พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จัดตั้งขึ้นเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 พรรษาในปี พ.ศ.2539 โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยกับการพัฒนาการเกษตร และรวบรวมความรู้ ผลงานด้านการพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรทั้งภาครับและเอกชน เนื้อหาภายในอาคารต่างๆ ประกอบด้วย การพัฒนาที่ดิน การปฏิรูปที่ดินและการส่งเสริมสหกรณ์ เรื่องราวของป่าไม้และการจัดทรัพยากรป่าไม้ รวมถึงงานอนุรักษ์สงวนพันธุ์สัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติ แนวพระราชดำริฯ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับงานเกษตร โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ กิจกรรมด้านชลประทาน กิจกรรมด้านแมลง การอารักขาพืชและวิวัฒนาการการส่งเสริมการเกษตร การปลูกพืช ข้าว พืชไร่ พืชสวน และอุตสาหกรรมการเกษตร ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้-ภูพาน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง-เขาหินซ้อน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน-ห้วยทราย กิจการประมงน้ำเค็ม น้ำจืด และระบบนิเวศวิทยาใต้น้ำ การเกษตรกรรมชายฝั่ง หมู่บ้านชาวประมงและเรื่องราวของปศุสัตว์และชุมชนการเกษตรกร ส่วนภายนอกอาคาร จัดเป็นกิจกรรมกลางแจ้ง ทั้งการแสดง การสาธิต การทดลองวิจัย และกิจกรรมพักผ่อนหย่อนใจ อาทิ เรือนเพาะปลูก แปลงนาสาธิตและจำลองสภาพความเป็นอยู่ของเกษตรกรทุกภูมิภาคของประเทศไทย
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 24 กรกฎาคม 2555
โดย: -
วันที่: 24 กรกฎาคม 2555
โดย: -
วันที่: 24 กรกฎาคม 2555
โดย: -
วันที่: 24 กรกฎาคม 2555
โดย: -
วันที่: 24 กรกฎาคม 2555
โดย: -
วันที่: 24 กรกฎาคม 2555
โดย: -
วันที่: 24 กรกฎาคม 2555
โดย: -
วันที่: 24 กรกฎาคม 2555
โดย: -
วันที่: 24 กรกฎาคม 2555
โดย: -
วันที่: 24 กรกฎาคม 2555
โดย: -
วันที่: 24 กรกฎาคม 2555
โดย: -
วันที่: 24 กรกฎาคม 2555
โดย: -
วันที่: 24 กรกฎาคม 2555
โดย: -
วันที่: 24 กรกฎาคม 2555
โดย: -
วันที่: 24 กรกฎาคม 2555
โดย: -
วันที่: 24 กรกฎาคม 2555
โดย: -
วันที่: 24 กรกฎาคม 2555
โดย: -
วันที่: 24 กรกฎาคม 2555
โดย: -
วันที่: 24 กรกฎาคม 2555
โดย: -
วันที่: 24 กรกฎาคม 2555
โดย: -
วันที่: 24 กรกฎาคม 2555
โดย:
วันที่: 18 มิถุนายน 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: ปีที่21 ฉบับที่ 10 ส.ค. 2543
ที่มา: ศิลปวัฒนธรรม
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 1/21/2545
ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: สายสุนีย์ สิงหทัศน์ | ปีที่พิมพ์: 46,5(ธ.ค.2548)หน้า138-139
ที่มา: อนุสาร อ.ส.ท.
