พิพิธภัณฑ์ดนตรีอุษาคเนย์ ตั้งอยู่ภายในวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล บนพื้นที่ประมาณ 19,000 ตารางเมตร หรือประมาณ 4.5 ไร่ เป็นอาคาร 7 ชั้น มีวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวมรักษา ส่งเสริม และสนับสนุนการวิจัยเกี่ยวกับวัฒนธรรมดนตรีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นสถานที่เก็บรวบรวมเครื่องดนตรี บันทึกวิธีการบรรเลงและเสียงของเครื่องดนตรี ทั้งเครื่องดนตรีไทย เครื่องดนตรีพื้นบ้าน และเครื่องดนตรีในภูมิภาคอุษาคเนย์ ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน และวิถีชีวิตของผู้คนหลากหลายผ่านดนตรี อันเป็นสื่อสัญลักษณ์ที่สำคัญในการบอกเล่าเรื่องราวทางวัฒนธรรมของมวลมนุษยชาติ โดยครื่องดนตรีที่ได้สะสม รวบรวมมาจากการซื้อหรือบริจาค พื้นที่พิพิธภัณฑ์ดนตรี ประกอบไปด้วยหมู่เรือนกลางน้ำ ห้องพักคอย ห้องสมุดดนตรี ห้องแสดงนิทรรศการ ห้องซ่อมเครื่องดนตรี (เก่า) ห้องสาธิตดนตรี ห้องฉายภาพยนตร์ ห้องพิพิธภัณฑ์ ห้องแสดงเครื่องดนตรี ห้องแสดงดนตรี เวทีแสดงดนตรีในพิพิธภัณฑ์ เวทีแสดงดนตรีหน้าพิพิธภัณฑ์ ห้องขายของที่ระลึก ห้องอาหาร และเรือนรับรองแขกกลางน้ำโดยภายอาคารพิพิธภัณฑ์ดนตรีจะมีทั้งหมด 7 ชั้น
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
”เรือนศิลปิน”ยกระดับพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมดนตรีแห่งแรกในประเทศไทย
บนพื้นที่ประมาณ 19,000 ตารางเมตร หรือประมาณ 4.5 ไร่ เป็นอาคาร 7 ชั้น อยู่ในผืนน้ำทางทิศเหนือของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยสร้างมูลค่าเพิ่มจากพื้นน้ำให้เป็นพิพิธภัณฑ์ดนตรีอุษาคเนย์ และแสดงภูมิทัศน์ที่สวยงามเพื่อให้เป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยมหิดล พิพิธภัณฑ์ดนตรีอุษาคเนย์ ถือได้ว่าเป็นพิพิธภัณฑ์น้องใหม่ของมหาวิทยาลัยมหิดล มีหลายท่านยังไม่คุ้นเคยกับที่แห่งนี้มากนัก แต่เชื่อได้ว่าถ้าคุณได้มาเยือนเรือนศิลปิน จะทำให้คุณหลงรักสถานที่นี้ ถึงแม้ว่าตัวพิพิธภัณฑ์ยังไม่แล้วเสร็จก็ตามแนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
ดนตรีไทย เครื่องดนตรี เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อุษาอาคเนย์ ดนตรี มหาวิทยาลัยมหิดล ดนตรีพื้นบ้าน ดนตรีในภูมิภาคอุษาคเนย์ ห้องสมุดดนตรี
ศูนย์วัฒนธรรมไทดำ ชุมชนโรงเรียนวัดสระสี่มุม
จ. นครปฐม
พิพิธภัณฑ์วัดบางช้างใต้
จ. นครปฐม
พิพิธภัณฑ์วิถีชีวิตชาวนาไทยบ้านลานแหลม
จ. นครปฐม