พิพิธภัณฑ์ตลาดน้ำคลองลัดมะยม


ที่อยู่:
30/15 ม.11 ตลาดน้ำคลองลัดมะยม ถนนบางระมาด แขวงบางระมาด เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 (ย้ายไปที่บ้านหัตถกรรม ศิลป์ สร้างสุข)
โทรศัพท์:
086-9741492
วันและเวลาทำการ:
วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2548
จัดการโดย:
สถานะ:

โดย: -

วันที่: 08 กุมภาพันธ์ 2556

โดย: -

วันที่: 08 กุมภาพันธ์ 2556

โดย: -

วันที่: 08 กุมภาพันธ์ 2556

โดย: -

วันที่: 08 กุมภาพันธ์ 2556

โดย: -

วันที่: 08 กุมภาพันธ์ 2556

โดย: -

วันที่: 08 กุมภาพันธ์ 2556

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

“คลองลัดมะยม” แหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตริมน้ำใจกลางกรุง

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 24 พ.ย. 2555;24-11-2012

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 30 มีนาคม 2558


ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์ตลาดน้ำคลองลัดมะยม โฉมใหม่

เดิมพิพิธภัณฑ์ตลาดน้ำคลองลัดมะยม ชื่อว่าพิพิธภัณฑ์บ้านหัตถกรรม พิพิธภัณฑ์เรือจำลอง ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นพิพิธภัณฑ์ตลาดน้ำคลองลัดมะยม ราวปี 2554 พิพิธภัณฑ์นี้จัดตั้งขึ้นโดยคุณสุรชัย รุณบุญรอด ซึ่งเป็นคนสนใจเรื่องเรือมาตั้งแต่วัยหนุ่ม

เดิมพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ภายในตลาดน้ำคลองลัดมะยม  แต่หลังน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 ทางพิพิธภัณฑ์ได้รับความเสียหายมากทั้งตัวอาคารและข้าวของที่จัดแสดง  จึงย้ายเข้าไปอยู่ริมคลองลัดมะยมตัดคลองบางพรม เดินไม่ไกลจากตลาดน้ำมากนัก

พิพิธภัณฑ์เป็นอาคารไม้มุงจากชั้นเดียว สร้างเป็นแนวยาวขนานไปกับคลองลัดมะยม คุณลุงสุรชัย รุณบุญรอด เป็นชาวตลิ่งชันโดยกำเนิด  มีวิถีชีวิตคุ้นเคยกับเรือและวิถีริมน้ำ และแสวงหาความรู้เรื่องเรือและการต่อเรือจำลองมาตั้งแต่วัยหนุ่ม  เมื่อเริ่มมีการเปิดตลาดน้ำคลองลัดมะยมเมื่อกว่า 5 ปีที่แล้ว คุณลุงสุรชัยจึงเข้ามาขอพื้นที่ทำเป็นพิพิธภัณฑ์เรือจำลองขึ้นที่นี่   โดยจัดแสดงเรือจำลองที่คุณลุงประดิษฐ์เอง จากการทดลองผิดลองถูกและแสวงหาวิชาความรู้ด้วยตนเอง

เมื่อเกิดน้ำท่วมใหญ่ปลายปี 2554 พิพิธภัณฑ์เรือจำลองได้รับความเสียหายอย่างจากทั้งจากน้ำท่วมและคลื่นน้ำจากเรือหางยาวที่วิ่งผ่าน  จนเมื่อพ้นวิกฤตคราวนั้นจึงรวบรวมข้าวของที่กระจัดกระจาย และข้าวของที่เก็บได้จากน้ำท่วมเช่นพวกขวดแก้วรูปทรงต่างๆ  หรือวัตถุที่เสียหายจากน้ำท่วมที่ผู้คนทิ้งเช่น โทรทัศน์  วิทยุ นำมาจัดแสดงใหม่ในพิพิธภัณฑ์ที่ปลูกสร้างใหม่ ริมคลองลัดมะยมตัดกับคลองบางพรม ไม่ไกลจากที่เดิม

ภายในจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับเรือ เรือจำลอง และวิถีชีวิตคนไทยที่เกี่ยวข้องกับสายน้ำ เช่น มุมพระเจ้าอยู่หัวกับเรือ เป็นการนำเสนอภาพถ่ายของพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบันกับงานต่อเรือใบที่พระองค์สนใจ  ภาพถ่ายเก่าเมื่อครั้งในอดีตที่กรุงเทพฯน้ำท่วมเช่นในปี 2485  มุมจัดแสดงเครื่องดักจับสัตว์น้ำ เช่น ไซ ลอบดัก ลอบยืน กระชัง ข้อง  นอกจากนี้ยังมีข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ที่คุณลุงเก็บสะสมไว้จัดแสดงไว้ด้วย เช่น ปิ่นโต  ขวดแก้ว โทรทัศน์ วิทยุ มีด พร้า ที่ตั้งแสดงไว้ในตู้กระจกราว 2-3 ตู้

ส่วนจัดแสดงที่น่าสนใจคือ ส่วนที่เกี่ยวกับเรือพื้นบ้าน ได้แก่ เรือจำลองที่คุณลุงสุรชัยประดิษฐ์เอง เช่น เรือบด เรือหางยาว เรือผีหลอก เรือสำปั้น เรือต่อ  บอร์ดนิทรรศการที่เล่าเกี่ยวกับเรือไทยประเภทต่างๆ พร้อมภาพวาดลายเส้นที่คุณลุงวาดเอง  และหากสังเกตให้ดีบนชื่อของพิพิธภัณฑ์ จะมีแจวเรือชะล่า ที่มีขนาดยาวกว่า 4 เมตร แขวนอยู่ เป็นแจวที่ทำด้วยไม้ของวัดอินทราวาส(วัดประดู่) ที่พิพิธภัณฑ์ยืมมาจัดแสดง 

วัตถุชิ้นเด่นอีกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจในพิพิธภัณฑ์นี้ เป็นวัตถุประจักษ์พยานชั้นดี จากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เมื่อปลายปี 2554 คือ เรือบดที่คุณลุงต่อใช้เอง โดยได้แรงบันดาลจากการที่ตัวเองประสบภัยน้ำท่วมในคราวนั้น  เข้าใจลึกซึ้งเลยว่าเรือยังมีความสำคัญ แต่ราคาเรือในช่วงนั้นสูงมากและหาซื้อยาก เมื่อน้ำลด เพื่อนบ้านเห็นว่าคุณลุงชอบทำเรือจำลอง จึงให้ไม้ที่เป็นฝาบ้านที่ใช้การไม่ได้แล้วกับคุณลุง  คราวนี้คุณลุงสุรชัยไม่ได้เอาไม้ไปทำเรือจำลอง แต่แปลงไม้เหล่านั้นให้มีประโยชน์ใช้สอย โดยนำไปต่อเป็นเรือบดไทยแบบง่ายๆ   จากเรือลำแรกที่ต่อ คุณลุงพยายามคิดดัดแปลงใช้ไม้ที่มีราคาไม่แพงมาใช้ต่อเรือบด จนในที่สุดก็มาลงตัวที่ไม้จำปา  โดยหวังจะถ่ายทอดวิชาความรู้จากการทดลองต่อเรือบดแบบง่ายๆ ที่ไม่ยุ่งยาก ทำวันเดียวก็เสร็จ  ให้กับคนทั่วไปได้เรียนรู้ และนำไปต่อใช้เองที่บ้านได้ 


พิพิธภัณฑ์ตลาดน้ำคลองลัดมะยม เป็นพิพิธภัณฑ์ชาวบ้านเล็กๆ ที่บรรจุไปด้วยข้าวของและเรื่องราวที่แสดงถึงวิถีชีวิตคนไทยที่ผูกพันกับสายน้ำ และที่สำคัญคือ มิตรจิตมิตรใจของผู้ก่อตั้ง นอกจากจะสละเวลารวบรวมข้าวของและเรื่องราวที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมแล้ว ยังยินดีจะถ่ายทอดความรู้ในการต่อเรือแบบง่ายๆ ให้กับคนที่สนใจอีกด้วย

