อาคารพิพิธภัณฑ์และการจัดแสดงวิถีชีวิตของชาวไทยพวน ตั้งอยู่บริเวณเทศบาลตำบลหนองพยอม อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร แห่งนี้ ได้รับการจัดตั้งในช่วงเวลาเดียวกับที่ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน พ.ศ. 2540 ที่ส่งเสริมการปกครองในระดับท้องถิ่น หนึ่งในบทบาทสำคัญคือ “การทำนุศิลปวัฒนธรรม” องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นหลายแห่งจัดตั้งสถานที่ ในรูปแบบของพิพิธภัณฑ์หรือศูนย์วัฒนธรรมเพื่อบอกเล่าถึงประวัติความเป็นมาของชุมชน รวบรวมข้าวของเครื่องใช้พื้นบ้าน และจัดงานประเพณีที่ให้คำนิยามว่า “เป็นการสืบสานวัฒนธรรม”
ในช่วงเวลานั้น เทศบาลตำบลหนองพยอมเพิ่งได้รับการจัดตั้งขึ้นในฐานะ “องค์การบริหารส่วนตำบลหนองพยอม” ก่อนที่จะยกระดับเป็นเทศบาลในระยะต่อมาราว พ.ศ. 2551 วัชรพงษ์ บุญหนุน ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า อบต. หนองพยอมกำหนดงบประมาณขึ้นเพื่อจัดสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์เป็นการเฉพาะ โดยสภาพที่เห็นในปัจจุบันนั้น เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก มีการยกพื้นสูงเป็นใต้ถุนสำหรับใช้ประโยชน์ด้านล่างเหมือนเรือนพื้นถิ่น มีอาคารขึ้นจากฝั่งซ้ายและฝั่งขวาของอาคาร
อาคารด้านบนแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่ บริเวณโถงกลางซึ่งจะวางสิ่งจัดแสดงต่าง ๆ ครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งหมดของห้อง ห้องทางซ้ายมือเป็นห้องกระจกปิดมีเครื่องปรับอากาศ ในวันที่สำรวจ มีชั้นเรียนสอนภาษาอังกฤษ ให้กับสมาชิกชุมชนผู้อาวุโสได้เรียนบทสนทนาพื้นฐาน ห้องทางขวามือเป็นห้องกระจกเช่นกัน ปูพรม มีเครื่องปรับอากาศ มีลักษณะเป็นห้องประชุม
คุณวัชรพงษ์ให้คำอธิบายไว้ว่า บริเวณที่เป็นห้องประชุมดังที่เห็นในปัจจุบันนั้น เคยเป็นสถานที่จัดแสดงนิทรรศการวิถีชีวิตไทยพวน ก่อนที่จะมีการโยกย้ายสิ่งของต่าง ๆ ออกไปยังโถงกลางของอาคารดังที่ปรากฏในทุกวันนี้ คุณวัชรพงษ์ให้คำอธิบายว่า ในปัจจุบัน ลูกหลานของคนไทยเชื้อสายไทยพวนพูดภาษาไทยพวนน้อยลง เพราะมีการแต่งงานกับคนภายนอกมากขึ้น
การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์และการแสดงวิถีชีวิตไทยพวน บ้านป่าแดง เพื่อ “ให้ลูกหลานได้ดู” จึงอาศัยข้อมูลจากคนเฒ่าคนแก่ภายในชุมชนจำลองเป็นรูปปั้นแสดงวิถีชีวิตในอดีต ซึ่งคนไทยพวนในตำบลหนองพยอมนั้นเคลื่อนย้ายมาจากจังหวัดลพบุรีราวร้อยปีที่แล้ว ในระยะแรกนั้น มาตั้งถิ่นฐานอยู่ทางคลองห้วยเกตุและมีเพียง 6-7 ครับเรือนเท่านั้น ในปัจจุบัน มีสมาชิกถึง 800 หลังคาเรือน ด้วยเหตุนี้เอง นอกเหนือจากฉากจำลองวิถีชีวิตเพื่อเล่าประวัติของชุมชนแล้ว พิพิธภัณฑ์ยังได้เก็บรวบรวมวัสดุพื้นบ้าน ทั้งการหาปลา การเกษตร การทอผ้า และการละเล่นในอดีตไว้ด้วย
แม้สิ่งจัดแสดงได้รับการเคลื่อนย้ายมาจากตำแหน่งเดิม ซึ่งเป็นห้องประชุมในปัจจุบัน แต่พอบอกเล่าเรื่องราวของคนไทยพวน ตำบลหนองพยอมได้ไม่มากก็น้อย จุดเด่นสำคัญคือ หุ่นจำลอง ที่ประกอบด้วยฉากตอนสำคัญ ทั้ง 5 ฉาก ได้แก่
