พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตบางกอกใหญ่


ที่อยู่:
ร.ร.ฤทธิณรงค์รอน 554 ซอยเพชรเกษม 2 แขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ 10600
โทรศัพท์:
0-2472-5542,0-2585-5101
วันและเวลาทำการ:
เปิดอังคาร - อาทิตย์ เวลา 9.00 - 16.30 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
ปีที่ก่อตั้ง:
2548

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

คู่มือท่องเที่ยว พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตบางกอกใหญ่

ชื่อผู้แต่ง: กองการท่องเที่ยว สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร | ปีที่พิมพ์: มปป.

ที่มา: กรุงเทพฯ:กองการท่องเที่ยว สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตบางกอกใหญ่

ภายหลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้บ้านเมืองได้สำเร็จในปี พ.ศ.2310 ทรงเลือกกรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่แทนกรุงศรีอยุธยาที่ทรุดโทรม ภายหลังรัชกาลที่ 1ได้ทรงย้ายเมืองหลวงมาฝั่งพระนคร เขตบางกอกใหญ่ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของกรุงธนบุรีจึงถือได้ว่าเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวิติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งธนบุรี

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตบางกอกใหญ่เป็นอีกแห่งที่จัดนิทรรศการที่แสดงความเป็นศูนย์กลางของธนบุรีของเขตบางกอกใหญ่แสดงภาพการสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี คุณศิริพร ทองเลิศ อาสาสมัครผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ผู้ซึ่งรักในอาชีพอาสาสมัครดูแลพิพิธภัณฑ์แห่งนี้มาก เพราะเธอเป็นคนท้องถิ่น คนคลองบางหลวง หรือคลองบางกอกใหญ่โดยกำเนิด เธอได้บอกเล่าให้เราฟังว่า พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เปิดเมื่อปลายปี พ.ศ.2548 แบ่งการจัดแสดงออกเป็น 5ซุ้มด้วยกัน ในซุ้มแรกจัดแสดงความเป็นศูนย์กลางของธนบุรีดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ถัดไปแสดงภาพและประวัติของพระราชวังเดิม และโบราณสถานสำคัญๆ ในบริเวณพระราชวังเดิมรวมถึงการแสดงภาพพระอารามสำคัญในเขตบางกอกใหญ่ เช่น วัดอรุณราชวราราม วัดโมลีโลกยาราม วัดหงส์รัตนาราม วัดราชสิทธาราม วังสังข์กระจาย วัดเครือวัลย์ วัดเจ้ามูล และวัดประดู่

สิ่งที่เห็นเด่นชัดในส่วนถัดไป คือ การจำลองป้อมวิไชยประสิทธิ์เดิมชื่อ "ป้อมวิไชยเยนทร์”สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยเจ้าพระยาวิไชยเยนทร์ กราบบังคมทูลแนะนำให้สร้างขึ้น พร้อมป้อมทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสถาปนา กรุงธนบุรีเป็นราชธานีได้ทรงสร้างพระราชวังในบริเวณป้อมแห่งนี้พร้อมกับปรับปรุงบูรณะ และพระราชทานนามใหม่ว่า "ป้อมวิไชยประสิทธิ์" ปัจจุบันป้อมวิไชยประสิทธิ์ใช้เป็นที่ยิงสลุตในพิธีสำคัญต่างๆ และติดตั้งเสาธงเพื่อประดับธงราชนาวี และธงผู้บัญชาการทหารเรือ

ถัดลงมาจะพบกับภาพของบ้าน และโรงพิมพ์ของหมอบรัดเลย์ หรือ ดร.แดน บีช บรัดเลย์ มิชชันนารีชาวอเมริกัน ผู้นำแท่นพิมพ์และตัวพิมพ์จากสิงคโปร์เข้ามาในเมืองไทย กับตัวพิมพ์ภาษาไทยที่สามารถหล่อสำเร็จเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2384 ผลงานสำคัญของหมอบรัดเลย์คือการพิมพ์หนังสือพิมพ์ฉบับแรกของกรุงสยามชื่อ “บางกอกรีคอเดอร์” และจัดแสดงหนังสือฉบับสำเนาของหนังสือ “ประถม ก กา แจกลูกอักษร แลจินดามุนีกับ ประถมมาลา แล ปทานุกรม” ของหมอ บรัดเลย์ ซึ่งมีโรงพิมพ์ตั้งอยู่บริเวณปากคลองบางหลวงหลังป้อมวิไชยประสิทธิ์นั่นเอง

วิถีชีวิตชุมชนและผู้คนในบางกอกใหญ่ ซึ่งเดิมเป็นสวนผลไม้ที่ขึ้นชื่อหลายชนิด เช่น ส้มโอ ส้มเกลี้ยง มะม่วงอกร่อง มะม่วงพราหมณ์ขายเมีย ชมพู่สีนาก ชมพู่มะเหมี่ยว ลำไยเพกา ลำไยอีแดง และมะไฟอีกหลายพันธุ์ ซึ่งผลไม้บางชนิด หรือบางพันธุ์เรายังไม่เคยได้ยินเลยด้วยซ้ำไป

ส่วนนี้ได้จัดแสดงภาพประเพณีและวัฒนธรรมที่สำคัญในเขตบางกอกใหญ่ คือ งานแห่ผ้าไตรหลวงพ่อเกษร วัดท่าพระ ประเพณีสงกรานต์วัดอรุณ และที่สำคัญคือ จัดแสดงเรื่องรางพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ที่มีต่อเขตบางกอกใหญ่

การดำเนินชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในบางกอกใหญ่ เช่น แขกจาม-เปอร์เซีย ที่เข้ามาในสมัยกรุงศรีอยุธยา แขกเจ้าเซ็น แขกเปอร์เซียที่เข้ามาในสมัยกรุงธนบุรี ซึ่งมีภาพของแขกเจ้าเซ็นเข้าร่วมพิธีเจ้าเซ็น หรือพิธีมะหะหร่ำ และภาพของสำรับแขกคลองบางหลวงและตัวอย่าง4-5 ชนิดให้เราได้ชม เช่น มัสมั่น อาจาด หลุ่ม เป็นต้น

ส่วนสุดท้ายจัดแสดงเกี่ยวกับคลองบางกอกใหญ่-บางหลวง กับถิ่นฐานย่านขุนนาง เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี ได้ทรงสร้างพระราชวังขึ้นที่ปากคลองนี้ สันนิษฐานว่าเป็นที่มาของชื่อคลองบางหลวง หมายถึงถิ่นพำนักของหลวง หรือพระเจ้าแผ่นดิน ต่อมาในสมัยกรุงรัตน์โกสินทร์ มีการย้ายที่ตั้งราชธานีไปอยู่ฝั่งพระนคร คลองบางหลวงก็ยังเป็นแหล่งที่ขุนนางข้าราชการตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัย จึงกลายเป็นถิ่นฐานย่านขุนนางของกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งภายในพิพิธภัณฑ์แสดงตัวอย่างบ้านขุนนางในคลองบางหลวงด้วย

บ้านขุนนางที่ยังมีให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน อย่างเช่น บ้านของคุณหลวงฤทธิณรงค์รอน ซึ่งปัจจุบันได้จัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์บ้านคุณหลวงฤทธิณรงค์รอน และอาณาบริเวณของบ้านคุณหลวงเป็นที่ตั้งของโรงเรียนฤทธิณรงค์รอน

เรื่อง/ภาพ : ณัฐพัชร์ ทองคำ

สำรวจ : 24 เมษายน 2551

ชื่อผู้แต่ง:
-