ศูนย์ข้อมูลวัฒนธรรมท้องถิ่น ก่อตั้งโดยอาจารย์ทองคำ พันนัทธี ปราชญ์ชาวบ้านของเมืองปทุมธานี ในปี 2545 โดยใช้ที่พักของอาจารย์เป็นที่ทำการของศูนย์ฯ ด้วยตั้งใจจะให้เป็นแหล่งเก็บรวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี และศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี ภายในมุมหนึ่งของบ้านจัดแสดงข้าวของต่าง ๆ ที่อาจารย์เก็บรวบรวมไว้ ส่วนใหญ่เป็นเครื่องปั้นดินเผา และข้าวของอื่น ๆ ที่จัดแสดงยังมีหนังสือเก่าเกี่ยวกับจังหวัดปทุมธานี หม้อข้าวแช่ ตะเกียง พิมพ์ดีด เครื่องทองเหลือง ไม้พายตีลายหม้อ แผนที่จำลองเส้นทางและสถานที่ต่าง ๆ ริมแม่น้ำเจ้าพระยาตามนิราศของสุนทรภู่ เป็นต้น
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 8/29/2548
ที่มา: มติชนรายวัน
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: Sep-47
ที่มา: วารสารชุมชนไท
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของศูนย์ข้อมูลวัฒนธรรมท้องถิ่น
อาจารย์ทองคำ ปัจจุบันอายุ 74 ปี เป็นชาวปทุมธานีโดยกำเนิด ในอดีตอาจารย์เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนในจังหวัดปทุมธานีมาหลายโรงเรียน ได้เกษียณอายุราชการที่โรงเรียนปทุมธานีนันทมุนีบำรุง ความสามารถในเชิงประพันธ์ของอาจารย์ ทำให้อาจารย์ถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ สู่สังคมมากมาย ตั้งแต่ปี 2508-2527 อาจารย์เขียนสารคดีสั้น 5 นาที ออกอากาศวิทยุกรมประชาสัมพันธ์ทุกเช้า ปัจจุบันเขียนเรื่องราวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเกี่ยวกับเมืองปทุมธานีในคอลัมน์ "ปทุมธานีท้องถิ่นของเรา" ลงในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นปทุมนิวส์ ใช้นามปากกาว่ากุลนที
ศูนย์ข้อมูลวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นบ้านไม้ชั้นเดียวใต้ถุนยกสูง พื้นที่ใช้สอยส่วนหนึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของอาจารย์ทองคำและครอบครัว ส่วนห้องโถงและชานบ้านใช้เป็นพื้นที่จัดแสดงข้าวของต่าง ๆ ที่อาจารย์เก็บรวบรวมไว้ ส่วนใหญ่เป็นเครื่องปั้นดินเผาที่อาจารย์ได้มาจากการจ้างนักประดาน้ำงมขึ้นมาจากแม่น้ำเจ้าพระเจ้ายาตั้งแต่ปี 2520 บริเวณปากคลองรังสิต วัดเทียนถวาย และวัดสองพี่น้อง อำเภอสามโคก ซึ่งในอดีตเคยเป็นสถานที่กักกันสำเภาเพื่อตรวจค้น ของที่ได้ส่วนใหญ่เป็นเครื่องปั้นดินเผาทั้งจากเตาสามโคก จังหวัดปทุมธานี เตาแม่น้ำน้อย จังหวัดสิงห์บุรี เตาบางปูน จังหวัดสุพรรณบุรี เตาบ้านพาด จังหวัดอยุธยา เครื่องปั้นดินเผาจำนวนหนึ่งที่ได้มาอาจารย์ได้บริจาคให้สถานศึกษาหลายแห่งในปทุมธานีเพื่อนำไปใช้ในการเรียนการสอนต่อไป อาทิ มหาวิทยาลัยรังสิต โรงเรียนปทุมธานีนันทมุนีบำรุง โรงเรียนวัดชัยสิทธาวาส และโรงเรียนหัตถสารเกษตรวิทยาคาร