- ฉากของหญิงทอผ้าและปั่นฝ้าย ผ้าทอในตำบลหนองพยอมนับเป็นผลิตภัณฑ์สำคัญของชุมชนจนมีชื่อเสียงและเป็นที่เรียกกันติดปากว่า “ผ้าทอป่าแดง” ในฉากดังกล่าว ยังมีผ้าที่ทอเป็นผืนยาวและม้วนไว้ขนาดใหญ่ที่กลุ่มแม่บ้านในชุมชนร่วมกันทอเป็นผ้าทอยาวที่สุดในโลก (1,939 เมตร) ตามโครงการ “ทอผ้าป่าแดง พัสตราภรณ์ 1939”
- ฉากการรักษาพื้นบ้าน ที่กล่าวถึงหมอยาต้ม หมอฝนยา หมอยาต้ม และหมอนวด ที่เคยมีบทบาทสำคัญในชุมชน นำเสนอด้วยหุ่นชายเปลือยท่อนบน นั่งฝนยาอยู่บนแคร่
- ฉากการละเล่นพื้นบ้าน รูปแสดงด้วยเด็ก ๆ สามคน เล่นม้าก้านกล้วย โดยมีผูกจุกไว้ และใกล้กับฉากหญิงปั่นฝ้าย ยังปรากฏเด็กน้อยมีอีกคนหนึ่งที่เดินบนกะลา
- ฉากครอบครัว พ่อ แม่ และลูก นั่งสนทนากันบนแคร่
- ฉากร่อนเปลือกข้าว หญิงแต่งกายด้วยซิ่นและเสื้อคอกระเช้า ถือกระด้งร่อนเปลือกข้าว ใกลกันนั้นมีอุปกรณ์เกี่ยวกับการทำนำ เช่น สีฝัด ไสะข้าว” สำหรับสาดเปลือกข้าวแยกออกจากเม็ดข้าว ครกไม้และสากตำข้าว
จากฉากการจัดแสดงหลัก สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ได้รับการจัดไว้เป็นหมวดหมู่บนชั้นเหล็กและในตู้ไม้บานกระจก โดยพอจะแบ่งเป็นหมวดต่าง ๆ ประกอบด้วย เครื่องจักสาน เช่น หวดที่ใช้นึ่งข้าวเหนียว อุปกรณ์ทอผ้า และทอเสื่อเช่น ฟืม เครื่องปั้นดินเผา เช่น เต้าปูน เครื่องไม้ เช่น เชี่ยนหมากและแอกวัวควาย เครื่องหิน เช่น โม้หิน เครื่องกระเบื้อง เช่น แจกัน คนโทน้ำ เครื่องแก้ว เช่น ขวดน้ำทรงกระบอกสูงราวฟุตครึ่ง ปากแคบ และมีมุมหนึ่งจัดเป็นฉากที่มีจระเข้ที่อยู่บนพื้นกรวด โดยมีเครื่องปั้นดินเผาวางเรียงรายเป็นฉากหลัง
นอกจากนี้ ยังมีป้ายไวนิลตัดเย็บเป็นลักษณะของธงญี่ปุ่นแขวนไว้บนเสาเหล็ก ทางมุมหนึ่งของห้องโถง เนื้อหาต่าง ๆ บนป้ายไว้นิลบอกเล่าถึงประเพณี เช่น การละเล่นนางกวัก ถ้อส้าว ซึ่งเป็นการละเล่นในพิธีกำฟ้า การละเล่นขี้ม้าหลังโป่ะ คล้ายกับการทอยลูกช่วง เนื้อหาระบุถึงเป้าหมายของการละเล่น สมาชิกที่ร่วมเล่น และลำดับการทำกิจกรรม เป็นต้น และอาหารสำคัญ ๆ ที่แสดงความเป็นเอกลักษณ์ของไทยพวน อาทิ ขนมกงแหน ขนมข้าวโล้ง (หรือข้าวเหนียวเปียก) ข้าวจี่ ข้าวเกรียบว่าว ทั้งหมดจะแสดงให้เห็นส่วนประกอบและขั้นตอนการทำ
คงเป็นเรื่องที่ต้องติดตามว่าในอนาคต การฟื้นฟูพิพิธภัณฑ์และการแสดงวิถีชีวิตของชาวไทยพวน ตำบลหนองพยอม จะได้รับการพัฒนาไปในทิศทางใด เพราะคุณวัชรพงษ์กล่าวถึงโครงการของบประมาณและการปรับปรุงของเทศบาลอยู่ในระหว่างดำเนินการ ให้กลับไปมีความคึกคักมากเทียมเท่ากับทศวรรษที่แล้ว ที่มีกลุ่มศึกษาดูงานจำนวนไม่น้อยเดินทางเข้ามารู้จักไทยพวน วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของชาวบ้านป่าแดง
มากไปกว่านั้นสถานที่แห่งนี้สามารถเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ ในชุมชนได้อีก ไม่ไกลจากสถานที่ตั้งของเทศบาลตำบลหนองพยอม ปรากฏ “ศูนย์สืบสานภูมิปัญญาไทยบ้านป่าแดง” ที่เป็นโรงเรือนในการรวมกลุ่มแม่บ้าน “ทอผ้าป่าแดง” ที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ราว พ.ศ.2540 โดยมีผลงานต่าง ๆ ของกลุ่มแม่บ้านที่ได้รับรางวัลการันตีตลอดระยะทศวรรษ 2540 หลายรางวัล.
