พิพิธภัณฑสถานเครื่องถ้วยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดตั้งขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 40 ปี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โดยคุณสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยได้มอบศิลปโบราณวัตถุจำนวนกว่า 2,000 รายการ เพื่อให้เป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ของนักเรียน นักศึกษา ตลอดจนบุคคลทั่วไป ภายในอาคารจัดแสดงแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ห้องนิทรรศการถาวร จัดแสดงเรื่อง พัฒนาการของเครื่องถ้วยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใช้หลักฐานเครื่องถ้วยที่ค้นพบจากแหล่งเรืออับปางและแหล่งเตาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ห้องนิทรรศการพิเศษ สำหรับจัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียน และส่วนคลังพิพิธภัณฑสถานเพื่อการศึกษา สำนักงานและส่วนบริการต่างๆ ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของพิพิธภัณฑ์ค่อนข้างโดดเด่น คือเป็นอาคารชั้นเดียวอยู่ใต้ดิน รูปแบบคอนกรีตเปลือยซึ่ง เปรียบเหมือนกับเตาเผาโบราณที่ฝังตัวอยู่ใต้ดิน ส่วนเครื่องถ้วยที่จัดแสดงอยู่ภายในห้องจัดแสดงเปรียบได้กับผลิตภัณฑ์ที่ถูกนำเข้าเผาในเตา และความรู้ที่ผู้เข้าชมได้รับจากการเข้าชมก็เปรียบได้กับผลิตภัณฑ์อันงดงามที่ได้จากการผลิต
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 26/5/2548
ที่มา: ผู้จัดการรายวัน
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 17/5/2548
ที่มา: คม ชัด ลึก
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: พนิดา สงวนเสรีวานิช | ปีที่พิมพ์: 17/5/2548
ที่มา: มติชนรายวัน
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: หนุ่มลูกทุ่ง | ปีที่พิมพ์: 27 มิถุนายน 2554
ที่มา: ผู้จัดการ
แหล่งค้นคว้า:
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: สุชาดา ลิมป์ | ปีที่พิมพ์: ฉบับที่ 337 มีนาคม 2556;No.337, March 2013
ที่มา: นิตยสารสารคดี
แหล่งค้นคว้า:
โดย: ศมส.
วันที่: 07 พฤศจิกายน 2556
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
พิพิธภัณฑสถานเครื่องถ้วยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
พิพิธภัณฑสถานเครื่องถ้วยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2543 เนื่องในโอกาสครบรอบ 40 ปีของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นสถานที่เก็บรวบรวมเครื่องปั้นดินเผาสมัยโบราณที่อาจารย์สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยมอบให้ สำหรับเป็นแหล่งการเรียนรู้ของนักเรียน นักศึกษา ตลอดจนบุคคลทั่วไป ในระยะแรกใช้ชื่อว่า “พิพิธภัณฑสถานมหาวิทยาลัยกรุงเทพ”
ใน พ.ศ. 2545 มหาวิทยาลัยกรุงเทพได้ก่อสร้างอาคารจัดแสดง ซึ่งเป็นอาคารใต้ดินชั้นเดียว เชื่อมต่อกับหอสมุดสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ ภายใต้แนวคิดของการออกแบบว่า อาคารจัดแสดงเปรียบเหมือนกับเตาเผาที่อยู่ใต้เนินดิน เครื่องปั้นดินเผาที่จัดแสดงภายในอาคารจึงเปรียบเหมือนกับเครื่องปั้นดินเผาที่ถูกนำเข้าเผาในเตา และความรู้ที่ผู้เข้าชมได้รับจึงเปรียบเหมือนกับผลิตภัณฑ์อันงดงามที่ได้จากการเผา อาคารหลังนี้ได้รับรางวัลเหรียญทองสถาปัตยกรรมดีเด่นประเภทอาคารสถาบันหรืออาคารทางศาสนาประจำปี 2551 และปีต่อมายังได้รับรางวัล 1 ใน 9 ของสถาปัตยกรรมสีเขียวดีเด่นของประเทศไทย
ใน พ.ศ. 2547 มหาวิทยาลัยกรุงเทพเริ่มก่อสร้างอาคารส่วนขยาย ซึ่งเป็นอาคาร 3 ชั้น เชื่อมต่อกับอาคารจัดแสดง เพื่อให้สามารถรองรับการขยายงานด้านต่าง ๆ ในอนาคต และสามารถดำเนินงานตามหลักพิพิธภัณฑสถานวิทยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ พิพิธภัณฑสถานเครื่องถ้วยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เปิดให้สาธารณชนเข้าชมเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 ต่อมาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานเครื่องถ้วยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
