หอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก


เนื่องจากมหาวิทยาลัยมหิดลต้องการสร้างอาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล การออกแบบก่อสร้างนอกจากจะตอบโจทย์เรื่องภารกิจของอาคารที่รองรับการทำกิจกรรมของนักศึกษาแล้ว ยังต้องการให้เกิดประโยชน์ใช้สอยและมีคุณค่ามากที่สุด และเป็นพื้นที่ที่ทำให้เกิดความรู้สึกและเป็นแหล่งหลอมรวมจิตใจความเป็นมหิดล โดยสิ่งที่น่าจะเป็นศูนย์รวมแห่งศรัทธาได้คือ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกที่มีรากฐานมีความผูกพันกับมหาวิทยาลัยมหิดลมาเป็นเวลายาวนาน เพราะท่านเป็นผู้วางรากฐานทางด้านการแพทย์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยจึงสร้างพื้นที่ขึ้นมา 2 ส่วน คือ สถานที่จัดแสดงงานจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ของมหาวิทยาลัย ประกอบไปด้วย 2 พื้นที่ใหญ่ ๆ คือ หอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนกกับหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล ใช้คอนเซปต์ คือ ฟ้า รุ้ง ดิน ธาตุ โดยหอพระราชประวัติฯ ใช้แนวคิดเรื่อง “ฟ้า” สื่อถึง “เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช” อย่างไรก็ตามสิ่งที่จัดแสดงไม่ได้มุ่งเน้นไปที่ประวัติบุคคล แต่เน้นการตีความและดึงสิ่งที่เป็นผลงานที่ท่านทำเป็นคุโณปการต่อแผ่นดิน แบ่งเนื้อหาการจัดแสดงออกเป็น 7 โซน ดังนี้ 1.ปัญญาของแผ่นดิน 2.เจ้าฟ้าของแผ่นดิน 3.เจ้าฟ้านักเดินทาง 4.ประทีปแห่งปัญญา 5.รักษ์คนไข้ด้วยความรัก 6.กันภัยมหิดล 7.หยั่งรากในแผ่นดิน แสดงการสืบสานพระราชปณิธานในด้านต่าง ๆ ที่สมเด็จพระบรมราชชนกทรงริเริ่มไว้

ที่อยู่:
ชั้น 3 ศูนย์การเรียนรู้มหิดล ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์:
0-2800-2680-9 ต่อ 4346-7 โทรสาร 0-2442-9580
วันและเวลาทำการ:
จันทร์-ศุกร์ 8.30-16.30 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
อีเมล:
muarms@mahidol.ac.th
ปีที่ก่อตั้ง:
2554
จัดการโดย:
เนื้อหา:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

รีวิวของหอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก

วันที่ 24 กันยายนของทุกปีเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ผู้ทรงสนับสนุนและทรงศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาการแพทย์ในประเทศไทย ทั้งด้านการแพทย์สมัยใหม่และการแพทย์สาธารณสุข จึงมีความเห็นพ้องต้องกันกำหนดให้วันที่ 24 กันยายนของทุกปีเป็นวันน้อมรำลึกถึงพระองค์โดยให้ชื่อว่า “วันมหิดล” จากพระราชกรณียกิจที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญแก่วงการแพทย์และการสาธารณสุขของประเทศไทยมาโดยตลอดได้เสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่โรงเรียนแพทย์และ พัฒนาการเรียนการสอนตลอดจนการผลิตแพทย์ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพอันเป็น การวางรากฐานแก่การแพทย์และการสาธารณสุขไทยให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศ จนได้รับการขนานนามว่า “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย”

ทุกวันที่ 24 กันยายนของทุกปีจะมีพิธีวางพวงมาลาถวายบังคมพระบรมรูปและอ่านคำสดุดีพระ เกียรติเพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ นอกจากนี้แล้วทางมหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันการศึกษาอีกแห่งที่ได้ยึดแนวทางการดำเนินชีวิตของพระองค์เป็นต้นแบบ ได้จัดสร้าง “หอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก” ขึ้นเพื่อให้นักศึกษาและคนรุ่นใหม่ได้มีโอกาสศึกษาพระราชประวัติของพระองค์ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการบำเพ็ญประโยชน์ต่อประเทศชาติ โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯทรงเปิดและให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2554 ที่ผ่านมา

รองศาสตราจารย์ ดร.อนุชาติ พวงสำลี ประธานคณะกรรมการอำนวยการหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายถึงการก่อสร้างหอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนกว่า เนื่องจากมหาวิทยาลัยต้องการสร้างอาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดลซึ่งเป็นอาคารทดแทนอาคารเดิมคือ ศูนย์อาหารและอาคารกิจกรรมนักศึกษาที่เป็นอาคารยุคแรกของมหาวิทยาลัย การออกแบบก่อสร้างนอกจากจะตอบโจทย์เรื่องภารกิจของอาคารที่รองรับการทำกิจกรรมของนักศึกษาแล้วยังต้องเกิดประโยชน์ใช้สอยและมีคุณค่ามากที่สุด คือเป็นพื้นที่ที่ทำให้เกิดความรู้สึกและเป็นแหล่งหลอมรวมจิตใจความเป็นมหิดล โดยสิ่งที่น่าจะเป็นศูนย์รวมแห่งศรัทธาได้คือ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกที่มีรากฐานมีความผูกพันกับมหาวิทยาลัยมหิดลมาเป็นเวลายาวนาน เพราะท่านเป็นผู้วางรากฐานทางด้านการแพทย์และการสาธารณสุข