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: เมธาพร รังทะษี | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 53 ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม 2557;vol.53 No.4 October-December 2014
ที่มา: วารสารวัฒนธรรม
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 02 มีนาคม 2558
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 10 ก.ค. 2555;10-07-2012
ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 22 เมษายน 2558
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
พิพิธภัณฑ์นี้คือการขยายความรู้นำไปสู่การปฏิบัติตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การเรียนรู้มีความเพลิดเพลิน สนุกกับเทคโนโลยี มีห้องฉายภาพยนตร์สามมิติ มีหุ่นจำลอง ฉากจำลอง มัลติมีเดียหลากหลายรูปแบบ สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ที่นี่ต้อนรับทุกเพศทุกวัยตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้ใหญ่ ภายในพื้นที่ประมาณ 300 ไร่ ด้านนอกอาคารยังมีแปลงสาธิตการทำเกษตร ทำนา เพาะเห็ด เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา ปลูกผักในพื้นที่แคบ การทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ การทำเตาเผาถ่านและถ่านอัดแท่ง การทำน้ำส้มควันไม้ การใช้โซล่าร์เซล เป็นต้นการจัดแสดงอยู่ที่อาคาร 5 อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ จัดแสดงเรื่องราวพระราชกรณียกิจ พระเกียรติคุณ พระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประกอบด้วย 10 โซนการเรียนรู้ ได้แก่
พระราชพิธีในวิถีเกษตร ภาพยนตร์ 3 มิติ (แอนิเมชั่น 3 มิติ) เรื่อง “กษัตริย์เกษตร” ภาพยนตร์ “เรื่องพ่อในบ้านของเรา” หัวใจใฝ่เกษตร ตามรอยพ่อ วิถีเกษตรของพ่อ นวัตกรรมของพ่อ ภูมิพลังแผ่นดิน น้ำคือชีวิต ลานภูมิปัญญา
คุณนันทกา แสงจันทร์ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ได้นำชมพิพิธภัณฑ์ ในช่วงเวลาเดียวกันที่มีเด็กนักเรียนกลุ่มใหญ่เข้าชมเช่นเดียวกัน พิพิธภัณฑ์นี้จัดตั้งขึ้นโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในปี 2539 ต่อมาในปี 2552 ได้เปลี่ยนสถานะเป็นองค์การมหาชน ส่วนจัดแสดงภายในอาคารขณะนี้เพิ่งผ่านปรับปรุงให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่สวยงามทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย
อาคารด้านหน้าเป็นส่วนจัดนิทรรศการหมุนเวียน ซึ่งจะทำเป็นประจำทุกเดือน ช่วงที่ผ่านมานำเสนอเรื่องน้ำท่วม เป็นพระราชดำรัสของในหลวงในปี 2538 โดยใช้คำให้ความหมายไปสู่ใจผู้คนว่า “ในหลวงรักเรา”
การเข้าชมพิพิธภัณฑ์ในอาคาร ผู้เข้าชมเพียงลงทะเบียนที่ด้านหน้า ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ สำหรับการเข้าชมภาพยนตร์ 3 มิติ แนะนำให้ไปติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่หน้าห้องฉาย เพราะมีรอบการแสดง การเข้าชมเพียงรับแว่นตาแล้วเข้าไปเลือกที่นั่งได้เลย การเข้าชมการ์ตูนสามมิติ เด็กๆที่เข้าชมด้วยกันชื่นชอบมาก มีเสียงหัวเราะเป็นระยะ
การจัดแสดงส่วนของหลักการทรงงาน มีบอร์ดการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีเกมส์ให้ตอบคำถามเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับเด็กนักเรียน วิทยากรจะยกตัวอย่างการนำไปใช้กับการเรียน แล้วจะรวมเรื่องต่างๆในการแก้ปัญหา ถ้าประชาชนขาดน้ำ ขาดอุปกรณ์ ขาดที่ดินจะทำอย่างไร มีพระราชดำริเรื่องความสำคัญของการเกษตร
