อาคารพิพิธภัณฑ์ เดิมเป็นอาคารเรียนสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2479 โดยหลวงพ่อพยอม และเมื่อปี พ.ศ. 2541 ก็เริ่มมีแนวคิดจะจัดการกับอาคารหลังนี้ ชาวบ้านฝ่ายหนึ่งอยากให้ทุบทิ้ง เพราะเป็นอาคารเก่า เป็นที่มั่วสุมของวัยรุ่น ขณะเดียวกันอาคารที่อยู่ใกล้กับซุ้มประตูทางเข้าของวัด ก็ทำให้ทัศนวิสัยเสีย ขณะที่ชาวบ้านอีกกลุ่มอยากเก็บรักษาไว้ เพราะความทรงจำวัยเยาว์ที่เคยถูกเกณฑ์ให้ไปขนหิน ขนทราย จากวัดร้างมาสร้างอาคารหลังนี้ บทสรุปสุดท้ายคือ มีการจัดตั้งกองผ้าป่า เพื่ออนุรักษ์ ปรับปรุงอาคารเรียนหลังนี้ให้คงสภาพเดิม แล้วจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ของชุมชนที่บอกเล่าเรื่องราววิถีชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเชื่อที่ชาวหนองขาวปฏิบัติสืบทอดกันมา
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: ปีที่23ฉบับที่ 6 เม.ย. 2545
ที่มา: ศิลปวัฒนธรรม
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: ปีที่21ฉบับที่ 5 มี.ค. 2543
ที่มา: ศิลปวัฒนธรรม
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 1/5/2545
ที่มา: ไทยรัฐ
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: วิชญดา ทองแดง | ปีที่พิมพ์: 11/24/2547
ที่มา: วารสารเมืองโบราณ
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร | ปีที่พิมพ์: 2545
ที่มา: พิพิธภัณฑ์ไทยในศตวรรษใหม่. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: นิภาพร ทับหุ่น | ปีที่พิมพ์: 31 กรกฎาคม 2553
ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ
แหล่งค้นคว้า:
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นหนองขาว
บ้านหนองขาว เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นชุมชนเล็กๆ แต่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 200 ปี มีวัฒนธรรมหลายอย่างที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ และสามารถรักษาวัฒนธรรมประเพณีของตนเองได้อย่างเข้มแข็ง
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านหนองขาว เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 ในครั้งนั้นชาวบ้านได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับการจัดการอาคารเรียนเก่าโรงเรียนโกวิทอินทราทร อันเป็นโรงเรียนหลังแรกของโรงเรียนประชาบาลตำบลหนองขาว และหลังแรกของจังหวัดกาญจนบุรีอีกด้วย เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนสองชั้น สร้างโดยหลวงพ่อพระพยอม(อดีตเจ้าอาวาส) สร้างขึ้นราว พ.ศ. 2479 ด้วยการเห็นพ้องต้องกันของชาวบ้านหนองขาว คณะกรรมการหมู่บ้าน พระครูถาวรกาญจนนิมิตร (เจ้าอาวาสวัดหนองขาวในขณะนั้น) องค์กรชุมชน ร่วมกันให้การสนับสนุนหาเงินงบประมาณซ่อมแซม ส่วนใหญ่ได้จากการทอดผ้าป่า กฐิน เป็นหลัก ไม่ได้ของบจากราชการ เพื่อจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นหนองขาว
การซ่อมแซมสำเร็จภายใน 1 ปี โดยคุณชัชวาลย์ ทองดีเลิศ คนบ้านหนองขาว และอาจารย์โรงเรียนวัดอนิทรารามโกวิทอินทราทร เป็นผู้ขับเคลื่อนในตอนต้น และชุมชนได้ติดต่ออาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดิม มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยพันธุ์ และสถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เข้ามาช่วยเหลือในการวางแนวคิดและเนื้อหาในการจัดทำพิพิธภัณฑ์
