โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
ชื่อผู้แต่ง: อลงกรณ์ จุฑาเกตุ | ปีที่พิมพ์: 255;2011
ที่มา: โครงการวิจัยการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการศึกษาเชิงสร้างสรรค์ ภายใต้โครงการศิลปากรพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 23 พฤศจิกายน 2558
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
ภายในส่วนที่เป็น “ศูนย์แสดงและสาธิตงานสกุลช่างเมืองเพชร” แบ่งเป็นห้อง “ครูช่างเมืองเพชร” เป็นห้องแสดงประวัติและผลงานของครูช่างที่เสียชีวิตแล้ว แต่ส่วนใหญ่มีภาพจากวัดที่ท่านสร้างผลงานไว้ แต่ยังไม่มีของจริงมาจัดแสดง
ส่วนที่สอง “เพชรเมืองช่าง” ประวัติและผลงานของช่างที่ยังมีชีวิตอยู่ เกี่ยวกับงานทำทอง งานปูนปั้น จิตรกรรมลายลดน้ำ แกะสลักไม้ ผลงานที่เห็นเป็นตัวอย่างที่ให้ศึกษาเรียนรู้ แต่ยังมีผลงานอีกจำนวนหนึ่งที่อยู่ที่บ้านของศิลปิน ผลงานโดยส่วนใหญ่ เป็นการสร้างงานในวัดเป็นส่วนใหญ่ เช่นตามหน้าบัน วัตถุจัดแสดงทั้งสองส่วนการจัดแสดงมาจากการบริจาคชิ้นงานของศิลปินบ้าง หรือบางอย่าง เช่น งานจิตรกรรมที่อยู่ในสถานที่ต่างๆ ก็การจำลองขยายขนาด ให้ผู้ชมได้เห็นตัวอย่างของชิ้นงานของศิลปิน
ส่วนที่สาม “วีถีชีวิตคนเมืองเพชร” บอกเล่าวิถีชีวิตคนเมืองเพชรผ่านเรื่องราวของการทำนา การทำตาล การทำขนมหวาน และงานช่าง คุณวรรณภา บุญเจียมใจ เล่าถึงความเป็นมาของวัตถุต่างๆ ในห้องนี้ “อุปกรณ์ต่างๆ ชาวบ้านมอบให้ มีการติดป้ายชื่อ” หรือบางอย่างเป็นของจำลองเช่น ขนมหวาน มาจากชิ้นงานของนักศึกษาของสถาบันการศึกษาในพื้นที่ จากชั้นที่ 3 ของอาคาร สู่ชั้นที่ 4 ที่เป็นการจัดแสดงผลงานศิลปินร่วมสมัย “ห้องศิลปินร่วมสมัย” จัดแสดงผลงานศิลปะร่วมสมัยของศิลปินเมืองเพชรฯ ภาพเขียน ภาพถ่าย และงานสื่อผสม ซึ่งเป็นผลงานของศิลปินที่มอบให้
นอกจากนี้ ยังมีส่วนของการแสดงเชิดชูเกียรติศิลปิน ที่เป็นการบอกเล่าประวัติโดยย่อของศิลปินสาขาต่างๆ เช่น สมัย อ่อนวงศ์, ถนอม คงยิ้มละมัย, หรือแม้แต่มิตร ชัยบัญชา เพราะ “มิตรเป็นคนท่ากระเทียม ‘ชมรมคนรักมิตร’เป็นคนทำโปสเตอร์ เอาซีดีเอาภาพยนตร์ของมิตร มามอบให้ ตอนนั้น เขามาจัดงานที่ท่ากระเทียม แวะมาแล้วนำของมามอบให้ เขาจะมาจัดงานให้ “มิตร” ทุกปีที่วัดท่ากระเทียม” นอกจากนี้ยังมีห้องสมุด “ร่มตาล” สถานที่สำหรับการค้นคว้าความรู้ทางประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม และศิลปะเมืองเพชรบุรี รวมถึงการจัดนิทรรศการหมุนเวียนเป็นระยะๆ