เครื่องปั้นดินเผาที่จัดแสดงในบ้านเหลือให้ชมเพียงไม่กี่ชิ้นเท่านั้น โดยจัดแสดงในตู้กระจกจำนวน 2 ตู้ และแสดงไว้บนพื้นอีกกลุ่มหนึ่งประมาณ 10 ชิ้น โดยมีแผ่นป้ายบอกชื่อเครื่องปั้นดินเผาแต่ละชิ้น แม้ข้าวของจะมีไม่มากนักแต่สิ่งที่ได้รับจากการไปเยี่ยมชมคือเกร็ดความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองปทุมธานีจากคำบอกเล่าของอาจารย์ทองคำ ไม่ว่าจะเป็น "รำพาข้าวสาร" เพลงร้องพื้นบ้านเพื่อขอเรี่ยไรข้าวสารก่อนงานบุญกฐินของคนในแถบปทุมธานีและนนทบุรี ที่ปัจจุบันสูญหายไปแล้ว หรือประวัติความเป็นมาของ "แพขาว" เรือนแพที่อยู่บริเวณท่าน้ำหน้าจวนผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ที่ครั้งหนึ่งรัชกาลที่ 8 เสด็จมาประทับเมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมเยียนพสกนิกรในจังหวัดปทุมธานี
ข้าวของอื่น ๆ ที่จัดแสดงยังมี หนังสือเก่าเกี่ยวกับจังหวัดปทุมธานี หม้อข้าวแช่ ตะเกียง พิมพ์ดีด เครื่องทองเหลือง ไม้พายตีลายหม้อ แผนที่จำลองเส้นทางและสถานที่ต่างๆ ริมแม่น้ำเจ้าพระยาตามนิราศของสุนทรภู่ เป็นต้น เนื่องจากศูนย์ฯหรือบ้านของอาจารย์อยู่ติดกับคุกเก่าของเมืองปทุมธานี อาจารย์จึงทำนิทรรศการเล็ก ๆ ให้ความรู้เกี่ยวกับคุกของเมืองปทุมธานี ปัจจุบันถูกทุบทิ้งทำเป็นสวนสาธารณะไปแล้ว เหลือเพียงป้อมกำแพงด้านเหนือไว้เป็นอนุสรณ์ทางประวัติศาสตร์ คุกแห่งนี้สร้างเมื่อ พ.ศ. 2460 ในรัชกาลที่ 6 มีนักโทษการเมืองสำคัญคือ ร.ต.ศิริ ชุณห์ประไพ ผู้ร่วมก่อการกบฎ ร.ศ.130
นอกจากศูนย์วัฒนธรรมประวัติศาสตร์ท้องถิ่นแล้ว ยังสามารถเดินชมอาคารสถานที่ที่เก่าแก่คู่เมืองปทุมธานีที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกันได้อีกด้วย อาทิ ป้อมกำแพงคุกเดิม ศาลากลางจังหวัดหลังเก่า ที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นตึกก่ออิฐถือปูนชั้นเดียว มีระเบียงยาวด้านหน้า หน้าบรรณมีตราแผ่นดินและระบุพ.ศ.ที่สร้าง ปัจจุบันเป็นที่ทำการของสภาวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี นอกจากนี้ยังมีศาลจังหวัดหลังเก่า และเรือนพยาน เป็นอาคารไม้ชั้นเดียวใต้ถุนสูง แม้ปัจจุบันทรุดโทรมลงไปมากและกลายเป็นบ้านพักข้าราชการตำรวจไป แต่ยังคงปรากฎให้เห็นเค้าความสวยงามเดิมที่ ประณีตด้วยลายไม้ฉลุแบบขนมปังขิง
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
วิถีชีวิตท้องถิ่นและภูมิปัญญา เครื่องปั้นดินเผา ประวัติจังหวัดปทุมธานี เพลงพื้นบ้าน สภาวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี
สำนักศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
จ. ปทุมธานี
พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า
จ. ปทุมธานี
พิพิธภัณฑ์หินแปลก
จ. ปทุมธานี