ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอเมืองนครปฐม มหาวิทยาลัยคริสเตียน


หนึ่งในภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยคริสเตียน คือ การจัดกิจกรรมเพื่ออนุรักษ์ส่งเสริม และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมแก่นักศึกษา และส่วนงานอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัย ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอเมืองนครปฐม มหาวิทยาลัยคริสเตียนจึงเป็นผลของภารกิจหลักของมหาวิทยาลัย วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมแห่งนี้ เพื่อศึกษา วิจัย และรวบรวมข้อมูลทางวัฒนธรรม โดยเน้นท้องถิ่นจังหวัดนครปฐมและจังหวัดในภูมิภาคตะวันตก เผยแพร่ข้อมูลทางวัฒนธรรม โดยเน้นสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และให้ความร่วมมือกับชุมชนและองค์กรภายนอกในการดำเนินกิจกรรมทางวัฒนธรรม อาคารศูนย์วัฒนธรรมอำเภอเมืองนครปฐมฯ เป็นอาคารที่มีรูปแบบประยุกต์จากสถาปัตยกรรมตามแบบศิลปะสมัยทวารวดี ผสมผสานกับศิลปะการก่อสร้างแบบสมัยใหม่ เป็นอาคารคอนกรีต 2 ชั้น โดยชั้นล่าง ประกอบด้วยห้องจัดนิทรรศการ ห้องทำงาน และห้องเก็บเอกสาร ส่วนชั้นบนเป็นหอประชุม

ที่อยู่:
มหาวิทยาลัยคริสเตียน 144 หมู่ 7 ต.ดอนยายหอม อ.เมือง จ.นครปฐม 73000
โทรศัพท์:
034-229480 ต่อ 1191,1193
วันและเวลาทำการ:
วันจันทร์-เสาร์ ตั้งแต่ 08:00 – 17:00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
อีเมล:
supot_ctu@yahoo.com,wispoo59@yahoo.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2550
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

รีวิวของศูนย์วัฒนธรรมอำเภอเมืองนครปฐม มหาวิทยาลัยคริสเตียน

หนึ่งในภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยคริสเตียน คือ การจัดกิจกรรมเพื่ออนุรักษ์ส่งเสริม และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมแก่นักศึกษา และส่วนงานอื่นๆ ในมหาวิทยาลัย 
 
ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอเมืองนครปฐม มหาวิทยาลัยคริสเตียนจึงเป็นผลของภารกิจหลักของมหาวิทยาลัย โดยเสนอผ่านศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2541 และสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครปฐมพิจารณาอนุมัติให้จัดตั้งศูนย์แห่งนี้ แต่อาคารแล้วเสร็จและเปิดอาคารอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2550 อาจารย์สุพจน์ สุทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้บอกถึงวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมแห่งนี้ให้เราฟังว่า เพื่อศึกษา วิจัย และรวบรวมข้อมูลทางวัฒนธรรม โดยเน้นท้องถิ่นจังหวัดนครปฐมและจังหวัดในภูมิภาคตะวันตก เผยแพร่ข้อมูลทางวัฒนธรรม โดยเน้นสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และให้ความร่วมมือกับชุมชนและองค์กรภายนอกในการดำเนินกิจกรรมทางวัฒนธรรม
 
อาจารย์สุพจน์ บอกอีกว่าวิธีการนำเสนอ หรือเผยแพร่ข้อมูล ทางศูนย์ฯ เน้นการเผยแพร่ด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการสืบค้นสามารถสืบค้นได้ในวงกว้าง ใครๆ ก็สามารถสืบค้นได้จากทั่วประเทศ ไม่ได้เน้นการจัดศูนย์วัฒนธรรมในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ อาจารย์บอกว่าการจัดนิทรรศการภายในศูนย์ฯ ยังพอมีให้เห็นบรรยากาศของรูปแบบพิพิธภัณฑ์อยู่บ้าง
 