ภายในอาคารพิพิธภัณฑ์จัดแสดงเรื่องราวประวัติศาสตร์โบราณคดีของหนองขาว ที่เป็นชุมชนในอดีตที่สำคัญ เนื่องจากเป็นชุมชนที่อยู่ระหว่างเส้นทางเดินทัพระหว่างพม่ากับไทย สันนิษฐานว่าเป็นเส้นทางที่ใช้กันมาตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ ผู้คนเดมที่หลายกลุ่มชาติพันธุ์ ทั้งมอญ จีน กะเหรี่ยง นอกจากนี้จัดแสดงเรื่องวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณีต่างๆ หม้อยาย ภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องสมุนไพร การรักษาโรค การทอผ้าขาวผ้าซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์สร้างชื่อของชุมชน และจบที่อนาคตของบ้านหนองขาว
อย่างไรก็ดีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านหนองขาว ไม่ได้ให้ความสำคัญพื้นที่จัดแสดงหรือนิทรรศการภายในตัวอาคาร แต่ชูแนวคิดว่าพิพิธภัณฑ์ไม่ได้อยู่ที่สิ่งจัดแสดงในตัวอาคารเท่านั้น หากแต่สิ่งสำคัญคือทั้งหมู่บ้านเป็นพิพิธภัณฑ์ ตามแนวคิดที่อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ได้เคยให้ไว้ ดังนั้นหากมาเยี่ยมพิพิธภัณฑ์ตามแนวทางนี้ ต้องเยี่ยมสถานที่สำคัญและภูมิปัญญาท้องถิ่นของหมู่บ้าน อาทิ
1. วัดหนองขาว หรือวัดอินทราราม ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของชุมชน มีเจ้าอาวาสตั้งแต่สร้างวัดมาจนถึงก่อตั้งพิพิธภัณฑ์รวม 15 รูป แต่ละรูปได้รับความศรัทธาและสร้างคุณประโยชน์ต่อชุมชนและหมู่บ้านใกล้เคียง พระครูบ้านของชาวหนองขาว ชาวบ้านเรียกว่า “หลวงพ่อใหญ่” พระป่าเลไลยก์ สร้างในสมัยหลวงพ่อชุบ อดีตเจ้าอาวาสองค์ที่ 4 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5
2. บ้านโบราณรูปทรงปั้นหยา ระเบียงมีลายฉลุสวยงาม รวมถึงห้องแถวโบราณของตระกูลเชียงทอง ตัวบ้านมีอายุราว 100 ปี ส่วนห้องแถวสร้างราวปี พ.ศ. 2490 คนสร้างคือนายฮี้ และนางเกิด เชียงทอง คหบดีเชื้อสายจีน และยังเป็นหมอพื้นบ้านรักษาโรคทั่วไปอีกด้วย โดยมีความรู้เรื่องสมุนไพรของจีนและไทย
3. สุขศาลา สร้างเมื่อ พ.ศ. 2491 เป็นอาคารที่มีสถาปัตยกรรมร่วมสมัย มีสัญลักษณ์พานรัฐธรรมนูญ สร้างด้วยเงิบงบประมาณทางราชการสมทบกับเงินชาวบ้านหนองขาว โดยการนำของหลวงพ่อพยอม ที่ท่านสนับสนุนการแพทย์แผนใหม่
4. ศาลพ่อแม่ เป็นศูนย์รวมความเชื่อและพิธีกรรมของคนในชุมชน ทุกวันแรม 1 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี จะมีงานปี โดยการสวดมนต์ ทำบุญ แก้บน และตั้งศาล และมีการทรงเจ้า ศาลพ่อแกม่เป็นที่พึ่งทางใจ เมื่อครอบครัวใดมีงานมงคล จะต้องจัดเครื่องบูชามาถวายขอพรให้งานสำเร็จลุล่วง
5. ร้านผ้าทอแห่งแรกของบ้านหนองขาว เป็นของนายเชื้อ กับนางล้วน อ้นเชิด สร้างราวปี พ.ศ. 2512 แต่จริงๆ แล้วการทอผ้าที่บ้านหนองขาวมีมาช้านานแล้ว แต่ทอเพื่อใช้และแลกเปลี่ยนเป็นหลัก นายเชื้อได้ไปเห็นการทอด้วยไหมประดิษฐ์จากทางอีสาน จึงนำมาประยุกต์ใช้ที่บ้านหนองขาวเป็นคนแรก และเปิดร้านจำหน่ายทั้งเส้นด้ายและผ้าทอไปพร้อมๆ กัน ทำให้ผ้าทอหนองขาวมีการพัฒนาตามลำดับ ปัจจุบันผ้าขาวม้าบ้านหนองขาวเป็นที่รู้จักกว้างขวาง
ข้อมูลจาก:
“นำชมบ้านหนองขาวท้องถิ่นวัฒนธรรมล้ำค่า” โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการภูมิภาคสัญจร ครั้งที่ 2 วันที่ 26 มกราคม 2543 โดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.