อีกห้องฉายภาพยนตร์ยังมีเรื่องพ่อในบ้านของเรา ห้องนี้เป็นภาพยนตร์พระราชกรณียกิจที่เสด็จไปยังถิ่นธุรกันดารทั่วประเทศ พร้อมกับรับฟังบทเพลงที่ประพันธ์คำร้อง ทำนอง และขับร้องโดยกวีซีไรต์ คุณศักดิ์ศิริ มีสมสืบ กับบทเพลงที่มีชื่อว่า “บ้านของเรามีพ่อ”
ในโซนเด็กหัวใจใฝ่เกษตร เป็นอีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจมาก การเข้าชมในส่วนนี้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่เข้าไปในบรรยากาศส่วนนี้แล้วมีความสุข มีการจำลองบ้านเล็กใต้ถุนสูงแบบชนบท มีของเล่นพื้นบ้าน ม้าโยก ของเล่นกะลามะพร้าว ลูกข่าง เด็กๆเข้ามาถึงตรงนี้เล่นได้ทั้งวัน ใต้ถุนเรือนยังมีกล้องถ่ายภาพ กดถ่ายแล้วภาพตัวเราจะไปปรากฏในจอมอนิเตอร์
ตรงส่วนจัดแสดงวิถีเกษตรของพ่อ จุดแรกที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงค้นคว้าทดลองด้านการเกษตรอยู่ที่พระราชวังสวนจิตรลดา ทำให้เกิดโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาเมื่อปี พ.ศ.2503 และต่อมาได้เกิดโครงการต่างๆตามมาอีกหลายโครงการ ได้แก่ โครงการหลวง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริทั้ง 6 ศูนย์ เพื่อเป็นตัวแทนการแก้ปัญหาของแต่ละภูมิภาค ตรงนี้มีแผนที่ประเทศไทยวาดอยู่บนพื้นห้องแล้วโยงไปยังโครงการต่างๆ มุมหนึ่งได้จัดทำเป็นชั้นวางสินค้าผลิตภัณฑ์ของโครงการหลวง พืชผักต่างๆ จำลองได้สวยงามสมจริง ส่วนของโครงการหญ้าแฝกจัดทำเป็นเนินดิน เดินลอดเข้าไปได้ แล้วจะเห็นรากหญ้าแฝกยาวทะลุลงมา ทำให้เห็นภาพว่ารากหญ้าแฝกมีคุณสมบัติในการยึดดิน ลดการชะล้างพังทลาย ใกล้กันมีการจำลองป่าชายเลนมีทางให้เดิน ให้ความรู้และสร้างความเพลิดเพลินกับผู้เข้าชม
สำหรับท่านที่ชอบฟังเพลงพระราชนิพนธ์ ที่นี่มีส่วนของเพลงที่ผู้เข้าชมสามารถเลือกเพลงฟังได้ อันที่เห็นเป็นโดมแบบยุโรปขนาดห้องเล็กๆมีทางเดินเข้าไป ไม้ที่ใช้สร้างเป็นไม้สน เมื่อเขาไปสัมผัสบรรยากาศข้างใน จะพบกับวีดีทัศน์หาชมได้ยาก ย้อนไปประมาณ 80 ปีช่วงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงพระเยาว์ กำลังเพลิดเพลินกับการเล่นดิน เล่นทราย เล่นน้ำ พร้อมกับภาพถ่ายในช่วงเวลาที่พระองค์เจริญวัยในต่างแดน
แล้วที่เห็นด้านหน้าเป็นรูปหยดน้ำ สัญลักษณ์นี้ดึงดูดใจคนเข้าชม ด้านในของโซนนี้ น้ำคือชีวิต มีเป็นกล้องถ่ายภาพแบบโบราณวางเรียงกัน การใช้คือหมุนกล้องที่จะมีแสงไปกระทบกับผนัง แล้วจะมีคำอธิบายอยู่ที่จอกล้อง ถัดไปเป็นฉากก้อนเมฆ แล้วเครื่องบินเล็กลำหนึ่งบินผ่านไป เป็นการจำลองฉากการทำฝนหลวง
วัตถุจัดแสดงที่โดดเด่น มีเรือใบของในหลวง เป็นการจำลองแบบมา กีฬาเรือใบเป็นสิ่งหนึ่งที่ในหลวงทรงโปรด ใกล้กันเป็นรถทรงโบราณ คันนี้เป็นรถยนต์พระที่นั่งสมเด็จย่า กรมชลประทานจัดถวายในการตรวจเยี่ยมโครงการพระราชดำริต่างๆ
ดังที่กล่าวมาพิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีพื้นที่กว้างมาก ภายนอกมีแปลงสาธิตการทำการเกษตร การเดินทางภายใน ที่นี่มีรถไฟพ่วงพาแวะชมตามจุดต่างๆ เมื่อออกมาข้างนอก เราจะเห็นกลุ่มเด็กนักเรียนกระจายตัวกันไป บางกลุ่มไปเดินอยู่บนคันนา บางกลุ่มกำลังฟังบรรยายการปลูกผักในพื้นที่แคบในบริเวณบ้าน ส่วนที่เป็นเครื่องบินเก่าๆตั้งอยู่ คุณนันทกาบอกว่าเป็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่เดิม ไม่ได้ใช้แล้วจึงนำมาจัดแสดงไว้
