เพื่อเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร องค์พระกำเนิดสถาบันฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ สร้างพระอนุสาวรีย์ เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ และมีการจัดแสดงนิทรรศการภาพถ่ายสำคัญไว้ที่สำนักศิลปวัฒนธรรม ในอาคาร 60 ปี เพชรบุรีอลงกรณ์ เป็นนิทรรศการถาวรพระประวัติสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร โดยหลักเป็นภาพเหตุการณ์สำคัญอันทรงคุณค่า อาทิเช่น ภาพเหตุการณ์วันที่ 24 มกราคม พ.ศ.2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้งการพระราชพิธีมงคลโสกันต์ พระราชทานพระสุพรรณบัฎเฉลิมพระนาม สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ และพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดารา ภาพในวันที่ 23 มกราคม พ.ศ.2439 ซึ่งเป็นวันลอยพระเกศา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลี้ยงที่พระราชอุทยานช้างสวนศิวาลัย ผู้ร่วมงานต้องแต่งแฟนซีทุกพระองค์ ภาพที่สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีฯ โปรดให้สมเด็จฯเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ ในขณะทรงพระเยาว์นั้นแต่งพระองค์แบบฝรั่ง ทรงสวมกระโปรงไว้พระเกศายาวและสวมพระมาลา ทำให้ทรงได้รับสมญาจากพระราชวังว่า “ทูลกระหม่อมฟ้าหญิงแหม่ม” เป็นต้น
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
ชื่อผู้แต่ง: วรุณี เชาวน์สุขุม (บรรณาธิการ) | ปีที่พิมพ์: 2552;2009
ที่มา: เทียนวัฒนาพริ้นติ้ง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 16 กรกฎาคม 2557
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
สำนักศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
มหาวิทยาลัยวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตั้งอยู่บนที่ดินทรงประทานจำนวน 1599 ตารางวา และเรือนต่างๆ 15 หลัง ของสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ให้เป็นสถานที่ตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ต่อมาเป็นวิทยาลัยครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และเปลี่ยนเป็นสถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์มื่อ พ.ศ.2535ทรงเป็นพระราชธิดาลำดับที่ 43 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับสมเด็จพระศรีสวรินทราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ประสูติวันที่ 16 เมษายน พ.ศ.2427 ณ พระตำหนักสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนาบรมราชเทวี ในพระบรมมหาราชวัง
ทรงเป็น “ทูลหม่อมป้า”ของพระนัดดา 3 พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
เพื่อเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณขององค์พระกำเนิดสถาบันฯ จึงมีการสร้างพระอนุสาวรีย์ เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ และมีการจัดแสดงนิทรรศการภาพถ่ายสำคัญไว้ที่สำนักศิลปวัฒนธรรม ในอาคาร 60 ปี เพชรบุรีอลงกรณ์
การดำเนินงานของสำนักศิลปวัฒนธรรม ได้เน้นงานด้านกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมไทยตามนโยบายของมหาวิทยาลัย ได้แก่ การเผยแพร่ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม จัดทำเอกสารและเว็บไซต์ร่วมทั้งการจัดสัมมนาด้านวิชาการ ส่งเสริมและเผยแพร่การแสดงนาฏศิลป์ไทยทั้งในและต่างประเทศ จัดทำแหล่งเรียนรู้การแสดงนิทรรศการถาวรพระประวัติสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร
ห้องจัดแสดงของที่นี่อยู่ชั้น 2 โดยหลักเป็นภาพเหตุการณ์สำคัญอันทรงคุณค่า อาทิเช่น ภาพเหตุการณ์วันที่ 24 มกราคม พ.ศ.2439 เวลาสามโมงเศษ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้งการพระราชพิธีมงคลโสกันต์ พระราชทานพระสุพรรณบัฎเฉลิมพระนาม สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ และพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดารา
ภาพในวันที่ 23 มกราคม พ.ศ.2439 ซึ่งเป็นวันลอยพระเกศา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลี้ยงที่พระราชอุทยานช้างสวนศิวาลัย ผู้ร่วมงานต้องแต่งแฟนซีทุกพระองค์ และทุกคนในโอกาสนี้ได้พระราชทานเงิน เนื่องในการพระราชพิธีโสกันต์แก่สมเด็จฯเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ จำนวนเงินสี่หมื่นบาท ภาพที่สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีฯโปรดให้สมเด็จฯเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ ในขณะทรงพระเยาว์นั้นแต่งพระองค์แบบฝรั่ง ทรงสวมกระโปรงไว้พระเกศายาวและสวมพระมาลา ทำให้ทรงได้รับสมญาจากพระราชวังว่า “ทูลกระหม่อมฟ้าหญิงแหม่ม”
