วังสวนผักกาด เป็นสถานที่แห่งแรกในประเทศไทยที่เจ้าของบ้าน คือ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต หรือ เสด็จในกรมฯ และ หม่อมราชวงศ์พันธุ์ทิพย์ บริพัตร หรือ "คุณท่าน" ได้เปิดบ้านซึ่งหลายคนรู้จักในนาม "วังสวนผักกาด" ให้บุคคลภายนอกเข้าชมในขณะที่ท่านเจ้าของยังคงใช้เป็นที่พำนักนับแต่ พ.ศ. 2495 เป็นต้นมา วัตถุที่จัดแสดงเป็นของสะสมของเจ้าของบ้าน มีทั้งโบราณวัตถุและงานศิลปะแขนงต่างๆ พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาดตั้งประกอบด้วยเรือนไทยโบราณ 8 หลัง และมีหอเขียนอยู่ทางทิศใต้ นอกจากนี้ยังมีพิพิธภัณฑ์บ้านเชียง และห้องศิลปนิทรรศมารศีจัดแสดงอยู่ในศิลปาคารจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
ชื่อผู้แต่ง: กองการท่องเที่ยว สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร | ปีที่พิมพ์: -
ที่มา: กรุงเทพฯ: กองการท่องเที่ยว สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร | ปีที่พิมพ์: 2545
ที่มา: พิพิธภัณฑ์ไทยในศตวรรษใหม่. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: สรวงมณท์ สิทธิสมาน | ปีที่พิมพ์: 5/4/2548
ที่มา: ผู้จัดการรายวัน
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: สุภัทรดิศ ดิศกุล | ปีที่พิมพ์: ปีที่8ฉบับที่ 9 ก.ค. 2530
ที่มา: ศิลปวัฒนธรรม
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: สุภัทรดิศ ดิศกุล | ปีที่พิมพ์: 2517
ที่มา: กรุงเทพฯ:กรมศิลปากร
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: หนุ่มลูกทุ่ง | ปีที่พิมพ์: 8/6/2548
ที่มา: ผู้จัดการรายวัน
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: หนุ่มลูกทุ่ง | ปีที่พิมพ์: 15 มี.ค. 2556;15-03-2013
ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 27 มีนาคม 2558
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของพิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด
วังสวนผักกาดเคยเป็นที่ประทับของพลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์วรศักดิ์พินิต หรือ "เสด็จในกรมฯ" และ ม.ร.ว.พันธุ์ทิพย์ บริพัตร หรือ "คุณท่าน" ผู้เป็นชายาเสด็จในกรมฯ พระองค์นี้ทรงเป็นพระนัดดา (หลาน) ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และสมเด็จพระนางเจ้าสุขมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ชื่อวัง "สวนผักกาด" ตั้งตามลักษณะของพื้นที่เดิม ซึ่งเป็นสวนผักกาดของชาวจีนพิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาดเกิดจากการที่ "เสด็จในกรมฯ" และ "คุณท่าน" คระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาและคุณค่าของศิลปวัฒนธรรม นับเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกของประเทศไทยที่เจ้าของซึ่งเป็นเจ้านายเปิดให้บุคคลภายนอกเข้าชมขณะที่ท่านใช้ที่นี่เป็นที่ประทับ ตั้งแต่ พ.ศ. 2495
หลังจากที่ "เสด็จในกรมฯ" สิ้นพระชนม์ใน พ.ศ.2502 "คุณท่าน" ได้ดำเนินการต่อจากที่เสด็จในกรมฯทรงทำไว้โดยเฉพาะการอนุรักษ์โบราณวัตถุและศิลปวัฒนธรรม มีการก่อตั้งมูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ใน พ.ศ.2511 และท่านได้มอบพิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาดให้เป็นสมบัติของมูลนิธิฯ จนถึงปัจจุบัน
โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ รวมทั้งของใช้ส่วนตัวของสะสมของราชสกุล "บริพัตร" ได้รับการจัดแสดงอยู่ในหมู่เรือนไทยและอาคารต่างๆ ได้แก่
