หออัครศิลปิน


สถานที่จัดแสดงนิทรรศการถาวรเกี่ยวกับพระอัจฉริยภาพทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะเป็น “อัครศิลปิน” และพระปรีชาสามารถของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะ "วิศิษฏศิลปิน" และจัดแสดงประวัติและผลงานของศิลปินแห่งชาติ 3 สาขา นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆ ของศิลปินแห่งชาติในโครงการส่งเสริมความรู้ต่างๆในแต่ละปี ภายในหออัครศิลปิน จัดแสดงเกี่ยวกับพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ และพระปรีชาสามารถทางด้านศิลปะ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รวมถึงจัดแสดงผลงานจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ และภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ขององค์ "อัครศิลปิน" ไว้เป็นจำนวนมาก และได้นำเสนอบทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรูปแบบดนตรี 3 มิติ เป็นแห่งแรกของประเทศไทย

ที่อยู่:
ถ.เลียบคลองห้า ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทรศัพท์:
0-2986-5020-4
วันและเวลาทำการ:
เปิดจันทร์-ศุกร์ 09.00-16.00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
จัดการโดย:

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

รีวิวของหออัครศิลปิน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงเป็นเลิศในศิลปะทั้งมวล ทรงได้รับการยกย่องสดุดีพระเกียรติคุณในพระปรีชาสามารถอย่างหาที่เปรียบมิได้ เป็นที่ประจักษ์ชัดแก่พสกนิกรและศิลปินทั่วโลก ดังนั้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2529 คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระราชสมัญญา "อัครศิลปิน" แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ซึ่งแปลว่า "ผู้มีศิลปะอันเลอเลิศ" หรือ "ผู้เป็นใหญ่ในศิลปิน" นอกจากนี้ ทรงมีคุณูปการอุปถัมภ์ศิลปินทั้งหลายมาโดยตลอด 
 
เนื่องในวโรกาสที่พระองค์ทรงครองราชย์ครบ 50 ปี สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้จัดทำโครงการก่อสร้างหออัครศิลปินเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯขึ้นเมื่อ พ.ศ.2539 เพื่อเป็นที่แสดงผลงานอันทรงคุณค่าของพระองค์และเพื่อสนองพระราชดำรัสของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ว่า "ผลงานของศิลปินแห่งชาติเป็นมรดกศิลปะอันล้ำค่าของชาติ เป็นเครื่องหมายแสดงอารยธรรมอันสูงส่งของชาติไทยควรค่าแก่การภาคภูมิใจของคนไทยทั้งชาติ ผลงานของท่านเหล่านี้นับวันจะสูญหายไปด้วยสาเหตุต่างๆ จึงจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะต้องศึกษาผลงานของทุกท่านเหล่านี้ แล้วจัดทำเนียบขึ้นบัญชีอย่างเป็นระบบเพื่อประโยชน์ในการศึกษาและรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติโดยส่วนรวมต่อไป"
 
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จึงได้นำเสนอโครงการหออัครศิลปินต่อคณะกรรมการเตรียมการเฉลิมพระเกียรติฯ ของกระทรวงศึกษาธิการ และจัดตั้งเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ กลุ่มที่ 1โครงการที่ 1 โดยใช้ที่ราชพัสดุในความดูแลของกรมศิลปากร บนพื้นที่ 5 ไร่ ตั้งอยู่ ณ ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 
 
วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง
1.   เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในวโรกาส ทรงครองราชย์ครบ 50 ปี
2.   เพื่อเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมและแสดงผลงานอันทรงคุณค่าด้านศิลปะและวัฒนธรรม ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในฐานะที่ทรงเป็น "อัครศิลปิน"
3.   เพื่อเป็นศูนย์กลางในการจัดเก็บ จัดแสดงและสงวนรักษาผลงานที่มีคุณค่า ของศิลปินแห่งชาติ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและอนาคต
4.   เพื่อเป็นสถานที่สำหรับให้ ศิลปินแห่งชาติ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และถ่ายทอดต่อยอด ความรู้ให้แก่เยาวชน ศิลปิน ผู้มีความสามารถในด้านศิลปะ 
5. เพื่อเป็นศูนย์กลางในการศึกษา ค้นคว้า วิจัย แลกเปลี่ยน ให้บริการข้อมูล ทางศิลปวัฒนธรรมทั้งในและต่างประเทศ
6. เพื่อเป็นศูนย์กลางในการส่งเสริม และร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนทั้งภายใน และต่างประเทศ ในการจัดกิจกรรม และการแลกเปลี่ยนผลงานทางด้านศิลปวัฒนธรรม

