หอประวัติกรมวิชาการเกษตร


หอประวัติกรมวิชาการเกษตร ตั้งอยู่ที่อาคารชั้นเดียวในบริเวณสถานีทดลองข้าวบางเขน ซึ่งเป็นอาคารที่สร้างขึ้นหลังแรกในบริเวณเกษตรกลางบางเขน และยังคงอนุรักษ์ให้อยู่ในสภาพดี ภายในหอประวัติมีการจัดเก็บและจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับเอกสารสำคัญ หนังสือ ภาพ และสิ่งของที่มีคุณค่าต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเป็นมาของกรมวิชาการเกษตร ตลอดจนการจัดแสดงพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ที่เกี่ยวกับกรมวิชาการเกษตร นอกจากนี้ยังมีการจัดนิทรรศการหมุนเวียนเป็นระยะโดยตลอดตามวาระอันควร

ที่อยู่:
กรมวิชาการเกษตร ถ.พหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์:
0-2579-0141, 0-2561-1990
วันและเวลาทำการ:
วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 10.00 - 15.30 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
อีเมล:
itc@doa.go.th
ปีที่ก่อตั้ง:
2542
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จวงการยางพาราไทย

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 15/10/2550

ที่มา: เดลินิวส์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

เปิดหอประวัติหลวงสำรวจพฤกษาลัย (นายสมบูรณ์ ณ ถลาง) บุคคลแรกผู้วางรากฐานงานวิจัยและพัฒนายางพาราไทย

ชื่อผู้แต่ง: พรรณพิชญา สุเสวี | ปีที่พิมพ์: 15/12/2550 ปีที่ 20 ฉบับที่ 421

ที่มา: เทคโนโลยีชาวบ้าน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของหอประวัติกรมวิชาการเกษตร

กรมวิชาการเกษตรได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นหน่วยงานหนึ่งในสังกัด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2515 แต่ก่อนที่จะ มาเป็นกรมวิชาการเกษตร ในปัจจุบัน หน่วยงานนี้มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน นับย้อนหลังไปเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2446 ได้มีการจัดตั้งกรมช่างไหมขึ้นในกระทรวงเกษตราธิการ ซึ่งถือเป็นการกำเนิดกรมวิชาการเกษตร พ.ศ. 2449 เปลี่ยนชื่อกรมช่างไหม เป็นกรมเพาะปลูก พ.ศ. 2474 เปลี่ยนชื่อกรมเพาะปลูก เป็น กรมตรวจกสิกรรม พ.ศ. 2476 เปลี่ยนชื่อกรมตรวจกสิกรรม เป็นกรมเกษตร พ.ศ. 2478 เปลี่ยนชื่อกรมเกษตร เป็น กรมเกษตรและการประมง พ.ศ. 2484 แยกกรมเกษตรและการประมงเป็น 2 กรม คือกรมเกษตรและกรมการประมง พ.ศ. 2495 เปลี่ยนชื่อกรมเกษตร เป็น กรมการกสิกรรม พ.ศ. 2496 ยกฐานะกองการข้าวและการทดลอง ซึ่งอยู่ภายใต้ สังกัดของกรมการกสิกรรม จัดตั้งเป็นกรมการข้าว แยกออกมาจาก กรมการกสิกรรมพ.ศ. 2497 เปลี่ยนชื่อกรมการกสิกรรม เป็นกรมกสิกรรม พ.ศ. 2515 รวมกรมการข้าว กับ กรมกสิกรรม สถาปนาเป็น กรมวิชาการเกษตร

รวมระยะเวลาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งกรมช่างไหม จนถึงปี พ.ศ. 2544 เป็นเวลา 98 ปี ตลอดระยะเวลาที่ยาวนานมีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลง บาบาท ภารกิจ และเกียรติประวัติที่เกี่ยวข้องกับกรมวิชาการเกษตรมากมาย ฯพณฯ องคมนตรี นายอำพล เสนาณรงค์ อดีตอธิบดีกรมวิชาการ เกษตร และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงมีดำริเสนอกรมวิชาการเกษตรว่า ควรจะได้มีการรวบรวมเอกสารหลักฐาน วัสดุและสิ่งของต่าง ๆ ที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับกรมวิชาการเกษตร จัดแสดงเป็นห้องนิทรรศการ เพื่อประโยชน์ในการศึกษา ค้นคว้า อ้างอิง ของข้าราชการ นักวิชาการ นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนผู้สนใจทั่วไป