ผศ.เบญจรงค์ กุลสุ ผอ.สำนักศิลปวัฒนธรรม และผศ.ดร.อนงค์ลักษณ์ ศรีเพ็ญ รองผอ.สำนักศิลปวัฒนธรรม ได้ให้สัมภาษณ์ว่าทางสำนักศิลปวัฒนธรรมได้จัดกิจกรรมในวันสำคัญๆ อย่างเช่น วันเข้าพรรษา วันพ่อแห่งชาติ วันแม่แห่งชาติ ในวันเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ ได้จัดระลึกถึงท่านทุกปีที่ลานพระรูปด้านหน้า ล่าสุดงานแห่เทียนที่ผ่านมามีนักศึกษาเข้าร่วมประมาณ 2000 คน
โครงการที่จัดขึ้นตลอดปี ได้จัดให้มีการแข่งขันเพลงพระราชนิพนธ์ เพลงลูกทุ่ง เพลงเกี่ยวกับดนตรีร่วมสมัย คือเอาดนตรีไทยแบบสากลแล้วทางนาฏศิลป์ได้มาร่วมกัน เรียบเรียงขึ้นมาใหม่ เล่นและเปิดการแสดงทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่ผ่านมาได้ไปแสดงที่เวียดนาม ลาว มาเลเซียและสิงคโปร์
ในการจัดกิจกรรมในด้านศิลปะและวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัย ทางสำนักศิลปวัฒนธรรมจะเป็นแกนหลัก ที่นี่มีลานวัฒนธรรม ที่เป็นหลักเรียกว่าลานติ้ว ลานวัฒนธรรมกลางแจ้ง ส่วนที่อื่นๆแต่ละคณะจะมีอีกต่างหาก อย่างหอประชุมใหญ่นี้สามารถเอามาจัดเป็นลานวัฒนธรรมได้ด้วย สามารถรองรับคนได้ถึง 3000 ที่นั่ง
การดำเนินงานขั้นต่อไป ได้มีแผนงานสร้างอาคารหลังใหม่ทดแทนอาคารหลังนี้ และมีแผนสร้างศาลาไทยอยู่ข้างหลัง ที่นั่นจะทำเป็นตลาดน้ำแบบมหาวิทยาลัยราชภัฏอยุธยา ที่นั่นวันเสาร์-อาทิตย์ คนจะเยอะมาก คาดว่าจะให้มีคนพายเรือ สร้างบรรยากาศแบบย้อนยุค มีความเป็นเอกลักษณ์ของไทย
ผศ.เบญจรงค์ กุลสุ ได้เอ่ยว่าสิ่งที่อยากทำให้เกิดขึ้นกับมหาวิทยาลัยคือการสร้างอัตลักษณ์ โดยอาจารย์ได้ใช้ความเชี่ยวชาญของตนเองทางด้านดนตรี แต่งคำร้องและทำนองเสียงประสานให้เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยไว้ 16 เพลง ด้วยอยากให้นักศึกษาได้รู้สึกผูกพันกับมหาวิทยาลัย ที่ผ่านมายังไม่ค่อยได้รับความร่วมมือจากฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการเปิดเครื่องเสียงเท่าที่ควร การเปิดเพลงยังเน้นที่เพลงยอดนิยมมากกว่า ทำให้บทเพลงมหาวิทยาลัยยังไม่โดดเด่นเหมือนกับเพลงของมหาวิทยาลัยอื่นที่เราคุ้นเคยกัน
การจัดทำสื่อต่างๆ ทางสำนักศิลปวัฒนธรรม ได้มีการจัดทำวารสารวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่วนเพลงประจำมหาวิทยาลัยอยู่ในเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย
ปัญหาการดำเนินงานที่เริ่มส่งผลกระทบคือ การขาดแคลนบุคลากร เนื่องมาจากกฎเกณฑ์การคัดเลือกบุคลากรที่จะมาเป็นอาจารย์ ได้กำหนดคุณสมบัติว่า ต้องจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก ในสาขาวิชาเดียวกัน ทำให้ส่งผลกระทบถึงการดำเนินงานด้านนี้เป็นอย่างมาก คนที่เรียนทางด้านดนตรีและศิลปะการแสดงต้องใช้พรสวรรค์และใจรัก อีกทั้งยังต้องมีประสบการณ์ในการเปิดการแสดง คือต้องมีครบทั้งเรื่องทฤษฎีและทักษะ ทำให้หาคนที่จะมาทำงานค่อนข้างยาก ปัจจุบันบุคลากรเดิมมีหลายท่านใกล้เกษียน
----------------------------------------------------
สาวิตรี ตลับแป้น /ผู้เขียน
สำรวจภาคสนาม วันที่ 27 กรกฎาคม 2556
----------------------------------------------------
การเดินทาง : มหาวิทยาลัยเป็นที่สังเกตเห็นได้ง่าย ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี อยู่ติดกับถนนพหลโยธิน ใกล้บริเวณย่านการค้าของนวนคร
-----------------------------------------------
อ้างอิง :
ข้อมูลการสัมภาษณ์ วันที่ 27 กรกฎาคม 2556
มหาวิทยาลัยวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.(2556).ค้นเมื่อ 15 กันยายน 2556, จาก http://www.vru.ac.th
เอกสารพระราชประวัติสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร. สำนักศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
ภาพถ่าย เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
พิพิธภัณฑ์เรือวัดศาลาแดงเหนือ
จ. ปทุมธานี
หอวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ วัดจันทน์กะพ้อ
จ. ปทุมธานี
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดสังลาน
จ. ปทุมธานี