พิพิธภัณฑ์จันเสน วัดจันเสน


จันเสนเป็นเมืองโบราณสมัยทวาราวดีตอนต้นที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในลุ่มน้ำเจ้าพระยา บริเวณเมืองโบราณนี้ได้มีการขุดค้นพบโบราณวัตถุจำนวนมาก หลักฐานทางโบราณคดีดังกล่าวเป็นสิ่งยืนยันถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนานของชุมชน สร้างความภาคภูมิใจให้กับคนในท้องถิ่น นำไปสู่ความร่วมไม้ร่วมมือของคนในชุมชนในการช่วยกันเก็บรักษาสิ่งของ และบอกเล่าเรื่องราวต่างๆเหล่านี้ให้คนทั่วไปได้ทราบ ผ่านการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นจันเสน โดยจัดแสดงในชั้นล่างของ “พระมหาธาตุเจดีย์ศรีจันเสน” การจัดแสดงมีทั้งเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีของชุมชนจันเสน โบราณวัตถุที่ขุดค้นพบจากเมืองโบราณจันเสน พัฒนาการและการขยายตัวของชุมชนจันเสน ตลอดจนภูมิปัญญาของคนในชุมชน และจบด้วยประวัติของ “พระครูนิสัยจริยคุณ” หรือหลวงพ่อโอด อดีตเจ้าอาวาส ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญในการผลักดันให้เกิดพิพิธภัณฑ์ มีรูปหล่อของท่านไว้ตรงกลางห้องเพื่อให้เป็นที่เคารพสักการะ เพดานของอาคาร เป็นอีกหนึ่งความน่าสนใจของพิพิธภัณฑ์คือ ภาพจิตรกรรมฝาผนัง เป็นเรื่องราวพุทธประวัติ ข้อมูลทางประวัติศาสตร์และเรื่องราวต่างๆในพิพิธภัณฑ์ ได้รับความร่วมมือจากงานวิจัยและการลงภาคสนามของทีมนักวิชาการจากมูลนิธิ เล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ นอกจากนี้ยุวมัคคุเทศก์จากโรงเรียนจันเสนฯเป็นอีกหนึ่งจุดเด่นของพิพิธภัณฑ์ รวมถึงสินค้าในชุมชนที่เกิดขึ้นจากการผลักดันของพิพิธภัณฑ์และเจ้าอาวาส โดยเฉพาะผ้าทอที่กลุ่มสตรีทอผ้าคิดค้นลายผ้าต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวของชุมชน และกลุ่มจักสานที่สืบสานจากรุ่นสู่รุ่น

ที่อยู่:
วัดจันเสน ต.จันเสน อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ 60260
โทรศัพท์:
0928014008, 0877290909, 056339115
วันและเวลาทำการ:
เปิดพุธ-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ 09.00-16.00 น.สำหรับยุวมัคคุเทศก์จะมีให้บริการในวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
อีเมล:
chansen_museum@hotmail.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2539
จัดการโดย:

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์จันเสน

โดย:

วันที่: 12 กรกฎาคม 2564

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

จันเสน พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นแห่งแรกในลุ่มลพบุรี-ป่าสัก

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: ปีที่22ฉบับที่ 1 ม.ค. - มี.ค. 2539

ที่มา: เมืองโบราณ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ท่องเที่ยว "จันเสน" ดูของดี ชมศิลปะ "ทวารวดี" วิถีชีวิตของคนยุคโบราณ

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 4/5/5848 หน้า 33

ที่มา: เดลินิวส์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์จันเสน สัญลักษณ์แห่งพลังท้องถิ่น

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: ปีที่21ฉบับที่ 2 ธ.ค. 2542

ที่มา: ศิลปวัฒนธรรม

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

มหาธาตุเจดีย์-พิพิธภัณฑ์ นครโบราณ "จันเสน"

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 1/25/2548

ที่มา: ข่าวสด

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

มัคคุเทศก์น้อย นักเล่าเรื่องของชุมชนจันเสน

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 6/9/2546

ที่มา: คมชัดลึก

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

การปรับปรุงการใช้แสงธรรมชาติในอาคารพิพิธภัณฑ์จันเสน

ชื่อผู้แต่ง: เบญจพร ศักดิ์เรืองแมน | ปีที่พิมพ์: 2543

ที่มา: สถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แหล่งค้นคว้า: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

