พิพิธภัณฑ์ศิลปะนกฮูก


พิพิธภัณฑ์ศิลปะนกฮูก เป็นพิพิธภัณฑ์ของสะสมส่วนบุคคลของรศ.ปรีชา ปั้นกล่ำ และครอบครัว เป็นแหล่งรวมงานศิลปะ งานออกแบบ ที่ได้แรงบันดาลใจจากนกฮูกหรือนกเค้าแมว จากหลากหลายสถานที่ ทั้งในเมืองไทยและจากต่างประเทศ การจัดแสดงแบ่งเป็น 6 โซน ตามเนื้อหาและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ความเชื่อและจิตวิญญาณ สุนทรีย์กับชีวิต สื่อสัญลักษณ์ ห้องนักสะสม ศิลปะและหัตถกรรมสร้างสรรค์ และแรงบันดาลใจ เป็นต้น

ที่อยู่:
10/3 ม.1 ต.ไทยาวาส อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม 73000
โทรศัพท์:
ปิดถาวร (034-339721, 09-7131-3445, 081-8096867)
โทรสาร:
034-339721
วันและเวลาทำการ:
ปิดถาวรตั้งแต่ 31 สิงหาคม 2561 (เดิมเคยเปิดวันอังคาร-วันศุกร์ เวลา 10.00 น.-18.00 น. วันเสาร์-วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00-19.00 น.)
ค่าเข้าชม:
(เด็ก 40 บาท ผู้ใหญ่ 60 บาท)
อีเมล:
owlartmuseum@yahoo.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2555
ของเด่น:
ครกรูปนกฮูก จากอ่างศิลา มีใบเดียวในโลก
จัดการโดย:
สถานะ:

โดย:

วันที่: 21 มีนาคม 2555

โดย:

วันที่: 21 มีนาคม 2555

โดย:

วันที่: 21 มีนาคม 2555

โดย:

วันที่: 21 มีนาคม 2555

โดย:

วันที่: 21 มีนาคม 2555

โดย:

วันที่: 21 มีนาคม 2555

โดย:

วันที่: 21 มีนาคม 2555

โดย:

วันที่: 21 มีนาคม 2555

ไม่มีข้อมูล

ฮ.นกฮูกน่ารัก ที่ “พิพิธภัณฑ์ศิลปะนกฮูก”

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 2 ส.ค. 2556;02-08-2013

ที่มา: ผู้จัดการ

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 05 สิงหาคม 2556

ปรีชา ปั้นกล่ำ กับพิพิธภัณฑ์ศิลปะ “ตาโต ตัวพอง” นามว่า “นกฮูก”

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 18 มิ.ย. 2555;18-06-2012

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 21 เมษายน 2557


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์ศิลปะนกฮูก

 
“นกฮูกเป็นสายสัมพันธ์กับมนุษย์ที่แนบแน่นยาวนาน ด้วยความเชื่อที่แตกต่างกันแต่ละภูมิประเทศพื้นถิ่น... ตำนานเกี่ยวกับนกฮูกทำให้รู้สึกสยอง เพราะเป็นสัตว์ที่หากินในยามค่ำคืน เด็กคนไหนไม่เข้านอน นกฮูกกลายเป็นเครื่องมือที่หลอกให้เด็กกลัวและเข้านอน ...หรือถ้ามีคนท้องกำลังคลอดลูกด้วยหมอตำแย ก็ต้องคอยสอดส่องไม่ให้นกฮูกนกผีมาเยือนเป็นอันขาด” (เอกสารประชาสัมพันธ์ พิพิธภัณฑ์ศิลปะนกฮูก)
 