ใน พ.ศ. 2560 พิพิธภัณฑสถานเครื่องถ้วยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้รับรางวัล “พิพิธภัณฑ์ที่ได้รับความนิยม” จากมิวเซียมไทยแลนด์ : เครือข่ายพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย โดยสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
แหล่งเรียนรู้เครื่องถ้วยใน ม.กรุงเทพ
พิพิธภัณฑสถานเครื่องถ้วยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดตั้งขึ้นโดยคุณสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เจ้าของคอลเลคชั่นจำนวนกว่า 2,000 รายการทั้งหมดที่อยู่ในพิพิธภัณฑสถานฯ แห่งนี้ และได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยกรุงเทพเป็นศูนย์ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเครื่องถ้วยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แรกเริ่มพิพิธภัณฑสถานฯ แห่งนี้ ใช้ชื่อว่า “พิพิธภัณฑสถานมหาวิทยาลัยกรุงเทพ” ใน พ.ศ. 2543 ต่อมาเพื่อให้เกิดความชัดเจนได้เปลี่ยนชื่อเป็น “พิพิธภัณฑสถานเครื่องถ้วยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใน พ.ศ. 2546 แนวคิดการสร้างอาคารถูกออกแบบเป็นรูปโค้งอยู่ใต้ดิน เนื่องจากดินมีลักษณะเป็นฉนวนความร้อน และมีเตาเผาจำลองด้านนอก ภายในอาคารจัดแสดงแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ห้องนิทรรศการถาวร จัดแสดงเรื่อง พัฒนาการของเครื่องถ้วยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใช้หลักฐานเครื่องถ้วยที่ค้นพบจากแหล่งเรืออับปางและแหล่งเตาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ห้องนิทรรศการพิเศษ สำหรับจัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียน และส่วนคลังพิพิธภัณฑสถานเพื่อการศึกษา สำนักงานและส่วนบริการต่างๆ
เครื่องถ้วยที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานฯ มีทั้งกลุ่มเครื่องถ้วยเผาเสร็จแล้วที่มีคุณภาพดี มักส่งขายเป็นสินค้าออก กับอีกกลุ่มคือเครื่องถ้วยชนิดแบบเผาเสีย เรียกว่า ขยะเตา มักจะถูกทิ้งอยู่ข้างเตาที่เป็นแหล่งผลิต ปัจจุบันมีประโยชน์มากในการศึกษา เพราะสามารถนำมาศึกษาเปรียบเทียบว่าพัฒนามาจากแหล่งไหน เปรียบเทียบลักษณะของเนื้อดิน ลักษณะของรูปทรง และลักษณะของการผลิตได้
รีวิวของพิพิธภัณฑสถานเครื่องถ้วยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
พิพิธภัณฑ์มุดลงดินแนวถวิลธรรมชาติ
นับหมื่นปีมาแล้วที่มนุษย์เริ่มรู้จักวิถีเกษตรกรรม ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ป่า ใช้เครื่องมือโลหะ นำไปสู่การตั้งถิ่นฐานที่มั่นคงแข็งแรง ใกล้ชิดกับทรัพยากรธรรมชาติเพื่อยังชีพ แต่ไหนแต่ไรอีกนั่นละที่มนุษย์เพียรเอาชนะสิ่งแวดล้อม พัฒนาที่ดินด้วยเทคโนโลยี เวลาผ่านไปจึงได้เรียนรู้ว่าสิ่งแปลกปลอมเหล่านั้นล้วนแลกมาด้วยมลพิษและวิกฤตธรรมชาติ ซึ่งหวนกลับมาทำร้ายตนเอง มนุษย์จึงหาแนวทางลดโลกร้อนโดยมุ่งเน้นการออกแบบและก่อสร้างอาคารที่กลมกลืนกับสิ่งแวดล้อมอีกครั้ง สำหรับชีวิตชาวกรุงเทพฯ ยุคที่หนาแน่นด้วยตึกใหญ่และปัญหาการจราจร การตั้งถิ่นฐานใกล้ชิดธรรมชาติดูจะเป็นไปยาก แต่พิพิธภัณฑสถานเครื่องถ้วยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในมหาวิทยาลัยกรุงเทพเข้า ม.กรุงเทพ ชมของดีมากคุณค่าที่ “พิพิธภัณฑสถานเครื่องถ้วยฯ”
คงเคยได้ยินกันว่า หากต้องการชมเครื่องถ้วยสวยๆงามๆก็ต้องไปดูที่แหล่งที่สุโขทัย แต่หากใครที่อยู่กรุงเทพฯหรือจังหวัดปริมณฑล ไม่มีเวลาไปไกลถึงสุโขทัย แต่สนใจในเรื่องเครื่องถ้วยๆสวยๆงาม ที่ “มหาวิทยาลัยกรุงเทพ” วิทยาเขตรังสิต เขามี “พิพิธภัณฑสถานเครื่องถ้วย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” เป็นของดี ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยที่ใครๆหลายคนอาจจะไม่รู้และคาดไม่ถึง แต่ก่อนที่จะไปดูเครื่องถ้วยสวยๆงามๆสารพัดสารพันในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้กัน ฉันขอพูดถึงนิยามของคำว่าเครื่องถ้วย เสียก่อนแนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
เครื่องปั้นดินเผา เครื่องถ้วย เตาเผา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า
จ. ปทุมธานี
พิพิธภัณฑ์พระตำหนักบ้านสวนปทุม
จ. ปทุมธานี
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดบางหลวง และศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์ไทย
จ. ปทุมธานี