ความร่วมมือกับชุมชนก็เป็นอีกหนึ่งภารกิจของศูนย์วัฒนธรรมแห่งนี้ ชุมชนสามตำบล เป็นชุมชนที่อยู่ด้านหลังของมหาวิทยาลัยคริสเตียน ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม มีการทำเครื่องหอมต่างๆ มีหมู่บ้านชาวไทยโซ่ง บ้านโพธิ์หัก หมู่บ้านเรือนไทยเดิม ซึ่งทางศูนย์วัฒนธรรมจะลงไปช่วยเหลือในการจัดองค์ความรู้ และบางหน่วยงาน เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)
 
มีการจัดสัมมนากับผู้นำชุมชน เพื่อวางแผนร่วมกัน เพื่ออนุรักษ์และพัฒนา ได้ร่วมมือกับชุมชนทำวิจัยและพัฒนาเมืองโบราณ เช่น เมืองนครไชยศรี คู คลองต่างๆ ไม่ให้สูญหาย หรือเสียหายมากไปกว่านี้
 
อาคารของศูนย์วัฒนธรรมแห่งนี้ โดยลักษณะของอาคารเป็นแบบทวารวดีประยุกต์ 2 ชั้นอาจารย์สุพจน์บอกว่า เพื่อสืบสานวัฒนธรรมทวารวดีในอดีต กับอารยธรรมปัจจุบันให้ผสมผสานกลมกลืนกัน ภายในอาคารชั้นบนจะเป็นส่วนของห้องประชุม ส่วนชั้นล่างจะจัดแสดงนิทรรศการ ที่มีชุดนิทรรศการหมุนเวียน ซึ่งอาจารย์สุพจน์บอกว่าจะมีการหมุนเวียน 1 ครั้งต่อ 1 ภาคการศึกษา และแน่นอนในส่วนนี้มีระบบมัลติมีเดียที่จัดแสดงเรื่องราวของศูนย์วัฒนธรรมแห่งนี้ ยังมีเรื่องราวอื่นๆ อีก เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับศูนย์วัฒนธรรม มีลิงค์ (Link) ย่อยนำไปสู่ข้อมูลของ บุคลากรศูนย์วัฒนธรรม, ประกาศกระทรวงฯ อนุญาตให้มีการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมแห่งนี้, วัตถุประสงค์ และหน้าที่รับผิดชอบของศูนย์, สถาปัตยกรรมศูนย์วัฒนธรรมฯ และความหมายตราสัญลักษณ์คริสเตียน
 
ข้อมูลทางวัฒนธรรม มีลิงค์(Link) ย่อยเข้าไปสู่ข้อมูลที่น่าสนใจของท้องถิ่นเช่น ภูมิปัญญาท้องถิ่นในจังหวัดนครปฐม, “ละคร” ในจังหวัดนครปฐม, ชาติพันธุ์ในจังหวัดนครปฐม, ประวัติเมืองนครปฐม, เมืองโบราณนครไชยศรี, เรือนไทย, แหล่งศิลปกรรมใน จ.นครปฐม, รายงานการวิจัย, ของดีนครปฐม, วรรณกรรมท้องถิ่น, ศิลปกรรมดอนยายหอม, ผู้มีผลงานดีเด่นนครปฐม, แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม, องค์พระปฐมเจดีย์, กิจกรรมศูนย์วัฒนธรรมฯ, มารยาทไทย และเกมลองปัญญา
 
ถึงแม้ทางศูนย์วัฒนธรรมจะเน้นการเผยแพร่ข้อมูลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ แต่อาจารย์สุพจน์ได้กล่าวกับเราว่ายินดีต้อนรับทุกท่านที่สนใจเข้ามาเรียนข้อมูลทางศิลปะและวัฒนธรรมถึงถิ่น แต่สำหรับท่านที่ไม่มีเวลาเดินทางมาที่ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอเมืองนครปฐม แห่งนี้ ยังสามารถเข้าไปสืบค้นข้อมูลทางเว็บไซต์ของทางศูนย์ได้ตลอดเวลา
 
เรื่อง/ภาพ : ณัฐพัชร์  ทองคำ
สำรวจ : 5 มิถุนายน 2551
ชื่อผู้แต่ง:
-