พิพิธภัณฑ์วิถีชาวนาลุ่มน้ำนครชัยศรี


พิพิธภัณฑ์วิถีชาวนาลุ่มน้ำนครชัยศรี ตั้งอยู่ภายในวัดสุขวัฒนาราม อาคารจัดแสดงเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว การจัดแสดงมีวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้ผู้ชมเห็นถึงขั้นตอนการทำนา ตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงขั้นสุดท้ายกว่าจะได้เมล็ดข้าวที่เป็นอาหารหลักของคนไทย โดยมุมจัดแสดงแบ่งชัดเจนออกเป็น มุมเตรียมกล้า เตรียมดิน เตรียมน้ำ ดำนา เก็บเกี่ยว สีข้าว ด้านหลังของส่วนจัดแสดงใหม่นอกจากจะเป็นห้องสำหรับเก็บโบราณวัตถุ พระพุทธรูป และวัตถุทางวัฒนธรรมอื่น ๆ แล้ว ทางพิพิธภัณฑ์ยังได้นำอุปกรณ์ อาทิ ครกตำข้าว ครกกระเดื่อง และเครื่องสีข้าวที่สานด้วยผิวไม้ไผ่ มาให้ผู้เข้าชมได้ทดลองสีข้าว และซ้อมข้าว อีกด้วย

ที่อยู่:
วัดสุขวัฒนาราม ต.บางระกำ อ.บางเลน จ.นครปฐม 73130
โทรศัพท์:
0-3427-6330, 0-3427-6393
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน 09.00-16.00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2546
ของเด่น:
อุปกรณ์ทำนา, เครื่องสีฝัด
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์ชาวนา เก็บรากเหง้าไว้ให้รู้ถึงตัวตน

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 25/05/2546

ที่มา: ข่าวสด

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์วิถีชาวนาลุ่มน้ำนครชัยศรี

พิพิธภัณฑ์วิถีชาวนาลุ่มน้ำนครชัยศรี ตั้งอยู่ริมแม่น้ำนครชัยศรี ภายในวัดสุขวัฒนาราม หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าวัดบางระกำ แต่เดิมนั้น วัดสุขวัฒนารามมีส่วนจัดแสดงเกี่ยวกับของใช้พื้นบ้านอยู่เดิม เรียกกันโดยทั่วไปว่าพิพิธภัณฑ์ของโบราณพื้นบ้าน แต่ยังไม่มีการจัดตามหลักวิชาแต่อย่างใด ราวต้นปี พ.ศ.๒๕๔๖ ้มีกลุ่มวิจัยชุมชนลุ่มแม่น้ำนครชัยศรี มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ร.ศ. เสวภา พรสิริพงษ์ หัวหน้าคณะวิจัย เข้ามาส่งเสริมข้อมูลและวิธีการจัดแสดงตามหลักวิชาการพิพิธภัณฑ์ ด้วยความช่วยเหลือจากนักวิชาการมหาวิทยาลัยมหิดล

ต่อมาในเดือนเมษายน ปีเดียวกัน ชุมชนบางระกำ จึงระดมความร่วมมือจากชาวบ้าน ช่วยกันจัดตั้งพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ขึ้น โดยมีพระครูพิทักษ์ สุขวัฒนะ เจ้าอาวาสวัดสุขวัฒนาราม เป็นผู้อุปถัมป์ และมีกำนันสมชาย ชั้นอินทร์งาม เป็นผู้ประสานงานของชุมชน  ผู้ก่อตั้งมุ่งหวังให้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นแหล่งเรียนรู้ของคนในชุมชนและผู้สนใจทั่วไป โดยต้องการให้ผู้ที่เข้าชมได้รับความรู้และเกิดความสนใจในเรื่องราวเกี่ยวกับเกษตรกรรม และเรื่องราวของท้องถิ่นบางระกำ ทั้งนี้จะได้เกิดเป็นแรงบันดาลใจที่จะร่วมมือกันอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้มิให้สูญหายไป  

อาคารจัดแสดงนั้นเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว การจัดแสดงภายในสื่อให้เห็นถึงขั้นตอนการทำนาตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงขั้นสุดท้าย ที่ได้ผลผลิตคือ "ข้าว"   โดยมุมจัดแสดงแบ่งชัดเจนออกเป็น มุมเตรียมกล้า, เตรียมดิน, ค.ควาย, เตรียมน้ำ, ดำนา, เก็บเกี่ยว, สีข้าว และ ทำกิน ด้านหลังของส่วนจัดแสดงใหม่ นอกจากจะเป็นห้องสำหรับเก็บโบราณวัตถุ พระพุทธรูป และวัตถุทางวัฒนธรรมอื่นๆ   ที่ไม่ได้นำมาจัดแสดงในส่วนจัดแสดงหลักแล้ว ทางพิพิธภัณฑ์ยังได้นำอุปกรณ์อาทิ ครกตำข้าว ครกกระเดื่อง และเครื่องสีข้าวที่สานด้วยผิวไม้ไผ่ มาให้ผู้เข้าชมได้ทดลองสีข้าว และซ้อมข้าว ด้วยตนเองเป็นที่สนุกสนานอีกด้วย                                                                                                                                                            

ข้อมูลจาก: 
1.การสำรวจภาคสนาม ของสำนักวิจัยและสนับสนุนการวิจัย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2546
2.การสำรวจภาคสนาม ของสำนักวิจัยและสนับสนุนการวิจัย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2547
ชื่อผู้แต่ง:
-