พิพิธภัณฑ์จังหวัดนนทบุรี ริเริ่มโดยเทศบาลจังหวัดนนทบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้เป็นแหล่งเรียนรู้และสืบสานจิตวิญญาณแห่งเมืองนนท์ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ศาลากลางหลังเก่า ที่มีสถาปัตยกรรมที่งดงามและมีเอกลักษณ์ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2453 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อให้เป็นโรงเรียนกฎหมาย แต่เกิดอุปสรรคบางประการจึงเปิดเป็นโรงเรียนราชวิทยาลัย ตามรูปแบบคิงส์คอลเลจ (King’s College) ประเทศอังกฤษ ด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก กิจการโรงเรียนถูกยุบรวม อาคารหลังนี้ร้างไปชั่วขณะ ต่อมากลายเป็นศาลากลางจังหวัดนนทบุรีตั้งแต่ พ.ศ.2471-2535 จากนั้นกระทรวงมหาดไทยได้ขอใช้เป็นวิทยาลัยมหาดไทยนาน 16 ปี ต่อมาในปี พ.ศ.2552 เทศบาลนครนนทบุรีจึงริเริ่มดำเนินการปรับปรุงอาคารส่วนหน้าเป็น“พิพิธภัณฑ์จังหวัดนนทบุรี” ภายในจัดแสดงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์จังหวัดนนทบุรี ดินแดนแก่เก่าของไทยจากเมืองหน้าด่านสมัยอยุธยาจนถึงเมืองท่าของกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ ทำให้เมืองนนท์เป็นแหล่งผสมผสานคนจากหลากหลายชนชาติเข้าไว้ด้วยกันอย่างกลมกลืน เกิดเป็นวิถีชีวิตคนเมืองนนท์ แหล่งเครื่องปั้นดินเผาที่สำคัญ และหลากหลายภูมิปัญญาท้องถิ่น นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้เรื่องสถาปัตยกรรมของอาคารศาลากลางเก่า อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของไทยที่ทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกันอีกด้วย
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 11/15/2545
ที่มา: เดลินิวส์
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: ชูชาติ แก้วเก่า | ปีที่พิมพ์: 27/06/2544
ที่มา: ข่าวสด
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 30 กันยายน 2552
ที่มา: ผู้จัดการ
แหล่งค้นคว้า:
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของพิพิธภัณฑ์จังหวัดนนทบุรี
พิพิธภัณฑ์จังหวัดนนทบุรี ริเริ่มโดยเทศบาลจังหวัดนนทบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้เป็นแหล่งเรียนรู้และสืบสานจิตวิญญาณแห่งเมืองนนท์ ให้ชาวนนทบุรีได้เรียนรู้และภาคภูมิใจในรากเหง้าของตน จนเกิดความห่วงแหนและเห็นความสำคัญของภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของบรรพบุรุษและคุณค่าของตนเอง ตลอดจนเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปได้เรียนรู้ร่วมกันเพื่อให้เข้าใจตัวตนของคนเมืองนนท์อย่างแท้จริง พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ศาลากลางหลังเก่า เพื่อสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่ต่อไปภายในจัดแสดงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์จังหวัดนนทบุรี ดินแดนแก่เก่าของไทยจากเมืองหน้าด่านสมัยอยุธยาจนถึงเมืองท่าของกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ ทำให้เมืองนนท์เป็นแหล่งผสมผสานคนจากหลากหลายชนชาติเข้าไว้ด้วยกันอย่างกลมกลืน เกิดเป็นวิถีชีวิตคนเมืองนนท์ แหล่งเครื่องปั้นดินเผาที่สำคัญ และหลากหลายภูมิปัญญาท้องถิ่น นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้เรื่องสถาปัตยกรรมของอาคารศาลากลางเก่า อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของไทยที่ทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกันอีกด้วย โดยแยกเป็น 8 ห้องจัดแสดง ดังนี้
1.โถงต้อนรับ
2.ศาลากลางจังหวัดนนทบุรีหลังเก่า
3.ภาพอดีตนนทบุรี เมืองสวนผลไม้แห่งลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
4.วิจิตรศิลป์ถิ่นนนท์/เกียรติยศแห่งนนทบุรี
5.เครื่องปั้นดินเผา สัญลักษณ์แห่งนนทบุรี
6.เครื่องปั้นดินเผาบ้านเกาะเกร็ด และบ้านตะนาวศรี
7.ภูมิปัญญาการผลิตเครื่องปั้นดินเผานนทบุรี
8.การค้าเครื่องปั้นดินเผานนทบุรีในอดีต
คลิกอ่าน "เที่ยวพิพิธภัณฑ์นนท์ ยลอาคารสวย รุ่มรวยอดีต" นสพ.ผู้จัดการ 30 กย.52
ข้อมูลจาก: เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์จังหวัดนนทบุรี
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
รีวิวของพิพิธภัณฑ์จังหวัดนนทบุรี
"นนทบุรี" จังหวัดติดกรุงเทพฯที่ไปมาหาสู่กันแสนสะดวกสบาย จนแทบแยกพื้นที่รอยต่อระหว่างกรุงเทพฯกับเมืองนนท์ไม่ออก อย่างไรก็ตามความเป็นเมืองนนท์ก็มีมนต์เสน่ห์ที่น่าค้นหาอยู่ไม่น้อย ทำให้ทริปนี้ "ตะลอนเที่ยว" ไม่ออกไปไหนไกล หากแต่ออกไปเที่ยวแค่"ท่าน้ำนนท์" ที่สามารถนั่งเรือล่องแม่น้ำเจ้าพระยาจากกรุงเทพฯไปได้อย่างไม่ลำบากยากเย็นแถมยังประหยัดอีกต่างหากพิพิธภัณฑ์จังหวัดนนทบุรี
อาคารไม้ขนาดใหญ่ริมน้ำเจ้าพระยาบริเวณท่าน้ำนนท์โดดเด่นสะดุดตาแม้กาลเวลาจะกัดเซาะจนทรุดโทรม ดูจากผังที่เป็นเรือนไม้สองชั้นยาวเชื่อมต่อเป็นสี่เหลี่ยมโอบล้อมลานกว้าง ชวนให้นึกถึงโรงเรียนประจำแบบอังกฤษ เมื่อตรวจสอบประวัติก็พบว่าอาคารนี้สร้างเมื่อปีสุดท้ายในสมัยรัชกาลที่ ๕ ( พ.ศ. ๒๔๕๓) หวังให้เป็นโรงเรียนกฎหมาย แต่เกิดอุปสรรคบางประการ ปีต่อมาจึงเปิดเป็นโรงเรียนราชวิทยาลัย ตามรูปแบบ King’s College ประเทศอังกฤษแนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
วิถีชีวิตท้องถิ่นและภูมิปัญญา เครื่องปั้นดินเผา ศาลากลางจังหวัด ท่าน้ำนนท์
พิพิธภัณฑ์แมลง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
จ. นนทบุรี
พิพิธภัณฑ์เขาสัตว์
จ. นนทบุรี
มณเฑียร อาเตอลิเยร์
จ. นนทบุรี