พิพิธภัณฑ์ศิลปะนกฮูกแห่งนี้ก่อตัวขึ้นจากเรื่องราวในครอบครัวเล็กๆ ของ รศ.ปรีชา ปั้นกล่ำ อาจารย์ประจำภาวิชาประยุกต์ศิลปศึกษา คณะมัณฑณศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การสะสมผลงานศิลปะนกฮูกและวัตถุข้าวของที่ได้แรงบันดาลใจการเรื่องเล่านิทานก่อนนอนให้ลูกฟัง แต่ “พอเล่าไปได้สักระยะหนึ่ง นิทานเริ่มหมด เราเริ่มรู้จักนกฮูกและสิ่งแวดล้อมรอบๆ บ้าน ยังมีนกฮูก ยังมีสิงสาราสัตว์กลางคืนอยู่ ก็เอาเรื่องนกฮูกมาเล่า ทั้งในเชิงลบเชิงบวก แล้วเสร็จแล้ว พยายามค้นหาที่ลงว่า เล่ากันสดๆ แต่งกันเดี๋ยวนั้น” จากการเล่านิทานสู่การเก็บสะสม การสะสมชิ้นงานที่ได้รับแรงบันดาลใจจากนกฮูก เป็นกุศโลบายสำคัญที่อาจารย์ปรีชา ต้องการที่จะปลูกฝั่งให้ลูกเป็นคนรู้จักทะนุถนอมและใส่ใจกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จึงพยายามเชื่อมโยงเรื่องเล่ากับวัตถุข้าวของที่เกี่ยวข้องกับนกฮูก “เราเลี้ยงลูก อยากหาวิธีสอนลูกให้รู้จักความรัก เอาใจใส่ของบางอย่าง เลยคิดว่า ของสะสม น่าจะเป็นโจทย์ที่ดีสำหรับการเริ่มต้น เลยชวนกันพ่อแม่ลูกสะสมนกฮูก”
 
ผลของการฝึกให้ลูกสะสมชิ้นงานคือ “เขารู้จักการเก็บรักษาดูแล จัดระเบียบ สิ่งของเหล่านั้น แล้วมาดูว่า ของอยู่ในสภาพอย่างไร ตรงนั้น ทำให้เกิดรูปเล่านี้ขึ้นมา ท้ายที่สุด พอเขามีเยอะๆ ตอนนี้ ติดนิสัยตรงนี้ ตอนนี้เขาไม่ได้สะสมตรงนี้แล้ว แต่พ่อแม่ยังเลิกไม่ได้ เขาไปสะสมสิ่งที่เขาชอบเอง ตอนนี้สิบขวบ หุ่นยนต์บ้าง เต็มบ้าน แต่ได้นิสัยในการเก็บรักษาของ เป็นตามที่เราได้ตั้งใจไว้”การสะสมชิ้นงานที่ใช้เป็นกลยุทธ์ในการอบรมลูกนี้เอง ที่ทำให้วัตถุสะสมมีจำนวนมากขึ้น และ “ท้ายที่สุด เก็บสะสมนกฮูกได้ระยะหนึ่ง พอมองไปเต็มห้องไปหมด แล้วมองว่าสิ่งสะสม คือองค์ความรู้ที่แฝงเร้นมากับงานออกแบบ งานศิลปะ ซึ่งทั่วโลก มีความคิดความเชื่อหลายอย่างเกี่ยวกับนกฮูก แล้วศิลปินนักออกแบบ ที่มีออกแบบวิถีชีวิต เชื่อมโยงกับแต่ละพื้นถิ่นแตกต่างกันไป”อาจารย์ปรีชาเห็นพ้องกับภรรยาในการนำความรู้ต่างๆ เหล่านี้มาเผยแพร่ในรูปของพิพิธภัณฑ์ เพราะหากเราเก็บไว้ที่บ้าน คงได้ประโยชน์กับคนในครอบครัวเท่านั้น

แม้อาจารย์ปรีชาตระเวนไปหลายแห่งๆ เพื่อหาสถานที่สำหรับการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ศิลปะนกฮูก แต่มาลงเอยสถานที่ที่ปรากฏในปัจจุบัน ซึ่งอยู่อีกฝากหนึ่งของแม่น้ำนครชัยศรีใกล้ตลาดท่านา อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เพราะบน “เส้นทางสายนี้มีพิพิธภัณฑ์เยอะ มีแหล่งเรียนรู้เชิงเกษตร วัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์ชาวนาไทย หุ่นขี้ผึ้ง ตลาดน้ำ ผมคิดว่า น่าจะเชื่อมโยงกับเซ็นเตอร์ตรงนั้นได้ มาวันเดียวแล้วได้เต็มพื้นที่ มันสามารถหย่อนตรงนั้นตรงนี้ มีตลาดท่านาเป็นจุดใหญ่”อาจารย์เท้าความว่าเดิมทีสถานที่แห่งนี้เป็น “เป็นร้านอาหาร เป็นคาราโอเกะ”แต่ด้วยเหตุนี้ มีโครงสร้างอยู่เดิม และเมื่อได้มีโอกาสคุยกับเจ้าของ ที่เป็นคนในตลาดท่านา “ท่านเองอยากให้เกิดแหล่งเรียนรู้แบบนี้ในนครชัยศรี”