การสัมมนาเรื่อง "พิพิธภัณฑ์ ท้องถิ่นของเรา"

ชื่อผู้แต่ง: มูลนิธิประไพ วิริยะพันธุ์ | ปีที่พิมพ์: 2539

ที่มา: เอกสารรายงานการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น วันที่ 7-9 กันยายน 2539 ณ วัดจันเสน จ.นครสวรรค์ จัดโดยมูลนิธิประไพ วิริยะพันธุ์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ท่องเที่ยว"จันเสน"ดูของดีชมศิลปะ"ทวารวดี"วิถีชีวิตของคนยุคโบราณ

ชื่อผู้แต่ง: สมพงษ์ พัวพรพงษ์ | ปีที่พิมพ์: 5/4/2548

ที่มา: เดลินิวส์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ดูลิงค์ต้นฉบับ

พิพิธภัณฑ์จันเสน สัญลักษณ์แห่งพลังท้องถิ่น

ชื่อผู้แต่ง: - | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 21 ฉบับที่ 2 (ธ.ค. 2542)

ที่มา: ศิลปวัฒนธรรม

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

10 ปีแห่งความสำเร็จ “พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นจันเสน”

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 06-05-2551

ที่มา: ผู้จัดการรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

กระบวนการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมในการก่อตั้งและธำรงอยู่ของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น "จันเสน" จังหวัดนครสวรรค์

ชื่อผู้แต่ง: สุนทรี ลิลา | ปีที่พิมพ์: 2548

ที่มา: กรุงเทพฯ: วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาวาทวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แหล่งค้นคว้า: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

รายงานการสำรวจศึกษาปัจจัยและแนวทางการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ให้ยั่งยืน กรณีชุมชนมีส่วนร่วม

ชื่อผู้แต่ง: ยุภาพร ธัญวิวัฒน์กุล | ปีที่พิมพ์: 2551;2008

ที่มา: รายงานทุนสนับสนุนการวิจัยสำหรับพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น โครงการเทศกาลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นครั้งที่ 1/2551

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 11 พฤศจิกายน 2556

เที่ยวชมเมืองเก่าโบราณยุคทวารวดี 2,000 ปี ทัวร์วัดจันเสนพิพิธภัณฑ์ล้ำค่าแหล่งเติมความรู้

ชื่อผู้แต่ง: เดลินิวส์ | ปีที่พิมพ์: 2550

ที่มา: เดลินิวส์

แหล่งค้นคว้า: https://db.sac.or.th/clipping/th/news/read/255000472

โดย: ศมส.

วันที่: 20 เมษายน 2550

ดูลิงค์ต้นฉบับ


พิพิธภัณฑ์จันเสน

จันเสนเป็นเมืองโบราณสมัยทวาราวดีตอนต้นที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชุมชนโบราณนี้เกิดขึ้นเมื่อมีการขุดค้นพบเมืองโบราณจันเสน บริเวณเมืองโบราณนี้ได้มีการขุดค้นพบโบราณวัตถุจำนวนมาก หลักฐานทางโบราณคดีดังกล่าวเป็นสิ่งยืนยันถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนานของชุมชน สะท้อนให้เห็นถึงรากฐานของความเจริญรุ่งเรืองในอดีต สร้างความภาคภูมิใจให้กับคนในท้องถิ่น นำไปสู่ความร่วมไม้ร่วมมือของคนในชุมชนในการช่วยกันเก็บรักษาสิ่งของ และบอกเล่าเรื่องราวต่างๆเหล่านี้ให้คนทั่วไปได้ทราบ ผ่านการจัดสร้าง “พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นจันเสน”

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้อยู่ในวัดจันเสน อ.ตาคลี จ. นครสวรรค์ เปิดให้เข้าชมตั้งแต่ปี พ.ศ.2539 ปัจจุบันเปิดให้เข้าชมได้ในวันเสาร์-อาทิตย์ โดยไม่คิดค่าบริการ หากเข้าไปในวัดแล้วเห็นเจดีย์รูปทรงสวยงามรูปร่างแปลกตา เจดีย์นี้คือ “พระมหาธาตุเจดีย์ศรีจันเสน” รูปแบบสถาปัตยกรรมศิลปะยุคทวาราวดี ใช้พื้นที่ฐานด้านล่างเป็นที่จัดแสดงของพิพิธภัณฑ์

หัวใจหลักของการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์คงหนีไม่พ้นเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีของชุมชนจันเสน ภายในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงโบราณวัตถุที่ขุดค้นพบจากเมืองโบราณจันเสน ซึ่งเป็นของจัดแสดงหลักและได้ชื่อว่าเป็นดาวเด่นของพิพิธภัณฑ์ อย่างเช่นโครงกระดูก ตราประทับ และเครื่องประดับยุคโบราณ วัตถุโบราณที่ทำจากดินเผา เช่น พระพิมพ์ ตุ๊กตา ตะเกียง หรือวัตถุที่ทำด้วยหิน เช่น ฐานบัว ธรรมจักร ขวานหิน เป็นต้น

การเล่าเรื่องในพิพิธภัณฑ์บอกเล่าประวัติชุมชนจันเสนตามลำดับเวลาออกเป็น 14 หัวข้อ แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการและการขยายตัวของชุมชนจันเสน ตลอดจนภูมิปัญญาของคนในชุมชน โดยหัวข้อจัดแสดงเริ่มต้นที่ซ้ายมือของประตูทางเข้า สิ่งแรกที่เราจะได้ชมอยู่ในหัวข้อชื่อ “จันเสนกับสภาพแวดล้อม” ซึ่งมีภาพถ่ายทางอากาศของชุมชนแห่งนี้จัดแสดง ส่วนอื่นๆได้แก่จัดแสดงในหัวข้อ “การศึกษาทางโบราณคดีบริเวณจันเสน” รวมถึง “จันเสนในสมัยทวาราวดี, “การฟื้นฟูจันเสน” เป็นต้น เดินชมการจัดแสดงในส่วนด้านประวัติศาสตร์โบราณคดีแล้ว ในตอนท้ายๆเป็นการจัดแสดงเรื่องราวภูมิปัญญา วิถีชีวิตของชาวจันเสน ภายใต้ชื่อ “ภูมิปัญญาพื้นบ้านจาก คุณตาขุน ด้วงเงิน” จัดแสดงสิ่งของภูมิปัญญาพื้นบ้านที่ใช้ในชีวิตประจำวัน จากนั้นเป็นหัวข้อ “การเปลี่ยนแปลงในจันเสน” โดยการจัดแสดงสิ้นสุดที่เรื่อง “พระครูนิสัยจริยคุณ” หรือหลวงพ่อโอด อดีตเจ้าอาวาส ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญในการผลักดันให้เกิดพิพิธภัณฑ์ มีรูปหล่อของท่านไว้ตรงกลางห้องเพื่อให้เป็นที่เคารพสักการะ

ส่วนเพดานของอาคาร เป็นอีกหนึ่งความน่าสนใจของพิพิธภัณฑ์ นั่นคือ ภาพจิตรกรรมฝาผนัง เป็นเรื่องราวพุทธประวัติ แบ่งออกเป็น 8 ส่วน เช่น ส่วนที่ 1 พุทธประวัติในตอนที่พระนางสิริมหามายาประทับบนดอกบัว มีช้างสองเชือกชูงวงที่มีคนโทน้ำเพื่อสรงพระนาง อันเป็นรูปสัญลักษณ์ที่หมายถึงพระพุทธเจ้า (เจ้าชายสิทธัตถะ) ทรงจุติมาสู่พระครรภ์ เป็นต้น

