พิพิธภัณฑ์สโตนมิวเซี่ยม วัดบุดดา


พิพิธภัณฑ์สโตนมิวเซี่ยมตั้งอยู่ในวัดบุดดา ริมทางสาย สิงห์บุรี-บางระจัน เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ก่อตั้งขึ้นด้วยความรักและความชอบในหินสวยงามของท่านพระอธิการศุภรัตน์ ฐิตธมฺมปาโล (หลวงเตี่ย) เจ้าอาวาสวัดบุดดา หลวงเตี่ยเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่บุดดา ถาวโร อดีตเจ้าอาวาสวัดกลางชูศรีเจริญสุข ในจังหวัดลพบุรี พิพิธภัณฑ์หินอยู่บริเวณชั้น 1 ของอาคารหอประชุมของวัด จัดแสดงลูกปัดหินสีต่างๆ เครื่องถ้วยชามเครื่องปั้นดินเผา ลูกปัดส่วนใหญ่จะวางแยกประเภทเช่น สีสัน วัสดุที่ใช้ทำ เช่น แก้ว หิน โลหะ  นอกจากนี้ยังจัดแสดงข้าวของวัตถุประเภทอื่น เช่นเครื่องประดับโลหะจำพวกกำไล ต่างหู แหวน หรือเครื่องใช้ที่ทำจากโลหะซากหอยทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่และซากกระดูก  พระพุทธรูปองค์เล็ก เศียรพระพุทธรูปสมัยทวารวดี  เครื่องปั้นดินเผา      

ที่อยู่:
วัดบุดดา ต.บางกระบือ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี 16000
โทรศัพท์:
0-3651-2909
วันและเวลาทำการ:
กรุณาติดต่อก่อนเข้าชม
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2552
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์สโตนมิวเซี่ยม วัดบุดดา

“พิพิธภัณฑ์สโตนมิวเซี่ยม”หรือที่ภาษาไทยแปลง่ายๆ ว่า “พิพิธภัณฑ์หิน” นั้นเอง ตั้งอยู่ในวัดบุดดา ริมทางสาย สิงห์บุรี-บางระจัน (จังหวัดนี้มีอำเภอที่ชื่อคล้ายกันคือ อำเภอบางระจันและอำเภอค่ายบางระจัน) เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ก่อตั้งขึ้นด้วยความรักและความชอบในหินสวยงามของท่านพระอธิการศุภรัตน์ ฐิตธมฺมปาโล (หลวงเตี่ย) เจ้าอาวาสวัดบุดดา
 
ความเป็นมาของวัดบุดดา ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2537 ยังเป็นเพียงสำนักสงฆ์  ผ่านมาจนถึงปี พ.ศ.2545 จึงได้เปลี่ยนเป็นวัดอย่างเต็มตัว กิจกรรมส่วนใหญ่ของทางวัดในปัจจุบันเป็นกิจกรรมที่เน้นการรักษาศีลภาวนา มีกิจกรรมการศึกษาพระพุทธศาสนาในหลายรูปแบบ ทั้งการถือศีลเป็นหมู่คณะ ของนักเรียนนักศึกษาภายในจังหวัดสิงห์บุรี โรงเรียนพระพุทธสาสนาฤดูร้อนของนักเรียนหลายๆ คน  หลวงเตี่ยท่านเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่บุดดา ถาวโร อดีตเจ้าอาวาสวัดกลางชูศรีเจริญสุข ในจังหวัดลพบุรีนี่เอง หลวงเตี่ยถือบวชจากคำชักชวนและความศรัทธาที่มีต่อหลวงปู่บุดดา และตามประวัติที่เล่ามานั้น เพราะมีงูเผือกเข้ามาอยู่ในบ้านของหลวงเตี่ยในตอนที่ท่านยังไม่ได้บวช และยังเด็กอยู่  หลวงปู่บุดดาท่านทราบเข้าก็ไปพูดกับโยมแม่ของหลวงเตี่ยขอให้ท่านได้บวช เพราะหลวงเตี่ยเนี่ยะมีชาติกำเนิดเป็นพญานาค ตอนนี้พ่อแม่ที่เป็นพญานาคจะมาตามให้กลับไปอยู่ที่เดิม ก็เลยมีลางว่างูเผือกเข้ามาอยู่ในบ้าน ถ้าไม่บวชก็จะต้องตาย หลวงเตี่ยก็จึงได้ออกบวชตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และเมื่อหลวงปู่ท่านได้มรณภาพลงนี พ.ศ.2537 จึงได้ก่อตั้งสำนักสงฆ์ขึ้นในปีเดียวกันนั่นเอง
 