เรื่องเล่าจากข้าวของและความทรงจำ: โรงเจ๊ก- การเปลี่ยนแปลงของชุมชน
“เรื่องเล่า” คือ การเล่า บรรยาย หรือรายงานเหตุการณ์ ตั้งแต่สองเหตุการณ์ขึ้นไปที่ต่อเนื่องและสัมพันธ์กันในแง่สาเหตุและผล หรือมีสาระสำคัญร่วมกัน การเล่าเรื่องอาจมีทั้งรูปแบบวาทกรรมที่ใช้ถ้อยคำ และไม่ใช้ถ้อยคำ เช่น การเต้นรำ การแสดงลีลาท่าทาง หรือละครใบ้ เป็นต้น[1]
“เรื่องเล่าจากท้องถิ่น” หมายถึง เรื่องที่เล่าจากประสบการณ์ของผู้เขียน ซึ่งเป็นผู้ที่เกิดและดำเนินชีวิตอยู่ในท้องถิ่นของตนมาเป็นเวลา 60 ปี ได้รวบรวมความรู้นำมาร้อยเรียงเป็นหนังสือเอกสาร ในรูปของบทร้อยแก้วและร้อยกรอง เพื่อใช้ลำนำเล่าเรื่องให้เด็กและเยาวชนรุ่นหลัง หรือคนทั่วไปได้เรียนรู้เรื่องราวของท้องถิ่นจังหวัดกาญจนบุรี เกี่ยวกับเหตุการณ์ของสังคมในอดีต สืบทอดเรื่องราวให้รับรู้และเรียนรู้ความเป็นมาเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างอนาคตอย่างยั่งยืน[2]
เมื่อพูดถึง “เรื่องเล่า” สิ่งที่มาคู่กันก็คือ “ความทรงจำ” เพราะเราต้องจดจำเหตุการณ์หรือเรื่องราวนั้นๆ ได้ก่อน เราจึงจะเล่าเรื่องนั้นๆ ได้ เรื่องเล่าบางครั้งก็เป็นข้อเท็จจริงเพียงอย่างเดียว แต่หลายครั้งที่มีอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดของผู้เล่าเข้าไปผสมด้วย ซึ่งบางเรื่องเล่าก็ผิดเพี้ยนไปจากข้อเท็จจริงที่เป็นอยู่ไปไกล แต่ถึงกระนั้นคนเราก็ยังชอบที่จะฟัง “เรื่องเล่า” อยู่ดี เพราะการฟังทำให้เรารับรู้เรื่องราวหรือเหตุการณ์ได้ง่าย และเร็วกว่าการอ่านเองเสมอ
เรื่องเล่าที่เกิดจากการเล่าเรื่องของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง จึงเป็นเรื่องเล่าที่เกิดจากความทรงจำของคนเพียงคนเดียว ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น อาจจะมีความถูกต้องตามข้อเท็จจริงบ้าง ไม่ตามข้อเท็จจริงบ้าง แต่ทางคติชนวิทยาก็ถือว่า เรื่องเล่าเป็นเครื่องมือในการบันทึกเรื่องราวในอดีตได้เป็นอย่างดีรูปแบบหนึ่ง ดังนั้นบทความสั้นที่ท่านจะได้อ่านต่อจากนี้ (มีหลายเรื่อง...เลยค่ะ) ผู้เขียนจะขอนำเสนอเรื่องเล่าจากคุณครูพยุง ใบแย้ม[3] คนในชุมชนบ้านหนองขาว จังหวัดกาญจนบุรี ที่เกิดและเติบโตมาในชุมชนที่มีความหลากหลายทั้งบ้านเรือน และผู้คน
ตามไปรู้จัก “ชุมชนบ้านหนองขาว” จากเรื่องเล่าของคุณครูพยุงกันนะคะ