การจัดแสดง

ห้องอัครศิลปินชั้น2

ทางเข้าด้านหน้าของห้องอัครศิลปิน ซ้าย-ขวา นำเสนอข้อมูล นำชมด้วยสื่อคอมพิวเตอร์ระบบสัมผัสให้รายละเอียดเนื้อหาการจัดแสดงตรงกลางห้องของอาคาร ซึ่งเป็นจุดสำคัญของหออัครศิลปิน เป็นที่ประดิษฐานบุษบกไม้ประดับกระจกปิดทอง ภายในบุษบกประดิษฐานพระราชลัญจกรประจำพระองค์รัชกาลที่ 9 จำลอง บนพานแว่นฟ้า ซึ่งเปรียบเสมือนตัวแทนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว "อัครศิลปิน" ฐานโดยรอบบุษบก มีสื่อวิดีทัศน์แสดงพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจจำนวน 9 ตอน เมื่อผู้เข้าชมนั่งคุกเข่าเครื่องจะทำงานโดยอัตโนมัติ ฉากหลังเป็นจิตรกรรมฝาผนัง "ไตรภูมิ" ซ้าย-ขวา มีกระจกแกะลายเทพชุมนุมสื่อความหมายว่า เหล่าเทวดาล้วนสักการะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้เปรียบประดุจ "สมมุติเทพ" บริเวณโดยรอบจัดแสดงพระอัจฉริยภาพทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมทั้ง 9 ด้าน อันได้แก่ - ด้านภูมิสถาปัตยกรรม จัดแสดงบริเวณด้านซ้ายของห้อง นำเสนอด้วยสื่อวีดิทัศน์ และภาพพระราชกรณียกิจหลากหลายโครงการ - ด้านหัตถกรรม นำเสนอพระปรีชาสามารถในการสร้างเรือใบ "ซูเปอร์มด" ด้วยภาพถ่ายดูราแทน แบบจำลองเรือใบซูเปอร์มด และเครื่องมือที่ทรงใช้ในการต่อเรือประกอบเสียงบรรยาย - ด้านวรรณศิลป์และวาทศิลป์ นำเสนอพระปรีชาสามารถด้านการทรงใช้ภาษาในงานวรรณกรรมของพระองค์ จัดแสดงผลงานพระราชนิพนธ์ติโต นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ พระมหาชนก และทองแดง โดยผ่านสื่อวีดิทัศน์ ภาพพลิก 3 มิติ ประกอบเสียง - ด้านจิตรกรรม ประติมากรรมและการถ่ายภาพ จัดแสดงผลงานฝีพระหัตถ์ - ทั้งนี้ ยังจัดแสดงโล่อัครศิลปินจำลอง พระราชดำรัส และพระราชสมัญญา "อัครศิลปิน"
 
ห้องอัครศิลปินชั้น3
 
จัดแสดงพระอัจฉริยภาพด้านคีตศิลป์และการพระราชนิพนธ์เพลงโดยเฉพาะ เน้นการนำเสนอด้วยระบบเสียงและภาพที่สมบูรณ์แบบ ภายในตู้จัดแสดงพระบรมฉายาลักษณ์ขณะทรงดนตรีขนาดใหญ่กลางห้องฉายภาพ พระบรมฉายาลักษณ์ในพระอิริยาบถต่างๆ บนเพดานโค้ง
 
ห้องศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ชั้น 1
 
ทางเข้าด้านหน้า นำเสนอสื่อวีดิทัศน์แนวคิดมุมมองและทัศนคติงานวรรณกรรม โดยนักวิชาการผู้เกี่ยวข้องและศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ - ด้านซ้ายมือจัดแสดงรายชื่อศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พร้อมรูปถ่ายและลายเซ็นของศิลปินแห่งชาติ คอมพิวเตอร์นำชม ข้อความประวัติชีวิต การทำงาน และผลงานอันเป็นที่มาของการได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ พร้อมคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียให้ข้อมูล ประวัติ และผลงานโดยละเอียด พร้อมภาพและเสียงประกอบคำบรรยาย - ตู้จัดแสดงต้นร่างผลงานวรรณกรรมและอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ ในการสร้างสรรค์ผลงานอันทรงคุณค่าของศิลปินแห่งชาติ - ห้องสมุดวรรณศิลป์ รวบรวมผลงานทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองของศิลปินแห่งชาติ พร้อมคอมพิวเตอร์สืบค้นข้อมูล - ห้องบรรยายและถ่ายทอดภูมิปัญญาของศิลปิน จัดเตรียมไว้ให้ศิลปินแห่งชาติถ่ายทอดความรู้สู่นักเขียนรุ่นหลัง - ตู้ถ่ายสติ๊กเกอร์ สำหรับถ่ายภาพผู้เข้าชมกับทัศนียภาพของหออัครศิลปิน และศิลปินแห่งชาติที่ชื่นชอบไว้เป็นที่ระลึก - ห้องพักและสัมมนาของศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ - มุมนิทรรศการหมุนเวียน ใช้จัดแสดงนิทรรศการย่อยงานวรรณกรรม และความเคลื่อนไหวในแวดวงวรรณกรรม
 
