว ของบุคคลสำคัญดังกล่าวสมจริง ทางอุทยานฯ ได้แบ่งการจัดแสดง หุ่นขี้ผึ้งออกเป็นห้องๆ แต่ละห้องถูกสร้าง และตกแต่งให้ เหมือนสถานที่ทำงานจริง ของบุคคลท่านต่างๆ ในอดีตอย่างมากที่สุด เท่าที่จะ ทำได้ เช่น บ้านโสมส่องแสง ของอาจารย์มนตรี ตราโมท ห้องทำงานของศาสตราจารย์ ดร. ป๋วย อึ้งภากรณ์ ในธนาคารแห่งประเทศไทยในสมัยที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ยังตั้งอยู่ ณ วังบางขุนพรหม บ้านของลุงโฮ หรือ ประธานาธิบดีโฮจิมินห์ในหมู่บ้านนาจอก จังหวัดนครพนม ขณะที่เข้ามาพำนักในประเทศไทยในระหว่างการกอบกู้เอกราชเวียดนาม เป็นต้น
         
นอกจากนี้ ภายในอาคารยังมีจัดแสดงภาพถ่ายทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง กับบุคคลสำคัญท่านต่างๆ ควบคู่ไปกับการแสดงหุ่นขี้ผึ้งด้วย เพื่อให้ผู้มาเยือนได้เรียนรู้เกี่ยวกับ ชีวประวัติของ แต่ละท่านครอบคลุม และชัดเจนยิ่งขึ้น

ส่วนต่อมาเป็น ลานพระสามสมัย จัดแสดงพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย พระพุทธรูปศิลปะสมัยอยุธยา และสมัยเชียงแสน (สมัยล้านนา)

ถ้ำชาดก ภายในถ้ำเป็นการแสดงหุ่น ที่เล่าเรื่องราวของ พระเวสสันดร ที่ได้บำเพ็ญเพียรทานบารมี เป็นเรื่องที่มีคติธรรม ที่สอนในเรื่องของการให้ ระหว่างพระเวสสันดร ผู้เสียสละโดยเป็นผู้ให้ และชูชกเป็นฝ่ายรับ และไม่รู้จักคำว่าพอ ความลุ่มหลง ความเจ้าเล่ห์และความโลภ ในที่สุดชูชกก็ต้องชดใช้ ผลแห่งการกระทำนั้น ด้วยชีวิต 
กุฏิพระสงฆ์ แบ่งออกเป็น กุฏิพระสงฆ์ภาคกลาง เป็นที่ประดิษฐานหุ่นขี้ผึ้ง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) และ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อยู่ญาโณทัย)  กุฏิพระสงฆ์ภาคเหนือเป็นที่ประดิษฐานหุ่นขี้ผึ้ง ครูบาศรีวิชัย สิริวิชโย วัดบ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ กุฏิพระสงฆ์ภาคอีสาน เป็นที่ประดิษฐานหุ่นขี้ผึ้งพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร หุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญบรรพต อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย กุฏิพระสงฆ์ภาคใต้เป็นที่ประดิษฐานหุ่นขี้ผึ้ง พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ (หลวงปู่ทวด วัดช้างไห้) และพระครูวิสัยโสภณ (พระอาจารย์ทิม ธัมมธโร) 
 
นอกจากนี้ยังมี หอสวดมนต์ เป็นที่ประดิษฐานหุ่นขี้ผึ้งของพระภิกษุสงฆ์ที่มีชื่อเสียงทั้ง 5 ภาคในประเทศไทยจัดแสดงคล้ายกับว่ามาทำการประชุมสงฆ์พร้อมกัน ซึ่งประกอบด้วย 1.หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ วัดบางคลาน จ. พิจิตร (องค์กลาง) 2.หลวงพ่อทองคำ (พระเมตตาวิหารคุณ) วัดบึงบา จ. ปทุมธานี (องค์ในด้านขวามือของเรา) 3. หลวงปู่สุภา กันตสีโล วัดสิลสุภาราม  จ.ภูเก็ต (องค์นอกด้านขวามือของเรา) 4. หลวงปู่ทิม      อิสริโก วัดระหารไร่  จ.ระยอง (องค์ในด้านซ้ายมือของเรา) 5. หลวงปู่คำพัน โฆสปัญโญ วัดธาตุมหาชัย  จ.นครพนม (องค์นอกด้านซ้ายมือของเรา)