โรงเจ๊ก ความเปลี่ยนแปลงของชุมชน
สำหรับคนบ้านหนองขาว คำว่า “โรงเจ๊ก” หมายถึง โรงไม้ชั้นเดียวหลังคามุงด้วยกระเบื้องว่าวบ้าง สังกะสีบ้าง บางหลังก็มุงด้วยจาก หรือมุงด้วยหญ้าแฝกขึ้นอยู่กับวัสดุที่หาได้ ราวพุทธศักราช 2454-2510 โรงเจ๊กเป็นร้านค้าขายและเป็นที่อยู่อาศัยของชนชาติจีนที่อพยพเข้ามาอยู่ที่บ้านหนองขาว ตอนเด็ก ๆ ฉันวิ่งไปมาโรงเจ๊กทุกเช้าเย็นเพื่อไปหาซื้อขนมหรือกับข้าววันละหลายครั้ง ในวันหยุดเรียนสมัยนั้นคือ วันโกนกับวันพระ ฉันก็จะไปโรงเจ๊กบ่อยขึ้นกว่าวันปกติ
คำว่า “คนเจ๊ก”ที่ฉันเรียกติดปากตั้งแต่จำความได้ มาจากคำว่า “อาเจ็ก” หมายถึง คนจีนที่อพยพมาจากผืนแผ่นดินใหญ่ (ประเทศจีน) นั่นเอง ฉันสอบถามญาติผู้ใหญ่ที่ชื่อ อาเจ๊กหนูเล็กที่มีเชื้อสายจีนในบ้านหนองขาว ถึงความเป็นมาเกี่ยวกับคนจีนในบ้านหนองขาว แก่เล่าให้ฟังว่า บรรพบุรุษของท่านเข้ามาเมืองไทยราวปีพุทธศักราช ๒๔๕๔ สมัยที่เข้ามายังไว้ผมเปียอยู่ สาเหตุที่เดินทางเข้ามาเมืองไทยเพราะว่า เมืองจีนขณะนั้นแห้งแล้งและอดอยากมากถึงขนาดไม่มีข้าวจะกิน บางครั้งต้มข้าวกินก็มีแต่น้ำด้วยมีข้าวสารน้อย ต้องใช้หัวมันต้มบดให้แหลกเหลวนำไปผสมกับน้ำข้าวต้ม เพื่อให้ข้นเมื่อกินจะได้อิ่มท้อง
ดังนั้นคนจีนจำนวนมากจึงเสี่ยงโชคหนีความแห้งแล้งมาเมืองไทยโดยเดินทางมากับเรือเดินทะเล ประเภทเรือสำเภาที่ใช้ระยะเวลาเดินทางนานประมาณ 1 ปีกว่าจะถึงประเทศไทย แต่เมื่อมาถึงประเทศไทยแล้ว มองดูมองไปทางไหนก็เห็นแต่ความอุดมสมบูรณ์ของเมืองไทย เกิดความเชื่อมั่นในความคิดว่า “ถ้าอยู่ที่นี่จะรวยแน่”จึงได้ลงหลักปักฐานอยู่ที่เมืองไทย พร้อมกันนี้ก็กลับไปรับญาติพี่น้องจากเมืองจีนอพยพเข้ามาอยู่เมืองไทยอีกมากมาย บ้างก็แต่งงานมีสามี หรือภรรยาเป็นคนไทย จึงเกิดคนไทยเชื้อสายจีนจนถึงปัจจุบันนี้
บ้านหนองขาวเป็นแผ่นดินที่พักพิงของคนจีนหลายครอบครัว สาเหตุที่อพยพเข้ามาอยู่บ้านหนองขาวนั้น ฉันพอจะสรุปได้หลายประเด็น ดังนี้
ประเด็นแรกบ้านหนองขาวเป็นเส้นทางผ่านของเส้นทางการค้าขายจากเมืองกาญจนบุรีไปสุพรรณบุรีและเป็นที่พักระหว่างการเดินทาง
ประเด็นที่สองเพราะบ้านหนองขาวมีความอุดมสมบูรณ์ เรียกได้ว่า ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว มีพืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ ผลผลิตการเกษตรมากกว่าหมู่บ้านอื่น และมีแหล่งน้ำธรรมชาติมากมาย