จากลักษณะของอาคารเก่า อาจารย์ปรีชาพิจารณาว่า “สภาพแวดล้อมเป็นธรรมชาติ เราจึงไม่ควรสิ้นเปลืองกับพลังงาน ลมก็ดี ฉะนั้น ผนังเราต้องโปร่ง เพื่อให้ลมถ่ายเทเข้าออก แต่เราจะต้องเผชิญเรื่องฝุ่น แต่ว่าสิ่งต่างๆ เมื่อเราทำความสะอาด ก็ทำให้เรารู้ว่า สิ่งนั้นอยู่ไม่อยู่ เหมือนเป็นการรักษาไปในตัว ที่เราพยายามสร้าง เราทำอย่างไรให้ใช้พลังงานน้อย เราพยายามให้จำกัดการใช้แสงไฟ”แนวคิดดังกล่าวนี้สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนในการออกแบบองค์ประกอบของอาคาร อาจารย์ยกตัวอย่างการออกแบบผนังที่ใช้วัสดุไม้จาก และเปิดโอกาสให้ “ช่างช่วยทำผนังนี้ให้ จริงๆ ตัวเขาเองมีศักยภาพ โดยผมบอกว่าต้องการคอนเซ็ปต์แบบนี้ แล้วเมื่อก่อนเขาไม่เคยทำสีอะไรพวกนี้ แล้วผมก็เอาพื้นเทา แล้วบอกว่าเอาสีขาวสีเทาบางส่วน ตรงนี้ เป็นส่วนที่เราเพิ่มเติม”แต่พิพิธภัณฑ์เองยังคงประสบปัญหาเกี่ยวกับฝน เนื่องจากการมุงหลังคาที่เปลี่ยนจากหญ้าคาเป็นจาค ทำให้ประสบปัญหาหน้าฝนรั่วเป็นบางส่วน เพราะความเอียงไม่พอทำให้น้ำฝนไม่สามารถไหลได้ทัน

จากเรื่องราวของการสะสม สถานที่ และการก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ อาจารย์นำชมส่วนต่างๆ ของพิพิธภัณฑ์ภายในอาคารหลัก อาจารย์ให้คำอธิบายเกี่ยวกับการจัดส่วนต่างๆ ของนิทรรศการ “เราจัดแบ่งชิ้นงานตามวัสดุ เทคนิค เราจะจัดแบ่งเป็นส่วนๆ ส่วนนี้ เครื่องปั้นดินเผา ทั้งเคลือบหรือไม่เคลือบ เผาดิบ แล้วส่วนที่สองเป็นงานกระดาษ เป็นเปเปอร์มาเช่บ้าง เป็นเฮดเมดเปเปอร์บ้าง รวมทั้งหนังสือ สิ่งพิมพ์ กระทั่งว่าว แต่อีกส่วนหนึ่งเป็นพลาสติก ของเล่นต่างๆ ที่มีอยู่ในสื่อการเรียนการสอน แล้วของใช้อะไรบางอย่าง หรือกระทั่งตัวที่ปรากฏอยู่ในหนังสือ หรือในสื่อบางสื่อ ส่วนนี้เป็นงานโลหะกับงานแก้ว ทางโน้นเป็นเขาสัตว์และเรซิ่น แล้วโซนนี้ เป็นโซนศิลปะ แบ่งตามชิ้นงาน เป็นจิตรกรรมบ้าง เป็นประติมากรรมบ้าง แล้วทางโน้นเป็นงานแกะไม้ ส่วนตรงนี้เป็นงานผ้ากับเส้นใยธรรมชาติ”

