พิพิธภัณฑ์มูเซอดำ


ที่อยู่:
ดอยมูเซอ ต.ด่านแม่ละเมา อ.เมือง จ.ตาก 63000
โทรศัพท์:
0-5551-3614
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน 09.00-16.00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2544
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

"พิพิธภัณฑ์มูเซอดำ" แหล่งเรียนรู้คู่ดอยมูเซอ

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 22-11-2549(หน้า38)

ที่มา: ผู้จัดการรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

"มูเซอดำ" ใน พิพิธภัณฑ์ unlimited

ชื่อผู้แต่ง: สรินยา คำเมือง | ปีที่พิมพ์: 2552

ที่มา: กรุงเทพฯ:ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์มูเซอดำ

ริมถนนฝั่งซ้าย บนทางหลวงหมายเลข 105 มุ่งหน้าสู่ อ.แม่สอด ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 28-29  มีแหล่งจับจ่ายสินค้าพืชผลทางการเกษตร นั่นคือตลาดชาวไทยภูเขาเฉลิมพระเกียรติ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ตลาดมูเซอแห่งใหม่ ตลาดก่อตั้งเมื่อปี 2541 เนื่องในการเฉลิมฉลองพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุ 72 พรรษา ทั้งนี้ ได้งบประมาณสนับสนุนจากโครงการ Japan Grant for Grassroots Project (GAP) เพื่อให้เป็นศูนย์สาธิตการตลาดชาวไทยภูเขา 
 
ใกล้ๆ กันนี้มีอาคารทรงแปดเหลี่ยม 2 หลังที่เชิญชวนให้ไปชม หลังแรกคือ พิพิธภัณฑ์มูเซอดำ(แห่งเดียวในประเทศไทย) ดำเนินการโดยศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดตาก แม้ขนบการเล่าเรื่องจะเริ่มจากประวัติความเป็นมา วัฒนธรรมและพิธีกรรม เสื้อผ้าการแต่งกาย เครื่องมือจับสัตว์ สมุนไพร เมล็ดพันธุ์พืช เครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตรกรรม ของใช้ในครัวเรือน เครื่องดนตรี ลานเต้นจะคึจำลอง แต่ความเล็กกะทัดรัดจัดแสดงง่ายๆ ก็ประทับใจผู้ชมไม่น้อย 
 
ขณะที่ทีมงานสำรวจพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น (โครงการวิจัยและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น) เก้ๆ กังๆ พินิจพิจารณาข้าวของอยู่นั้น แม่เฒ่ามูเซอท่านหนึ่งเข้ามาชี้ชวนให้ดูโน่นดูนี่พร้อมอธิบายเสร็จศัพท์  "เราใช้กระบอกไม้ไผ่มาทำเป็นแก้วน้ำ อันนี้เป็น…."  หลังจากที่ได้พูดคุยกันจึงรู้ว่าแม่เฒ่ามาขายของอยู่ที่ตลาด เห็นคนมาชมพิพิธภัณฑ์ก็จะมาคุยด้วย ไม่ได้มีหน้าที่ประจำอะไร 
 
หลังที่สอง อาคารเส้นสายลายปัก(เผ่าม้ง) จัดแสดงสิ่งทอของม้ง  ความโดดเด่นคือการนำงานปักมาจัดแสดงโดยเฉพาะ  และหากผู้ใดสนใจอยากได้อยากหามาไว้ในครอบครองสามารถสั่งซื้อได้ตามชื่อที่อยู่ที่ระบุไว้กับชิ้นงานนั้นๆ 
ข้อมูลจาก www.takpoc.net ระบุว่าตากมีชนกลุ่มน้อยอยู่ 157,980 คน กลุ่มกะเหรี่ยงจะมีจำนวนมากที่สุด รองลงมาคือกลุ่มม้ง มูเซออยู่ในอันดับสาม ลีซอ อีก้อ เย้า รองลงมาตามลำดับ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย CEO "เส้นทางศึกษาวิถีชนเผ่า" ผู้จัดจึงได้จำลองบ้านกลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้พร้อมบอร์ดความรู้ประเพณีพิธีกรรมชนเผ่าในจังหวัดตากไว้ให้ชมกันอีกด้วย 
 
ข้อมูลจาก:
การสำรวจเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2548
 www.takpoc.net เข้าถึงข้อมูล เมื่อ 13 มีนาคม 2549
ชื่อผู้แต่ง:
-