แปลงเกษตรด้านหลังอาคารมีกล้วยหลากหลายสายพันธุ์ที่เราไม่เคยรู้มาก่อน อย่างเช่น นิ้วจระเข้ แดงฮาวาย และที่เห็นเป็นนาข้าวแบ่งเป็นแปลงคือฐานการเรียนรู้ 9 ไร่ 9 แสน คุณบุรินทร์ สุขนิวัฒน์ คือหนึ่งในเก้าคนที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าโครงการ คุณบุรินทร์ได้สร้างเพิงเล็กๆ อยู่ที่แปลงนา ซึ่งเขาจะใช้เวลาอยู่ที่นี่มากกว่าอยู่ในห้องพักที่ได้จัดให้ เมื่อก่อนคุณบุรินทร์เคยทำนาอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ทำแล้วขาดทุนจากค่าปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง ค่าแรงงาน หลังการเรียนรู้จากที่นี่เขาจะนำประสบการณ์ไปปรับใช้ อย่างแปลงนาที่เห็น นาข้าวอยู่ตรงกลาง ล้อมรอบจะขุดร่องน้ำลึกประมาณ 1.5 เมตร ไว้สำหรับเลี้ยงปลา ปลาจะสามารถว่ายไปในนาข้าวได้ มูลของปลาจะเป็นปุ๋ย การให้อาหารปลาจะใช้วิธีปั้นเป็นก้อนแล้วหย่อนลงไปแบบคันเบ็ด เป็นการประหยัดอาหารปลา ส่วนคันนายังสามารถปลูกพืชผักต่างๆได้ ซึ่งจะทำให้เขามีรายได้จากหลายทาง
สำหรับผู้ที่สนใจอยากที่จะมาเรียนรู้ พิพิธภัณฑ์นี้ได้จัดหลักสูตรการเรียนรู้ไว้ พร้อมกับมีที่พักเป็นจำนวนมาก ทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ต้นเดือน ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์จัดให้มีตลาดนัด มีการจำหน่ายผลผลิตสินค้าคุณภาพ ปลอดภัย จากเครือข่ายพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ เครือข่ายตลาดสีเขียว และเครือข่ายผู้ผลิตสินค้าปลอดภัย พร้อมกับชมนิทรรศการความรู้ด้านการเกษตรเพื่อพึ่งพาตนเอง
----------------------------------------------------
สาวิตรี ตลับแป้น /ผู้เขียน /ถ่ายภาพ
ข้อมูลจาก : สำรวจภาคสนามเมื่อวันที่ 7 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
----------------------------------------------------
การเดินทาง : พิพิธภัณฑ์อยู่ติดกับถนนพหลโยธิน ฝั่งตรงข้ามคือโรงพยาบาลนวนคร โลตัส บิ๊กซี จากกทม.ให้ไปกลับรถที่หน้า ม.ราชภัฏวไลยอลงกรณ์ เนื่องจากพิพิธภัณฑ์มีพื้นที่กว้างขวางมาก จากด้านหน้าเข้าไปยังตัวอาคารจัดแสดง ถ้าใช้การเดินจะค่อนข้างไกล
-----------------------------------------------
อ้างอิง :
ข้อมูลการสัมภาษณ์เมื่อวันที่ 7 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2555
แผ่นพับประชาสัมพันธ์พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รีวิวของพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 พรรษาในปี พ.ศ.2539 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดทำโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ บนพื้นที่ 500 ไร่ เพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยกับการพัฒนาการเกษตร และรวบรวมความรู้ ผลงานด้านการพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรทั้งภาครับและเอกชนกิจกรรมภายในอาคารแต่ละอาคารนำเสนอเรื่องราวทางการเกษตร ผ่านเทคโนโลยีอันทันสมัย อาทิ การถาม - ตอบ การให้ข้อมูลผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ การนำเสนอด้วยเทคนิค Magic Vision การจัดแสดงเรื่องราวประกอบแสง เสียงภาพ และหุ่นจำลอง
