พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย


พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย เกิดจากแรงบันดาลใจของผู้สร้างสรรค์ นำโดยอาจารย์ดวงแก้ว พิทยากรศิลป์ ในการสร้างสรรค์หุ่นขี้ผึ้งไทยตามแบบพิพิธภัณฑ์มาดามทุสโซ จัดแสดงหุ่นชุดต่าง ๆ ภายในอาคาร 2 ชั้น ได้แก่ ชุดประวัติศาสตร์ ผลงานเทิดพระเกียรติฯ อดีตพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี รัชกาลที่ 1-9 ชุดบุคคลสำคัญ ได้แก่ พระเกจิอาจารย์คนสำคัย อาทิ สมเด็จโต หลวงปู่สุข หลวงปู่ศุข นิทรรศการพิเศษสามครูเพลงไทย คือครูเอื้อ สุนทรสนาน พรานบูรพ์ ครูไพบูลย์ บุตรขัน และสามบุคคลสำคัญของโลกคือ เซอร์วินสตัน เชอร์ชิล มหาตมะคานธี และอับราฮัม ลินคอล์น และชุดวิถีไทย ประกอบด้วย หุ่นชุดหมากรุกไทย ครอบครัวไทย สนใจในข่าว เลขาน่ารัก เหนื่อยนักพักก่อน เป็นต้น

ที่อยู่:
43/2 หมู่ 1 ถ.ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี ต.ขุนแก้ว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม 73120
โทรศัพท์:
0-3433-2607, 034-332061
วันและเวลาทำการ:
เปิดจันทร์-ศุกร์ 09.00-17.30 น.เสาร์-อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ 08.30-18.00 น.
ค่าเข้าชม:
คนไทยผู้ใหญ่ 80 บาท เด็ก 20 บาท นิสิตนักศึกษาในเครื่องแบบ พระภิกษุ สามเณรแม่ชี 20 บาท ชาวต่างชาติ 200 บาท
เว็บไซต์:
อีเมล:
info@rosenini.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2527
จัดการโดย:
เนื้อหา:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

15 ปี พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้ง เรียนรู้มิติอดีตบนเส้นทางท่องเที่ยว

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 2/6/2547

ที่มา: มติชนรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

เปิดตัว 6 หุ่นขี้ผึ้งบุคคลสำคัญฉลอง 15 ปี พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้ง

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 12/22/2546

ที่มา: ผู้จัดการรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งโละ หุ่นราชวงศ์อังกฤษ

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 7/30/2546

ที่มา: ไทยรัฐ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้ง

ชื่อผู้แต่ง: จรินทร์ คำคล้าย | ปีที่พิมพ์: 2511

ที่มา: สถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร

แหล่งค้นคว้า: มหาวิทยาลัยศิลปากร

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้ง

ชื่อผู้แต่ง: ฉัตรชัย ศิริสุจินต์ | ปีที่พิมพ์: 2529

ที่มา: สถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร

แหล่งค้นคว้า: มหาวิทยาลัยศิลปากร

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ประติมากรรมชีวิตไทย ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้ง

ชื่อผู้แต่ง: สมศิริ ยิ้มเมือง | ปีที่พิมพ์: 2, 13(ม.ค. 37)หน้า 81-85

ที่มา: สยามอารยะ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

เที่ยวชม"พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย" ได้ความประทับใจควบคู่ความรู้

ชื่อผู้แต่ง: อริย์ธัช พรอัวโยธิน,พรเพ็ญ หลิมสัมพันธ์ | ปีที่พิมพ์: 23-01-2552

ที่มา: คม ชัด ลึก

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

“พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย” หุ่นจำลอง สะท้อนชีวิตคน

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 10 มิ.ย. 2559;10-06-2016

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 14 มิถุนายน 2559


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย

งานการสร้างสรรค์หุ่นขี้ผึ้งไฟเบอร์กลาส ก่อเกิดขึ้นจากภูมิปัญญาของคนไทยกลุ่มหนึ่งนำโดยอาจารย์ดวงแก้ว พิทยากรศิลป์ ร่วมกับคณะได้ทำการค้นคว้า ทดลอง แก้ปัญหาด้านอุปกรณ์ เครื่องไม้เครื่องมือ ซึ่งต้องออกแบบสร้างขึ้นเอง หุ่นรูปแรกที่สร้างเสร็จคือ หุ่นขี้ผึ้งรูปพระราชสังวราภิมณฑ์ (หลวงปู่โต๊ะ) ใช้เวลารวม 3 ปี (จาก พ.ศ. 2525 - 2527) จากนั้นใน พ.ศ. 2527 จึงจัดวางโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไฟเบอร์กลาสแห่งแรกของประเทศไทย โดยใช้ชื่อว่า พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย ก่อสร้างเสร็จใน พ.ศ. 2531 และทำพิธเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อ วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2532 
 
จุดเด่นของการจัดแสดง ชั้นล่างของอาคาร ได้แก่หุ่นชุด "พระอริยสงฆ์" เกิดจากแรงพระอริยสงฆ์ในฐานะปูชนียบุคคล การจัดแสดงชุดนี้มิใช่เพียงการจำลองรูปลักษณ์ได้อย่างมีชีวิตชีวาเท่านั้น หากยังได้รับการประดิษฐานอยู่ท่ามกลางองค์ประกอบและบรรยากาศที่แลดูขรึมขลังเสมือนจริง นอกจากนั้นยังมีชุด "ท้องพระโรงพระบรมรูปอดีตพระมหากษัตริย์พระบรมราชจักรีวงศ์ รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 8" และชุด "มุมหนึ่งของชีวิต" อาทิประติมากรรม "หมากรุกไทย" ที่ถ่ายทอดลีลาชีวิต นิสัยใจคอของคู่ต่อสู้ที่มุ่งมั่นไขว่คว้าชัยชนะ แววตาเย้ยหยันของผู้ได้เปรียบในเกม สายตาของผู้เสียเปรียบที่ครุ่นคิดหาทางแก้เกมให้ได้ ประติมากรรมชุด "เหนื่อยนักพักก่อน" เป็นอีกชุดที่เรียกรอยยิ้มและเสียงหัวเราะจากผู้ชมทุกคนเมื่อเห็นภาพหุ่นที่หลับใหลบ่งบอกชีวิตที่เหนื่อยล้าต้องการพักผ่อนเพื่อเรียกพลังชีวิตคืนมาอีกครั้ง
 
หุ่นไฟเบอร์กลาส พระบรมรูปสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และข้อมูลพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจของพระองค์ท่าน และยังจะมีหุ่นชุดใหม่ทยอยออกมาให้ได้ชื่นชมกันอย่างต่อเนื่อง
 
ชั้นบนจัดแสดงหุ่นชุดสมเด็จพระปิยมหาราชกับการเลิกทาส วรรณคดีไทย เรื่องพระอภัยมณีของสุนทรภู่ การละเล่นพื้นบ้าน ชุด "หัวล้านชนกัน" และการละเล่นของเด็กไทย
 
หุ่นไฟเบอร์กลาสล่าสุดคือ ชุดบุคคลสำคัญ อาทิ พรานบูรพ์ ครูเอื้อ สุนทรสถาน มหาตะมะ คานธี เป็นต้น
หุ่นแต่ละชุดนอกจากจะสร้างขึ้นด้วยใจรัก ฝีมือทางศิลปะอันเป็นเลิศแล้ว ยังเกิดจากการค้นคว้าวิจัยเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง สามารถใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงและค้นคว้าต่อไปภายภาคหน้า
 
ข้อมูลจาก : 
1. แปลน รีดเดอร์ส. 100 พิพิธภัณฑ์กรุงเทพฯ-ปริมณฑล: โลกกว้างอยู่ไม่ไกล. กรุงเทพฯ : แปลนพริ้นติ้งแอนด์พับลิงชิ่ง, 2546. หน้า 144.
2. การสำรวจ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2548
ชื่อผู้แต่ง:
-

“พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย” หุ่นจำลอง สะท้อนชีวิตคน

ใครที่เคยดูละครเรื่องห้องหุ่น คงจะจำได้ดีถึงความน่ากลัวของหุ่นแต่ละตัว ที่ราวกับมีชีวิต มีเลือดเนื้อ ไม่ใช่เพียงหุ่นที่ตั้งอยู่กับที่เฉยๆ เมื่อสมัยเด็กฉันก็คิดอยู่ว่า หุ่นที่เหมือนคนจริงๆ พวกนี้จะมีจริงหรือไม่ แต่เมื่อเติบโตขึ้นมาแล้วถึงได้เห็นกับตาตัวเองว่า หุ่นที่หน้าตาท่าทางเหมือนคนที่มีชีวิตก็มีให้เราได้เห็นจริงๆ ซึ่งใครที่อยากมาเจอกับหุ่นตัวเป็นๆ อย่างฉัน ก็ต้องมาที่นี่เลย “พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย”
ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-