ศูนย์วัฒนธรรมโรงเรียนสรรพวิทยาคม อำเภอแม่สอด


ศูนย์วัฒนธรรมโรงเรียนสรรพวิทยาคม ก่อตั้งโดยรองศาสตราจารย์ศุภพงศ์ ยืนยง ครูสอนวิชาศิลปะโรงเรียนสรรพวิทยาคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นฐานการรวบรวมโบราณวัตถุ ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวแม่สอดและพื้นที่ใกล้เคียง นำมาจัดแสดงอย่างเป็นระบบและทำการระดมผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญในประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของท้องถิ่นมาช่วยกันศึกษา วิเคราะห์ และสร้างองค์ความรู้ให้เกิดประโยชน์แก่ท้องถิ่น นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับนักเรียนและผู้สนใจทั่วไปให้เข้ามาศึกษา เรียนรู้ ตามแนวคิดการศึกษาตลอดชีวิต เพื่อพัฒนาทักษะการคิด และกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้แหล่งเรียนรู้ และวิชาประวัติศาสตร์นำทาง ภายในจัดแสดงเครื่องถ้วยสังคโลกจากแหล่งเตาต่างๆ ทั้งสุโขทัย ล้านนา และจากต่างประเทศ (จีน) เครื่องมือเครื่องใช้จำพวกเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เอกสารปั๊ปสา และใบลาน ที่จารด้วยอักษรธรรมล้านนา

ที่อยู่:
51 ถนนประสาทวิถี ตำบลแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก 63110
โทรศัพท์:
088 262 5377
วันและเวลาทำการ:
จันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30 - 16.30 น. หยุดเสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
อีเมล:
taravutbet@gmail.com
ของเด่น:
เครื่องสังคโลกจากแหล่งเตาเกาะน้อย ศรีสัชนาลัย พานสังคโลก และช้อนลายคราม กับลายครามสมัยราชวงศ์หมิง
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

ศูนย์วัฒนธรรมโรงเรียนสรรพวิทยาคม อำเภอแม่สอด

ศูนย์วัฒนธรรมโรงเรียนสรรพวิทยาคม ก่อตั้งโดยรองศาสตราจารย์ศุภพงศ์ ยืนยง ซึ่งเคยเป็นครูสอนวิชาศิลปะโรงเรียนสรรพวิทยาคม ต่อมาครูจิตรา อยู่เจริญ ครูชำนาญการพิเศษ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ โรงเรียนสรรพวิทยาคม ได้ทำการเสาะหา รวบรวมโบราณวัตถุต่างๆและเปิดสอนในรายวิชาท้องถิ่นของเรา และทำหน้าที่ดูแลศูนย์วัฒนธรรมอำเภอแม่สอด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นฐานการรวบรวมโบราณวัตถุ ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวแม่สอดและพื้นที่ใกล้เคียง นำมาจัดแสดงอย่างเป็นระบบ และทำการระดมผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญในประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของท้องถิ่นมาช่วยกันศึกษา วิเคราะห์ และสร้างองค์ความรู้ให้เกิดประโยชน์แก่ท้องถิ่น นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับนักเรียนและผู้สนใจทั่วไปให้เข้ามาศึกษา เรียนรู้ ตามแนวคิดการศึกษาตลอดชีวิต เพื่อพัฒนาทักษะการคิด และกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้แหล่งเรียนรู้ และวิชาประวัติศาสตร์นำทาง

ภายในศูนย์วัฒนธรรมจัดแสดงเครื่องถ้วยสังคโลกจากแหล่งเตาต่างๆทั้งสุโขทัย ล้านนา และจากต่างประเทศ (จีน) เพราะเครื่องปั้นดินเผาเหล่านี้พบตามบนพื้นที่ภูดอยบนหลุมฝังศพรูปวงกลมอย่างมากมายมหาศาล ซึ่งได้ถูกลับลอบขุดอย่างหนักเมื่อ 40 ปีที่แล้ว ปัจจุบันทางศูนย์วัฒนธรรมได้ทำการรวบรวมมาจัดแสดงไว้บางส่วน และได้เผยแพร่เนื้อหา องค์ความรู้ในลักษณะนิทรรศการหมุนเวียน โดยอธิบายพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นผ่านเครื่องสังคโลกเหล่านี้ ในฐานที่เป็นแหล่งของป่า และทางผ่านของเส้นทางการค้าของรัฐพื้นราบอย่างสุโขทัย และล้านนา ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงร่องรอยของผู้คนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณแถบนี้เมื่อหลายร้อยปีมาแล้ว อีกทั้งยังจัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้จำพวกเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เอกสารปั๊ปสา และใบลาน ที่จารด้วยอักษรธรรมล้านนา ซึ่งได้มาจากชาวบ้านที่มอบให้ทางศูนย์วัฒนธรรมเก็บไว้ศึกษา

ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญคือ ต้องการองค์ความรู้ในการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ให้มีชีวิต ผู้คนสนใจเข้ามาเรียนรู้ และขาดงบประมาณในการจัดสร้างนิทรรศการอย่างเป็นระบบ

ชื่อผู้แต่ง:
ธาราวุฒิ สุวรรณใจ