อย่างไรก็ดี ปัญหาสำคัญของการสืบทอดงานช่าง คือเรื่องการใช้งาน เพราะหากเป็นงานช่างประเภทงานตกแต่งปูนปั้น ก็ยังมีคนให้ความสนใจกับการนำไปใช้ประดับตกแต่งศาสนสถาน หรือสถานที่สำคัญอื่นๆ แต่อย่างกรณีงานช่างที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน เช่น งานทำหัวโขน คนใช้น้อย ด้วยเหตุนี้ สำนักงานวัฒธรรมจังหวัดเพชรบุรี จึงได้ร่วมกับกลุ่มกิจกรรมในพื้นที่ เช่น “กลุ่มลูกหว้า” ที่มาจากการรวมตัวของเยาวชนในการเรียนรู้และทำกิจกรรมสาธารณะในจังหวัดเพชรบุรี เชิญศิลปินสาธิตร่วมในบริเวณทางขึ้นเคเบิลคาร์ เขาวัง ทุกวันเสาร์ โดยสำนักงานฯ เป็นผู้รับผิดชอบค่าวิทยากร หรือการเป็นวิทยากรในงานพระนครคีรี ก็เชิญท่านไปสาธิต ทำให้ศิลปินเหล่านั้นมีรายได้บ้าง
สำหรับเรื่องเกี่ยวกับ “กลุ่มลูกหว้า” คุณวรรณภาได้เท้าความให้ฟังว่า “เริ่มต้นด้วยการจัดอบรมการถ่ายทอดศิลปะมาตั้งแต่ปี 50-51 หลังจากที่ได้อบรมเด็ก มีการประเมินและที่ปรึกษา คืออาจารย์จำลอง บัวสุวรรณแสดงความกังวล ที่ครูภูมิปัญญาหลายท่านสามารถทำชิ้นงาน แต่ไม่สามารถถ่ายทอดให้เด็กเข้าใจได้ ด้วยเหตุนี้ เมื่อถ่ายทอดความรู้แล้ว บางครั้ง ไม่มีโอกาสขยายผู้ที่เรียนรู้ศิลปะต่อเนื่องไป จึงเห็นว่าไม่คุ้มค่า แล้วตอนนี้มี ‘กลุ่มดินสอสี’มาทำกิจกรรมที่วัดใหญ่ บ้านในฝันสัญจร กลุ่มดินสอสี เป็นคนนอกมาทำกิจกรรมในเพชรบุรีแบบมีส่วนร่วม แล้วเห็นลักษณะของกิจกรรมแบบนั้น เลยเอามาพัฒนากับงานตรงนี้ เลยตั้งเป็นกลุ่มลูกหว้าสืบสานงานสกุลช่างเมืองเพชร แล้วเอาไปอบรมกับครูช่าง แล้วเปลี่ยนบทบาทของเด็ก จากผู้เรียนมาเป็นผู้ถ่ายทอด เด็กเกิดความตระหนักว่า เขาไม่ใช่คนเรียนอีกต่อไปแล้ว เขาจะต้องคนสอนเขาต้องรู้มากขึ้น เขามาเผยแพร่ให้กับนักท่องเที่ยว แล้วเขาสนใจ เพราะว่าเป็นเด็ก เด็กได้รับคำชมจากนักท่องเที่ยวว่า เก่งนะ ทำได้ เด็กก็จะภาคภูมิใจ”
นอกจากปัญหาของการสืบสานงานช่างที่เกิดมาจากการถ่ายทอดแล้ว ปัญหาอีกประการหนึ่ง คือการขาดผู้เสพศิลป์ “ส่วนงานหนังใหญ่ประสบปัญหาด้านการแสดง ไม่มีการเล่น ไม่มีการแสดง ไม่มีการเชิด แม้เมืองเพชรฯ จะมีช่างตอกหนังใหญ่ และมีตัวหนังใหญ่ได้รับการอนุรักษ์ไว้ที่วัดพลับพลาไชย อยู่ในวิหารคันธราราช ส่วนงานตอกกระดาษ มีโอกาสใช้ในงานบุญ งานบวช งานเทศน์มหาชาติ หรืองานแทงหยวก ที่ใช้ในงานศพ ทำเป็นรูปโกฐ จะเผาไปพร้อมกับผู้ตาย แต่ต้องเป็นคนที่มีฐานะจึงจะให้ช่างทำเหล่านี้ได้ ถ้าคนธรรมดาไม่ได้ทำ”
ทั้งหมดนี้ คุณวรรณภากล่าวถึงปัญหาหลักของการสืบสานงานวัฒนธรรม ที่จะต้องมีผู้ใช้ผู้ชม หากผู้ใช้หรือผู้ชมมีจำนวนน้อยลง เป็นเงื่อนไขที่อธิบายว่าทำไมงานช่างนั้นๆ จะลดบทบาทลงไปด้วยเช่นกัน คุณวรรณภายังตัวอย่างงานละครชาตรี เวลาเล่นร้องรำ อย่างที่วัดมหาธาตุฯ เป็นเพียงการรำแก้บน ท่ารำไม่สวย การร้องไม่เต็มรูปแบบ เพราะคนเล่นก็ไม่รู้ว่าจะเล่นให้ใครดู ก็ไม่รู้จะเล่นไปทำไม พอเล่นๆ ไปแล้ว ไม่มีใครสนใจ กลายเป็นการเล่นเพื่อการแก้บนเท่านั้น
