ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดอ่างทอง โรงเรียนสตรีอ่างทอง


ที่อยู่:
ร.ร.สตรีอ่างทอง อ.เมือง จ.อ่างทอง 14000
โทรศัพท์:
0-3561-1511
วันและเวลาทำการ:
เปิดในวันและเวลาราชการ
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
ปีที่ก่อตั้ง:
2523
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

รีวิวของศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดอ่างทอง โรงเรียนสตรีอ่างทอง

ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดอ่างทอง เริ่มจัดตั้งในปี พ.ศ. 2523 ที่โรงเรียนสตรีอ่างทอง อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในขณะที่สนับสนุนการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมประจำจังหวัดทั่วประเทศ ปัจจุบันศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดอ่างทอง จัดตั้งอยู่บนอาคาร “หอวัฒนธรรมจังหวัดอ่างทอง” เป็นอาคารเรือนไทย ที่ได้รับบริจาคมาจาก ดร.ทรงศักดิ์ เอาฬาร นายกสมาคมชาวอ่างทอง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 โดยมีอาจารย์สุมาลี กระจ่างพันธุ์ ครูชำนาญการ โรงเรียนสตรีอ่างทอง เป็นผู้ดูแล และจัดทำผลงานออกเผยแพร่ภูมิปัญญาต่างๆ ของชาวอ่างทองไว้เป็นจำนวนมาก ปัจจุบันอาจารย์สุมาลีได้เกษียนอายุราชการแล้ว  ต่อมาอาจารย์ไพบูลย์ ภู่พวง  หนึ่งในคณะกรรมการ และผู้ช่วยเลขานุการศูนย์ฯ ในขณะนั้นได้เข้ามาสานงานต่อจากอาจารย์สุมาลี
 
บนอาคารเรือนไทยจัดแสดงภาพจำลองของวิถีชีวิตของคนภาคกลาง เช่น ห้องครัว ห้องนอน และโถงรับแขก   รวมถึงสิ่งของที่เป็นภูมิปัญญาของชาวอ่างทอง เช่น เครื่องจักสาน   เหรียญกษาปน์  ตาชั่ง กรรไกรตัดผมโบราณ คัมภีร์ใบลาน สมุดข่อย  กระดานชนวน เครื่องสวมหัวโขนละครสมัยรัชกาลที่ 6 ที่รับบริจาคมาจากร้านพุฒิพงศ์วิทยุ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องเคลือบ ถ้วยโถโอชาม  เครื่องพิมพ์ดีดเก่า เป็นต้น 
 
อย่างไรก็ดีภารกิจของศูนย์วัฒนธรรมยังมีการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลท้องถิ่นด้วย  ซึ่งทางศูนย์ฯ มีการจัดพิมพ์เอกสารเผยแพร่ต่างๆ อีกจำนวนหนึ่ง สำหรับนักเรียนและผู้ที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับวิถีชีวิตและภูมิปัญญาท้องถิ่นในจังหวัดอ่างทอง  เช่น หนังสือเล่าเรื่องเมืองอ่างทอง ภายในมีเนื้อหาอาทิ ที่มาของเมืองอ่างทอง บุคคลสำคัญของท้องถิ่น ประเพณีและวัฒนธรรม หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ตำนานเพลงเรือ เพลงรำ เป็นต้น  หนังสือนักประดิษฐชาวอ่างทอง  ที่เล่าถึงนักประดิษฐ์ชาวอ่างทองคนสำคัญ เช่น คุณสนอง ฐิตะปุระ นักประดิษฐ์เรือหางยาวลำแรกของโลก จนได้รับรางวัลผลงานคิดค้น และสิ่งประดิษฐ์ซึ่งให้ประโยชน์แก่ประเทศชาติ ประจำปี 2527 จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ  และท่านยังเป็นยอดนักแข่งรถโบราณจนเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป  อาจารย์เล็ก สุวรรณฤทธิ์ หรือ ครูเล็ก ผู้ประดิษฐ์เครื่องฟักไข่แบบไทย  นายสมจิตต์ กระจ่างศิลป์ ผู้สร้างตำนาน “รถอีแต๊ก” หรือ วิศวกร ป.4 คนไทยคนแรกที่ประดิษฐ์เครื่องบินเบา เป็นต้น
 
นอกจากนี้ยังมีผลงานค้นคว้าอีกมากมายของศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดโรงเรียนสตรีอ่างทอง คือ ของเล่นหลากลีลา ภูมิปัญญาชาวอ่างทอง  เรือหลากชนิด  วิถีชีวิตชาวอ่างทอง  คลองม่วงเตี้ย-สีบัวทอง  แหล่งน้ำธรรมชาติ จังหวัดอ่างทอง ที่ควรอนุรักษ์   คำให้การผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น จังหวัดอ่างทอง   ตุ๊กตาชาววัง   จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถของวัดในจังหวัดอ่างทอง และหมอชาวบ้าน ภูมิปัญญาไทยจังหวัดอ่างทอง
 
สำรวจวันที่ 27 ตุลาคม 2552 โดยณัฐพัชร์ ทองคำ
ชื่อผู้แต่ง:
-