ประเด็นที่สามคนบ้านหนองขาวมีใจนักเลงทั้งหญิงและชาย รักใครชอบใครก็จริงใจ เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ และชอบต้อนรับแขกต่างบ้านต่างเมือง ประกอบกับมีคนหนองขาวหลายคนเป็นผู้นำท้องถิ่น ที่มีตำแหน่งขุนนางหลายท่านที่คนจีนสามารถพึ่งพิงได้
ประการที่สี่สำหรับคนหนองขาว ผู้หญิงเป็นคนที่มีบทบาทในครอบครัวมาก ผู้หญิงบ้านหนองขาวจึงเป็นคนแกร่งสามารถยืนเคียงบ่าเคียงไหล่กับผู้ชายมาตั้งแต่ครั้งอดีต ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่างหญิงไทยกับคนจีน จึงเป็นไปด้วยความอ่อนโยนประนีประนอมซึ่งกันและกัน
เมื่อคนจีนเข้ามาอยู่บ้านหนองขาวก็ได้เผยแพร่วัฒนธรรมของคนจีนที่ดี ๆ ให้กับคนบ้านหนองขาวมากทีเดียว ถึงแม้ว่าในช่วงแรกๆ คนจีนจะอยู่อย่างลำบากสักหน่อย เพราะต้องหลบหนีการตามจับกุมของรัฐบาลกับผู้ลักลอบเข้าเมือง แต่ต่อมาก็คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น เพราะคนจีนนั้นอยู่อย่างสงบ ไม่เคยก่อเรื่องราวที่ผิดกฎหมาย พอตกค่ำก็ปิดหน้าถัง (ประตู) อยู่แต่ในโรง (บ้าน) เข้านอนแต่หัวค่ำ จนมีการกล่าวขานกันว่า “คนจีนมีลูกดกเพราะนอนแต่หัวค่ำ”
ความสัมพันธ์ระหว่างคนบ้านหนองขาวกับคนจีนเริ่มต้นที่การค้าขาย โดยการแลกเปลี่ยนอาหารและของใช้กับข้าวเปลือก คนจีนจะศึกษาโดยการสังเกตวิถีชีวิตประจำวันว่า คนบ้านหนองขาวนิยมกินอะไรใช้อะไรในแต่ละวัน เขาก็จะนำของมาขาย มาแลกเปลี่ยน นี่คือ ความฉลาดของคนจีน แม้กระทั่งหมาก ใบพลู ปูนที่ใช้กินหมาก ซึ่งเป็นสิ่งของที่ชาวบ้านชอบ คนจีนก็จะขวนขวายไปซื้อหานำมาขายต่อให้กับคนไทย
บ้านหนองขาวมีโรงเจ๊กมากมาย แต่ที่ฉันจำได้ ได้แก่ โรงเจ๊กของนายแตง ทำอาชีพขายกับข้าว นายกือรับปะหม้อ นายฝาซ่อมจักรยาน นายบุ้งรับซื้อข้าว นายหลี่รับซื้อพืชไร่ นายยิ้วทำทองรูปพรรณ นางห่วนหาบหมากพลูขาย ป้าพ้วยขายขนมครก ป้าทิ้งขายขนมถ้วยตะไล อาแป๊ะซ้ำยุกหาบป๋องแป๋งย้อมผ้า ป้าฟ้าทำโรงสีข้าว น้าจิ้งหรีดทำฟืนหลา (ต้นไม้ตัดเป็นท่อน ๆ ยาว 1 หลา) ส่งขายให้กับรถไฟทำเป็นเชื้อเพลิง เป็นต้น
ครอบครัวของฉันเกี่ยวข้องกับโรงเจ๊กมาโดยตลอด และโรงเจ๊กนี่แหละที่ช่วยเหลือครอบครัวของฉันอยู่รอดมาได้จนทุกวันนี้
