พิพิธภัณฑ์หนังสือพิมพ์ไทย


พิพิธภัณฑ์ก่อตั้งโ่ดยสมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษา ค้นคว้าและรวบรวมเอกสารหลักฐานต่างๆ ในวงการวิชาชีพหนังสือพิมพ์ไทย ตั้งอยู่บนชั้นสองของอาคาร ชาตรี โสภณพนิช ภายในบริเวณสมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ภายในแบ่งเป็นส่วนจัดแสดงต่างๆ ได้แก่ ส่วนต้นแบบ ซึ่งหมายถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระองค์ท่านทรงเป็นองค์ปฐม เริ่มกิจการทางด้านการ ส่วนจัดแสดงต่อมาคือ ห้องหนังสือพิมพ์จำลอง เป็นการจำลองการทำงานของกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ตั้งแต่ผู้สื่อข่าว บรรณาธิการ และช่างเรียงพิมพ์ และอุปกรณ์ที่ใช้ในสมัยนั้นเช่น โต๊ะนักข่าวเป็นโต๊ะที่ใช้รวมสำหรับประชุมข่าวและใช้เขียนข่าว เป็นต้น

ที่อยู่:
ชั้น 2 อาคารสมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เลขที่ 299 ถ.ราชสีมา เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทรศัพท์:
0-2243-5876, 0-2669-7124-6
วันและเวลาทำการ:
จันทร์-ศุกร์ 10.00-15.00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2531
ของเด่น:
แหล่งเรียนรู้ทางด้านการพิมพ์ ประวัติหนังสือพิมพ์ไทย
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

โฉมหน้าหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของไทย

ชื่อผู้แต่ง: เอนก นาวิกมูล | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 12 ฉบับ 9 (ก.ค. 2534)

ที่มา: ศิลปวัฒนธรรม

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

65 ปี สมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 2549

ที่มา: กรุงเทพฯ: สมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

66 ปี สมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 2550

ที่มา: กรุงเทพฯ: สมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์หนังสือพิมพ์ไทยหน้าตาของวงการหนังสือพิมพ์

ชื่อผู้แต่ง: บุตรดา ศรีเลิศชัย | ปีที่พิมพ์: 16-05-2540

ที่มา: เดลินิวส์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์หนังสือพิมพ์ไทยความฝันที่ใกล้เป็นจริงของสมาคมหนังสือพิมพ์

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 09-05-2534

ที่มา: สยามรัฐ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ย้อนรอยวันนักข่าวที่ “พิพิธภัณฑ์หนังสือพิมพ์ไทย”

ชื่อผู้แต่ง: หนุ่มลูกทุ่ง | ปีที่พิมพ์: 8 มี.ค. 2554;08-03-2011

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 12 พฤษภาคม 2557


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์หนังสือพิมพ์ไทย

พิพิธภัณฑ์ ตั้งอยู่บนชั้นสองของอาคาร ชาตรี โสภณพนิช ภายในบริเวณสมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย อาจารย์พลาดิสัย สิทธิธัญกิจ ประธานฝ่ายจัดอบรมของสมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์หนังสือพิมพ์ไทยแห่งนี้กล่าวว่า พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จัดขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษา ค้นคว้าและรวบรวมเอกสารหลักฐานต่างๆ ในวงการวิชาชีพหนังสือพิมพ์ไทย

ภายในแบ่งเป็นส่วนจัดแสดงต่าง ๆ ส่วนแรกเรียกว่า ส่วนต้นแบบ ซึ่งหมายถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระองค์ท่านทรงเป็นองค์ปฐม เริ่มกิจการทางด้านการพิมพ์ และเป็นบรรณาธิการในหนังสือพิมพ์ราชกิจจานุเบกษา หนังสือพิมพ์ฉบับแรกของคนไทย และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ที่ทรงเป็นกษัตริย์นักหนังสือพิมพ์ และพระองค์ทรงออกพระราชบัญญัติเรื่องสมุด หรือเรื่องหนังสือ อีกด้วย บริเวณนี้มีคอมพิวเตอร์ระบบมัลติมีเดียให้ผู้ชมค้นคว้าและเรียนรู้ถึงพระ ปรีชาสามารถของทั้ง 2 พระองค์

ส่วนจัดแสดงต่อมาคือ ห้องหนังสือพิมพ์จำลอง เป็นการจำลองการทำงานของกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ตั้งแต่ผู้สื่อข่าว บรรณาธิการ และช่างเรียงพิมพ์ และอุปกรณ์ที่ใช้ในสมัยนั้นเช่น โต๊ะเก้าอี้ไม้แบบเก่า โต๊ะนักข่าวเป็นโต๊ะที่ใช้รวมสำหรับประชุมข่าวและใช้เขียนข่าว มีหุ่นเท่าคนจริงที่จำลองเป็นผู้ทำหน้าที่เป็นเจ้าของและบรรณาธิการนั่งอยู่ กลางห้องจำลองสีหน้าดูเคร่งเครียด และนักข่าวที่กำลังตั้งอกตั้งใจพิมพ์งาน ท่าทางเหมือนจะรีบพิมพ์ข่าวให้ทันปิดเล่มวันนี้ และช่างเรียงพิมพ์ที่กำลังจัดเรียงตัวอักษรทีละตัว ด้านหน้าของห้องจำลองมีคอมพิวเตอร์ระบบมัลติมีเดีย บอกเรื่องราวของหนังสือพิมพ์ไทยในอดีต กองบรรณาธิการ และการทำงานของนักข่าวในอดีต ให้เราได้ศึกษาด้วยตนเองเช่นกัน