พ.ศ. 2542 กรมวิชาการเกษตรได้พิจารณาให้ความเห็นชอบ ใช้อาคารชั้นเดียวของสถานีทดลองข้าวบางเขน ซึ่งเป็นอาคารที่สร้างขึ้นเป็น หลังแรกในบริเวณเกษตรกลาง บางเขน และยังคงอยู่ในสภาพที่สามารถปรับปรุงซ่อมแซมให้เป็นอาคารจัดแสดงนิทรรศการ ดังกล่าวได้ นับ เป็นการอนุรักษ์อาคารที่เก่าแก่ที่สุดแห่งนี้ไว้พร้อมกับเอกสารหลักฐานที่ จัดแสดงอยู่ภายในด้วย ทั้งนี้ได้ตั้งชื่ออาคารจัดแสดงนิทรรศการทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกรมวิชาการเกษตรนี้ว่า "หอประวัติกรมวิชาการเกษตร”

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับกรมวิชาการเกษตร ซึ่งเกิดขึ้นในอดีต ให้ชนรุ่นหลังได้ใช้เป็นแนวทางในการทำงานทั้งปัจจุบันและ อนาคต เพื่อแสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการทางการเกษตรของไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน เพื่อระลึกถึงคุณความดี และแสดงกตัญญูกตเวทิตาต่อผู้อาวุโสและบูรพาจารย์ผู้ทำคุณประโยชน์แก่กรมวิชาการเกษตร เพื่ออนุรักษ์ข้อมูล และสิ่งของอันทรงคุณค่าให้ปรากฏแก่ชนรุ่นหลัง และเพื่อเป็นสถานที่ค้นคว้าหาหลักฐานอ้างอิงที่ถูกต้อง

ภายในหอประวัติกรมวิชาการเกษตร จัดเก็บและแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับเอกสารสำคัญ หนังสือ ภาพ และสิ่งของที่มีคุณค่าต่างๆ เกี่ยวกับความเป็นมาของกรมวิชาการเกษตร ตลอดจนพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระราชวงศ์ กับกรมวิชาการเกษตร นิทรรศการดังกล่าวจะมีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาและผลงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง หมุนเวียนเป็นระยะโดยตลอดตามวาระอันควร

“หอประวัติกรมวิชาการเกษตร " ตั้งอยู่ที่อาคารชั้นเดียวในบริเวณสถานีทดลองข้าวบางเขน กรมวิชาการเกษตร เกษตรกลาง บางเขน เขตจตุจักร เปิดให้ผู้สนใจเข้าชมทุกวันจันทร์- ศุกร์ เวลา 10.00-15.30 น. หยุดวันเสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดราชการ

นอกจากนี้แล้วภายในกรมวิชาการเกษตรยังมี หอประวัติหลวงสำรวจพฤกษาลัย (นายสมบูรณ์ ณ ถลาง) บุคคลแรกผู้วางรากฐานงานวิจัยและพัฒนายางพาราไทย จนเป็นที่ยอมรับแห่งวงการยางและได้สร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทยจนถึง ปัจจุบัน ก้าวสู่ความยิ่งใหญ่แห่งประเทศผู้ผลิตยางและส่งออกมากเป็นที่ 1 ของโลก

วันที่ 27 กันยายน 2550 มูลนิธินายสมบูรณ์ ณ ถลาง ร่วมกับสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ได้จัดตั้งหอประวัติหลวงสำรวจพฤกษาลัย (นายสมบูรณ์ ณ ถลาง) และทำพิธีเปิดหอประวัติขึ้น ณ สถาบันวิจัยยาง เพื่อให้เป็นแหล่งศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ เผยแพร่วิชาการยางพาราให้ชนรุ่นหลังได้เห็นความสำคัญของผลงานที่นับเป็น ประโยชน์อย่างยิ่งต่อวงการยางพาราไทยที่ได้เจริญก้าวหน้ามาจนถึงทุกวันนี้ พร้อมด้วยเกียรติประวัติที่น่ายกย่องสรรเสริญ

ในการสร้างหอประวัติครั้งนี้ มีเป้าหมายจะผลักดันให้หอประวัติแห่งนี้เป็นศูนย์กลางในการค้นคว้าเรื่องยาง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และจะปรับปรุงให้เป็นศูนย์ข้อมูลเรื่องยางของประเทศต่อไป เพื่อเชิดชูเกียรติและรวบรวมประวัติของหลวงสำรวจพฤกษาลัย แสดงนิทรรศการประวัติและผลงาน โดยได้รวบรวมเรื่องราวตั้งแต่ชีวิตในวัยเด็ก การศึกษาและผลงานทางวิชาการด้านยางพาราที่สำคัญไว้ถึง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านวิชาการยาง ด้านวิจัยและด้าน พ.ร.บ. และชีวิตบั้นปลายของท่าน เพื่อให้นักวิชาการ นักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชนผู้สนใจทั่วไปได้เข้ามาศึกษา ค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับยางพารา

หลวงสำรวจพฤกษาลัย หรือ นายสมบูรณ์ ณ ถลาง เกิดเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2443 ที่ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวนพี่น้อง 4 คน ของหลวงเทพนิธยานุกูล (ชื่น ณ ถลาง) เชื้อสายเจ้าเมืองถลาง และนางหร่าย ณ ถลาง (มุสิกธัช) สมรสกับนางประพัสตร์ ณ ถลาง ธิดาพระยาอิศราธิชัย (หมี ณ ถลาง) อดีตเจ้าเมืองกระบี่ เริ่มรับราชการครั้งแรกในกองสับการป่าไม้ กรมป่าไม้ ประจำจังหวัดเชียงราย และได้รับเกียรตินิยมทางด้านวิชาการป่าไม้จากมหาวิทยาลัยปินมานา ประเทศพม่า เมื่อปี พ.ศ. 2464 ได้รับปริญญาบัตรนิติศาสตร์บัณฑิต เมื่อปี พ.ศ. 2471

เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองการยาง กรมป่าไม้ ในปี พ.ศ. 2493 และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494-2503 ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองการยาง กรมกสิกรรม (กรมวิชาการเกษตร ในปัจจุบัน) ช่วงระหว่างปีนี้เองเป็นช่วงที่นับว่ายิ่งใหญ่ต่อวงการยางพาราไทยอย่างยิ่ง เพราะท่านเป็นบุคคลแรกที่ได้วางรากฐานงานวิจัยและพัฒนายางพาราของประเทศด้วย การเปิดสถานีทดลองยางในทุกจังหวัดภาคใต้ และภาคตะวันออกที่สามารถปลูกยางได้ แล้วค้นคว้าวิจัยเรื่องโรค ปุ๋ย พืชคลุมดิน การปลูกพืชแซมยาง ตลอดจนการขยายพันธุ์ยาง โดยได้นำเมล็ดยางพันธุ์ดีและกิ่งตายางพันธุ์ดีจากประเทศมาเลเซียมาเพาะขยาย พันธุ์เพื่อแจกจ่ายเกษตรกรปลูก ก่อให้เกิดประโยชน์แก่กิจการยางพาราของไทยอย่างมหาศาล ไม่เพียงเท่านี้ท่านยังเป็นผู้ที่ริเริ่มปรับปรุงการผลิตน้ำยางและการผลิต ยางแผ่นคุณภาพดี พร้อมกับการจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์การกรีดยางและการทำยางแผ่นเพื่อช่วยเหลือ เกษตรกรชาวสวนยางให้สามารถเพิ่มมูลค่าของผลผลิตให้สูงขึ้นได้ และในช่วงนี้ท่านได้เปลี่ยนโฉมหน้ากองการยางมาเป็นกองวิชาการยางพาราในอีก ไม่กี่ปีต่อมา ด้วยผลงานมากมายดังกล่าว ท่านยังมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการตลาดยางในต่างประเทศ รวมทั้งได้ผลักดันให้ไทยเข้าเป็นภาคีในความตกลงควบคุมจำกัดยางระหว่างประเทศ หรือ IRRA และเข้าเป็นสมาชิกขององค์กรการศึกษายางระหว่างประเทศ IRSG ด้วย

จาก ผลงาน เกียรติประวัติและคุณงามความดีที่ได้สะสมไว้ต่อวงการยาง เพื่อสืบสานมโนปณิธานของนายสมบูรณ์ ณ ถลาง ที่ได้วางรากฐานและมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนายางของประเทศให้มั่นคง สถาบันวิจัยยางจึงได้จัดตั้งมูลนิธินายสมบูรณ์ ณ ถลาง ขึ้น เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2529 เพื่อสนับสนุนการพัฒนากิจการยางพาราของประเทศ ทั้งงานวิจัยและการศึกษา รวมทั้งส่งเสริม เผยแพร่ด้านวิทยาศาสตร์การยางและสาขาที่เกี่ยวข้อง ร่วมมือกับองค์กรการกุศลอื่นๆ เพื่อสาธารณประโยชน์และไม่ดำเนินการเกี่ยวกับการเมืองแต่อย่างใด โดยมูลนิธินายสมบูรณ์ ณ ถลาง ตั้งอยู่ที่สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ พร้อมกันนี้ได้นำรูปปั้นของท่านมาประดิษฐานไว้ที่บริเวณด้านหน้าตึกที่ทำการ ของสถาบันวิจัยยาง เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2542 เพื่อไว้เป็นที่สักการบูชาและเป็นอนุสรณ์แก่วงการยางของประเทศ

หอประวัติหลวงสำรวจพฤษาลัย (นายสมบูรณ์ ณ ถลาง) อยู่ใน สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ถ้ามาทางด้านถนนพหลโยธินจะอยู่ติดกับกรมป่าไม้ ถ้ามาทางด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะมีป้ายบอกทาง โดยเปิดให้เข้าชมได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น. ในเวลาราชการ



ข้อมูลจาก: 

http://www.doa.go.th/Default.aspx [accessed 20081111] 

http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?ColumnId=47231&NewsType=2&Template=1 [accessed 20081111]

http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05081151250&srcday=2007/12/15&search=no [accessed 20081111]
ชื่อผู้แต่ง:
-