พิพิธภัณฑ์วางแผนครอบครัว


เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องประชากรและอนามัยการเจริญพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นมาของการวางแผนครอบครัว กายวิภาคและสรีรวิทยาของหญิงและชาย ความรู้เรื่องเพศศึกษา ตลอดจนกระบวนการปฏิสนธิและวิธีการคุมกำเนิด กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จึงก่อตั้งพิพิธภัณฑ์วางแผนครอบครัวขึ้นในปีพ.ศ. 2541 ณ อาคาร 4 ชั้น 4 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มีห้องบรรยายเพื่อจัดกิจกรรมเสริมการเรียนรู้สำหรับผู้ชมที่มาเป็นหมู่คณะ และศูนย์สารสนเทศด้านประชากรและอนามัยการเจริญพันธุ์ที่สามารถค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมได้ การจัดแสดงแบ่งออกเป็น 9 ส่วน นำเสนอความหมายและความสำคัญของการวางแผนครอบครัว กายวิภาคและสรีรวิทยา เพศศึกษา วิวัฒนาการคุมกำเนิดประชากรและการแก้ปัญหาประชากร ภูมิปัญญาชาวบ้านเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัว การใช้สมุนไพรและวัสดุจากธรรมชาติในการคุมกำเนิด บุคคลและและองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในโครงการวางแผนครอบครัว

ที่อยู่:
กองอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์:
0-2590-4273, 0-2590-4278
วันและเวลาทำการ:
เปิดจันทร์-ศุกร์ 09.30-15.00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
จัดการโดย:

โดย: -

วันที่: 20 มีนาคม 2556

โดย: -

วันที่: 20 มีนาคม 2556

โดย: -

วันที่: 20 มีนาคม 2556

โดย: -

วันที่: 20 มีนาคม 2556

โดย: -

วันที่: 20 มีนาคม 2556

โดย: -

วันที่: 20 มีนาคม 2556

โดย: -

วันที่: 20 มีนาคม 2556

โดย: -

วันที่: 20 มีนาคม 2556

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

เปิดอย่างภาคภูมิใน พิพิธภัณฑ์วางแผนครอบครัว

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 1/11/2547

ที่มา: ข่าวสด

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์วางแผนครอบครัว

การดำเนินงานโครงการวางแผนครอบครัวและประชากรเกิดขึ้นในประเทศไทยเมื่อกว่า 3 ทศวรรษที่ผ่านมา โดยรัฐประกาศใช้นโยบายประชากรเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2513 จากวันนั้นจวบจนปัจจุบัน การลดอัตราเพิ่มประชากรจากร้อยละ 3.2 ต่อไปในช่วงก่อนปี 2513 ลงเป็นร้อยละ 1.1 ในปี 2541  
               
เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องประชากรและอนามัยการเจริญพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นมาของการวางแผนครอบครัว กายวิภาคและสรีรวิทยาของหญิงและชาย ความรู้เรื่องเพศศึกษา ตลอดจนกระบวนการปฏิสนธิและวิธีการคุมกำเนิด กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จึงก่อตั้งพิพิธภัณฑ์วางแผนครอบครัวขึ้นในปีพ.ศ. 2541 พิพิธภัณฑ์วางแผนครอบครัวมีเนื้อที่ประมาณ 350 ตารางเมตร ตั้งอยู่ ณ อาคาร 4 ชั้น 4 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มีห้องบรรยายเพื่อจัดกิจกรรมเสริมการเรียนรู้สำหรับผู้ชมที่มาเป็นหมู่คณะ และศูนย์สารสนเทศด้านประชากรและอนามัยการเจริญพันธุ์ที่สามารถค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมได้
               
การจัดแสดงแบ่งออกเป็น 9 ส่วน ประกอบด้วย

ส่วนที่ 1 โถงทางเข้า 
            นำเสนอความรู้เกี่ยวกับการจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ คือ ความหมายและความสำคัญของการวางแผนครอบครัว กายวิภาคและสรีรวิทยา เพศศึกษา วิวัฒนาการคุมกำเนิดประชากรและการแก้ปัญหาประชากร บุคคลและและองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในโครงการวางแผนครอบครัว และแนวทางการดำเนินงานด้านประชากรในอนาคต

ส่วนที่ 2 บอร์ดพระราชดำรัส 
            ประกอบด้วยพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และพระราชดำรัสเนื่องในพิธีฉัตรมงคล พ.ศ. 2472 พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และพระราชดำรัสเกี่ยวกับประชากร เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิต เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2539

ส่วนที่ 3 การคุมกำเนิดในอดีต 
             นิทรรศการย้อนอดีตไปสู่ประวัติความเป็นมาของวิธีคุมกำเนิด ภูมิปัญญาชาวบ้านเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัว การใช้สมุนไพรและวัสดุจากธรรมชาติในการคุมกำเนิด

ส่วนที่ 4 สถานการณ์ประชากรและการวางแผนครอบครัว
           ถ่ายทอดด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์และภาพประกอบถึงสถานการณ์ด้านประชากรและการวางแผนครอบครัวตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันของประเทศไทย

ส่วนที่ 5 กายวิภาคและสรีรวิทยา 
            ให้ความรู้เรื่องโครงสร้างของร่างกายและระบบสืบพันธุ์ของเพศชายและเพศหญิง วิธีการทำงานของฮอร์โมน และการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในแต่ละช่วงชีวิต
ส่วนที่ 6 เพศศึกษาและกระบวนการปฏิสนธิ 
            นำเสนอข้อมูลความรู้ในเรื่องเพศศึกษา และกระบวนการปฏิสนธิจนเป็นตัวอ่อนในระยะต่าง ๆ
ส่วนที่ 7 หนทางแห่งการป้องกัน 
            จัดแสดงวิธีการป้องกันการปฏิสนธิ เทคโนโลยี วิธีคุมกำเนิดชนิดต่าง ๆ สำหรับผู้หญิงและผู้ชายที่ใช้ในอดีตถึงปัจจุบัน

ส่วนที่ 8 Hall of Fame 
          แสดงภาพและผลงานของบุคคลทั้งชาวไทยและต่างประเทศที่มีบทบาทสำคัญที่ช่วยให้โครงการวางแผนครอบครัวประสบความสำเร็จ

ส่วนที่ 9 สมดุลธรรมชาติ 
             เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นถึงผลกระทบที่เกิดกับเศรษฐกิจและสังคมจากการที่มีประชากรมากเกินไปหรือน้อยเกินไป
 
ข้อมูลจาก: แผ่นพับประชาสัมพันธ์ พิพิธภัณฑ์วางแผนครอบครัว
ชื่อผู้แต่ง:
-