พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี


พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี ก่อตั้งขึ้นด้วยความสนใจของพระชัยนาทมุนี (นวม สุทตฺโต) อดีตเจ้าคณะจังหวัดชัยนาท และอดีตเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุวรวิหาร ซึ่งได้รวบรวมโบราณศิลปวัตถุที่พบในเขตจังหวัดชัยนาทและบริเวณใกล้เคียง มาเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานของวัดเป็นจำนวนมาก มีทั้งโบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น ขวานหินขัด ชิ้นส่วนเครื่องมือเหล็ก กำไลสำริด ลูกปัด รวมไปถึงการสร้างสรรค์งานศิลปกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับความเชื่อและพิธีกรรมตามรูปแบบของสังคมดั้งเดิม โบราณวัตถุเนื่องในพุทธศาสนา เช่น พระพุทธรูปศิลา พระพิมพ์และชิ้นส่วนธรรมจักร ระฆังหิน เป็นต้น ต่อมาพระชัยนาทมุนีได้ยินดีมอบโบราณศิลปวัตถุดังกล่าวให้เป็นสมบัติของชาติ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีของไทยในปี พ.ศ. 2509 กรมศิลปากรจึงได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑสถานขึ้นในบริเวณใกล้กับวัดพระบรมธาตุวรวิหาร ตั้งชื่อว่า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี เพื่อเป็นที่ระลึกแด่พระชัยนาทมุนี เปิดให้ประชาชนเข้าชมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 เป็นต้นมา ต่อมาได้ก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านขึ้นมาเพิ่มเติม จัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตร การทำมาหากิน วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี ของคนไทยในอดีต แสดงถึงภูมิปัญญาพื้นบ้านที่คิดประดิษฐ์สิ่งของจากวัสดุธรรมชาติ ในการดำรงชีวิตประจำวัน

ที่อยู่:
วัดพระบรมธาตุวรวิหาร ตำบลชัยนาท อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท 17000
โทรศัพท์:
0-5641-1467
วันและเวลาทำการ:
เปิดบริการวันพุธ-วันอาทิตย์ 09.00-16.00 น.
ค่าเข้าชม:
ชาวไทย 5 บาท ชาวต่างประเทศ 10 บาท นักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบ ภิกษุสามเณรและนักบวชในศาสนาต่างๆ ไม่เสียค่าธรรมเนียมเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2509
ของเด่น:
ขวานหินขัด,ระฆังหิน,โบราณวัตถุสมัยทวารวดี,พระพุทธรูป
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ชมความงามพุทธศิลป์ เยือนถิ่นเมืองโบราณลุ่มน้ำภาคกลาง

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 19 พ.ย. 2555;19-11-2012

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 30 มีนาคม 2558


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี สังกัดสำนักศิลปากรที่ 4 ลพบุรี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรมเป็นหน่วยงานที่รวบรวมเก็บรักษา อนุรักษ์ และจัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่เป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติและเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดชัยนาท ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดพระบรมธาตุวรวิหาร ตำบลชัยนาทอำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท มีพื้นที่ 3 ไร่ 45 ตารางวา

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี ตั้งขึ้นด้วยความสนใจของพระชัยนาทมุนี (นวม สุทตโต)อดีตเจ้าคณะจังหวัดชัยนาทและอดีตเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุวรวิหาร ซึ่งได้รวบรวมศิลปวัตถุ โบราณวัตถุที่พบในเขตจังหวัดชัยนาทและบริเวณใกล้เคียงมาเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานของวัดเป็นจำนวนมาก ต่อมาพระชัยนาทมุนีได้ยินดีมอบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ดังกล่าวให้เป็นสมบัติของชาติ

เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีของไทย ในปี พ.ศ. 2509 กรมศิลปากร จึงได้ดำเนินการก่อสร้างอาคาร 2 ชั้น ทรงไทยประยุกต์ขึ้นในบริเวณใกล้กับวัดพระบรมธาตุวรวิหาร ตั้งชื่อว่า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี เพื่อเป็นที่ระลึกแด่พระชัยนาทมุนี เปิดให้ประชาชนเข้าชมได้ตั้งปี พ.ศ.2512 เป็นต้นมา 

อาคารจัดแสดงเป็นอาคารทรงไทยประยุกต์สองชั้น 

ชั้นล่าง จัดแสดงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีของจังหวัดชัยนาท โบราณวัตถุที่จัดแสดงได้แก่เครื่องใช้เครื่องประดับสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยทวาราวดี พระพุทธรูปสมัยต่างๆ อีกส่วนหนึ่งจัดแสดงโบราณวัตถุที่สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา เช่น ตู้พระธรรม เครื่องบริขารถมปัด ประติมากรรมและเครื่องปั้นดินเผาศิลปะลพบุรี สุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์ และศิลปะจีน 

ชั้นบน จัดแสดงพระพิมพ์ที่ได้จากการดำเนินงานโบราณคดีในประเทศไทย ได้แก่พระพิมพ์ศิลปะทวาราวดี ศรีวิชัย ลพบุรี อยุธยา รัตนโกสินทร์ แม่พิมพ์พระพิมพ์ แผงพระพิมพ์ไม้ พระพุทธรูปสำริดขนาดเล็ก 

ข้อมูลจาก : สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ.“เที่ยว ท่อง ย่ำ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ” : สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม.กรุงเทพฯ,มปป. หน้า 38-39

http://www.nationalmuseums.finearts.go.th/chainatmuni/

ชื่อผู้แต่ง:
-

ชมความงามพุทธศิลป์ เยือนถิ่นเมืองโบราณลุ่มน้ำภาคกลาง

หากอยากทราบประวัติศาสตร์เมืองชัยนาทให้มากกว่านี้ ต้องมาที่ “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชัยนาทมุนี” ในอำเภอเมืองชัยนาท ที่ก่อตั้งโดยพระชัยนาทมุนี (นวม สุทตโต) อดีตเจ้าคณะจังหวัดชัยนาทและอดีตเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุวรวิหาร ซึ่งได้รวบรวมโบราณศิลปวัตถุที่พบในเขตจังหวัดชัยนาทและบริเวณใกล้เคียงมาเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ของวัด ก่อนจะมอบโบราณวัตถุเหล่านี้ให้เป็นสมบัติของชาติ
ชื่อผู้แต่ง:
-