หมู่เรือนไทย 8 หลัง มีหมู่เรือนไทยโบราณอายุกว่าร้อยปี เรือนไทยหลังที่ 1 ชั้นล่างเป็น "พิพิธภัณฑ์ดนตรีทูลกระหม่อมบริพัตรฯ" ก่อตั้งขึ้นเนื่องในวาระครบรอบ 120 ปี วันประสูติของหม่อม ฯ พระบิดาของเสด็จในกรมฯ ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็น "พระบิดาแห่งดนตรีไทย" จัดแสดงพระราชประวัติและเครื่องดนตรีไทย โดยกลางห้องจัดแสดงซอสามสาย เครื่องดนตรีประจำพระองค์ ภายในห้องชั้นบนด้านตะวันตก มีปราสาทจำลองทำด้วยไม้แกะสลักลงรักติดกระจกประดิษฐานพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง อายุรายพุทธศตวรรษที่ 18-19 พระพุทธรูปศิลปะคันธารราฐจากอินเดีย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 7-8 และพระพุทธรูปจากพม่า อายุราวต้นสมัยรัตนโกสินทร์
ห้องถัดมาจัดแสดงเทวรูปศิลปะขอมที่สำคัญ คือ เทวรูปของพระศิวะ(ด้านขวา) และพระอุมา(ด้านซ้าย) ซึ่งรวมอยู่ในร่างเดียวกันเรียกว่า "อรรธนารีศวร" อายุราวพุทธศตวรรษที่ 17-18
เรือนหลังที่ 2 บริเวณชานเรือน มีตู้พระไตรปิฎกลายรดน้ำสมัยอยุธยา จากวัดบ้านกลิ้ง จงพระนครศรีอยุธยาบนฝาผนังจัดแสดงตาลปัตรราชสกุลบริพัตร ชั้นล่าง เรียก "ถ้ำอาลีบาบา" จัดแสดงหินสวยงามที่คุณท่านสะสมไว้
เรือนหลังที่ 3 จัดแสดงโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ อาทิกลองมโหระทึกที่ใช้ในพิธีขอฝนและพิธีต่างๆ ภาพที่ชาวฝรั่งเศสเขียนขึ้นจากจินตนาการก่อนเดินทางมากรุงศรีอยุธยา
เรือนหลังที่ 4 จัดแสดงโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ อาทิ พระพุทธรูปสำริดชุปทองปางลีลา ศิลปะสุโขทัย (ราวพุทธศตวรรษที่ 19-20) งาช้างแกะสลักพระบฏแสดงพุทธประวัติสมัยรัตนโกสินทร์
เรือนหลังที่ 5 จัดแสดงของใช้ประจำพระองค์ของทูลกระหม่อมบริพัตรและเสด็จในกรมฯ อาทิ เครื่องแก้วเจียระไน เครื่องแก้วลายทอง เครื่องเงิน เครื่องกระเบื้อง ส่วนใหญ่นำมาจากประเทศต่างๆในยุโรป
เรือนหลังที่ 6 ส่วนใหญ่จัดแสดงเครื่องถ้วยชามสังคโลก ศิลปะสุโขทัย ซึ่งมีอายุประมาณ 600-700 ปี รวมทั้งเครื่องถ้วยชามสมัยซ้ง หยวน และหมิงของจีน
เรือนหลังที่ 7 พิพิธัณฑ์โขน จัดแสดงหัวโขนต่างๆ จากเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งมีขนาดเท่าของจริง เครื่องแต่งกาย ขั้นตอนการทำหัวโขน หุ่นละครเล็กพระรามกับนางสีดาและทศกัณฑ์กับหนุมาน ของนายสาคร ยังเขียวสด ศิลปินแห่งชาติปี 2539 สาขาศิลปะการแสดง ชั้นล่าง จัดแสดงหุ่นจำลองตอนศึกกุมรกรรณ ฝีมือคุณหญิงทองก้อน จันทวิมลผู้ชมสามารถกดปุ่มชมการแสดงสั้น ๆ ประมาณ 7 นาที
เรือนหลังที่ 8 จัดแสดง"วัฒนธรรมบ้างเชียง" สมัยก่อนประวัติศาสตร์ อายุประมาณ 1,800 - 5,600 ปี ขุดพบที่ จ.อุดรธานี อาทิ ภาชนะดินเผา เขียนสีแดง สร้อยลูกปัด หัวขวาน หัวธนู กำไลแขน คอและแหวน
หอเขียน ถือเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นเอกของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เรือนหลังนี้เดิมอยู่ที่วัดบ้านกลิ้ง จงพระนครศรีอยุธยา สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ราวพุทธศตวรรษที่ 22-23) "เสด็จในกรมฯ" และ "คุณท่าน" ได้ทำผาติกรรมไถ่ถอนย้ายมาที่วังสวนผักกาดและซ่อมแซมตัวเรือนและภาพลายรดน้ำจากนั้น "เสด็จในกรมฯ"ทรงประทานหอเขียนเป็นของขวัญแก่ "คุณท่าน" เมื่ออายุครบ 50 ปี ในวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2502
ภายนอกหอเขียนที่เป็นภาพสลักนั้นลบเลือนหมดแล้ว ส่วนชั้นในแกะสลักลวดลายพรรณไม้และสรรพสัตว์ ช่องหน้าต่างเป็นศิลปะแบบซาราเซนิค (Sarasenic) ของอาหรับ ภาพลายรดน้ำเป็นเรื่องราวพุทธประวัติ โดยเฉพาะภาพเมรุถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้า ส่วนล่างเป็นเรื่องรามเกียรติ์และเหตุการณ์ที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ส่งราชทูต ฝรั่งเศสเข้ามาเจริญสัมพันธ์ไมตรี ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แสดงให้เห็นขนบธรรมเนียมในราชสำนัก