พิพิธภัณฑ์หินที่จัดแสดงอยู่ภายในวัดนั้น อยู่ที่บริเวณชั้น 1 ของอาคารหอประชุมของวัด โดยแบ่งส่วนทางด้านขวาของชั้น 1 เป็นส่วนจัดแสดงลูกปัดหินสีต่างๆ เครื่องถ้วยชามเครื่องปั้นดินเผา จำนวนมาก โดยพวกลูกปัดสีต่างๆ ทั้งที่มาจากภายในประเทศและนอกประเทศวางเอาไว้ในกระบะกลมที่ทำมาจากการตัดถัง 200 ลิตร ออกเป็น 2 ส่วน และใช้เป็นวางลูกปัดที่ร้อยด้วยเชือกธรรมดาเอาไว้  ลูกปัดส่วนใหญ่จะวางแยกประเภอเช่น สีสัน หรือว่าลักษณะและประเภทของลูกปัด เช่น แก้ว หิน พลาสติก หรือว่าโลหะ  กระบะใส่ลูกปัดทั้งหมดจะวางให้ตรงกลางของบริเวณที่จัดไว้เป็นส่วนของพิพิธภัณฑ์ ลูกปัดหลายประเภทที่เห็นในพิพิธภัณฑ์นี้ ผู้รู้หรือคนที่มีความรู้เรื่องลูกปัดหลายคนมาเห็นเข้าต่างก็ตะลึงกับจำนวนที่หลวงเตี่ยท่านได้มีเก็บไว้  บางคนก็มาบอกกับหลวงพ่อท่านว่า หลายส่วนเป็นของจริงที่มีมูลค่ามากไม่คิดว่าจะมาอยู่รวมที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้มากขนาดนี้
 
ผู้ดูแลวัดได้เล่าให้ฟังว่า แต่เริ่มแรกหลวงเตี่ยท่านตั้งใจจะทำพิพิธภัณฑ์ลูกปัด เพราะท่านสะสมเอาไว้มาก  แต่ก็ยังมีคนนำวัตถุแบบอื่นๆ มาถวายท่านอยู่เรื่อยๆ เหมือนเวลาที่ท่านเริ่มสนใจวัตถุประเภทไหนหรือแบบใด แม้ยังไม่ได้เอ่ยปากให้ใครทราบก็จะมีคนนำของนั้นมาถวายเรื่อยมา จนปัจจุบันยังมีของอีกหลากหลายประเภทที่ยังไม่ได้นำออกมาจัดแสดง
 
ในตู้อื่นๆที่ไม่ได้จัดแสดงลูกปัด ก็จะมีข้าวของวัตถุประเภทอื่นจัดแสดงอยู่ด้วย เช่น ตู้ที่จัดแสดงเครื่องประดับโลหะเช่น กำไล ต่างหู แหวน หรือเครื่องใช้ที่ทำจากโลหะซากหอยทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่และซากกระดูก  นอกจากนี้ในตู้อื่นๆ ยังมีพระพุทธรูปองค์เล็กๆ  เศียรพระพุทธรูปสมัยทวารวดี  เครื่องปั้นดินเผารูปช้างไม่แน่ใจว่าของใหม่หรือไม่
 
แต่รูปแบบการจัดแสดงของทางพิพิธภัณฑ์  มีการเปลี่ยนแปลงการนำเสนอหลายครั้งด้วยกัน เนื่องจากบรรดาลูกศิษย์ลูกหาของหลวงเตี่ยท่าน มาช่วยจัดรูปแบบของพิพิธภัณฑ์  ช่วงนี้ใครมาก็มาช่วยจัด แต่จัดในรูปแบบของตัวเองที่ตัวเองชอบ อีกคนหนึ่งมาก็มาจัดใหม่ เพราะฉะนั้นบางคนนานๆมาวัดครั้งหนึ่งก็จะเห็นว่าส่วนของการนำเสนอในพิพิธภัณฑ์มีการปรับเปลี่ยนบ่อยๆ
 
ถัดจากส่วนของพิพิธภัณฑ์จะเป็นที่ตั้งของแท่งแก้วสีต่างๆ ที่ผู้ดูแลวัดแจ้งว่า เป็นของหายาก เพราะต้องเข้าไปเอาในถ้ำ มีความเชื่อว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์ คนมีบุญเท่านั้นถึงจะสามารถหาแท่งแก้วสีต่างๆ ครอบครองได้ และมีคนนำมาถวายหลวงพ่ออยู่เรื่อยๆ
 
มัณฑนา ชอุ่มผล เขียน/ถ่ายภาพ
ข้อมูลจาก: การสำรวจเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2554
 
 
 
ชื่อผู้แต่ง:
-
คำสำคัญ: