พิพิธภัณฑสถานแห่งความทรงจำ ช่องเขาขาด


พิพิธภัณฑสถานแห่งความทรงจำ ช่องเขาขาด ก่อสร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ระลึกถึงเชลยศึก และคนงานที่เสียชีวิตอันเนื่องมาจากการก่อสร้างทางรถไฟสายนี้ ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2539 โดยนายจอห์น โฮวาร์ด (John Howard) นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้รับเงินทุนสนับสนุนการก่อสร้างและดำเนินงานจาก สำนักงานสุสานทหารแห่งกระทรวงการทหารผ่านศึกออสเตรเลีย โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองทัพไทย เหตุที่บริเวณช่องเขาขาดถูกเลือกให้เป็นสถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เริ่มจากการสำรวจทางรถไฟสมัยสงครามโลกที่ถูกทิ้งร้างโดยวิศวกรชาวออสเตรเลียที่เข้ามาร่วมก่อสร้างโครงการเขื่อนเขาแหลม แล้วพบว่า บริเวณช่องเขาขาดเป็นสถานที่ที่น่าสนใจไม่น้อย ด้วยเป็นเส้นทางที่ตัดผ่านช่องเขาและเป็นช่วงก่อสร้างที่ถือว่ายากลำบากที่สุดของเส้นทางรถไฟไทย-พม่า ยิ่งไปกว่านั้น แรงงานกลุ่มแรก ๆ ที่ถูกเกณฑ์มาก่อสร้างทางรถไฟตรงบริเวณช่องเขาขาดนี้คือ เชลยศึกออสเตรเลียจำนวนกว่า 400 คน โดยเชลยศึกเหล่านี้ต้องทำงานวันละ 16-18 ชั่วโมง ในการเจาะเขาที่มีความยาวกว่า 110 เมตร สูงชัน 17 เมตร การเร่งก่อสร้างทางรถไฟสายนี้ ทำให้ต้องทำงานกันทั้งกลางวันกลางคืน ช่องเขาขาดจึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ช่องไฟนรก" (Hellfire Pass) ระคนไปด้วยเสียงอึกทึกจากค้อนที่ตอกลงบนหินผา และแสงจากกองไฟ คบไฟไม้ไผ่ และตะเกียง ซึ่งดูเรืองรองประหนึ่ง "เปลวไฟที่ผุดขึ้นมาจากนรก"

ที่อยู่:
กองการเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานทหารพัฒนา 207 หมู่11 ต.ท่าเสา อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี 71150
โทรศัพท์:
08-1308-2300, 08-1754-2098
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน 09.00-16.00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
อีเมล:
hfpmm@yahoo.co.uk
ปีที่ก่อตั้ง:
2541
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

To Hell-Fire,Purgatory and Back

ชื่อผู้แต่ง: Ian Saggers | ปีที่พิมพ์: /2543

ที่มา: Optima Press

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

The Thai resistance movement during World War ll

ชื่อผู้แต่ง: John B.Haseman | ปีที่พิมพ์: /2545

ที่มา: Chiang mai: Silkworm Books

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

After the battle: Hintok The drawing of John W.Wisecup

ชื่อผู้แต่ง: John W.Wisecup | ปีที่พิมพ์: -

ที่มา: -

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

The living Death Railway

ชื่อผู้แต่ง: oliver hargreave | ปีที่พิมพ์: 10/16/2547

ที่มา: The Nation

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

Map of the Thai -Burma Rail Link

ชื่อผู้แต่ง: Thailand-Burma Railway Centre | ปีที่พิมพ์: -

ที่มา: แผนที่

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ทางรถไฟสายเศร้า

ชื่อผู้แต่ง: โมกข์ รอนถิ่น | ปีที่พิมพ์: 8/13/2548

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ระลึกคืนวันอันโหดร้าย บนเส้นทางรถไฟสายมรณะ

ชื่อผู้แต่ง: วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 21 ฉบับที่ 244 (มิ.ย. 2548)

ที่มา: สารคดี

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ย้อนรอยทหารผ่านศึกผ่าน พิพิธัภณฑ์ "ช่องเขาขาด"

ชื่อผู้แต่ง: อุษา เลิศมาลัยมาลย์ | ปีที่พิมพ์: 16/5/2548

ที่มา: มติชนรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑสถานแห่งความทรงจำ ช่องเขาขาด

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เชลยศึกของฝ่ายสัมพันธมิตรหลายพันคน ได้รับความทุกข์ทรมานและเสียชีวิตในระหว่างการสร้างทางรถไฟสายไทย-พม่า หรือที่เรียกกันว่า "ทางรถไฟสายมรณะ" 