ศิลปคารจุมภฏ - พันธุ์ทิพย์ บริเวณชั้น 2 เป็นพิพิธภัณฑ์บ้านเชียง โบราณวัตถุที่นำมาจัดแสดงอายุประมาณ 4,000 ปี (ระหว่าง 5,600 ถึง 1,950 ปีมาแล้ว) ตั้งแต่สมัยหินใหม่จนถึงวัฒนธรรมการใช้สำริดเหล็ก และวัฒนธรรมการปลูกข้าวที่ถือได้ว่าเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก อาทิ ภาชนะดินเผาลายเขียนสีลายงูและ ภาชนะดินเผาลายเชือกทาบ ขวานสำริด กำไลคอสำริด กำไลหิน ลูกปัดแก้ว
วัฒนธรรมบ้านเชียงนับเป็นวัฒนธรรมก่อนประวัติศาสตร์ที่มีความต่อเนื่องและให้ข้อมูลที่สมบูรณ์ที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มรดกวัฒนธรรมบ้านเชียงยังได้เปิดโลกความรู้ใหม่เกี่ยวกับพัฒนาการของอดีตของมนุษยชาติ คือ การดำรงอยู่ของเทคโนโลยีโลหกรรมในชุมชนหมู่บ้านเกษตรกรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในบริเวณภาคตะวันออกแยงเหนือของไทย
เรือนพระที่นั่งเก้ากึ่งพยาม เดิมเป็นเรือนพระที่นั่งคราวเสด็จประพาสต้น ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแก่ทูลกระหม่อมบริพัตร เรือลำนี้มีขนาด 9 วาครึ่ง ตัวเรือทำด้วยไม้ตะเคียนทอง และเก๋งเรือทำด้วยไม้สักทอง
ข้อมูลจาก :
1. แปลน รีดเดอร์ส. 100 พิพิธภัณฑ์กรุงเทพฯ-ปริมณฑล: โลกกว้างอยู่ไม่ไกล. กรุงเทพฯ : แปลนพริ้นติ้งแอนด์พับลิงชิ่ง, 2546. หน้า 52.
2. http://www.suanpakkad.com
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
ยลความงามเมื่อครั้งอดีตที่ "วังสวนผักกาด"
แม้ว่ากรุงเทพฯในยุคโลกาภิวัตน์จะเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยความพลุกพล่านวุ่นวาย และมากมายไปด้วยแท่งคอนกรีตที่ขึ้นเบียดเสียดกันอยู่เต็มบ้านเต็มเมือง แต่กระนั้นกรุงเทพฯก็ยังมีบางสถานที่ และบางมุมที่ถือเป็นมุมสงบ มุมโรแมนติก และมุมสวยงาม รวมถึงเป็นมุมที่อบอวลไปด้วยกลิ่นอายแห่งอดีตที่น่าสนใจและน่าปลดปล่อยอารมณ์ให้ล่องลอยไป ซึ่ง"พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด" นับเป็นหนึ่งในนั้น "พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด"หรือที่คนส่วนใหญ่มักจะเรียกสั้นๆว่า "วังสวนผักกาด"นั้น ถือเป็นหนึ่งในมุมสงบอันสวยงามของกรุงเทพฯที่ตั้งอยู่บน ถ.ศรีอยุธยา ซึ่งเป็นเส้นทางที่จะไปประตูน้ำและสยามสแควร์สัมผัสมรดกวัฒนธรรม ชมของโบราณล้ำค่า ที่ “วังสวนผักกาด”
ฉันเองแม้ไม่ได้เป็นคนกรุงเทพฯ แต่ทั้งอาศัยและทำงานอยู่ในกรุงเทพฯ ก็ร่วมลุ้นไปกับเขาด้วยอย่างใจจดจ่อ และเพื่อให้เข้ากับผลการเลือกตั้งที่ออกมา วันนี้ฉันเลยอยากพามาเยี่ยมบ้านคุณชายที่ “วังสวนผักกาด” แต่จะเรียกว่ามาเยี่ยมคงจะไม่ถูก เพราะแท้จริงแล้วฉันตั้งใจมาที่วังสวนผักกาดนี้เพื่อชมโบราณวัตถุล้ำค่าที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งที่ “พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด” ด้วยอีกเหตุผลหนึ่ง เผื่อเป็นทางเลือกให้คนที่สนใจตามมาเที่ยวในวันหยุดเสาร์อาทิตย์แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
พระพุทธรูป บริพัตร กลองมโหระทึก บ้านเชียง เครื่องปั้นดินเผา มูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ วังสวนผักกาด
พิพิธภัณฑ์ภายในโรงเรียนเซนต์คาเบรียล
จ. กรุงเทพมหานคร
หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ
จ. กรุงเทพมหานคร
บริการสารนิเทศเฉพาะสาขา ชนเผ่าไท-กะได
จ. กรุงเทพมหานคร