นอกจากนี้ท่านยังมีคุโณปการอีกมากมาย ทางมหาวิทยาลัยจึงสร้างพื้นที่ขึ้นมา 2 ส่วน คือ สถานที่จัดแสดงงานจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ของมหาวิทยาลัย ประกอบไปด้วย 2 พื้นที่ใหญ่ ๆ คือ หอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนกกับหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล ใช้คอนเซปต์ คือ ฟ้า รุ้ง ดิน ธาตุ โดยหอพระราชประวัติฯ ใช้แนวคิดเรื่อง “ฟ้า” สื่อถึง “เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช” ลักษณะของห้องที่จัดนิทรรศการหอพระราชประวัติฯ นี้ ทำเป็นนิทรรศการที่เงียบสงบ เรียบง่าย เพื่อให้เกิดความรู้สึกที่นักศึกษาหรือคนรุ่นใหม่เข้ามาเยี่ยมชมแบบช้า ๆ ค่อย ๆ ทยอยมาเรียนรู้และซึมซับ โดยสิ่งที่เราหวังว่าจะได้กลับไปคือแรงบันดาลใจ เพราะมีบ่อน้ำตรงกลางห้อง เรียกว่า “บ่อน้ำแห่งปัญญา” ซึ่งจะเหมือนกับปัญญาที่ได้รับมาจากฟ้า โดยจะมีข้อความที่เป็นคำสอนของสมเด็จพระบรมราชชนกลอยอยู่ในบ่อน้ำให้ผู้มาชมอ่านและซึมซับเข้าสู่เบื้องลึกของจิตใจ

อย่างไรก็ตามสิ่งที่จัดแสดงไม่ได้มุ่งเน้นไปที่ประวัติบุคคล แต่เน้นการตีความและดึงสิ่งที่เป็นผลงานที่ท่านทำเป็นคุโณปการต่อแผ่นดินออกมา จึงแบ่งเนื้อหา 7 พื้นที่ได้แก่

1. “ปัญญาของแผ่นดิน” ส่วนเปิดของนิทรรศการ แสดงให้เห็นถึงการเป็นต้นแบบปํญญาของแผ่นดินของสมเด็จพระบรมราชชนก โดยสะท้อนจากพระราชดำรัสของพระองค์ รวมทั้งพระราชกรณียกิจที่มุ่งประโยชน์ส่วนรวมและมนุษยชาติ

2. “เจ้าฟ้าของแผ่นดิน” แสดงพระราชประวัติของสมเด็จพระบรมราชชนกโดยสังเขป ตั้งแต่การประสูติจนถึงสิ้นพระชนม์ รวมทั้งแสดงบริบททางสังคมไทยและสังคมโลกในช่วง พ.ศ. 2435 – 2472 ทั้งการรับความเจริญจากตะวันตกยุคล่าอาณานิคมและวแนวคิดมนุษยนิยม ซึ่งส่งผลต่อ “ตัวตน” ของพระองค์

3. “เจ้าฟ้านักเดินทาง” แสดงการเสด็จฯ ไปยังสถานที่ต่างๆ ทั้งในประะเทศและต่างประเทศของสมเด็จพระบราราชชนก ทำให้ทอดพระเนตรเก็นสภาพบ้านเมืองและความเป็นอยู่ของผู้คน และทรงถ่ายทอดพระประสบการณ์ของพระองค์ผ่านงานศิลปะ รวมทั้งพระราโชวาทที่พระราชทานแก่นักเรียนไทย

4. “ประทีปแห่งปัญญา” แสดงพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระบรมราชชนกด้านการศึกษาที่ทรงมุ่งมั่นในการสร้างคน ทรงสนับสนุนด้านการเรียนการสอนและพระราชทานทุนการศึกษา

5. “รักษ์คนไข้ด้วยความรัก” แสดงความมุ่งมั่นและทุ่มเทของสมเด็จพระบรมราชชนกในการศึกษา และการทำงานด้านการแพทย์และสาธราณสุข รวมทั้งการรักษาคนไข้แบบเอาใจเขามาใส่ใจเรา มุ่งเน้นการรักษาด้านจิตใจควบคู่ไปกับร่างกาย อีกทั้งการที่มิได้ถือพระองค์ว่าเป็นเจ้า และมิได้ทรงรังเกียจคนไข้ ทำให้ทรงเป็นที่รักของประชาชน ซึ่งเรียกพระองค์ว่า “หมอเจ้าฟ้า”
6. “กันภัยมหิดล” แสดงผลจากพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระบราราชชนกที่ทรงสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่สังคมไทยในด้านต่างๆ เช่น การแพทย์และสาธารณสุข การศึกษา และวิทยาการต่างๆ

7. “หยั่งรากในแผ่นดิน” แสดงการสืบสานพระราชปณิธานด้านต่างๆ ที่สมเด็จพระบรมราชชนกทรงริเริ่มไว้ หากท่านใดสนใจเข้าชมนิทรรศการสามารถเข้าชมได้ตามวันและเวลาราชการหรือ หากต้องการมาเป็นกลุ่ม หมู่คณะ นอกเหนือเวลาราชการก็สามารถติดต่อทางมหาวิทยาลัยเพื่อเข้าชมได้

วริสรา แสงอัมพรไชย / สรุปความ

ข้อมูลจาก
เอกสารนำชม หอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=486&contentId=164846 
ชื่อผู้แต่ง:
-