พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดข่อย


ที่อยู่:
วัดข่อย หมู่1 ต.โพธิ์รังนก อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง 14120
โทรศัพท์:
0-3563-1509
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน 08.00-16.00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2535
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

วังปลาวัดข่อยศูนย์รวมเรือโบราณมรดกล้ำค่าเพื่ออนุชนรุ่นหลัง

ชื่อผู้แต่ง: คำนึง คล้ายมาลี | ปีที่พิมพ์: 24-06-2540

ที่มา: เดลินิวส์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

วัดข่อยอ่างทองอีกหนึ่งพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านค้ำชูวิถีชีวิตคนระดับล่าง

ชื่อผู้แต่ง: พฤทธิ์ ทองทับ | ปีที่พิมพ์: 24-03-2537

ที่มา: มติชนรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดข่อย

วัดข่อย ต.โพธิ์รังนก อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง เป็นหนึ่งในวัดจำนวนสี่ร้อยวัดของอ่างทองที่มีร่องรอยในอดีตที่น่าสนใจ น่าศึกษาค้นคว้า วัดข่อยตั้งอยู่บนพื้นที่ประมาณ 400 ไร่เศษ พระครูสรกิจจาทร(สมจิตร) เจ้าอาวาสวัดข่อย เจ้าอาวาสองค์ที่ 9 ในปัจจุบัน กล่าวว่า ไม่ทราบประวัติความเป็นมาของวัด ไม่ทราบใครเป็นผู้สร้าง และสร้างในปีพ.ศ.ใด กรมศิลปากรเคยมาสำรวจและสันนิษฐานว่า วัดข่อยสร้างมาพร้อมๆ กันกับวัดขุนอินทรประมูล ซึ่งสร้างในสมัยกรุงสุโขทัย พ.ศ.1870 
 
ภายใน วัดข่อยมีสิ่งที่น่าสนใจหลายอย่าง  ไม่ว่าจะเป็นมณฑป พระวิหาร เจดีย์ พระอุโบสถ ซึ่งล้วนแต่ก่อสร้างในสมัยเก่าแก่อายุมากกว่า 100 ปีทั้งสิ้น  ที่สำคัญสภาพของโบราณสถานนี้ยังใช้งานได้และยังแข็งแรงคงทน นอกจากนี้ยังมีกุฏิ 8 หลัง หอสวดมนต์ และศาลาการเปรียญ ซึ่งสร้างแบบทรงไทยโบราณ ขณะนี้ยังอยู่ในสภาพเดิมไม่มีการชำรุด ได้รับการดูแล ซ่อมแซม รักษาเป็นอย่างดี ไม่มีเสาที่ก่อสร้างด้วยปูนซีเมนต์สักต้นเดียว  ไม่ว่าจะเป็นเสากุฏิ หอสวดมนต์ หรือเสาศาลาการเปรียญ ตั้งแต่ใต้ดินจนถึงยอดเสาทำด้วยไม้สักเป็นเสาลักษณะกลมใหญ่สวยงาม และเสาเหลี่ยม 8 เหลี่ยม พื้นกระดานทุกแผ่นปูด้วยไม้สัก ฝาผนังทุกฝาเป็นไม้สักทุกหลัง ส่วนหลังคามุงด้วยกระเบื้องเคลือบสมัยก่อน

ภายในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ที่น่าสนใจ  โดยเฉพาะข้าวของอันเนื่องมาจากเจ้าอาวาสวัดองค์แรก พระครูสุกิจวิชาน (หลวงพ่อเข็ม) อดีตเป็นเจ้าคณะแขวงเมืองวิเศษไชยชาญ ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านของกรุงศรีอยุธยาในสมัยยังไม่ได้ตั้งเป็นจังหวัดอ่างทอง ประวัติหลวงพ่อเข็มเป็นที่เลื่องลือในด้านวิชาคาถาอาคมแกร่งกล้า สิ่งของเครื่องใช้ในสมัยของหลวงพ่อเข็มที่หลงเหลือในปัจจุบัน เช่น ตะเกียงจากกรุงวอชิงตัน ในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นตะเกียงโบราณ มีโคมไฟติดตั้งอยู่บนพานมีจานเชิงคลุมโดยรอบ แล้วมีสายทองเหลืองโยงใยไว้สำหรับลำเลียงน้ำมันก๊าดจากพื้นขึ้นไปตามสายตะเกียงนี้สว่างมาก  พอกับไฟฟ้าที่ใช้ปัจจุบันประมาณ 40 แรงเทียน และยังมีนาฬิกาโบราณ ในสมัยรัชกาลที่ 5 จากกรุงปารีส  ตู้พระไตรปิฎก ทำด้วยไม้สักสลักลายจีนจากประเทศจีน ซึ่งมีอักษรภาษไทยสมัยโบราณสลักไว้ว่า “พ่อเหว่า แม่ยา ผู้ทร่าง พ.ศ.2463” คำว่า “ทร่าง” คือคำว่า “สร้าง” ในสมัยปัจจุบันนั่นเอง
 
นอกจากนี้ยังรวบรวมเรือพื้นบ้านต่างๆ เช่น เรือบด เรือแจว เรือสำปั้น เรืออีโปง เรือปาบ เรือพะม้า เรือยาว โดยเฉพาะมีเรือประทุนของหลวงพ่อเข็มที่สร้างขึ้นในราว ร.ศ.128 เทียบได้กับปีพ.ศ.2452  ซึ่งกล่าวว่าเป็นของหลวงพ่อเข็ม เวลาเดินทางไปรับกิจนิมนต์ ขณะนี้ยังอยู่ในสภาพที่ดีเยี่ยม 
 
นอกจากนี้ยังมีการรวบรวมเปลกล่อมลูกในสมัยโบราณให้อนุชนรุ่นหลังได้ดูอีกด้วย “มรดกชาวนา” เป็นอีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจ โดยทางวัดข่อยได้พยายามรวบรวมเครื่องมือ เครื่องใช้ รวมทั้งอุปกรณ์การทำนา อุปกรณ์เครื่องมือการจับสัตว์น้ำไว้จำนวนมาก เช่น เกวียน ล้อ กระแทะ เลื่อน คันไถ แอกควาย แอกวัว คาดเกลี่ยดิน เครื่องสีฝัด ตะข้อง ตะกร้าสานด้วยไม้ไผ่ ไซดักปลา ไซดักกุ้ง ไซดักปลาไหล แร้วดักนก ฯลฯ รวมทั้งหุ่นปั้นชาวนา ควาย วัวกำลังไถนา ลากจูง เกวียน 
 
การที่วัดข่อยรวบรวมสิ่งเหล่านี้ เพื่อต้องการให้ประชาชนไทยเกิดความสำนึก รำลึกถึงอดีต ความอุดมสมบูรณ์ในสมัยก่อนที่สามารถจับสัตว์น้ำได้โดยง่าย นึกถึงความเรียบง่าย ความสงบสุข เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับสมัยปัจจุบัน 
วัดข่อยยังสืบสานอนุรักษ์มรดกไทยด้วยการจัดตั้งศูนย์ผลิตตำข้าวซ้อมมือจำหน่ายให้กับประชาชน ซึ่งมีสรรพคุณแสนวิเศษ บำรุงร่างกายรักษาโรคภัยได้หลายโรค สิ่งเหล่านี้ทางวัดซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่จะชักจูงจิตใจของประชาชนชาวไทยหันมารักและหวงแหนมรดกเหล่านี้ให้สืบสานต่อไปในภายหน้า วัดข่อยจึงถือเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านที่ช่วยสืบสานสิ่งเก่าๆ ของไทยได้อย่างดี 
 
ข้อมูลจาก: “วัดข่อย อ่างทอง อีกหนึ่งพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ค้ำชูวิถีชีวิตคนระดับล่าง” มติชนรายวัน วันที่ 24 มีนาคม 2537 หน้า 28.
ชื่อผู้แต่ง:
-