ข้อมูลทางประวัติศาสตร์และเรื่องราวต่างๆในพิพิธภัณฑ์ ได้รับการอนุเคราะห์และความร่วมมือจากงานวิจัยและการลงภาคสนามของทีมนักวิชาการจากมูลนิธิ เล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ โดยการนำของ รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม ดังนั้นจึงไม่ต้องสงสัยถึงความถูกต้องแม่นยำของข้อมูล รวมถึง ความน่าสนใจในประเด็นต่างๆเกี่ยวกับความรู้และเกร็ดประวัติศาสตร์ที่จะได้รับจากการเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ หลายคนอาจจะคิดว่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์โบราณคดีเป็นสิ่งที่น่าเบื่อหน่าย ไม่น่าสนใจ แต่ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่ใช้หลักฐานจากหลากหลายแหล่ง รูปแบบการการจัดแสดง รวมถึงการทำหน้าที่ผู้นำชมของยุวมัคคุเทศก์ อาจจะทำให้เปลี่ยนความคิดนี้ไปได้

เด็กๆจากโรงเรียนในชุมชนได้ผ่านการอบรมจากคุณครูให้เป็นผู้นำชมพิพิธภัณฑ์ที่น่ารักน่าเอ็นดู อาจจะนับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งจุดเด่นของพิพิธภัณฑ์ด้วย หลายๆพิพิธภัณฑ์คงอยากจะดึงเด็กๆเยาวชนมาทำกิจกรรมร่วมกัน หากจะมาลองเอาการฝึกอบรมยุวมัคคุเทศน์ที่นี่เป็นตัวอย่างศึกษาก็น่าจะได้ผลดี อิ่มเอมกับความรู้ทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและโบราณคดีของชุมชนจันเสนที่ได้จากพิพิธภัณฑ์

แต่ความน่าสนใจเกี่ยวกับชุมชนจันเสนไม่ได้สิ้นสุดลงแค่นั้น เดินออกมานอกพิพิธภัณฑ์ยังมีสิ่งให้เรียนรู้อีกมากมาย คำตอบของคำถามที่ว่าเหตุใดพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นจันเสนจึงประสบความสำเร็จในการดำเนินงาน หาได้จากบริเวณรอบๆวัดนี่เอง นั่นคือโครงการต่างๆของชุมชน เช่น กลุ่มสตรีทอผ้าด้วยกี่กระตุก กลุ่มขนมของฝากจันเสน ชมรมเรารักษ์จันเสน เป็นต้น

ความร่วมมือร่วมใจกันระหว่างวัด ภายใต้การนำของเจ้าอาวาสปัจจุบัน คือ พระครูนิวิฐธรรมขันธ์ (หลวงพ่อเจริญ) โรงเรียนในชุมชน และองค์กรต่างๆในชุมชน เป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นจันเสนมีชีวิตอยู่ได้อย่างสวยงามท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกภายนอก

เรื่อง/ภาพ สายทิพย์ ขุนอินทร์
สำรวจ : 20 เมษายน 2551
ชื่อผู้แต่ง:
-

สนุกสนานที่ 'เมืองโบราณจันเสน'

ฤดูท่องเที่ยวเริ่มต้นขึ้นพร้อมกับลมหนาวที่พัดมาแผ่วๆ สำหรับบางคนอาจจะมีใจรักการเดินทางออกต่างจังหวัดในหน้าหนาวนี้ แต่บางคนก็เลือกที่จะแสวงหาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ ใกล้กรุงเทพฯ นครสวรรค์ เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจและไม่ไกลจากกรุงเทพฯ มากนัก เพราะจังหวัดนี้ตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่างถึงกลางตอนบน
ชื่อผู้แต่ง:
-

10 ปีแห่งความสำเร็จ “พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นจันเสน”

พูดถึงชื่อ “จันเสน” ขึ้นมา คงมีน้อยคนที่จะรู้จักว่าเป็นชื่อตำบลหนึ่งในอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ และคงมีน้อยคนยิ่งขึ้นไปอีก ที่รู้จักว่า “จันเสน” นั้น เป็นเมืองโบราณตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ หรือในช่วงยุคโลหะตอนปลาย ต่อเนื่องมาถึงสมัยทวารวดีตอนต้นที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในลุ่มน้ำเจ้าพระยา อายุไม่ต่ำกว่า 2,000 ปีมาแล้ว จันเสนถือเป็นเมืองที่ร่วมสมัยเดียวกับเมืองอู่ทองในลุ่มแม่น้ำท่าจีน และเมืองฟูนันในบริเวณใกล้ปากแม่น้ำโขง
ชื่อผู้แต่ง:
-