ครอบครัวของฉันเป็นคนไทย หลังจากเสร็จการทำนาแล้ว พ่อ แม่และแม่คุณ (ยาย) ก็ไปทำไร่ บ้านเราผูกพันกับโรงเจ๊ก คือ เมื่อไม่มีเงินซื้อกับข้าว แม่คุณก็จะบอกให้ฉันไปเชื่ออาหารที่โรงเจ๊กมากินก่อน ไม่ใช่เฉพาะฉันเท่านั้นที่ทำเช่นนี้ ยังมีอีกหลาย ๆ บ้านที่ทำอย่างฉัน ทุก ๆ เช้า ทุก ๆ เย็นที่โรงเจ๊กจะเต็มไปด้วยคนไทยไปซื้อบ้าง เชื่อบ้าง (เชื่อคือ การเอาสิ่งของที่ต้องการมาก่อนแล้วจ่ายเงินทีหลัง) เพื่อให้ได้อาหารมาเลี้ยงครอบครัว เปรียบได้กับธนาคารของคนจน
พอสิ้นหน้านา ชาวนานวดข้าวเสร็จแล้ว คนที่โรงเจ๊กก็จะนำถังตวงข้าวพร้อมกระสอบ มาเก็บข้าวเปลือกตามลานข้าวของชาวนาที่ไปซื้อเชื่อ อาหาร หรือสิ่งของที่ค้างไว้เกือบตลอดทั้งปี และจะเป็นวัฏจักรหมุนเวียนอย่างนี้ทุกปี ในแต่ละปีคนที่โรงเจ๊กจะเก็บข้าวเปลือกได้ประมาณ 30-60 เกวียนหรือมากกว่านี้ ฉันลองคำนวณในใจคิดเทียบเป็นราคาข้าวเปลือก ราวพุทธศักราช 2504 ที่เกวียนละ1,800 บาท คนที่โรงเจ๊กจะได้เงินจากการเก็บข้าวจากชาวไทยปีละประมาณ 54,000-80,000 บาท จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า ทำไมคนที่โรงเจ๊กจึงรวย ในขณะที่ชาวนาไทยยากจนลง เพราะแต่ละปีชาวนาจะเพิ่มแต่หนี้สินให้กับตนเอง แต่คนที่โรงเจ๊กมีรายได้เพิ่มสูงขึ้น
พ่อกับแม่ของฉันทำไร่มันสำปะหลังควบคู่กับไร่อ้อย จึงต้องใช้เงินจำนวนมากลงทุน แต่ไม่มีเงินก้อนก็จะไปขอกู้เงินทุนจากโรงเจ๊ก พอได้รับเงินค่าผลผลิตพ่อก็จะนำเงินทุนนั้นไปคืนให้โรงเจ๊กพร้อมดอกเบี้ย ซึ่งหมายถึง รายได้เกือบทั้งหมด จะเหลือไว้ใช้จ่ายบ้างก็เพียงเล็กน้อย บางปีพ่อแม่จะซื้อที่ดินเพื่อทำนา ทำไร่เพิ่ม เมื่อมีเงินไม่พอก็จะไปขอยืมที่โรงเจ๊กอีกเช่นกัน ฉันจึงจดจำเรื่องโรงเจ๊กได้แม่นยำกว่าที่อื่น
ความผูกพันระหว่างคนจีนกับคนไทยที่บ้านหนองขาว มีความแน่นแฟ้นขึ้น เมื่อคนจีนแต่งงานกับคนหนองขาว การตั้งบ้านเรือนและสร้างครอบครัวมีความมั่นคงฐานะดี มีประเพณีและวัฒนธรรมที่สอดคล้องและยอมรับนับถือซึ่งกันและกันทั้งสองฝ่าย เช่น ประเพณีแจกขนมโรงเจ๊ก ฉันจำได้ว่า เมื่อถึงเทศกาลวันตรุษ วันสารท และวันสงกรานต์ของไทย แม่จะทำขนมมากมาย ทั้งขนมจีน ข้าวเหนียวแดง ปิ้งหม้อบิ่น (บางทีเรียกว่า บ้าบิ่น) ตัดเป็นแผ่นขนาด 8x8 นิ้ว ใส่จานสวยงามเรียงใส่กระบุงหรือกระจาด แล้วให้ฉันกระเดียด (หิ้ว) ไปแจกตามโรงเจ๊ก