วัชรพงษ์ บุญหนุน, เทศบาลตำบลหนองพยอม อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร, วันที่ 28 กันยายน 2561.
จ. พิจิตร
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
พิพิธภัณฑ์และการแสดงวิถีชีวิตของชาวไทยพวน
อาคารพิพิธภัณฑ์และการจัดแสดงวิถีชีวิตของชาวไทยพวน ตั้งอยู่บริเวณเทศบาลตำบลหนองพยอม อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร แห่งนี้ ได้รับการจัดตั้งในช่วงเวลาเดียวกับที่ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน พ.ศ. 2540 ที่ส่งเสริมการปกครองในระดับท้องถิ่น หนึ่งในบทบาทสำคัญคือ “การทำนุศิลปวัฒนธรรม” องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นหลายแห่งจัดตั้งสถานที่ ในรูปแบบของพิพิธภัณฑ์หรือศูนย์วัฒนธรรมเพื่อบอกเล่าถึงประวัติความเป็นมาของชุมชน รวบรวมข้าวของเครื่องใช้พื้นบ้าน และจัดงานประเพณีที่ให้คำนิยามว่า “เป็นการสืบสานวัฒนธรรม”
ในช่วงเวลานั้น เทศบาลตำบลหนองพยอมเพิ่งได้รับการจัดตั้งขึ้นในฐานะ “องค์การบริหารส่วนตำบลหนองพยอม” ก่อนที่จะยกระดับเป็นเทศบาลในระยะต่อมาราว พ.ศ. 2551 วัชรพงษ์ บุญหนุน ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า อบต. หนองพยอมกำหนดงบประมาณขึ้นเพื่อจัดสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์เป็นการเฉพาะ โดยสภาพที่เห็นในปัจจุบันนั้น เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก มีการยกพื้นสูงเป็นใต้ถุนสำหรับใช้ประโยชน์ด้านล่างเหมือนเรือนพื้นถิ่น มีอาคารขึ้นจากฝั่งซ้ายและฝั่งขวาของอาคาร
อาคารด้านบนแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่ บริเวณโถงกลางซึ่งจะวางสิ่งจัดแสดงต่าง ๆ ครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งหมดของห้อง ห้องทางซ้ายมือเป็นห้องกระจกปิดมีเครื่องปรับอากาศ ในวันที่สำรวจ มีชั้นเรียนสอนภาษาอังกฤษ ให้กับสมาชิกชุมชนผู้อาวุโสได้เรียนบทสนทนาพื้นฐาน ห้องทางขวามือเป็นห้องกระจกเช่นกัน ปูพรม มีเครื่องปรับอากาศ มีลักษณะเป็นห้องประชุม
คุณวัชรพงษ์ให้คำอธิบายไว้ว่า บริเวณที่เป็นห้องประชุมดังที่เห็นในปัจจุบันนั้น เคยเป็นสถานที่จัดแสดงนิทรรศการวิถีชีวิตไทยพวน ก่อนที่จะมีการโยกย้ายสิ่งของต่าง ๆ ออกไปยังโถงกลางของอาคารดังที่ปรากฏในทุกวันนี้ คุณวัชรพงษ์ให้คำอธิบายว่า ในปัจจุบัน ลูกหลานของคนไทยเชื้อสายไทยพวนพูดภาษาไทยพวนน้อยลง เพราะมีการแต่งงานกับคนภายนอกมากขึ้น
การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์และการแสดงวิถีชีวิตไทยพวน บ้านป่าแดง เพื่อ “ให้ลูกหลานได้ดู” จึงอาศัยข้อมูลจากคนเฒ่าคนแก่ภายในชุมชนจำลองเป็นรูปปั้นแสดงวิถีชีวิตในอดีต ซึ่งคนไทยพวนในตำบลหนองพยอมนั้นเคลื่อนย้ายมาจากจังหวัดลพบุรีราวร้อยปีที่แล้ว ในระยะแรกนั้น มาตั้งถิ่นฐานอยู่ทางคลองห้วยเกตุและมีเพียง 6-7 ครับเรือนเท่านั้น ในปัจจุบัน มีสมาชิกถึง 800 หลังคาเรือน ด้วยเหตุนี้เอง นอกเหนือจากฉากจำลองวิถีชีวิตเพื่อเล่าประวัติของชุมชนแล้ว พิพิธภัณฑ์ยังได้เก็บรวบรวมวัสดุพื้นบ้าน ทั้งการหาปลา การเกษตร การทอผ้า และการละเล่นในอดีตไว้ด้วย
สภาพการจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์
แม้สิ่งจัดแสดงได้รับการเคลื่อนย้ายมาจากตำแหน่งเดิม ซึ่งเป็นห้องประชุมในปัจจุบัน แต่พอบอกเล่าเรื่องราวของคนไทยพวน ตำบลหนองพยอมได้ไม่มากก็น้อย จุดเด่นสำคัญคือ หุ่นจำลอง ที่ประกอบด้วยฉากตอนสำคัญ ทั้ง 5 ฉาก ได้แก่
- ฉากของหญิงทอผ้าและปั่นฝ้าย ผ้าทอในตำบลหนองพยอมนับเป็นผลิตภัณฑ์สำคัญของชุมชนจนมีชื่อเสียงและเป็นที่เรียกกันติดปากว่า “ผ้าทอป่าแดง” ในฉากดังกล่าว ยังมีผ้าที่ทอเป็นผืนยาวและม้วนไว้ขนาดใหญ่ที่กลุ่มแม่บ้านในชุมชนร่วมกันทอเป็นผ้าทอยาวที่สุดในโลก (1,939 เมตร) ตามโครงการ “ทอผ้าป่าแดง พัสตราภรณ์ 1939”
- ฉากการรักษาพื้นบ้าน ที่กล่าวถึงหมอยาต้ม หมอฝนยา หมอยาต้ม และหมอนวด ที่เคยมีบทบาทสำคัญในชุมชน นำเสนอด้วยหุ่นชายเปลือยท่อนบน นั่งฝนยาอยู่บนแคร่
- ฉากการละเล่นพื้นบ้าน รูปแสดงด้วยเด็ก ๆ สามคน เล่นม้าก้านกล้วย โดยมีผูกจุกไว้ และใกล้กับฉากหญิงปั่นฝ้าย ยังปรากฏเด็กน้อยมีอีกคนหนึ่งที่เดินบนกะลา
- ฉากครอบครัว พ่อ แม่ และลูก นั่งสนทนากันบนแคร่
- ฉากร่อนเปลือกข้าว หญิงแต่งกายด้วยซิ่นและเสื้อคอกระเช้า ถือกระด้งร่อนเปลือกข้าว ใกลกันนั้นมีอุปกรณ์เกี่ยวกับการทำนำ เช่น สีฝัด ไสะข้าว” สำหรับสาดเปลือกข้าวแยกออกจากเม็ดข้าว ครกไม้และสากตำข้าว
จากฉากการจัดแสดงหลัก สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ได้รับการจัดไว้เป็นหมวดหมู่บนชั้นเหล็กและในตู้ไม้บานกระจก โดยพอจะแบ่งเป็นหมวดต่าง ๆ ประกอบด้วย เครื่องจักสาน เช่น หวดที่ใช้นึ่งข้าวเหนียว อุปกรณ์ทอผ้า และทอเสื่อเช่น ฟืม เครื่องปั้นดินเผา เช่น เต้าปูน เครื่องไม้ เช่น เชี่ยนหมากและแอกวัวควาย เครื่องหิน เช่น โม้หิน เครื่องกระเบื้อง เช่น แจกัน คนโทน้ำ เครื่องแก้ว เช่น ขวดน้ำทรงกระบอกสูงราวฟุตครึ่ง ปากแคบ และมีมุมหนึ่งจัดเป็นฉากที่มีจระเข้ที่อยู่บนพื้นกรวด โดยมีเครื่องปั้นดินเผาวางเรียงรายเป็นฉากหลัง
นอกจากนี้ ยังมีป้ายไวนิลตัดเย็บเป็นลักษณะของธงญี่ปุ่นแขวนไว้บนเสาเหล็ก ทางมุมหนึ่งของห้องโถง เนื้อหาต่าง ๆ บนป้ายไว้นิลบอกเล่าถึงประเพณี เช่น การละเล่นนางกวัก ถ้อส้าว ซึ่งเป็นการละเล่นในพิธีกำฟ้า การละเล่นขี้ม้าหลังโป่ะ คล้ายกับการทอยลูกช่วง เนื้อหาระบุถึงเป้าหมายของการละเล่น สมาชิกที่ร่วมเล่น และลำดับการทำกิจกรรม เป็นต้น และอาหารสำคัญ ