พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตบางกอกน้อย


ที่อยู่:
ร.ร.สุวรรณารามวิทยาคม ซ.จรัญสนิทวงศ์ 32 เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700
โทรศัพท์:
08-6989-3733
วันและเวลาทำการ:
เปิดพุธ-อาทิตย์ 9.30 - 16.30 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
ปีที่ก่อตั้ง:
2548

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

Off the beaten path in Bangkok Noi

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 5/8/2547

ที่มา: The Nation

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์บางกอกน้อยไม่คืบ

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 12/19/2545

ที่มา: ผู้จัดการรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

วันก่อนคืนเก่า เรื่องเล่าชาวบางกอกน้อย

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 2/5/2548 หน้า 22

ที่มา: ข่าวสด

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตบางกอกน้อย

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตบางกอกน้อย ตั้งอยู่ที่โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อปี 2494 พิพิธภัณฑ์นี้เป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์สี่แห่งที่กรุงเทพมหานครนำร่องจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นประจำเขต ห้องพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ชั้นล่างของอาคารเรียน ซึ่งมีขนาดห้องไม่กว้างมากนัก แต่ภายในมีเนื้อหาที่บอกเล่าถึงอดีตและสภาพในปัจจุบันของบางกอกน้อยไว้อย่างน่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจำลองย่านหรือชุมชนช่างที่ปรากฏในพื้นที่บางกอกน้อย 

นิทรรศการในพิพิธภัณฑ์บางเล่าถึงความเป็นมาของกรุงเทพฯ ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ทั้งเรื่องของ “บางกอก” ชุมชนเก่าแก่ที่สุดของกรุงเทพฯ บนแม่น้ำเจ้าพระยาสายเดิม และคลองขุดลัดที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2085 ในสมัยพระไชยราชาธิราช เพื่อให้การเดินเรือจากปากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าสู่พระนครศรีอยุธยาเป็นไปโดยสะดวก ภาพของ “บางกอก” ได้เปลี่ยนแปลงจากเมื่อก่อนการขุดคลองและเหตุการณ์สำคัญภายหลังต่อมา นอกจากคำบรรยายเรื่องราวต่างๆ แล้ว ภาพแผนที่ตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์จวบจนลักษณะภูมิศาสตร์ปัจจุบัน แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของปากแม่น้ำเจ้าพระยา 

ชื่อ “ทณบุรีศรีมหาสมุทร” กล่าวให้เห็นถึงบทบาททางเศรษฐกิจ สังคม การคมนาคมขนส่งเป็นความสำคัญของบางกอกที่เพิ่มมากขึ้นตามกาลเวลา รวมถึงการรักษาความมั่นคงของประเทศที่ป้อมป้องกันพระนคร หรือ “ป้อมวิไชยเยนทร์” เป็นประจักษ์พยานของอำนาจและความเป็นเนื้อเดียวกันของดินดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่เกิดขึ้นจากการขุดคลอง และส่งผลถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมในพื้นที่

การสถาปนากรุงธนบุรีภายหลังจากการกอบกู้เอกราชยังเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญ ทั้งการสร้างบ้านแปลงเมือง ถิ่นฐานและผู้คนที่มีการเคลื่อนย้าย มอญ แขกมุสลิม ญวน ลาว เขมร รวมถึงการสร้างพระราชวังสร้างขึ้นริมแม่น้ำปากคลองบางกอกใหญ่ จุดสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกประการหนึ่งคือ พระเจ้าตากสินทรงรวบรวมงานช่างตามแบบอยุธยา และจัดตั้งชุมชนตามผลิตภัณฑ์ที่ทำกัน เช่น บ้านช่างหล่อ บ้านบุ บ้านขมิ้น บ้านปูน ในบริเวณ “บางกอก” ผลที่ตามมาได้แก่เอกลักษณ์ของย่านวัฒนธรรมต่างๆ และที่จะขาดไม่ได้เลยคือ พืชสวน สภาพของดินที่เหมาะแก่การเพาะปลูกพืชสวน ทุเรียน หมาก พลู มะปราง ยังผลให้เกิดตลาดน้ำปากคลองบางกอกน้อย และการแลกเปลี่ยนสินค้าสัมพันธ์กับความเป็นอยู่ของชาวเรือนแพ และการเดินทางมาของผู้คนที่อาศัยอยู่ไกลออกไป อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน เราจะพบเพียงตลาดน้ำจำลองที่เขตตลิ่งชันที่ต้อนรับนักท่องเที่ยวในวันเสาร์-อาทิตย์ 

จากนั้น เรื่องราวดำเนินมาถึงการย้ายเมืองหลวงไปฝั่งพระนคร บางกอกน้อยในยุครัตนโกสินทร์ การขยายตัวของกรุงเทพมหานคร ยังคงความสำคัญในระดับหนึ่งดังจะเห็นได้จาก วัง (พระราชวังเดิม พระนิเวศน์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ วังสวนลิ้นจี่ วังสวนมังคุด) เรือนแพ อู่ต่อเรือที่มีมาตั้งแต่ยุคต้นรัตนโกสินทร์ ทั้งนี้ ฝรั่งนิยมมาต่อเรือในไทย เพราะค่าแรงที่ถูกและวัสดุที่ราคาไม่สูง จากเรือขุด เรือสำเภา จนถึงเรือกำปั่นแบบฝรั่ง 

ส่วนข้อมูลย่อยที่ยังปรากฏในพิพิธภัณฑ์ยังประกอบด้วยเรื่องราวของบุคคลสำคัญของบางกอกน้อย (สุนทรภู่, กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ กรมพระราชวังกลัง, หม่อมราโชทัย – หม่อมราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูร, สมเด็จพระพุฒจารย์ – โต พรหมรังสี) และสถานที่สำคัญ (สถานีรถไฟบางกอกน้อย โรงพยาบาลศิริราช กรมอู่ทหารเรือ พิพิธภัณฑ์เรือพระราชพิธี)

ศิลปะและภูมิปัญญา โบราณสถานและโบราณวัตถุ ได้แก่ หอพระไตรปิฎก วัดระฆังโฆสิตาราม, พระมณฑปพระพุทธบาทจำลอง วัดอัมรินทราราม, วิหารหลวงพ่อโบสถ์น้อย, ธรรมาสน์สมัยอยุธยา วัดพระยาทำ, หลวงพ่อคูหาศักดาเดช, หีบพระไตรปิฎกลายรดน้ำ วัดศรีสุดาราม, ทวารบาลแบบจีน (เซี่ยวกาง) เส้นทางท่องเที่ยวบางกอกน้อย อันได้แก่ (1) ล่องเรือคลองบางกอกน้อย – คลองชักพระ – ตลาดน้ำตลิ่งชัน – ตลองมอญ (2) เดินชมพิพิธภัณฑ์ในโรงพยาบาลศิริราช – ย่านวังหลัง – วัดระฆังฯ (3) เดินชมสถานีรถไฟ – วัดอัมรินทราราม – โรงรถจักรไอน้ำ – บ้านบุ – วัดสุวรรณาราม – วัดศรีสุดาราม

นอกจากภาพและคำบรรยายที่เป็นรูปแบบการจัดแสดงหลักของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ฉากการจำลองยังเป็นการเล่าเรื่องที่สำคัญของการบอกเล่าประวัติศาสตร์ของพิพิธภัณฑ์ ป้อมวิไชยเยนทร์จำลองขึ้นเพื่อย้ำถึงความเป็นชาวบางกอก ความรุ่งเรือง และจวบจนรัตนโกสินทร์สมัย และการจำลองฉากบ้านในชุมชนตามอาชีพ (บ้านช่างหล่อ ตรอกมะตูม บ้านบุ กระบี่กระบองบ้านบุ) รวมทั้งมุมภาพเก่าเล่าเรื่อง “ย้อนอดีตชาวบางกอกน้อย” ยังช่วยให้จินตนาการบางกอกน้อยในอดีตย้อนกลับมาเติมเต็มกับผู้ชมที่ยังเยาว์วัย

แม้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จะเต็มไปด้วยเรื่องราวทีน่าสนใจ ฉากการจัดแสดงที่ลงทุนไปไม่น้อยเพื่อจูงใจให้ผู้ชมสร้างภาพของความเป็นบางกอกน้อยจาก “ย่าน” ต่างๆ ที่มีอยู่ในพื้นที่ แต่การบริหารจัดการของกรุงเทพมหานครที่ขาดความเข้าใจในกระบวนการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น กระบวนการที่จะต้องให้มีการสร้างเสริมเพิ่มเติมความรู้ และการต้องเปิดโอกาสให้เจ้าของวัฒนธรรมได้เข้ามาร่วมกำหนดทิศทางของพิพิธภัณฑ์ หรือเรื่องราวที่จะบอกเล่าเพิ่มเติมไปในอนาคต ห้องจัดแสดงเรื่องราวความเป็นมาของบางกอกน้อยนี้จึงไม่ได้รับใช้ทั้งคนบางกอกน้อยหรือแม้กระทั่งนักท่องเที่ยว เทียบเท่ากับชุมชนบางกอกน้อยที่ตั้งอยู่กว่า 200 ปี

ข้อมูลจาก: การสำรวจภาคสนาม วันที่ 11 มกราคม 2550
ชื่อผู้แต่ง:
-