พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านลาดชะโด


ที่อยู่:
ตลาดลาดชะโด หมู่ 1 ต.หนองน้ำใหญ่ อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา
โทรศัพท์:
035-740-263-4 (ติดต่อเทศบาลตำบลลาดชะโด)
วันและเวลาทำการ:
เสาร์-อาทิตย์ เวลา 10.00 - 17.00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2552

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านลาดชะโด

ชื่อของ “คลองลาดชะโด” นั้นแต่เดิมชื่อ “คลองบางคลี่” เป็นคลองสาขาที่แยกออกมาจากแม่น้ำน้อย มาจากปากคลองบางคลี่ เมื่อไหลมาผ่านหน้าบ้านลาดชะโด ชาวบ้านก็เรียกว่า “คลองลาดชะโด” เป็นคลองที่สามารถลัดไปออกจังหวัดสุพรรณบุรีและแม่น้ำท่าจีนได้  ชื่อของหมู่บ้านนี้ก็มีที่มาว่า ในบริเวณคลองที่ไหลผ่านหมู่บ้านนี้มักมีปลาชุกชุมโดยเฉพาะ ปลาชะโด เมื่อจับปลาทีไรก็มักได้ปลาชะโดติดมาด้วยเกือบทุกครั้ง  ลักษณะของปลาชะโดถ้าใครที่ไม่รู้จักปลาดีอาจจะนึกเขาใจผิดได้ว่า เป็นปลาช่อน จริงๆ ก็เป็นปลาในตระกูลเดียวกัน แต่ปลาชะโดถือได้ว่าเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในตระกูลปลาชนิดนี้  ในปัจจุบันหาดูค่อนข้างยาก 
 
ตลาดลาดชะโดมาซบเซาเอาเมื่อประมาณ 20-30 ปีที่ผ่านมานี้เอง เนื่องมาจากการเดินทางโดยรถยนต์ที่สะดวกขึ้น มีการตัดถนนสายผักไห่ – สุพรรณบุรี รวมถึงถนนสายเอเชียที่เป็นเส้นทางสายหลักที่จะลงมายังกรุงเทพมหานคร ทำให้ความสำคัญของการคมนาคมและการค้าขายทางน้ำลดน้อยลง ตลาดลาดชะโดก็ค่อยๆเงียบลงๆ  จนเมื่อประมาณปี พ.ศ.2551 ทางเทศบาลและจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พยายามฟื้นตลาดลาดชะโดกลับมาคึกคักอีกครั้งด้วยการโปรโมทให้เป็นแหล่งท่องเที่ยววิถีชีวิตชุมชนชาวตลาดน้ำ  โดยอาศัยความเก่าแก่ของตลาดที่มีมากว่า 100 ปี  เมื่อวันที่ 7 – 8 -9 กุมภาพันธ์ 2552 ได้มีพิธีเปิดตลาดลาดชะโดอย่าางเป็นทางการ
 
เมื่อมีการปรับปรุงตลาดให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวนั้น เทศบาลจึงคิดและร่วมกับชาวบ้านและโรงเรียนจัดทำพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านลาดชะโดและพิพิธภัณฑ์ประมงพื้นบ้านขึ้นมาในห้องแถวบริเวณทางเข้าที่ 2 ของตลาดลาดชะโดทั้งสองฟาก  ซึ่งก็เป็นห้องแถวที่เคยเป็นบ้านที่อยู่มาตั้งแต่เด็กๆของท่านนายกเทศมนตรีนั้นเอง ที่ท่านได้ยกห้องแถวให้จัดเป็นพิพิธภัณฑ์ 
 
  มุมมองหลักของพิพิธภัณฑ์คือ ต้องการกล่าวถึงความเป็นมาและความเป็นอยู่ของชาวบ้านลาดชะโดในอดีต  โดยมีการประกาศขอยืมหรือรับบริจาคสิ่งของพวกของเก่าที่ไม่ได้ใช้ในบ้าน ก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากประชาชนชาวลาดชะโด  นำข้าวของมาให้ยืมจัดไว้ในพิพิธภัณฑ์ สิ่งของจัดแสดงส่วนใหญ่ภายในพิพิธภัณฑ์เป็นเครื่องไม้เครื่องมือที่เกี่ยวกับการทำนา การทำการประมง และข้าวของสะสมบ้างเล็กน้อยของชาวบ้าน 
 