พอถึงวันสารทไทย แม่จะกวนกระยาสารทส่งกลิ่นหอมชื่นใจฉันเป็นอย่างยิ่ง แม่จะใช้ใบตองปูก้นกระบุง แล้วนำกระยาสารทใส่ลงไปในกระบุง พร้อมกับจัดเตรียมจานแก้วใบขนาดพอดีให้หนึ่งใบ และฉันก็ทำหน้าที่กระเดียดกระบุงกระยาสารทไปที่โรงเจ๊กเหมือนเช่นเคย ใช้จานแก้วตักกระยาสารทในกระบุงส่งบ้านละ 1 จาน อาม่า อาซิ้ม อาอึ้ม ที่โรงเจ๊กก็จะอวยพรให้เป็นภาษาจีน ถึงฉันจะฟังไม่ออกแต่ฉันก็ชอบฟัง
ในทำนองเดียวกันเมื่อถึงวันสารทจีน และตรุษจีน แม่จะให้ฉันอยู่บ้านไม่ให้ไปไหนเพื่อรอรับขนมแจกจากโรงเจ๊ก ซึ่งนี่แหละเป็นวันที่ฉันรอคอย ครั้นถึงเวลาประมาณบ่าย 3 โมง ฉันกับน้องก็เตรียมตัว อาบน้ำขัดขี้ไคล ถูสบู่อยู่นานเป็นพิเศษกว่าทุกวัน นุ่งกางเกงหูรูด (กางเกงขาสั้นที่มีเส้นเชือกเย็บติดกับตัวขอบกางเกงเป็นไส้ไก่ สามารถรูดให้กระชับกับเอว แล้วผูกปมไว้ตรงสะดือกันหลุด) ใส่เสื้อสีแหรก (เป็นเสื้อที่มีแขนเล็ก ๆ กว้างประมาณ 1 นิ้ว เย็บติดกับตัวเสื้อที่จีบรอบอกตัวเสื้อปล่อยยาวถึงเอวหรือหน้าท้อง) ตบดอกแป้งขาวเผลอะหน้าดำ ๆ ของฉันดูดีขึ้น แล้วก็มานั่งยิ้มที่นอกชานบ้านตรงหัวบันได เมื่อแดดร่มอากาศเย็นสบายประมาณ 4 โมงเย็น ลูกหลานของอาม่า อาซิ้ม อาอึ้มที่โรงเจ๊กก็ถือจานขนมต่าง ๆ เช่น ขนมเทียน ขนมเข่ง ขนมมัดไต้ ขนมถ้วยฟู และหิ้วหม้ออวยต้มกระดูกหมูกับผักกาดดอง ต้มหน่อไม้กับหมู ฉันรอรับแล้วนำขนมและอาหารไปเปลี่ยนภาชนะใส่เสียใหม่ จากนั้นนำภาชนะนำกลับมาคืนเจ้าของ พร้อมกับยกมือไหว้ขอบคุณเขาตามที่แม่เคยอบรมสั่งสอนไว้ว่า “เมื่อรับขอจากใครให้ไหว้และพูดขอบคุณ”วันนั้นฉันมีอาหารเต็มสำรับน้องๆ พ่อ แม่ และแม่คุณ (ยาย) ของฉันได้กินอาหารที่นอกเหนือจากปลาเค็มปิ้ง หรือผักต้มจิ้มน้ำพริกที่กินเกือบทุกวัน
ฉันประทับใจประเพณีแจกขนมโรงเจ๊กมาตั้งแต่ฉันเป็นเด็ก เป็นที่น่าเสียดายที่ปัจจุบันนี้เหตุการณ์เหล่านั้นได้หายจากสังคมบ้านหนองขาวแล้ว ฉันก็ตอบไม่ได้ว่า เหตุการณ์เหล่านั้นหายไปได้อย่างไร หายไปเมื่อไร หายไปเพราะเหตุใด ใครเป็นคนทำให้หายไป แต่สุดท้ายฉันก็สรุปได้ว่า มันหายไปกับความเจริญของบ้านเมืองนี่เอง ข้อคิดที่ฉันได้คือ “ความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมือง ทำให้ประเพณีและวัฒนธรรมที่ดีงามสูญหายไป” เป็นคำถามว่า ถึงเวลาหรือยังที่เราจะต้องมาร่วมกันฟื้นฟูวัฒนธรรมที่ดีงามของไทยให้คงอยู่ตราบนานเท่านาน