ใครที่สนใจเรียนต่อเรือบดแบบง่ายๆ เอาไว้ใช้เองที่บ้าน ติดต่อคุณลุงสุรชัย รุณบุญรอดได้โดยตรง คุณลุงยินดีสอนโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย  เพียงแต่ท่านต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อวัสดุและอุปกรณ์ พร้อมเตรียมเครื่องมือช่างต่างๆ มาเอง

ข้อมูล:  
จากการสำรวจวันที่ 31 กรกฎาคม 2555
ปณิตา สระวาสี เรียบเรียง

หมายเหตุ  คุณสุรชัย รุณบุญรอด ได้โยกย้ายวัตถุสิ่งของภายในพิพิธภัณฑ์ตลาดน้ำคลองลัดมะยม ไปจัดแสดงที่ใหม่ในบริเวณที่พักอาศัยของคุณสุรชัย ใช้ชื่อใหม่ว่า "บ้านหัตถกรรม ศิลป์ สร้างสุข"

ชื่อผู้แต่ง:
-

บ้านหัตถกรรม พิพิธภัณฑ์เรือจำลองตลิ่งชัน

บ้านหัตถกรรม พิพิธภัณฑ์เรือจำลอง จัดตั้งขึ้นโดยคุณสุรชัย รุณบุญรอด ตั้งอยู่ตรงข้ามกับตลาดน้ำคลองลัดมะยม ภายในมีหัตถกรรมเรือในรูปแบบต่างๆ รวมถึงอุปกรณ์วิถีชีวิตของชาวสวน สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของผู้คนในชุมชนที่มีความผูกพันกับสายน้ำได้เป็นอย่างดี ซึ่งคุณสุรชัย ได้เล่าถึงที่มาของการตั้งพิพิธภัณฑ์เรือจำลองแห่งนี้ว่า เติบโตมาท่ามกลางอู่ต่อเรือ บ้านริมน้ำ มองเห็นเรือ และรู้จักเรือตั้งแต่ 4 ขวบ กระทั่งครบกำหนดที่จะต้องไปเป็นทหารราบ แต่ความรักในเรือยังมีอยู่เต็มสายเลือด จนเมื่อ 14 ปีที่แล้วมีเหตุให้ลุงสุรชัยเริ่มศึกษาการต่อเรือจำลองอย่างจริงจัง เนื่องจากมีความสนใจและรักเรือเป็นชีวิตจิตใจ อยากได้เรือลำหนึ่ง เป็นเรือใบฝรั่งที่มารู้คราวหลังว่าเป็นเรือกำปั่นสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่โรงแรมริเวอร์ ซิตี้ แต่ไม่สามารถซื้อได้จึงใช้วิธีจำรูปแบบมา เดิมคุณสุรชัยมิได้มีความรู้ทางด้านการต่อเรือเลยแม้แต่น้อย ในระยะแรกทำถูกทำผิดเพราะไม่มีความรู้ อาศัยดูจากรูปแล้วก็ลองต่อไปเรื่อยๆ เรือลำแรกที่ต่อทำจากไม้ฉำฉาที่หาได้ริมคลอง จากนั้นก็มีกำลังใจที่จะทำมากขึ้น การต่อเรือจำลองของคุณสุรชัย เป็นเพียงงานอดิเรกที่เกิดจากความสนใจของตนเองเท่านั้น มิได้คำนึงถึงธุรกิจการค้าขายแต่อย่างใด เพราะหลังจากที่ต่อเรือลำแรกสำเร็จแล้วก็ออกเดินทางหาความรู้เพิ่มเติม เพียงเพราะอยากจะรู้จักเรือให้มากขึ้น และอยากต่อเรือให้ได้หลายๆแบบ 