พิพิธภัณฑสถานแห่งความทรงจำ ช่องเขาขาด ก่อสร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ระลึกถึงเชลยศึก และคนงานที่เสียชีวิตอันเนื่องมาจากการก่อสร้างทางรถไฟสายนี้ ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2539 โดยนายจอห์น โฮวาร์ด (John Howard) นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้รับเงินทุนสนับสนุนการก่อสร้างและดำเนินงานจาก สำนักงานสุสานทหารแห่งกระทรวงการทหารผ่านศึกออสเตรเลีย โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองทัพไทย เหตุที่บริเวณช่องเขาขาดถูกเลือกให้เป็นสถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เริ่มจากการสำรวจทางรถไฟสมัยสงครามโลกที่ถูกทิ้งร้างโดยวิศวกรชาวออสเตรเลียที่เข้ามาร่วมก่อสร้างโครงการเขื่อนเขาแหลม แล้วพบว่าบริเวณช่องเขาขาดเป็นสถานที่ที่น่าสนใจไม่น้อย ด้วยเป็นเส้นทางที่ตัดผ่านช่องเขาและเป็นช่วงก่อสร้างที่ถือว่ายากลำบากที่สุดของเส้นทางรถไฟไทย-พม่า ยิ่งไปกว่านั้น แรงงานกลุ่มแรก ๆ ที่ถูกเกณฑ์มาก่อสร้างทางรถไฟตรงบริเวณช่องเขาขาดนี้คือ เชลยศึกออสเตรเลียจำนวนกว่า 400 คน

โดยเชลยศึกเหล่านี้ต้องทำงานวันละ 16-18 ชั่วโมง ในการเจาะเขาที่มีความยาวกว่า 110 เมตร สูงชัน 17 เมตร การเร่งก่อสร้างทางรถไฟสายนี้ ทำให้ต้องทำงานกันทั้งกลางวันกลางคืน ช่องเขาขาดจึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ช่องไฟนรก" (Hellfire Pass) ระคนไปด้วยเสียงอึกทึกจากค้อนที่ตอกลงบนหินผา และแสงจากกองไฟ คบไฟไม้ไผ่ และตะเกียง ซึ่งดูเรืองรองประหนึ่ง "เปลวไฟที่ผุดขึ้นมาจากนรก" 

Hellfire Pass หรือที่คนไทยเรียกว่า "ช่องเขาขาด" ห่างจากตัวพิพิธภัณฑ์เพียง 250 เมตร สามารถเดินเท้าเข้าไปได้สองทางคือ ทางบันไดคอนกรีต หรือทางป่าไผ่ ถ้าเลือกเดินเส้นทางป่าไผ่มุ่งสู่ช่องเขาขาด ผู้ชมไม่เพียงมีโอกาสสัมผัสช่องเขาขาดในเส้นทางเดียวกับที่เชลยศึกเคยใช้เดินไปทำงาน แต่ยังได้ชื่นชมป่าไผ่ที่เขียวขจี และเมื่อมองลงมาเบื้องล่างจะเห็นบริเวณที่ภูเขาถูกเจาะเป็นช่องลึกลงเสมอพื้น สำหรับวางรางรถไฟ ซึ่งถูกขนาบด้วยผาหินสูงชัน ทำให้สามารถเข้าใจได้ในทันทีว่า เหตุใดสถานที่แห่งนี้จึงถูกขนานนามว่า ช่องเขาขาด สถานที่ ที่หลายชีวิตต้องมาพบจุดจบ 

สำหรับผู้ชมหรือนักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินเท้าศึกษาเส้นทางการก่อสร้างทางรถไฟสมัยสงครามโลก สามารถเลือกเส้นทางเดินย้อนรอยอดีต ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร โดยเริ่มต้นจากบริเวณช่องเขาขาด ผ่านช่องตัด Hammer&Tap Cutting ช่องตัดหินตก ช่องเขาตัด Compressor โดยจะใช้ประมาณ 4.5 ชั่วโมง ทั้งนี้นักท่องเที่ยวจะต้องเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการเดิน ไม่ว่าจะเป็นรองเท้า น้ำดื่ม และมีเวลามากพอก่อนที่จะถึงเวลาพลบค่ำ 