ในการเยี่ยมชมในวันนั้น เราเดินมาถึงห้องนิทรรศการชั่วคราว ซึ่งตั้งอยู่พื้นที่ชั้น 1 ของอาคาร ปรากฏเรือพระราชทานของปู่เย็น ซึ่งผู้อาวุโสที่เคยใช้ชีวิตอยู่บนเรือและอยู่ในแม่น้ำเพชรบุรี กระทั่งเมื่อ “ปู่เย็น”เสียชีวิตลง จึงได้มีการนำเรือพระราชทานมาเก็บไว้ที่ศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ ส่วนนิทรรศการชั่วคราวที่นำเสนอ เป็นนิทรรศการศิลปะร่วมสมัยที่จัดขึ้นเพื่อเชิดชูเกียรติ อ.ทองด้วง ผู้เป็นศิลปินแห่งชาติ
ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ / เขียน
สำรวจภาคสนามวันที่ 8 พฤษภาคม 2552
ส่วนที่ 1 ห้องครูช่างเมืองเพชร จัดแสดงประวัติและผลงานของครูช่างเมืองเพชรในอดีต เช่น ขรัวอินโข่ง ขุนศรีวังยศ หลวงพ่อฤทธิ์ อาจารย์เป้า ปัญโญ นายหวน ตาลวันนา นายเลิศ พ่วงพระเดช นายพิณ อินฟ้าแสง นายแป๋ว บำรุงพุทธ นายเทศ ลอยโพยม นายไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ เป็นต้น
ส่วนที่ 2 ห้องเพชรเมืองช่าง จัดแสดงงานสกุลช่างเมืองเพชรและประวัติของช่างปัจจุบัน ประกอบด้วยงานจิตรกรรม งานปูนปั้น งานแกะสลักไม้ งานจำหลักหนังใหญ่ งานแทงหยวก งานทำทอง งานปั้นหัวสัตว์ งานปั้นหัวโขน/หัวละคร งานลงรักปิดทอง งานประดับกระจก งานตอกกระดาษ งานลายรดน้ำ เป็นต้น
ส่วนที่ 3 คลังศิลปิน จัดแสดงผลงานศิลปินร่วมสมัยเมืองเพชร ประกอบด้วยงาน จิตรกรรม ประติมากรรม และภาพถ่ายเป็นต้น
ห้องที่ 4 วิถีชีวิตคนเพชร เป็นห้องที่จัดแสดงประวัติศาสตร์และวิถีชีวิตคนเพชรในด้านต่างๆ 4 ส่วน ได้แก่ การทำนา การทำน้ำตาล การทำขนมหวาน และงานช่าง โดยที่ศูนย์แห่งนี้ตั้งอยู่ที่ ชั้น3อาคารสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี โรงเรียนวัดดอนไก่เตี้ย(เดิม) ถนนดำเนินเกษม อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี 76000
ข้อมูลจาก
แผ่นพับ ศูนย์แสดงและสาธิตงานสกุลช่างเมืองเพชร
intranet.m-culture.go.th/phetchaburi/craft.htm[accessed20070219]
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
วิถีชีวิตท้องถิ่นและภูมิปัญญา งานศิลปะ ประวัติเมือง ศิลปิน ช่างเมืองเพชร
พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
จ. เพชรบุรี
พิพิธภัณฑ์ปานถนอม
จ. เพชรบุรี
ศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำ เขาย้อย
จ. เพชรบุรี