เนื้อหาภายในอาคารต่างๆ ประกอบด้วย การพัฒนาที่ดิน การปฏิรูปที่ดินและการส่งเสริมสหกรณ์ เรื่องราวของป่าไม้และการจัดทรัพยากรป่าไม้ รวมถึงงานอนุรักษ์สงวนพันธุ์สัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติ แนวพระราชดำริฯ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับงานเกษตร โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ กิจกรรมด้านชลประทาน กิจกรรมด้านแมลง การอารักขาพืชและวิวัฒนาการการส่งเสริมการเกษตร การปลูกพืช ข้าว พืชไร่ พืชสวน และอุตสาหกรรมการเกษตร ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้-ภูพาน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง-เขาหินซ้อน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน-ห้วยทราย กิจการประมงน้ำเค็ม น้ำจืด และระบบนิเวศวิทยาใต้น้ำ การเกษตรกรรมชายฝั่ง หมู่บ้านชาวประมงและเรื่องราวของปศุสัตว์และชุมชนการเกษตรกร
ภายนอกอาคาร จัดเป็นกิจกรรมกลางแจ้ง ทั้งการแสดง การสาธิต การทดลองวิจัย และกิจกรรมพักผ่อนหย่อนใจ อาทิ เรือนเพาะปลูก แปลงนาสาธิตและจำลองสภาพความเป็นอยู่ของเกษตรกรทุกภูมิภาคของประเทศไทย
ข้อมูลจาก : แปลน รีดเดอร์ส. 100 พิพิธภัณฑ์กรุงเทพฯ-ปริมณฑล: โลกกว้างอยู่ไม่ไกล. กรุงเทพฯ : แปลนพริ้นติ้งแอนด์พับลิงชิ่ง, 2546. หน้า 109.
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
10 มหัศจรรย์ เรียนรู้วิถีเกษตรตามรอยพ่อ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นแบบอย่างและทรงมีพระอัจฉริยภาพด้านการเกษตร ผลงานอันเนื่องมาจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลักการทรงงาน พระราชกรณียกิจต่างๆ ล้วนแล้วแต่นำมาซึ่งการพัฒนาด้านการเกษตรของไทย และด้วยความอยากรู้ของฉัน ในพระราชกรณียกิจ และพระอัจฉริยภาพของในหลวง ฉันจึงได้มุ่งหน้าสู่ “พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” ที่ตั้งอยู่ ณ ต.คลอง1 อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯแห่งนี้ จัดแสดงด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ แบ่งพื้นที่การจัดแสดงออกเป็น 10 โซนพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โครงสร้างสังคมไทยสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเกษตรกรรมมาช้านาน ก่อเกิดวิถีชีวิต การดำรงอยู่ และค้ำชูผู้คนในประเทศมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่ามาจนถึงรุ่นเรา แม้ปัจจุบันเทคโนโลยีอันทันสมัยจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น แต่สังคมเกษตรก็ยังคงจำเป็นในการขับเคลื่อนประเทศให้ไปข้างหน้าอย่างไม่ลดละ แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาที่จะพาเราก้าวสู่วิถีความเป็นอยู่ของเกษตรกรอย่างลึกซึ้ง "พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) หรือ พกฉ. พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งอยู่ที่อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานีแนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
สถาบันกษัตริย์ ธรรมชาติวิทยา ป่าไม้ การเกษตร โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ การพัฒนาที่ดิน แปลงนาสาธิต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดบางหลวง และศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์ไทย
จ. ปทุมธานี
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก
จ. ปทุมธานี
อนุสรณ์สถานแห่งชาติ
จ. ปทุมธานี