พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดสำโรง


พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดสำโรงริเริ่มก่อตั้งโดยเจ้าอาวาสวัดสำโรง พระครูสิริปุญญาภิวัตน์ เมื่อปี พ.ศ. 2542 พระครูสิริปุญญาภิวัตน์ เจ้าอาวาสวัดสำโรงร่วมกับชาวบ้านชุมชนวัดสำโรงและชุมชนใกล้เคียงได้ร่วมกันบริจาคเครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ ได้แก่ อุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบอาหาร เครื่องมือหัตถกรรมต่างๆ อุปกรณ์ตวงข้าว เครื่องมือจับสัตว์น้ำและเครื่องใช้อื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก โดยทางพิพิธภัณฑ์มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะอนุรักษ์มรดกพื้นบ้านเหล่านี้ไว้ให้เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมพื้นบ้านของคนไทยในอดีตแก่นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป การจัดแสดง แบ่งเป็น 2 อาคาร อาคารหลังแรกคือ อาคารของใช้พื้นบ้าน อาคารหลังที่ 2 คือ อาคารอาชีพชาวนา จัดแสดงอุปกรณ์และเครื่องมือในการทำนา เช่น อุปกรณ์ในการไถหว่าน อุปกรณ์ในการตกกล้า อุปกรณ์ในการเกี่ยวข้าว-นวดข้าว ระหัดชกมวย ระหัดเครื่องยนต์ แป้นตอกกล้า ไม้หาบกล้า เครื่องฝัดข้าวครกตำข้าว อาจเรียกได้ว่าความโดดเด่นของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้คือ วัตถุที่จัดแสดงที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้านที่มีสภาพสมบูรณ์และหาชมได้ยากแล้วในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีการแสดงเรือพื้นบ้านรูปแบบต่าง ๆ เช่น เรือบด เรือเพียว เรือแปะ เรือมาด เรือจ้าง เป็นต้น

ที่อยู่:
21 ม. 3 ต.วัดสำโรง อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม 73120
โทรศัพท์:
0892231243, 0892550179
วันและเวลาทำการ:
เปิดบริการทุกวัน 08.00-16.00 หาต้องการผู้นำชมให้ติดต่อล่วงหน้า
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
อีเมล:
prapoj1243@gmail.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2542
ของเด่น:
การจับสัตว์น้ำในลุ่มน้ำนครชัยศรี/ว่าวไทย
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการจัดการพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านของวัดสำโรง อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม

ชื่อผู้แต่ง: พระครูสิริปุญญาภิวัฒน์ | ปีที่พิมพ์: 2554

ที่มา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามงกุฎราชวิทยาลัย

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


รีวิวของพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดสำโรง

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดสำโรงเริ่มดำเนินโครงการจัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2542   โดยมีเจ้าอาวาสวัดสำโรงคือ พระครูสิริปุญญาภิวัตน์เป็นประธาน ชาวตำบลวัดสำโรงและตำบลใกล้เคียงได้ร่วมกันบริจาคเครื่องมือเครื่องใช้ที่ใช้กันอยู่ในชนบท ได้แก่ อุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบอาหาร เครื่องมือหัตถกรรมต่างๆ อุปกรณ์ตวงข้าว เครื่องมือจับสัตว์น้ำและเครื่องใช้อื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก โดยทางพิพิธภัณฑ์มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะอนุรักษ์มรดกพื้นบ้านเหล่านี้ไว้ให้เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมพื้นบ้านของคนไทยในอดีตแก่นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป

การจัดแสดง แบ่งเป็นสองอาคาร อาคารหลังแรกคือ อาคารของใช้พื้นบ้าน ใช้จัดแสดง "ครัวโบราณ" สะท้อนให้เห็นถึงการจัดครัวไทยในอดีต, "เครื่องมือหัตถกรรมพื้นบ้าน" จัดแสดงเครื่องจักสาน เป็นการแปรรูปไม้ไผ่และหวายให้เป็นเครื่องมือเครื่องใช้รูปแบบต่างๆ เช่น สาแหรก ตะกร้า กระบุง กระด้ง เป็นต้น,  "อุปกรณ์ตวงข้าว" เช่น กระบุงปากบาน กระบุงโกย โป๊ยซัด ถังตวงข้าว เป็นต้น, "อุปกรณ์ในการทำนา" จัดแสดงอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการทำนา เช่น โกรกคล้องคอควายสำหรับลากไถ แอก คราด ไถ ไม้คานหาบข้าว เป็นต้น,  "เครื่องมือดักสัตว์" ทั้งที่ใช้สำหรับดักสัตว์น้ำ และดักสัตว์บก,  "เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด" ส่วนมากเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในครัวเรือน เช่น เชี่ยนหมากทองเหลือง ตะเกียงลาน นมนาง กลอนประตู แว่นโรยขนมจีน เป็นต้น  "เครื่องมือช่างไม้ประเภทต่างๆ" เช่น กบบุก กบชัดร่อง กบผิว กบบังใบ เลื่อยอก เลื่อยลันดา เป็นต้น  รวมไปถึงเครื่องทองเหลืองต่างๆ

อาคารหลังที่ 2 คือ อาคารอาชีพชาวนา จัดแสดงอุปกรณ์และเครื่องมือในการทำนา เช่น อุปกรณ์ที่ใช้ในการวิดน้ำ อุปกรณ์ในการไถหว่าน อุปกรณ์ในการตกกล้า อุปกรณ์ในการเกี่ยวข้าว-นวดข้าว ระหัดชกมวย ระหัดเครื่องยนต์ แป้นตอกกล้า ไม้หาบกล้า เครื่องฝัดข้าวครกตำข้าว นอกจากนี้ยังมีการแสดงเรือพื้นบ้านรูปแบบต่างๆ เช่น เรือบด เรือเพียว เรือแปะ เรือมาด เรือจ้าง เป็นต้น  
 

ข้อมูลจาก: 
1. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).  ข้อมูลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในจังหวัดนครปฐม ปีพุทธศักราช 2546(ฉบับเนื้อหาสังเขป)
2. การประชุมเครือข่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น (ภาคกลาง - ตะวันตก) จัดโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร    26 - 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2546  ณ โรงแรมริเวอร์  จังหวัดนครปฐม
ชื่อผู้แต่ง:
-