พิพิธภัณฑ์คณะฟุตบอลแห่งสยาม


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ทรงก่อตั้ง “คณะฟุตบอลแห่งสยาม” ซึ่งก็คือสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ในปัจจุบัน เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 พิพิธภัณฑ์คณะฟุตบอลแห่งสยาม ริเริ่มโดยสมาคมประวัติศาสตร์ฟุตบอลแห่งประเทศไทย ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่มีทั้งคนทั่วไปที่สนใจฟุตบอล นักวิชาการ และอดีตนักฟุตบอลทีมชาติ โดยเฉพาะบรรดานักฟุตบอลทีมชาติทั้งเก่าและใหม่ รวมถึงลูกหลานของอดีตนักฟุตบอล เมื่อทราบว่ามีสมาคมฯ นี้เกิดขึ้น จึงได้ร่วมกันบริจาคสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ฟุตบอลในประเทศไทยมาให้ทางสมาคมฯ เพื่อรวบรวมในการจัดทำพิพิธภัณฑ์ เนื่องด้วยกีฬาฟุตบอลมีความเกี่ยวเนื่องกับรัชกาลที่ 6 อยู่แล้ว พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จึงขอใช้พื้นที่ของ พระราชวังสนามจันทร์ เป็นที่จัดแสดง มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 จนกระทั้งปีพ.ศ.2550 พระราชวังสนามจันทร์อายุครบ 100 ปี จึงได้เปิดพิพิธภัณฑ์อย่างเป็นทางการ

ที่อยู่:
ภายในพระตำหนักทับแก้ว พระราชวังสนามจันทร์ อ.เมือง จ.นครปฐม
โทรศัพท์:
034-271-815, 089-035-5156
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น.
ค่าเข้าชม:
ซื้อบัตรเข้าชมพระราชวังสนามจันทร์ คนไทย ผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก 10 บาท พระภิกษุ สามเณร แม่ชี นักศึกษา 10 บาท ชาวต่างประเทศ 50 บาท
อีเมล:
jirat@siamfootball.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2548

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ส.ประวัติฯบอล เปิดพิพิธภัณฑ์

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 9 พฤษภาคม 2549

ที่มา: คมชัดลึก

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พระมหากษัตริย์นักกีฬา พระราชาแห่งฟุตบอลสยาม

ชื่อผู้แต่ง: สมาคมประวัติศาสตร์ฟุตบอลแห่งประเทศไทย | ปีที่พิมพ์: 2550

ที่มา:

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

"พิพิธภัณฑ์ฟุตบอลแห่งสยาม" เรียนรู้พัฒนาฟุตบอลทีมชาติไทย

ชื่อผู้แต่ง: วีรพงศ์ มะลิชู | ปีที่พิมพ์: 16 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11238

ที่มา: มติชนรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

100 ปี ลูกหนังไทย กับพิพิธภัณฑ์ที่ถูกลืม

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 14 พ.ย. 2557;14-11-2014

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 17 พฤศจิกายน 2557


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์คณะฟุตบอลแห่งสยาม

ประวัติของฟุตบอลในประเทศไทย อาจะเรียกได้ว่าเริ่มเป็นที่รู้จักแพร่หลายก็เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ทรงก่อตั้ง “คณะฟุตบอลแห่งสยาม” ซึ่งก็คือสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ในปัจจุบัน เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 ภายหลังจาก "สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า" ทรงเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 จึงทรงโปรดเกล้า ฯ รับคณะฟุตบอลแห่งสยามให้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2469
 
ในปี พ.ศ. 2545 สมาคมฯ ได้จัดงาน “123 ปี พระผู้พระราชทานกำเนิดฟุตบอลสยาม” ณ วชิราวุธวิทยาลัย เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เยาวชนและประชาชนไทยที่ชอบกีฬาฟุตบอลกันอยู่แล้วให้ทราบถึงประวัติศาสตร์ของการกีฬาฟุตบอลในประเทศไทย และทางสมาคมฯ ได้ทำหนังสือทูลเชิญสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จเป็นประธานเปิดงาน ถือเป็นการจุดประกายให้เกิดพิพิธภัณฑ์คณะฟุตบอลแห่งสยามขึ้นตั้งแต่ในครั้งนั้น 
 