เมื่อเดินผ่านเข้าไปในซุ้มป้ายชื่อพิพิธภัณฑ์นั้น จะเห็นโปสเตอร์ขนาดใหญ่ที่เป็นรูปของตลาดลาดชะโดที่เคยถูกนำไปเป็นภาพในแสตมป์ไทย  ที่มีการแต่งภาพโดยเอารูปคนอาบน้ำและเด็กกระโดดน้ำเพิ่มเติมเข้ามา เป็นสิ่งที่ชาวลาดชะโดภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง  อีกสิ่งที่ชาวลาดชะโดภูมิใจคือที่นี่เป็นแรงบันดาลใจให้หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช  เขียนนวนิยายเรื่องหลายชีวิต  ซึ่งชาวบ้านลาดชะโดเล่าว่า ตามประวัติแล้วคนที่ทำงานในบ้านของท่าน เป็นชาวบ้านลาดชะโดเสียหลายคน แม้จะแก่กันไปแล้วก็ยังชักนำเอาลูกหลานมารับใช้ท่านอยู่อย่างต่อเนื่อง ครั้งหนึ่งได้ชักชวนให้คุณชายคึกฤทธิ์มาเที่ยวงานบวชนาคของลูกหลานในตระกูลเล็กประทุม เมื่อท่านเดินทางมานั้นก็ใช้การสัญจรด้วยเรือเมล์ที่วิ่งระหว่างบางกอกกับผักไห่ และนี่เองที่เป็นแรงบรรดาลใจให้ท่านนำเอาฉากและชีวิตความเป็นอยู่ของชาวลาดชะโดและการเดินทางสัญจรไปมาด้วยเรือโดยสารหรือเรือเมล์ที่หลายๆ คนรู้จัก มาแต่งเป็นนวนิยายเรื่อง “หลายชีวิต”  
 
สิ่งของจัดแสดงทั้งหลายในพิพิธภัณฑ์ทั้ง 2 ฟากนั้น มีการทำป้ายชื่อของสิ่งของเหล่านั้นว่าเรียกว่าอย่างไร ใครเป็นเจ้าของ ใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง เริ่มจากด้านซ้ายเมื่อเรายืนหันหน้าเข้าหาพิพิธภัณฑ์  เราจะพบบอร์ดขนาดใหญ่ที่เป็นประวัติของเรือเมล์ที่ทางเทศบาลได้ไปลากมาแล้วทำการปรับปรุงเสียใหม่ให้นักท่องเที่ยวได้รู้จักเรือเมล์ที่เคยใช้ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา  เรือเมล์หรือเรือเขียวเรือแดงลำนี้ชื่อว่า “รุ่งเรืองรัศมี” เคยเป็นเรือโดยสารประจำเส้นทางอยุธยา – บางกอก โดยผ่านหน้าตลาดลาดชะโดเป็นประจำ เมื่อประมาณ ปี พ.ศ.2548 ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดได้จัดหาเรือเมล์ลำนี้มาจากเจ้าของเดิมซึ่งเคยดำเนินกิจการเรือโดยสารในเส้นทางนี้มาก่อน ทางเทศบาลตำบลลาดชะโดก็ได้รับเอามาปรับปรุงซ่อมแซมเสียใหม่จนออกมาส่วนงามสะดุดตานักท่องเที่ยวที่เดินทางมาพักผ่อนยังชุมชนลาดชะโดเป็นอย่างยิ่ง  
 
จากนั้นมีมุมจัดแสดงการทำนา มีเครื่องมือการทำนา การเทียมเกวียนของวัว – ควาย วีพัดเปลือกข้าว คราด เคียวเกี่ยวข้าว สีฝัดข้าว กระบุงเจ๊ก แอก ไม้กวาด ฯลฯ ถัดมาก็เป็นหมวดของเบ็ดเตล็ด วางอยู่บนโต๊ะ  ส่วนใหญ่เป็นของสะสมเล่นๆ ของเจ้าของ   ถัดมาเป็นเครื่องจักสานที่จำเป็นในการดำรงชีวิตเช่น กระบุง ตะกร้า กระด้ง ตะข่อง ไซ พ้อมหรือกระพ้อมฯลฯ   และสิ่งที่หาดูยากในปัจจุบันเช่น เครื่องมือจับปลา ฉมวกหลายๆแบบ ถัดจากนั้นไปอีกจะเป็นป้ายนิทรรศการความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของตลาดลาดชะโดและตำบลลาดชะโด  ของดีของเมืองผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ทั้ง ปืน พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง และพระเครื่องชุดที่มีชื่อเสียง
 
ที่สำคัญสำหรับการมาเที่ยวพิพิธภัณฑ์และตลาดที่ลาดชะโดนี้คือ การส่งจดหมายหรือโปสการ์ดจะส่งหาตัวเองหรือว่าจะส่งให้คนอื่นๆ ก็สามารถส่งได้เลยที่หน้าพิพิธภัณฑ์ โดยมีเจ้าหน้าที่จากไปรษณีย์พระนครศรีอยุธยามาอำนวยความสะดวก  โดยจะมีตราประทับและโปสการ์ดที่เป็นรูปตลาดลาดชะโด ให้ได้เลือกส่ง
 