กลางห้องของพิพิธภัณฑ์จัดแสดงหนังสือพิมพ์ L’ILLUSTRATION ค.ศ.1893 ฉบับจริง ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสที่ลงข่าวเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ไทย เสด็จประพาสยุโรป

ผนังอีกด้านแสดงภาพระบบมัลติมีเดีย เสนอข่าวและข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ที่สำคัญบนจอขนาดใหญ่ให้เห็นได้ชัดเจน

ถัดมานำเสนอประวัติและผลงานของนักหนังสือพิมพ์คนสำคัญ เช่น ตวส. วรรณาโก (เทียนวรรณ) พระราชวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยลาภพฤติยาลงกรณ์ (น.ม.ส.) พระเจ้าวงวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช กุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา)

ฝั่งตรงข้ามกันเป็น ห้องนิทรรศการหนังสือพิมพ์ไทย ด้านหน้าห้องประดับภาพฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภายในห้องนิทรรศการ มีภาพของหนังสือพิมพ์และนิตยสารหัวต่างๆ พร้อมประวัติความเป็นมา ซึ่งผู้สนใจสามารถหยิบยืมชุดนิทรรศการเหล่านี้ไปจัดแสดงได้

บริเวณโดยรอบของห้องจัดแสดง ยังมีเครื่องมือผลิตหนังสือพิมพ์ตั้งแต่ดั้งเดิมให้ได้ชม อาทิ เครื่องพิมพ์สองศตวรรษ แท่นพิมพ์รุ่นแรก เครื่องพิมพ์ดีดรุ่นแรก และยังมีเครื่องไมโครฟิล์มให้ค้นคว้าข่าวสารต่าง ๆ จากหนังสือพิมพ์เก่าๆ เช่น หนังสือพิมพ์ศรีกรุง หนังสือพิมพ์ประชาชาติ

นอกจากพิพิธภัณฑ์แล้ว บริเวณชั้นเดียวกัน ยังมีห้องสมุดประชาชน ชินโสภณพนิช ให้ค้นคว้า มีห้องโสตทัศนูปกรณ์ เอื้องหลวง นำเสนอวิดีทัศน์เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของหนังสือพิมพ์ไทยก่อนจะเข้าไป ชมของจริงในพิพิธภัณฑ์

เรื่อง/ภาพ : ณัฐพัชร์ ทองคำ

สำรวจ : 31 มกราคม 2551


ชื่อผู้แต่ง:
-

ย้อนรอยวันนักข่าวที่ “พิพิธภัณฑ์หนังสือพิมพ์ไทย”

มีใครรู้บ้างว่าวันที่ 5 มีนาคม ของทุกปีเป็นวันอะไร? คำตอบคือ “วันนักข่าว” หรือ “วันสื่อสารมวลชนแห่งชาติ” ซึ่งหลายคนคงจะไม่รู้เพราะไม่ได้เป็นนักข่าว หรือแม้กระทั่งนักข่าว สื่อมวลชนเอง หลายคนก็ไม่รู้ว่าวันนี้เป็นวันนักข่าว ดังนั้นเนื่องในโอกาสวันนักข่าวนี้ ฉันจึงขอนำเสนอ “พิพิธภัณฑ์หนังสือพิมพ์ไทย” ซึ่งถือเป็นสื่อที่เก่าแก่ที่สุด โดยพิพิธภัณฑ์หนังสือพิมพ์ไทยแห่งนี้ตั้งอยู่ที่ ถนนราชสีมา เขตดุสิต ก่อตั้งขึ้นโดยสมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
ชื่อผู้แต่ง:
-

พิพิธภัณฑ์หนังสือพิมพ์ไทย ความเป็นมาของกระดาษเปื้อนตัวอักษร

ดูเหมือนโลกใบที่หมุนเร็วเฉกเช่นทุกวันนี้ ได้พ่วงเอากระแสของการเปลี่ยนแปลงมาสู่สิ่งต่างๆ รอบตัวเรามากมาย ไม่เว้นแม้แต่ช่องทางการสื่อสารจากครั้งรุ่งเรืองของโทรเลข กระทั่งโทรศัพท์มือถือได้เข้ามาสานต่อความสะดวกสบายให้มีมากขึ้นเช่นเดียวกัน เมื่อก่อนหากต้องการติดตามเหตุการณ์ความเป็นไปของสังคมก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องพลิกอ่านเอาจากหน้าหนังสือพิมพ์ ทว่าความนิยมของสื่อประเภทนี้ในปัจจุบันกำลังถูกเข้ามาแทนที่ด้วยโซเชียลมีเดีย ทั้งหลายไม่ว่า เฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์ และอีกหลากหลายช่องทาง จึงเป็นเรื่องน่าเสียดายถ้าสื่อยุคบุกเบิกอย่าง หนังสือพิมพ์ จะเลือนหายไปพร้อมๆ กับวิถีชีวิตของผู้คนที่ต้องการความสะดวกและรวดเร็วเป็นสำคัญ
ชื่อผู้แต่ง:
-