พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า


สืบเนื่องจากการที่ ดร.เอช อาร์ แวน เฮเกอเร็น (H.R.Van Heekeren) นักโบราณคดีชาวฮอลันดา ถูกจับเป็นเฉลยศึก และถูกเกณฑ์มาสร้างทางรถไฟสายมรณะในสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้พบเครื่องมือหินกะเทาะและขวานหินขัด ขณะทำงานอยู่บริเวณตำบลบ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อสงครามสงบจึงได้นำเครื่องมือหินที่พบกลับไปศึกษาวิเคราะห์ที่พิพิธภัณฑ์พีบอดี สหรัฐอเมริกา จนนำไปสู่การสำรวจขุดค้นทางโบราณคดี โดยนักโบราณคดีไทยและต่างประเทศ ในพื้นที่บ้านเก่า เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2499 หลังจากนั้นระหว่าง พ.ศ.2503- 2505 คณะสำรวจก่อนประวัติศาสตร์ โครงการความร่วมมือทางโบราณคดีระหว่างไทย- เดนมาร์ก ได้ทำการศึกษาขุดค้นทางโบราณคดีที่แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า บริเวณที่ดินของนายลือ- นางบาง เหลืองแดง ริมแม่น้ำแควน้อย พบโบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์จำนวนมาก ต่อมากรมศิลปากร จึงได้จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า ขึ้น ในปีพ.ศ. 2508 ใกล้กับบริเวณแหล่งขุดค้น พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ทำหน้าที่เก็บรวบรวมรักษา และจัดแสดงโบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดีที่แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า และแหล่งโบราณคดีอื่นๆ ในจังหวัดกาญจนบุรี

ที่อยู่:
164 หมู่ที่ 3 ต.บ้านเก่า อ.เมือง จ.กาญจนบุรี 71000
โทรศัพท์:
0-34565-4058
วันและเวลาทำการ:
วันพุธ – วันอาทิตย์ เวลา 8.30 น. – 16.30 น.
ค่าเข้าชม:
ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 50 บาท นักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบ ภิกษุสามเณรและนักบวชในศาสนาต่างๆ ไม่เสียค่าธรรมเนียมเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2505
เนื้อหา:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

การพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการศึกษาเชิงสร้างสรรค์: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเก่า จังหวัดกาญจบุรี

ชื่อผู้แต่ง: กรัณย์พล วิวรรธมงคล | ปีที่พิมพ์: 2554;2011

ที่มา: โครงการวิจัยการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการศึกษาเชิงสร้างสรรค์ ภายใต้โครงการศิลปากรพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 14 ตุลาคม 2558


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า เป็นพิพิธภัณฑ์ที่เกิดขึ้นจากพิพิธภัณฑ์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ บ้านเก่า หลังจากที่มีการขุดค้นทางโบราณคดีที่บ้านเก่า กรมศิลปากรได้จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ในบริเวณที่เคยเป็นที่พักแรมระหว่างการขุดค้นริมฝั่งแม่น้ำแควน้อย ใกล้โรงเรียนท่าโป๊ะ ห่างจากแหล่งขุดค้น 400 เมตร เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว ขนาดเล็ก เพื่อเก็บรักษาและจัดแสดงโบราณวัตถุที่ได้จากการขุดค้น นับว่าเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่สร้างขึ้นในแหล่งขุดค้นทางโบราณคดีสมันก้อนประวัติศาสตร์แห่งแรกในประเทศไทย ต่อมา พ.ศ.2530 กรมศิลปากรได้รับงบประมาณจากโครงการเร่งรัดฟื้นฟูการขยายตัวทางเศรษฐกิจ มาก่อสร้างอาคารหลังใหม่ ในบริเวณเดียวกัน และนำเอาโบราณวัตถุจากอาคารเดิม และจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และจากพิพิธภัณฑสถาณแห่งชาติ พระนคร รวมทั้งโบราณวัตถุที่ได้จากการสำรวจขุดค้นใหม่ในจังหวัดกาญจนบุรี และใกล้เคียงมาจัดแสดง

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า จัดแสดงเรื่องราวทางโบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรมของมนุษย์ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีการสำรวจและขุดพบในจังหวัดกาญจนบุรี แบ่งเป็น 7 หัวเรื่อง คือ

1.กาญจนบุรีในอดีต

2.โบราณคดีบ้านเก่า

3.โลงไม้ขุดโบราณ

4.โบราณคดี

5.พัฒนาสังคมสมัยก่อนประวัติศาสตร์

6.โบราณวัตถุปราสาทเมืองสิงห์

7.โบราณสถานในจังหวัดกาญจนบุรี 

ข้อมูลจาก : 
1. สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ.“เที่ยว ท่อง ย่ำ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ” : สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม.กรุงเทพฯ,มปป. หน้า 30-31
2. http://www.thailandmuseum.com
ชื่อผู้แต่ง:
-