บ้านไทยสี่ภาค เป็นการจำลองบ้านไทยตามลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่เด่นชัดจาก 4 ภาคในประเทศไทย ทั้งภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอิสาน และภาคใต้ ภายในบ้านแต่ละหลังจำลองวิถีชีวิตความเป็น อยู่ของคนไทยในแต่ละภาค ที่สอดคล้อง กับสภาพสังคมวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ในบริเวณบ้านไทย 4 ภาค จะมีเส้นทางเชื่อมต่อไปยังบริเวณที่เรียกว่า "ลานสวนวิถีไท"เป็นอาคารสถานที่ห้องสัมมนา / ห้องจัดเลี้ยง / ห้องรับประทานอาหาร สำหรับหมู่คณะ ซึ่งจัดขึ้นโดย อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม

ลานพระอวโลกิเตศวร สำหรับองค์ที่จำลองขึ้นมานี้ เป็นเพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร หรือ กวนซิอิมผ่อสัก เป็นศิลปะแบบกลาง ปลายสมัยราชวงศ์ซ้อง ของจีน เป็นพระโพธิสัตว์กวนอิม ท่านั่งมหาราชลีลา ลักษณะเป็นบุรุษเพศ ตามประวัติเดิม พระโพธิสัตว์ ล้วนมีรูปปั้นเป็นบุรุษเพศ มีต้นกำเนิดมา จากประเทศอินเดีย และทรงเครื่องแต่งกายสง่างามอย่างกษัตริย์ เมื่อมีการอันเชิญพระไตรปิฎกจากอินเดีย มาสู่จีน ทำให้พระโพธิสัตว์ ของจีน สมัยแรกๆ ก็มีภาพวาด และรูปปั้นเป็น ลักษณะบุรุษ เช่นเดียวกับอินเดีย 

ข้อมูลจาก: 
http://www.scppark.com/index.php [accessed 20081215]
อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยามเที่ยววันหยุดยุคน้ำมันแพง.มติชนรายวัน วันที่ 30 มีนาคม 2551 หน้า 23
ชื่อผู้แต่ง:
-

หุ่นขี้ผึ้งสยามก็น่าทึ่ง ไม่แพ้หุ่นขี้ผึ้งของมาดาม

ได้ยินแต่ข่าวว่าพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งมาดามทุสโซมาเปิดที่เมืองไทยตั้งแต่เมื่อปลายปีที่แล้ว อยู่ที่ชั้น 6 สยามดิสคัฟเวอรี่ สี่แยกปทุมวัน กรุงเทพฯ แต่ของจริงยังไม่มีโอกาสได้ไปดู นับว่าเป็นพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งมาดามทุสโซที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน 200 กว่าปี แห่งที่ 10 ของโลก ถ้าจำไม่ผิดก็น่าจะมีอยู่ที่ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน นครเซี่ยงไฮ้ และฮ่องกงประเทศจีน ที่สหรัฐฯ มีอยู่หลายแห่งหน่อยคือที่ ฮอลลีวู้ด ลาสเวกัส นครนิวยอร์ค กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. แล้วก็ที่บ้านเรา ส่วนเดือนเมษายนปีนี้ก็มีข่าวว่าได้เปิดขึ้นอีก 2 แห่ง คือที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย และเมืองแบล็คพูล ประเทศอังกฤษ
ชื่อผู้แต่ง:
-