โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 22/01/2552
ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 22/01/2552
ที่มา: เนชั่น
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 23/01/2552
ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 26-01-2552
ที่มา: ไทยโพสต์
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 29-01-2552
ที่มา: ข่าวสด
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 29-01-2552
ที่มา: คม ชัด ลึก
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: เนติ โชติช่วงนิธิ | ปีที่พิมพ์: 29-01-2552
ที่มา: สยามรัฐ
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 31-01-2552
ที่มา: ข่าวสด
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: Sirikul Bunnag | ปีที่พิมพ์: 28/01/2552
ที่มา: Bangkok Post
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: วิชญดา ทองแดง | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 ม.ค.-มี.ค. 2554;Vol.37 No.1 Jan-Mar 2011
ที่มา: วารสารเมืองโบราณ
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 03 ธันวาคม 2556
ชื่อผู้แต่ง: หนุ่มลูกทุ่ง | ปีที่พิมพ์: 19 ม.ค. 2553;2010-01-19
ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 23 พฤษภาคม 2557
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของมหามณฑปหลวงพ่อทองคำ วัดไตรมิตรวิทยาราม
เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2552 นายธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วยคณะผู้บริหารวธ.ได้เดินทางมากราบนมัสการพระเทพภาวนาวิกรม (เจ้าคุณธงชัย) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม จากนั้นได้ตรวจเยี่ยมความคืบหน้า การจัดสร้างพระมหามณฑป ประดิษฐานพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร (หลวงพ่อทองคำ) พระเทพภาวนาวิกรม เปิดเผยว่า ใช้เวลาจัดสร้างมณฑป 1 ปี 4 เดือน โดยการออกแบบและควบคุมการก่อสร้างของ นาวาเอกอาวุธ เงินชูกลิ่น ศิลปินแห่งชาติ เพื่อประดิษฐานหลวงพ่อทองคำ ซึ่งเริ่มดำเนินการก่อสร้างในวาระมหามงคล ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เจริญพระชนมายุครบ 80 พรรษา เมื่อปี 2550 ในขณะนี้สร้างแล้วเสร็จ 95 เปอร์เซ็นต์ภายในมหามณฑป แบ่งออกเป็น 4 ชั้น โดยชั้น 2 ได้จัดนิทรรศการแสดงถึงความสัมพันธ์ไทย-จีน ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน โดยมีการใช้สื่อมัลติมีเดียมาประกอบการนิทรรศการ ซึ่งดึงดูดความสนใจผู้เข้าชมเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ยังมีการจัดนิทรรศการสมัยกรุงศรีอยุธยาและสมัยรัตนโกสินทร์ตอน ต้น ได้จัดให้เป็นท้องเรือสำปั้นหัวแดง อันเป็นพาหนะที่ชาวจีนอพยพมาตั้งถิ่นฐานในเมืองไทย ถัดมาเป็นห้องแสดงประวัติย่อ ของคนจีนที่เข้ามามีบทบาทในเมืองไทย อาทิ เจ้าสัวเนียม พระยาโชฏึกราชเศรษฐี นายชิน โสภณพนิช เป็นต้น สุดท้ายเป็นห้องแสดงพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ในด้านความสัมพันธ์ไทย-จีน
ส่วนชั้น 3 เป็นการจัดแสดงพระพุทธศาสนา และประวัติของพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร มีการแสดงเศษปูนที่ติดอยู่รอบองค์พระ ซึ่งมีการสันนิษฐานว่าเป็นการพอกปูนเพื่อป้องกันไม่ให้ไปข้าศึกนำไฟมารน เพื่อนำทองกลับไป เมื่อปี 2488 จึงมาทราบความจริง หลังเหตุการณ์เชือกรอกที่กว๊านองค์พระขาด ทำให้องค์พระตก ส่งผลให้ปูนกะเทาะ เหตุการณ์นี้เองทำให้สังคมทราบความจริงว่า มีพระพุทธรูปทองคำใหญ่ที่สุดในโลกที่กินเนสบุ๊กส์บันทึกไว้
พระเทพภาวนาวิกรม เปิดเผยว่า นับจากวันที่ 31 ธันวาคมที่ผ่านมา มีชาวไทยและต่างประเทศ สนใจเดินทางมากราบนมัสการ พระประธานในพระอุโบสถ เพื่อความเป็นสิริมงคลเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะวันเสาร์และอาทิตย์ จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางมากราบนมัสการถึง 5 พันคน เชื่อว่าช่วงเทศกาลตรุษจีนจะมีประชาชนเดินทางมากขึ้น