ข้ามมาอีกฟากของพิพิธภัณฑ์ ในส่วนนี้จะจัดแสดงพันธุ์ปลาที่พบเจอได้ในคลองลาดชะโด ทั้งปลาเสือ ปลาชะโด  ปลาช่อน เพื่อให้เห็นความแตกต่างระหว่างปลาทั้งสองชนิด   ปลาฉลาด ปลาเนื้ออ่อน  ปลาบู่ เป็นต้น   นอกจากนี้ในพิพิธภัณฑ์ฟากนี้ยังจัดมุมภาพถ่ายเก่าๆ ของตำบลลาดชะโด ที่แสดงถึงวิถีชีวิที่ผูกพันกับสายน้ำ การพายเรือมาโรงเรียน การเลี้ยงปลากระชังรายแรกๆ ของอำเภอผักไห่ ภาพการประกวดนางงาม  การประกวดกระทง การแห่งนาคทางเรือ งานสงกรานต์ หรือว่างานมงคลอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในละแวกนี้ เพื่อย้ำเตือนประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ของตลาดลาดชะโด  ซึ่งเป็นภาพที่หาดูยากสำหรับคนรุ่นใหม่พ.ศ.นี้
 
ส่วนใหญ่ผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์นั้นก็คือ นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวยังตลาดลาดชะโดนี่เอง เมื่อเดินจับจ่ายซื้อข้าวของ หาของกินกันเรียบร้อยแล้วก็มาเดินเที่ยวพิพิธภัณฑ์ นักท่องเที่ยวและคนที่เข้าชมพิพิธภัณฑ์จะมีมากเป็นร้อยคนในช่วงวันเสาร์ – อาทิตย์ ส่วนในวันธรรมดาประชาชนชาวลาดชะโดก็ทำมาหากินกันตามธรรมดา และนักท่องเที่ยวที่จะมีมากขึ้นไปอีกในช่วงที่วันหยุดยาวหรือวันหยุดสำคัญในรอบปี ประชาชนก็จะมากขึ้นไปอีกเป็นเท่าตัว
ปัญหาหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ที่ประสบอยู่ในตอนนี้คือ เจ้าของสิ่งของจัดแสดงที่ให้ยืมมาจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์นั้นเริ่มจะทวงของคืนบ้างแล้ว  ซึ่งปัญหานี้ถ้าปล่อยยืดยื้อต่อไปอาจจะทำให้ไม่มีสิ่งของจัดแสดงเลยในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เทศบาลพยายามแก้ปัญหาด้วยการเจรจาของยืมต่อหรือว่าซื้อเอาไว้เลย แต่งบประมาณในส่วนนี้ก็ยังมีไม่มากนักจึงต้องหาวิธีแก้ปัญหาต่อไป
 
งบประมาณส่วนใหญ่ของการจัดการดูแลพิพิธภัณฑ์นั้นเทศบาลจะเป็นผู้ดูแลทั้งค่าน้ำค่าไฟ และเทศบาลยังมีการจัดโต๊ะประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการท่องเที่ยวตลาดลาดชะโดและพิพิธภัณฑ์ไปด้วยในตัว
 
เมธินีย์  ชอุ่มผล เรื่องและภาพ
สำรวจวันที่ 8 สิงหาคม 2552
ชื่อผู้แต่ง:
-

พิพิธภัณฑ์ในตลาดลาดชะโด

ตลาดสามชุกนับเป็น “ต้นแบบ” หรือ “แรงบันดาลใจ” ให้ชุมชนริมน้ำละแวกใกล้เคียงนึกอยากทำตลาดเก่าให้ฟื้นชีพขึ้นบ้าง เพราะสมัยที่การค้าทางน้ำคึกคัก ตลาดที่มีกำเนิดและองค์ประกอบคล้ายสามชุกมีไม่น้อย ลาดชะโดอยู่ในตำบลหนองน้ำใหญ่ อำเภอผักไห่ อยุธยา มีสุพรรณบุรีและวิเศษชัยชาญของอ่างทองอยู่ห่างออกไปอีกไม่ไกล คนลาดชะโดเล่าว่าตอนตลาดสามชุกเริ่มฟื้น เคยมีคนมาชวนไปค้าขาย เจ้าของบ้านในสามชุกเองก็ยินดีให้เช่าที่เพราะย้ายไปอยู่ที่อื่นกันแทบหมด มาวันนี้ตลาดสามชุกคึกคักถึงขนาดไม่มีที่ให้เช่าแม้ยอมจ่ายแพง เจ้าของก็เริ่มกลับมาอยู่ มาค้าขายกันเอง เรียกว่าฟื้นได้ทั้งเศรษฐกิจและวิถีชีวิต
ชื่อผู้แต่ง:
-