พิพิธภัณฑ์วิถีชีวิตชาวนาไทยบ้านลานแหลม


พิพิธภัณฑ์วิถีชีวิตชาวนาไทยบ้านลานแหลมเกิดจากปณิธานของอาจารย์เริงชัย แจ่มนิยม ที่ต้องการถ่ายทอดและอนุรักษ์ภูมิปัญญาเกี่ยวกับการทำนาในอดีต อาคารพิพิธภัณฑ์เป็น "เรือนไทยเครื่องผูกโบราณ" การจัดแสดงจะจำแนกออกเป็น 2 ส่วน คือ ชั้นบนของเรือนนั้นจัดแสดงวัตถุสิ่งของที่เคยมีของบ้านไทย แบ่งตามห้อง เช่น ห้องนอน ห้องครัว ซึ่งจำลองครัวไฟในอดีต และส่วนใต้ถุน จัดแบ่งพื้นที่เป็น 2 ลักษณะคือ การจัดวางวัตถุสิ่งของเครื่องใช้พื้นบ้านประเภทต่าง ๆ ไว้เป็นกลุ่ม เช่น กลุ่มเครื่องมือทำนา กลุ่มใช้สอยในครัวเรือน กลุ่มเครื่องมือดักจับสัตว์น้ำ และเครื่องมือช่างไม้ เป็นต้น พิพิธภัณฑ์ยังเป็นที่ตั้งของกลุ่มแม่บ้านที่ทำงานฝีมือจักสานผักตบชวา ซึ่งเป็นช่องทางสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับพิพิธภัณฑ์และคนในชุมชน

ที่อยู่:
9/1 หมู่ 4 ถ.นครชัยศรี-ดอนตูม ต.วัดละมุด อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม 73120
โทรศัพท์:
085-1864404(พยอม), 088-9404871(เริงชัย), 087-0253975(ศุภชัย)
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน 08.30-17.00 น.
ค่าเข้าชม:
บุคคลทั่วไป 20 บาท นักเรียนนักศึกษา 10 บาท
ปีที่ก่อตั้ง:
2542
ของเด่น:
วิถีชีวิตชาวนาไทยในอดีตและผลิตภัณฑ์จักสานผักตบชวา

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

รื้อฟื้นมรดกทางวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์วิถีชีวิตชาวนาไทยบ้านลานแหลม

ชื่อผู้แต่ง: นันท์นภัส ทรัพย์กฤตยากุล | ปีที่พิมพ์: 2547

ที่มา: สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์วิถีชีวิตชาวนาไทยบ้านลานแหลม

พิพิธภัณฑ์วิถีชีวิตชาวนาไทยบ้านลานแหลมเกิดจากปณิธานของอ.เริงชัย แจ่มนิยม ที่ต้องการถ่ายทอดและอนุรักษ์ภูมิปัญญาเกี่ยวกับการทำนาในอดีตเมื่อราว 30 - 40 ปีที่แล้วไว้ให้คนไทยในสมัยนี้ได้รู้ อ.เริงชัยเริ่มเตรียมการทั้งในเรื่องสถานที่และสิ่งก่อสร้างมาตั้งแต่ พ.ศ. 2532 โดยเริ่มต้นด้วยการปลูกต้นสะเดาเป็นรั้วล้อมรอบบ้าน  รอจนต้นสะเดาโตเต็มที่ จนในปี พ.ศ. 2541  จึงตัดมาทำเป็นเสาเรือนพิพิธภัณฑ์ที่ได้วางโครงสร้างไว้ให้เป็น "เรือนไทยเครื่องผูก" โดยใต้ถุนเรือนไทยได้จัดแสดงเครื่องมือเกษตรกรรม และเครื่องมือในการดำรงชีพแบบพื้นบ้านไว้จำนวนหนึ่ง และได้เปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2542  เป็นต้นมา
 
การจัดแสดงและเนื้อหาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ๆ แรกเป็นบริเวณของสำนักงาน "กลุ่มสตรีอาสาพัฒนาบ้านลานแหลม"  ใช้เป็นที่บรรยายสรุปเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของบ้านลานแหลม และส่วนที่สองคือ พิพิธภัณฑ์วิถีชีวิตชาวนาไทยบ้านลานแหลมและจัดวางผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจักสานจากเส้นใยผักตบชวา

 อาคารพิพิธภัณฑ์ที่สร้างเป็น "เรือนไทยเครื่องผูกโบราณ" ใช้เป็นอาคารจัดแสดง
และสาธิตวิถีชีวิตชาวนาไทย  การจัดแสดงจำแนกออกเป็น  2 ส่วน คือ ส่วนใต้ถุน และส่วนบนเรือน  สำหรับในส่วนใต้ถุนนั้น  ได้จัดแบ่งพื้นที่เป็น 2 ลักษณะคือ การจัดวางวัตถุสิ่งของเครื่องใช้พื้นบ้านประเภทต่างๆ ไว้เป็นกลุ่ม  เช่น  กลุ่มเครื่องมือทำนา กลุ่มใช้สอยในครัวเรือน  กลุ่มเครื่องมือดักจับสัตว์น้ำ และเครื่องมือช่างไม้ เป็นต้น 
         
ในบริเวณเดียวกันก็จัดพื้นที่เป็นพื้นที่สาธิตการสีข้าวเปลือก การฝัด การร่อน การกระทายเมล็ดข้าวที่สีแล้วเพื่อแยกแกลบออกจากข้าวสาร สำหรับชั้นบนของเรือนนั้นยังมีวัตถุสิ่งของไม่มากนัก ที่มีอยู่ได้แก่ อุปกรณ์ครัว และเชี่ยนหมาก สิ่งที่ส่วนจัดแสดงชั้นบนต้องการเน้นก็คือ ต้องการให้ผู้ที่ขึ้นไปบนเรือนได้สัมผัสถึงบรรยากาศของบ้านชาวนาไทยในอดีตจึงได้จัดแสดงเป็นครัวจำลองเอาไว้ 
         
หากผู้ที่มาเยี่ยมชมเป็นหมู่คณะต้องการมารับประทานอาหารด้วยก็สามารถขอให้ทางพิพิธภัณฑ์ทำอาหารรับรองคณะผู้ที่มาได้ในราคามิตรภาพ โดยการติดต่อมาล่วงหน้าเพื่ออ.เริงชัยจะได้ประสานงานกับกลุ่มแม่บ้านในการจัดเตรียมอาหารและมาให้การต้อนรับดูแลเรื่องอาหารการกิน ร่วมพูดคุยเล่าถึงชีวิตในอดีต นำชมพิพิธภัณฑ์ สาธิตการฝัดข้าวสีข้าวให้แก่ผู้ที่มาเยี่ยมชม
 
ข้อมูลจาก: 
1. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).  ข้อมูลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในจังหวัดนครปฐม ปีพุทธศักราช 2546(ฉบับเนื้อหาสังเขป)
2. การประชุมเครือข่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น (ภาคกลาง - ตะวันตก) จัดโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร 26 - 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2546  ณ โรงแรมริเวอร์  จังหวัดนครปฐม
ชื่อผู้แต่ง:
-