ส่วนอาคารพิพิธภัณฑ์นั้น เป็นอาคารคอนกรีตชั้นเดียวสีขาว ตั้งอยู่เชิงผาเหนือช่องเขาขาด เนื้อที่จัดแสดงราว 200 ตารางเมตร ภายในจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่สองในเอเชีย เริ่มจากการโจมตีของญี่ปุ่นในปี 1941 ความทุกข์ยากของเชลยศึกและผู้กักกัน กรรมกรผู้ใช้แรงงานชาวเอเชีย การก่อสร้างทางรถไฟจากไทยไปสู่พม่า เรื่องราวดังกล่าวถูกเล่าผ่านข้าวของต่าง ๆ ของเชลยศึก อาทิ จดหมาย เสื้อผ้า เครื่องไม้เครื่องมือในการสร้างทางรถไฟ แผนที่ แบบจำลองโครงสร้างสะพานไม้มาตราส่วน 1: 25 แบบจำลองแสดงแนวทางรถไฟในระยะทาง 4 กิโลเมตร (จากช่องเขาขาดสู่ช่องเขาตัด Compressor) ซึ่งภูมิประเทศในช่วงนี้เป็นที่ยากลำบากที่สุดในการสร้างช่วงหนึ่งของทางรถไฟ รวมไปถึงการจัดแสดงภาพวาดชีวิตความเป็นอยู่ของเชลยศึก สภาพความโหดร้ายในค่าย และในระหว่างการก่อสร้างทางรถไฟ ความเจ็บป่วยและโรคภัยไข้เจ็บที่คร่าชีวิตแรงงานเชลยศึกเหล่านี้ นิทรรศการจบลงด้วย การแพ้สงครามของญี่ปุ่น เสรีภาพของเชลยศึกที่ยังมีชีวิต ซึ่งได้รับการบำบัดจากกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตร แม้จะได้รับการเยียวยา แต่สุขภาพและสภาพจิตใจก็ไม่อาจกลับสู่สภาพเดิมได้ ร่างไร้วิญญาณของบรรดาเชลยศึกที่ถูกฝังในค่ายทำงาน ถูกย้ายไปยังสุสานสำหรับฝังศพทหารในพม่าและในกาญจนบุรี ส่วนทางรถไฟถูกโอนเป็นกรรมสิทธิ์ของอังกฤษ ต่อมาทางรถไฟส่วนที่อยู่ประเทศไทยถูกขายให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทย

นอกเหนือจากส่วนจัดแสดงแล้ว ทางพิพิธภัณฑ์ได้จัดมุมฉายภาพยนตร์สั้นความยาว 7 นาที ที่ประกอบไปด้วยเรื่องราวในแง่มุมต่าง ๆ ของการสร้างทางรถไฟสายมรณะ รวมถึงปากคำของเหล่าบรรดาเชลยศึกชาวออสเตรเลียต่อสภาพความโหดร้ายที่ประสบในระหว่างเป็นแรงงานการก่อสร้างทางรถไฟ

เช้าตรู่วันที่ 25 เมษายน ของทุกปี ณ ช่องเขาขาด จะมีการประกอบพิธีกรรมรำลึก นำโดยสถานทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย บรรดาเหล่าทหารผ่านศึกและลูกหลานมาร่วมไว้อาลัย ถือโคมไฟไม้ไผ่ที่มีเทียนไขอยู่ด้านในเสมือนกับที่บรรดาเชลยเคยใช้ และในตอนสาย ขบวนจะเคลื่อนมาทำพิธีวางหรีดที่สุสานทหารสัมพันธมิตร ดอนรัก ในตัวเมืองกาญจนบุรี


ข้อมูลจาก: 
1. การสำรวจโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2548
2. แผ่นพับประชาสัมพันธ์พิพิธภัณฑสถานแห่งความทรงจำ ช่องเขาขาด
3. www.hellfirepass.com
4. วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง. "ระลึกคืนวันอันโหดร้าย บนเส้นทางรถไฟสายมรณะ". สารคดี 21: 244(มิถุนายยน) 2548, 36-37.

ชื่อผู้แต่ง:
-

ช่องเขาขาด อนุสรณ์สถานแห่งความทรงจำ

ความทรงจำหนึ่งในช่วงชีวิตของคนในวัยคราวปู่ย่าของพวกเรา จะต้องมีคำบอกเล่าหนึ่งถึงความยากลำบากของการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 จะมากบ้างน้อยบ้างก็คงแล้วแต่เหตุการณ์ที่ได้ประสบพบเจอมา แต่สำหรับเราแล้ว จากคำบอกเล่าอย่างเดียวอาจยังไม่เห็นภาพได้มากพอเท่ากับการได้เดินทางมาเยี่ยมเยือนดินแดนแห่งประวัติศาสตร์สงคราม อย่างจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเราเลือกไปเที่ยวยัง “พิพิธภัณฑ์แห่งความทรงจำ ช่องเขาขาด” หรือที่ใครๆ มักจะเรียกกันสั้นๆ ว่า “ช่องเขาขาด” นั่นเอง
ชื่อผู้แต่ง:
-