ในวันที่ 26 มกราคม 2552 เวลา 17.00 น.สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นประธานเปิดงานวันตรุษจีน ที่วงเวียนโอเดียน หลังจากนั้นจะเสด็จพระราชดำเนินมาวัดไตรมิตร เพื่อทรงเปิดนิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ที่ทรงพระกรุณาพระราชทาน 10 ภาพ ซึ่งเป็นภาพถ่ายเมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินปักกิ่งเกมส์ ประเทศจีน
ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 27 มกราคม ถึง 8 กุมภาพันธ์ 2552 จะเปิดให้ผู้ที่สนใจเข้าชมนิทรรศการบริเวณชั้น 2 และ 3 โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ส่วนชั้น 4 หลวงพ่อทองคำ ยังไม่เปิดให้กราบนมัสการ เนื่องจากรอพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ มาเปิดอย่างเป็นทางการ
ที่มา : http://manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000007562
คลิกอ่าน " พิพิธภัณฑ์ในพระมหามณฑปฯวัดไตรมิตรฯ" โดยวิชญดา ทองแดง, วารสารเมืองโบราณ
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
วัดไตรมิตรงามวิจิตรพระทองคำ เลิศล้ำพิพิธภัณฑ์เยาวราช
ไม่ได้ไปเยือนแถวเยาวราชเสียนาน เมื่อโฉบเฉี่ยวไปฉันก็ถึงกับตกตะลึงในความยิ่งใหญ่สวยงามของพระมหามณฑปของวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่บริเวณส่วนหัวของมังกรในความเชื่อเรื่องถนนสายมังกร โดยวัดนี้เดิมเป็นวัดโบราณชื่อว่า "วัดสามจีน" เนื่องจากเชื่อว่าผู้ที่สร้างวัดเป็นชาวจีนกลุ่มแรกๆ ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองไทย ในจำนวนนั้นมีชาวจีน 3 คนที่สร้างเนื้อสร้างตัวจนร่ำรวยเป็นเจ้าสัว มีจิตศรัทธาร่วมใจกันสร้างวัดแห่งนี้ขึ้น จึงเรียกว่าวัดสามจีน แต่ภายหลังจากที่มีการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร”เปิดพิพิธภัณฑ์เยาวราช รับตรุษจีน
ศูนย์ประวัติศาสตร์เยาวราช เป็นการจัดแสดงเรื่องราวของชุมชนเยาวราช ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น ไชน่าทาวน์เมืองไทย เป็นย่านการค้าสำคัญที่มีความเจริญรุ่งเรืองมายาวนาน โดยเกิดจากการก่อร่างสร้างตัวของชาวจีนที่เข้ามาอยู่ในเมืองไทย และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระมหากษัตริย์ไทยให้อยู่ในแผ่นดินไทยอย่างสงบสุขตลอดมา เนื้อหาของเรื่องราวที่จัดแสดงจึงมุ่งเพื่อนำเสนอถึงสาระว่าด้วยความเจริญรุ่งเรืองของย่านดังกล่าว ที่เกิดจากการต่อสู้ชีวิต และปรับตัวอย่างชาญฉลาด กับโอกาสที่ได้รับจากสังคมไทย ของชาวจีนในย่านนั้นพิพิธภัณฑ์ในพระมหามณฑปฯวัดไตรมิตรฯ
พระเทพภาวนาวิกรม หรือ “เจ้าคุณธงชัย” ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร (วัดสามจีนใต้) ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญหลายแขนงมาร่วมตีความไขปริศนาในโครงการเสวนาวิชาการ ครั้งที่ ๑ “หลวงพ่อทองคำ...ถอดรหัสพุทธศิลป์สู่พุทธธรรม” เพื่อประกาศต่อสากลโลกว่า “พระพุทธรูปทอง” ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงไม่ได้ถูกทำลายหรือสูญหาย หากแต่ได้มาประดิษฐาน ณ วัดไตรมิตรฯ ในนาม “พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร” หรือ “หลวงพ่อทองคำ”แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
ศูนย์ประวัติศาสตร์เยาวราช
ศูนย์ประวัติศาสตร์เยาวราช จัดแสดงที่ชั้น 2 ของพระมหามณฑปเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาค่ะ ส่วนนิทรรศการหลวงพ่อทองคำ ที่จัดแสดงชั้น3แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
เยาวราช พระพุทธรูปทองคำ ชาวจีน วัดไตรมิตร ไชน่าทาวน์
พิพิธภัณฑ์สุนทรภู่
จ. กรุงเทพมหานคร
พิพิธภัณฑ์เครื่องเล่นกระบอกเสียงและหีบเสียงไทย
จ. กรุงเทพมหานคร
พิพิธภัณฑ์นักศึกษาวิชาทหาร
จ. กรุงเทพมหานคร