อาจารย์ยกตัวอย่างชิ้นงาน 2 ชิ้นที่น่าสนใจ หนึ่ง ครกรูปนกฮูก “คงไม่มีใครเคยคิดว่า นกฮูกจะมาเป็นครกได้ ตอนนั้น เลือกพัฒนาสินค้าให้กับผู้ประกอบการ แล้วผมไปเลือกที่อ่างศิลา ที่จะพัฒนาตัวสินค้าใหม่ให้เกิดขึ้น เพื่อเปลี่ยนกระแสอะไรบางอย่าง แต่ท้ายที่สุดแล้ว ชาวบ้านยังไม่ได้ตอบรับตรงนี้เท่าที่ควร เราสั่งไปเยอะแยะ แต่ทำมาให้ชิ้นเดียว แล้วกลายเป็นครกชิ้นเดียวในโลกในตอนนี้” ผลงานอีกชิ้นหนึ่งคือ “เป็นงานที่สร้างตอนน้ำท่วม ตอนน้ำท่วม หนีน้ำไปนครปฐม เมื่อลองพิจารณาดู เห็นว่ายังไม่มีผลงานฝีมือของเรา เป็นเรื่องครอบครัว การดูแล พ่อกับลูก ทุกวันนี้ครอบครัวใหญ่”

ในเรื่องของกิจกรรม อาจารย์อธิบายถึงกิจกรรมในช่วงวันสำคัญต่างๆ “เราหมุนวงล้อไปกับงานเทศกาลที่เป็นวันหยุดราชการ ที่เป็นงานเทศกาล เช่น วันแม่ วันพ่อ หรือวันนักขัตฤกษ์ต่างๆ อย่างเช่นที่ผ่านมา เป็นวันอาสาฬหบูชา เราก็ชวนกับมาสร้างโคมประทีป ให้เด็กๆ มาสร้างมาวาดรูป เกี่ยวกับงานพิธีอะไรต่างๆ คือพยายามหมุนตามโอกาสเหล่านั้น หรือบางทีเราดึงเพื่อนต่างๆ มา เช่น เมื่อคราวก่อนนี้ มีรุ่นน้องที่เขาไปสอนศิลปะเด็กในต่างจังหวัด แล้วเขามีความคิดอยากทำสมุดวาดเขียนแฮนด์เมด ไปแจกกับเด็ก เพื่อเรียนรู้ เพราะเขาไม่มีเงินซื้อ เราก็ชวนเขามาทำที่นี่ โดยประชาสัมพันธ์ให้คนมาทำที่เรา เพื่อที่จะเอาสมุดไปแจกเด็ก บางทีเราไปเจอช่างชาวบ้านตรงโน้นตรงนี้ เราก็เอามาเป็นวิทยากร เดือนหน้าจะมีการจัดดอกไม้”

นอกจากนี้ ยังมีการเปิดพื้นที่ด้านนอกอาคารหลักให้เป็น “เปิดพื้นที่ส่วนหนึ่ง ให้คนที่ทำงานหัตถกรรมต่างๆ มาเช่าพื้นที่เพื่อขายของ แต่ก็วางคอนเซ็ปไว้วาง ไม่ว่าจะขายอะไรก็แล้วแต่ ต้องมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นนกฮูกบางส่วน เพื่อเชื่อมโยงคอนเซ็ปต์เข้ากับเรา แล้วก็มีสนามเด็กเล่นที่เป็นเนินดิน เพื่อให้คนในชุมชนพาเด็กพาลูกหลานมาเล่นได้ หรือกระทั่งคนที่มาเที่ยวพาลูกหลานมาเล่น”และตลาดตาโต “จะเป็นตลาดนัดของตกแต่งบ้าน เพื่อสร้างความแตกต่าง ไม่ให้เหมือนตลาดอื่นๆ ที่เป็นเสื้อผ้า ของกิน แต่เราเน้นไปทางศิลปะ อยากให้เกิด แต่ตอนนี้เป็นช่วงเริ่มต้นอยู่ เริ่มคึกคักขึ้นเรื่อยๆ มีทุกวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ต้นเดือน สัปดาห์แรกของต้นเดือน จัดมาได้สามครั้ง ร้านค้ายังไม่เต็ม แต่ก็ดีขึ้นเรื่อยๆ เพราะร้านค้าที่เราได้มา ยังไม่ตรงกับที่เราตั้งไว้มากนัก”

