นิทรรศการถาวรเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย และวิวัฒนาการคณะรัฐมนตรี


ที่อยู่:
สถาบันพระปกเกล้า เลขที่ 2 ถ.หลานหลวง แขวงโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100
โทรศัพท์:
0-2281-2240, 0-2280-3413 ต่อ 301
วันและเวลาทำการ:
วันอังคาร-วันอาทิตย์(หยุดวันจันทร์)เวลา 08:30 – 16:00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม แต่ต้องเข้าชมเป็นหมู่คณะ ไม่ต่ำกว่า 10 คน โดยทำหนังสือขออนุญาตถึงเลขาคณะรัฐมนตรีล่วงหน้าเป็นเวลา 1 สัปดาห์
เว็บไซต์:
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ผลงานที่สร้างสรรค์ของอาจารย์พินิจ สุวรรณะบุณย์

ชื่อผู้แต่ง: กลุ่มอนุรักษ์เอกสารของคณะรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีั | ปีที่พิมพ์: 2550

ที่มา: กรุงเทพฯ:สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีั

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของนิทรรศการถาวรเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย และวิวัฒนาการคณะรัฐมนตรี

วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และในแต่ละปีจะมีการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่บุคคลต่าง ที่ทำคุณประโยชน์ ประกอบคุณงามความดีแก่ประเทศชาติและประชาชน ทั้งชาวไทย และแขกต่างประเทศ

พิพิธภัณฑสถานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย ขึ้นกับสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี มีภารกิจอย่างหนึ่งคือการจัดแสดงเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยทั้งหมดที่มีมา ตั้งแต่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และได้มีการสถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลต่างๆ ขึ้นอีกหลายประเภทจวบจนปัจจุบัน

บนชั้นที่ 4 ของอาคารรำไพพรรณี ในส่วนของพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งเป็นห้องจัดแสดง นิทรรศการเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย ส่วนชั้นที่ 3 ได้จัดแสดงนิทรรศการคณะรัฐมนตรีไทย โดยมีคุณพันธุ์พิงค์ ธรมธัช ผู้อำนวยการฯ ได้พาเราชมพร้อมให้ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติของเครื่องราชอิสริยาภรณ์แต่ละ ชิ้นให้เราฟังอย่างน่าสนใจ

ในห้องแรกที่คุณพันธุ์พิงค์พาเราเข้ามาชม มีภาพจัดแสดงเกี่ยวกับ “ต้นเค้าเครื่องราชอิสิริยาภรณ์ตะวันตกและตะวันออก” ซึ่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในยุโรป เป็นเครื่องหมายแสดงความเป็นพวกพ้องเดียวกันของอัศวินนักรบในสงครามศาสนา เมื่อกว่าพันปีก่อน และต่อมาได้กลายเป็นเครื่องหมายแสดงเกียรติยศ ความกล้าหาญ และความดีความชอบ ซึ่งพระมหากษัตริย์เป็นผู้พระราชทาน

“พระสังวาลพระนพ” เป็นสายสังวาล ซึ่งเป็นเครื่องราชูปโภคราชาภรณ์สำหรับพระพิชัยสงครามอย่างหนึ่งของพระมหา กษัตริย์จะทรงสวมพระองค์ก่อนที่จะทรงรับเครื่องราชอิสริยยศอื่นซึ่งถือเป็น ราชประเพณีสืบมาจวบจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ “พระสังวาลพระนพ” จึงนับเป็นต้นเค้าของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุง ศรีอยุธยา

ในห้องนี้ยังจัดแสดงประวัติการสถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยตั้งแต่กรุง ศรีอยุธยาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยทั้ง 4 ประเภท คือ ประเภทเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานแก่ประมุขของรัฐต่างประเทศ ประเภทที่ 2 คือ ประเภทเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการแผ่น ดิน ประเภทที่ 3 เครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในพระองค์พระมหา กษัตริย์ ประเภทสุดท้าย คือ เหรียญราชอิสริยาภรณ์ที่นับเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์

ในห้องถัดไปจัดแสดงเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานแก่ประมุขของรัฐ ต่างประเทศ มีชนิดเดียวคือ เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงคลยิ่งราชมิตราภรณ์ (ร.ม.ภ.) ทั้งของบุรุษ และสตรี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตน์ราชวราภรณ์ (น.ร.) ทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2394

ในส่วนถัดไปทางพิพิธภัณฑ์ได้จัดแสดงเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุกประเภท ทุกชั้น และตัวอย่างการแต่งกาย การใส่เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และมีหุ่นจำลองเล็กๆ ให้เราได้เข้าใจมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างเหรียญราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความ ชอบในความกล้าหาญ ในราชการแผ่นดิน และในองค์พระมหากษัตริย์

หลังจากนั้นคุณพันธุ์พิงค์ได้พาเราลงมาที่ชั้น 3 ชมนิทรรศการคณะรัฐมนตรีไทย ซึ่งจัดแสดงเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน 4 ยุค 4 สมัย ตั้งแต่สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยาตอนต้น สมัยรัตนโกสินทร์ และสมัยปัจจุบัน และตู้จัดแสดงรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย ตั้งแต่ปี พุทธศักราช 2475, 2540 และ 2550 และประวัติความเป็นมา การจัดตั้งคณะรัฐมนตรี นอกจากนี้ยังแสดงราชกิจจานุเบกษา พระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี กฎหมายต่างๆ ที่ผ่านสภาและพระเจ้าอยู่ทรงลงพระนามาภิไธย และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีลงพระราชลัญจกร

ในส่วนถัดไปแสดงถึงประวัติของนายกรัฐมนตรีทั้ง 25 ท่านตั้งแต่ท่านพระยามโนปกรณ์นิติธาดา จนถึง พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ และรายชื่อคณะรัฐมนตรีทั้ง 56 คณะ อีกทั้งยังแสดงสมุดตัวอย่างของระเบียบวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี รายงานการประชุมคณะรัฐมนตรี

ก่อนออกจากห้องแสดงทั้งสองชั้นจะมีมัลติมีเดียปริศนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ปริศนานายกรัฐมนตรีไทย เป็นการตอบคำถามเกี่ยวกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และนายกรัฐมนตรีให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด ให้คุณหนูได้ทดสอบความรู้ ความเข้าใจหลังจากได้เรียนรู้ ทั้งสองส่วนนี้แล้ว

เรื่อง/ภาพ : ณัฐพัชร์ ทองคำ

สำรวจ : 22 พฤษภาคม 2551


ชื่อผู้แต่ง:
-