พิพิธภัณฑ์คณะฟุตบอลแห่งสยาม ริเริ่มโดยสมาคมประวัติศาสตร์ฟุตบอลแห่งประเทศไทย ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่มีทั้งคนทั่วไปที่สนใจฟุตบอล นักวิชาการ และอดีตนักฟุตบอลทีมชาติ  โดยเฉพาะบรรดานักฟุตบอลทีมชาติทั้งเก่าและใหม่ รวมถึงลูกหลานของอดีตนักฟุตบอล เมื่อทราบว่ามีสมาคมฯ นี้เกิดขึ้น จึงได้ร่วมกันบริจาคสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ฟุตบอลในประเทศไทยมาให้ทางสมาคมฯ เพื่อรวบรวมในการจัดทำพิพิธภัณฑ์ เนื่องด้วยกีฬาฟุตบอลมีความเกี่ยวเนื่องกับรัชกาลที่ 6 อยู่แล้ว พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จึงขอใช้พื้นที่ของ พระราชวังสนามจันทร์ เป็นที่จัดแสดง มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 จนกระทั้งปีพ.ศ.2550 พระราชวังสนามจันทร์อายุครบ 100 ปี จึงได้เปิดพิพิธภัณฑ์อย่างเป็นทางการ 
 
ส่วนจัดแสดงแบ่งออกเป็น 3 ส่วน โดยในส่วนแรกและส่วนที่สอง เป็นส่วนของภาพถ่ายที่ในหลวงรัชกาลที่ 6  ทรงเป็นผู้ถ่ายพระราชทานแก่คณะฟุตบอลของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย แสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงสนพระทัยในกีฬาประเภทนี้ และหลังจากนั้นก็เกิดคณะฟุตบอลขึ้นตามโรงเรียนต่างๆ ในพระนคร มีโรงเรียนราชวิทยาลัย(วชิราวุธวิทยาลัย) โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน หรือแม้กระทั้งหมู่ข้าราชบริพารในพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ก็ได้รวมตัวกันเล่นฟุตบอลถวายอยู่บ่อยๆ  มีทั้งเครื่องแบบของคณะฟุตบอล ตราพระราชทานจากรัชกาลที่ 6 เรียกว่าตราพระมหามงกุฏ เป็นตราประจำคณะฟุตบอลแห่งสยาม (สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯในปัจจุบัน) ซึ่งในโลกนี้มีทีมชาติอยู่ 2 ทีมเท่านั้นที่มีตราพระมหากษัตริย์เป็นสัญลักษณ์ คือทีมฟุตบอลอังกฤษ และของไทย เนื่องจากรัชกาลที่ 6 ทรงจบการศึกษาจากอังกฤษ จึงได้พระราชทานตราประจำพระองค์เป็นตราประจำทีมชาติไทยด้วย  นอกจากนั้นยังมีบันทึกของนักกีฬาฟุตบอลในสมัยรัชกาลที่ 6 เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันประวัติศาสตร์ที่น่าชื่นชมของกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย
 
ส่วนที่สาม จัดแสดงเรื่องของกีฬาฟุตบอลในปัจจุบัน มีลูกฟุตบอลที่มีลายเซ็นต์ของอดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทยที่ถือว่าเป็นสุดยอด (เท่านั้น) ของการกีฬาฟุตบอลของไทย แม้ว่าจะเป็นลูกฟุตบอลสมัยใหม่ที่อดีตนักฟุตบอลเหล่านั้นมาเซ็นต์ทีหลัง แต่ก็ถือได้ว่าเป็นบันทึกประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งที่ได้ทำไว้ มิใช่มาทำหลังจากอดีตนักฟุตบอลเหล่านั้นเสียชีวิตไปแล้ว ในงานทุกปีที่ทางสมาคมประวัติศาสตร์ฟุตบอลแห่งประเทศไทยจัดขึ้น จะมอบโล่แก่อดีตนักฟุตบอลเก่าๆเหล่านั้น  เหมือนกับการทำพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นบันทึกหน้าหนึ่ง หรือได้เปิดเผยอดีตที่น่าสนใจของกีฬาฟุตบอลไทย 
 
หลายคนอาจไม่ทราบว่าทีมชาติไทยเคยเฉียดที่จะไปร่วมแข่งขันฟุตบอลโลกมาเมื่อปี พ.ศ.2473 เนื่องจากไทยสมัครเป็นผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมฟุตบอลนานาชาติหรือฟีฟ่าขึ้นจึงได้สิทธิเข้าร่วมแข่งขันร่วมกับญี่ปุ่นและปัตตาเวีย(อินโดนีเซียปัจจุบัน) หากแต่ในช่วงที่กำลังเตรียมตัวไปแข่ง เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้นในปี พ.ศ.2475 ทำให้ไทยไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน 
 
การเข้าชมพิพิธภัณฑ์คณะฟุตบอลแห่งสยามนั้นไม่ยากแต่อย่างใด พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ ณ พระตำหนักทับแก้ว ในเขตของพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม ทางพิพิธภัณฑ์ไม่ได้เก็บค่าเข้าชม แต่ผู้ที่จะเข้าชมต้องเสียค่าเข้าชมพระราชวังสนามจันทร์ก่อนถึงจะเข้ามาชมพิพิธภัณฑ์ได้
 
ข้อมูลจาก: สำรวจภาคสนามวันที่ 18 ธันวาคม 2550
ชื่อผู้แต่ง:
-