ห้องศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์และศิลปะสถาปัตยกรรมชั้น 2
 
บริเวณด้านหน้า จัดแสดงรายชื่อศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์และศิลปะสถาปัตยกรรม ตั้งแต่พ.ศ.2528 จนถึงปัจจุบัน พร้อมภาพถ่ายและลายเซ็นของศิลปินแห่งชาติ ด้านซ้ายจัดเตรียมวีดิทัศน์เสนอมุมมองและแนวคิดของศิลปินทั้ง 2 สาขา - ด้านประติมากรรม จัดแสดงผลงานประติมากรรมต้นแบบ และผลงานชิ้นเยี่ยมของศิลปินแห่งชาติ - ด้านถ่ายภาพ จัดแสดงประวัติและผลงานของศิลปินแห่งชาติ ด้านการถ่ายภาพพร้อมตัวอย่างผลงาน นำเสนอด้วยห้องคิวบิคภาพดูราแทนผลงานของศิลปิน - ด้านจิตรกรรม ภาพพิมพ์และสื่อผสม จัดแสดงผลงานชิ้นเอกของศิลปินแห่งชาติ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนจัดแสดงจำนวนมาก - ด้านหัตถศิลป์ จัดแสดงผลงานหัตถกรรมด้านต่างๆ เช่น การทอผ้า เครื่องถม งานปั้น งานแกะสลัก และแบบร่างต่างๆ - ด้านสถาปัตยกรรม จัดแสดงแบบร่างงานสถาปัตยกรรม และหุ่นจำลอง 3 มิติ ผลงานศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะสถาปัตยกรรมทั้งแบบไทยประเพณีและร่วมสมัย หากต้องการค้นคว้าข้อมูลประวัติและผลงานของศิลปินแห่งชาติทั้ง 2 สาขา สามารถค้นคว้าได้จากคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย ที่รวบรวมข้อมูลไว้โดยละเอียด
 
ห้องศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ชั้น 2
 
ห้องศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ใช้จัดแสดงประวัติและผลงานของศิลปินแห่งชาติ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันทุกภูมิภาค บริเวณทางเข้าด้านหน้า จัดแสดงรายชื่อศิลปินแห่งชาติพร้อมรูปถ่ายและลายเซ็นของศิลปินแห่งชาติ - ด้านซ้ายมือจัดแสดงข้อความประวัติผลงานของศิลปินแห่งชาติ และภาพจิตรกรรมฝาผนังการแสดงพื้นบ้านภาคกลางและภาคอีสาน ตู้ไดโอราม่าการแสดง 4 ภาค ควบคุมการทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ประกอบเพลงพื้นบ้าน - ด้านขวามือ จัดแสดงข้อความประวัติและผลงานของศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ด้านการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ (พร้อมจอหนังตะลุงจำลอง) - ส่วนกลางของห้อง จัดแสดงศิลปะการแสดงด้านนาฏศิลป์ เช่น โขน หุ่นกระบอก หุ่นละครเล็ก ลิเก โนราห์ ดุริยางคศิลป์และตู้ดูราแทน ประวัติของศิลปินแห่งชาติ - เวทีการแสดงและถ่ายทอดภูมิปัญญาของศิลปินแห่งชาติประกอบไฟแสงสีพร้อมที่จะแสดงได้จริง และห้องแต่งตัวนักแสดง - จอภาพยนตร์ขนาดใหญ่บนเวทีใช้ฉายภาพยนตร์ ประวัติและผลงานของศิลปินแห่งชาติ - ห้องฉายภาพยนตร์จำลอง ขนาด20ที่นั่ง ใช้ฉายภาพยนตร์ที่เป็นผลงานของศิลปินแห่งชาติ ด้านกำกับการแสดง ดารานักแสดง และสร้างภาพยนตร์ - ชั้นบนจัดแสดงประวัติและผลงานศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดงด้านเพลง เช่น นักร้อง นักแต่งเพลง หรือนักดนตรี พร้อมห้องคาราโอเกะ ให้ผู้เข้าชมฝึกร้องเพลงผลงานสร้างสรรค์ของเหล่าศิลปินแห่งชาติ
 
ข้อมูลจาก: แผ่นพับหออัครศิลปิน
ชื่อผู้แต่ง:
-