[1]สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์, การบรรยายเรื่อง “เรื่องเล่ากับวิธีเล่าเรื่อง” ในการอบรมเชิงปฏิบัติการร้อยของร้อยเรื่องเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 18-20 มีนาคม 2558 ณ จังหวัดลำพูน
[2]พยุง ใบแย้ม, เอกสารสาระการเรียนรู้ ศูนย์การเรียนรู้ที่ 1 เรื่องเล่าจากท้องถิ่น ของศูนย์ฯ บ้านแม่คุณ
[3]ครูพยุง ใบแย้ม ปัจจุบันเป็นข้าราชการครูบำนาญ กระทรวงศึกษาธิการ ยังรับเงินบำนาญอยู่จึงคิดที่จะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ และจากจุดเล็ก ๆ ขอเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศ จึงเป็นสาเหตุให้ครูพยุงมีแนวคิดในการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้วิถีธรรมวิถีไทยขึ้น ที่บ้านแม่คุณ เลขที่ 197/18 หมู่ 1 ตำบลหนองขาว อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ร่วมกับคณาจารย์และนักศึกษาปริญญาเอก รุ่น 1 สาขาวิชาการบริหารเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี และมีเครือข่ายร่วมคิดร่วมทำเพื่อพัฒนาการศึกษา และสร้างความมั่งคั่ง มั่นคงและยั่งยืนในท้องถิ่นแนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
พิพิธภัณฑ์บ้านหนองขาว
ต้นปี พ.ศ. ๒๕๔๑ ...ในตำบลหนองขาว อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี กำลังมีเรื่องราวที่ชาวหนองขาวทุกคนสนใจ นั่นคือจะจัดการอย่างไรกับอาคารเรียนเก่าสองชั้นที่สร้างขึ้นราว พ.ศ. ๒๔๗๘ฝ่ายหนึ่งเห็นว่าควรทุบทิ้ง จะได้เพิ่มทัศนวิสัยอันดีให้แก่ซุ้มประตูวัดเพราะอาคารเรียนอยู่ชิดติดกันมาก และมีข่าวว่าวัยรุ่นเริ่มมาส้องสุมที่นี่ อีกฝ่ายหนึ่งที่อายุเลย ๔๐ ปีขึ้นไปยังเสียดาย คุณลุงคุณป้าวัยกว่าหกสิบยังจำภาพเมื่อครั้งยังเป็นนักเรียนตัวเล็กๆ ที่หลวงพ่อพยอม (พระครูโกวิทสุตคุณ) ได้เกณฑ์ให้ไปช่วยขนหินขนทรายจากวัดร้างมาใช้เป็นวัสดุสร้างอาคารได้แม่นยำ ในที่สุดก็ตกลงกันได้ว่าจะหาเงินมาทอดผ้าป่าอนุรักษ์อาคารเรียนเดิมไว้แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
วิถีชีวิตท้องถิ่นและภูมิปัญญา หนองขาว วัดอินทาราม
พิพิธภัณฑ์วัดถ้ำมังกรทอง
จ. กาญจนบุรี
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดหวายเหนียว
จ. กาญจนบุรี
หอดูดาวเกิดแก้ว
จ. กาญจนบุรี