สำหรับภาพในอนาคต “ผมอยากให้พิพิธภัณฑ์เกิดมาด้วยแรงของผมเอง แล้วเมื่อไปถึงจุดหนึ่งแล้ว อยากให้มีคนมาสานต่อในรูปของมูลนิธิ หรือจะรัฐบาล แล้วใจจริง อยากให้ต้นแบบการสร้างแหล่งเรียนรู้นอกระบบ เพราะว่าในบ้านเรา แหล่งเรียนรู้นอกระบบยังไม่มี เราไปมองภาพใหญ่เกินไปที่จะต้องไปสร้างพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่ ซึ่งจริงๆ แล้ว แหล่งเรียนรู้สามารถแทรกซึมทุกพื้นที่ เพราะเรามีความพร้อมในเชิงความรู้ วัฒนธรรมต่างๆ มากมาย สามารถดึงออกมาให้เกิดการเรียนรู้ อย่างปีที่แล้วเรามุ่งไปที่คริเอทีฟ อีโคโนมี แต่พอมองหันหลังกลับมาเราไม่มีพื้นฐานเลย เราหาแหล่งเรียนรู้ไม่ได้ แล้วจะคริเอทีฟ อิโคโนมี อย่างไร ในเมื่อเราไม่รู้ว่าอดีตคืออะไร แล้วความงามที่หยิบยกมาจากอดีตคืออะไร เราจะไปหาได้จากที่ไหน หากเรามองย้อนกลับมา ตรงนี้คือรากฐานการศึกษาที่ดี การศึกษานอกระบบที่มีชีวิต แล้วทำให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างที่นโยบายที่รัฐบาลพยายามผลักดัน”



ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ /เขียน
สำรวจภาคสนาม วันที่ 24 มิถุนายน 2555


 
ชื่อผู้แต่ง:
-
คำสำคัญ:

ปรีชา ปั้นกล่ำ กับพิพิธภัณฑ์ศิลปะ “ตาโต ตัวพอง” นามว่า “นกฮูก”

จากที่เคยรู้สึกหวาดกลัว “นกฮูก” หรือ “นกเค้าแมว” ราวกับว่ากลัวผี เพราะ นอกจากมันจะเป็นสัตว์ที่ออกหากินกลางคืนแล้ว บางชนิดยังมีเสียงร้องคล้ายเสียงผีหรือเสียงแม่มด ที่ทำให้ยิ่งน่ากลัวมากขึ้น จากที่เคยคิดไม่ถึงว่า เจ้าสัตว์ ตาโต ตัวพองนี้ จะถูกเล่าขาน ผ่านงานศิลปะ งานออกแบบ ตลอดจนงานฝีมือของช่างพื้นบ้านเอาไว้อย่างมากมายทั่วโลก ยามนี้ความหวาดกลัวและคิดไม่ถึงของใครหลายคน แปรเปลี่ยนเป็นความน่ารัก น่าเอ็นดู และเชื่อว่ามีอยู่จริง เมื่อได้แวะไปเยือน พิพิธภัณฑ์ศิลปะนกฮูก ณ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ซึ่งก่อตั้งโดย ปรีชา ปั้นกล่ำ
ชื่อผู้แต่ง:
-

ฮ.นกฮูกน่ารัก ที่ “พิพิธภัณฑ์ศิลปะนกฮูก”

ฉันยังจำได้ว่าเมื่อสมัยเด็กๆ เวลาท่อง ก-ฮ นั้น จะต้องท่องกันเป็นประโยคคล้องจอง เป็นทำนองต่อๆ กันไป เป็นต้นว่า ก.เอ๋ย ก.ไก่, ข.ไข่ ในเล้า, ฃ.ฃวด ของเรา... ไปเรื่อยๆ จนจบที่ ฮ.นกฮูก ตาโต แล้วก็ต้องทำตาโตๆ ใส่เพื่อนที่นั่งข้างๆ ด้วย ด้วยเหตุนี้เอง ฉันก็เลยฝังใจในลักษณะของนกฮูกว่าจะต้องเป็นสัตว์ที่ตาโตแต่ว่าน่ารัก ซึ่งนกฮูกในความเป็นจริงนั้น สำหรับบางคนอาจจะบอกว่าน่ารัก แต่บางคนอาจจะบอกว่าไม่น่าใช่ เพราะตามความเชื่อของคนไทยเรานั้น หากว่ามีนกฮูก (นกเค้าแมว) บินผ่านหลังคาบ้าน หรือมาเกาะอยู่ในบริเวณใกล้ๆ บ้านใคร บ้านนั้นจะต้องมีคนตาย โดยเชื่อกันว่านกฮูกนั้นคือยมฑูตส่งวิญญาณนั่นเอง
ชื่อผู้แต่ง:
-
คำสำคัญ:

ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-
คำสำคัญ: