พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ เป็นพิพิธภัณฑสถานประเภทโบราณคดีและประวัติศาสตร์โบราณวัตถุที่นำมาจัดแสดงส่วนใหญ่เป็นศิลปะสมัยทวาราวดี (พุทธศตวรรษที่ 12-16) ที่เก็บรวบรวมได้ในจังหวัดนครปฐม ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวของนครปฐมในอดีต เริ่มตั้งแต่หลักฐานทางโบราณคดีที่พบในนครปฐม ซึ่งมีอายุเก่าไปถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อราว 2,000-3,000 ปีล่วงมาแล้ว พัฒนาการของนครปฐมในยุคเริ่มแรกของสมัยประวัติศาสตร์ ซึ่งมีการติดต่อรับอารยธรรมจากอินเดีย และพัฒนาจนมีรูปแบบเป็นของตนเอง ในนามของ วัฒนธรรมแบบทวาราวดี นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึง ศาสนาและความเชื่อของคนทวาราวดีที่นครปฐม โดยวิเคราะห์จากโบราณวัตถุและโบราณสถานที่พบในจังหวัดนครปฐม เน้นที่ เจดีย์จุลประโทน ซึ่งเป็นเจดีย์สำคัญกลางเมืองนครปฐมโบราณ
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 2,16 (เม.ย. 37) หน้า95-98
ที่มา: สยามอารยะ
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: อุษา ง้วนเพียรภาค | ปีที่พิมพ์: 2548
ที่มา: กรุงเทพฯ : สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
แหล่งค้นคว้า: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์
การก่อตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ มีมูลเหตุมาจากความพยายามในการรวบรวมโบราณวัตถุที่กระจัดกระจายอยู่ภายในแขวงมณฑลนครชัยศรี กล่าวคือ ในราวปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) พระองค์ทรงโปรดให้มีการย้ายเมืองนครชัยศรีจากตำบลบ้านท่านา มายังบริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ โดยขณะนั้นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการรวบรวมโบราณวัตถุที่กระจัดกระจายอยู่ภายในแขวงมณฑลนครชัยศรี เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าวนั้น ได้มีการรื้อทำลายโบราณสถานและโบราณวัตถุโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ตัดผ่านจังหวัดนครปฐม จึงเกิดการรื้อทำลายโบราณสถานเพื่อปรับหน้าดิน รวมถึงการนำเอาเศษอิฐจากโบราณสถานไปถมสร้างรางรถไฟด้วย ฯลฯ
ดังนั้น ในปี พ.ศ.2438 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ จึงทรงมีพระดำริให้ทำการรวบรวมโบราณวัตถุ ในแขวงมณฑลนครชัยศรี โดยขณะนั้นเจ้าพระยาศรีวิไชยชนินทร์ สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครชัยศรี จึงมอบให้หลวงพุทธเกษตรานุรักษ์ (จร จรณี) กับหลวงไชยราษฎร์รักษา (โพธิ์ เคหะนันท์) เป็นผู้ดำเนินการรวบรวมโบราณวัตถุ
โบราณวัตถุที่รวบรวมได้ในระยะแรก ได้ถูกนำมาเก็บรักษาไว้บริเวณระเบียงคดรอบองค์พระปฐมเจดีย์ ต่อมาได้มีการเคลื่อนย้ายโบราณวัตถุดังกล่าวเข้าไปไว้ในวิหารด้านตรงข้ามพระอุโบสถ ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2454 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงรามชานุภาพ โปรดประทานชื่อวิหารหลังนี้ว่า “พระปฐมเจดีย์พิพิธภัณฑสถาน”
ในปี พ.ศ.2477 กรมศิลปากรได้รับ พระปฐมเจดีย์พิพิธภัณฑสถาน เข้ามาเป็นสาขาหนึ่งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ต่อมาเมื่อมีการประกาศใช้ “พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.2504” นั้น บทบัญญัติในพระราชบัญญัติดังกล่าว ได้กำหนดให้พิพิธภัณฑสถานในความดูแลของกรมศิลปากร เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติด้วย ดังนั้น พระปฐมเจดีย์พิพิธภัณฑสถาน จึงเปลี่ยนชื่อเป็น “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์”
อย่างไรก็ดีย้อนไปเมื่อรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) งานสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดี ตลอดจนงานขุดแต่งบูรณะโบราณสถานภายในจังหวัดนครปฐม ได้ดำเนินไปอย่างกว้างขว้าง เป็นผลให้มีโบราณวัตถุเพิ่มเข้ามายังพิพิธภัณฑ์ฯเป็นจำนวนมาก ทำให้อาคารจัดแสดงหลังเดิม (อาคารจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์วัดพระปฐมเจดีย์ ในปัจจุบัน) นั้นมีขนาดไม่เพียงพอต่อการจัดแสดงโบราณวัตถุ ที่นับวันจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในปี พ.ศ.2510 กรมศิลปากร จึงได้อนุมัติงบประมาณเพื่อใช้ก่อสร้างอาคารจัดแสดงหลังปัจจุบันของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ หลังจากการก่อสร้างแล้วเสร็จ จึงได้เคลื่อนย้ายโบราณวัตถุจากอาคารจัดแสดงหลังเดิม มายังอาคารจัดแสดงหลังใหม่และทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2514 โดยใช้ชื่ออาคารหลังใหม่นี้ว่า “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์” โดยโบราณวัตถุและศิลปวัตถุที่จัดแสดง ส่วนใหญ่นั้นเป็นโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ เนื่องในวัฒนธรรมทวารวดี
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ เป็นพิพิธภัณฑสถานประเภทโบราณคดีและประวัติศาสตร์โบราณวัตถุที่นำมาจัดแสดงส่วนใหญ่เป็นศิลปะสมัยทวาราวดี (พุทธศตวรรษที่ 12-16) ที่เก็บรวบรวมได้ในจังหวัดนครปฐม ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวของนครปฐมในอดีต เริ่มตั้งแต่หลักฐานทางโบราณคดีที่พบในนครปฐม ซึ่งมีอายุเก่าไปถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อราว 2,000-3,000 ปีล่วงมาแล้ว พัฒนาการของนครปฐมในยุคเริ่มแรกของสมัยประวัติศาสตร์ ซึ่งมีการติดต่อรับอารยธรรมจากอินเดีย และพัฒนาจนมีรูปแบบเป็นของตนเอง ในนามของ วัฒนธรรมแบบทวาราวดี นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึง ศาสนาและความเชื่อของคนทวาราวดีที่นครปฐม โดยวิเคราะห์จากโบราณวัตถุและโบราณสถานที่พบในจังหวัดนครปฐม เน้นที่ เจดีย์จุลประโทน ซึ่งเป็นเจดีย์สำคัญกลางเมืองนครปฐมโบราณ
ข้อมูลจาก :
สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ.“เที่ยว ท่อง ย่ำ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ” : สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม.กรุงเทพฯ,มปป. หน้า 28-29
https://www.finearts.go.th/
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ทวารวดี พระปฐมเจดีย์
พิพิธภัณฑ์พระพุทธวิถีนายก
จ. นครปฐม
พิพิธภัณฑ์วิถีชีวิตชุมชนบ้านคลองผีเสื้อ
จ. นครปฐม
บ้านเก่าเล่าเรื่อง ตลาดบางหลวง
จ. นครปฐม