ดังนั้นคุณสุรชัยจึงเริ่มต้นด้วยการศึกษาจากอาจารย์ไพฑูรย์ ขาวมาลา ผู้รอบรู้เรื่องเรือไทยและอาจารย์อีกหลายท่าน จึงทราบว่าพื้นฐานในการต่อเรือทุกประเภทต้องมาจากเรือบดไทย นอกจากนี้คุณสุรชัยยังเดินทางไปตามที่จัดแสดงเรือต่างๆ ซึ่งขณะนั้นยังรับราชการทหารอยู่ ต่อมาเริ่มทุ่มเทกับเรือมากกว่าจะเป็นงานอดิเรก จึงลาออกจากราชการและศึกษาประวัติศาสตร์เรือ และการต่อเรืออย่างเป็นจริงเป็นจัง จนวันนี้เรียกได้ว่าเป็นอาชีพช่างต่อเรือจำลองไปแล้ว 

ผลงานของคุณสุรชัยเป็นที่รู้จักมากขึ้นเมื่อเรือจำลองของเขาได้รับรางวัล OTOP 4 ดาว มีคนมาขอเป็นลูกศิษย์และมีคนมาติดต่อขอซื้อเรือจำลองมากขึ้น ทั้งยังผลิตเรือจำลองรูปแบบต่างๆขึ้นเพื่อนำมาจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ เพื่อที่จะอนุรักษ์เรือเก่าๆไว้ ถึงแม้ว่าปัจจุบันนี้เรือจะมิได้เป็นยานพาหนะหลักที่ใช้ในการคมนาคมอีกต่อไป เรือหลายชนิดที่ไม่ได้แล่นอยู่ในลำคลองแล้ว แต่อย่างน้อยเยาวชนรุ่นหลังควรจะมีโอกาสได้รู้จักและศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับรูปแบบเรือต่างๆที่มีความสำคัญสำหรับผู้คนในอดีต ดังนั้นพิพิธภัณฑ์เรือจำลองถือเป็นแหล่งความรู้ของชุมชนและสังคมอีกแห่งหนึ่งในย่านคลองลัดมะยม เขตตลิ่งชัน 

ข้อมูลจาก: ญาสินี จีระวัฒนาวงศ์.ลัดมะยม: จิ๋วแต่แจ๋ว.กรุงเทพฯ:เอกสารไม่ตีพิมพ์,2551.หน้า 21-22 .
ชื่อผู้แต่ง:
-

วันที่น้ำลด กับเรือบดวันเดียว

ผู้คนริมสายน้ำกับเรือลำน้อย ออกจะเป็นวิถีชีวิตที่เลือนลางไปพร้อมๆ กับกาลเวลา เมื่อการสัญจรทางบกกลายเป็นวิถีหลักในการพัฒนา ผู้คนหันมาตั้งรกรากริมถนน รถยนตร์เข้ามาแทนที่เรือ เมื่อคนใช้เรือน้อยลง ชีวิตชาวน้ำและชาวเรือจึงแทบจะกลายเป็นเพียงความทรงจำหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์มหาอุกทกภัยเมื่อปลายปี 2554 ที่ทำให้เรือได้เข้ามาอยู่ในกระแสข่าว และความสนใจของผู้คนอีกวาระหนึ่ง คุณลุงสุรชัย รุณบุญรอด ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ตลาดน้ำคลองลัดมะยม เป็นหนึ่งในผู้ประสบอุทกภัย ที่หลังจากเหตุการณ์วิกฤติครั้งนั้น เขาพบว่าเรือยังคงมีความสำคัญในชุมชน และน้ำท่วมใหญ่ในครั้งนั้น กลับกลายเป็นแรงบันดาลใจสำคัญ ที่ทำให้เขานำความรู้เรื่องการต่อเรือจำลอง มาทดลองทำเรือบดแบบง่าย
ชื่อผู้แต่ง:
-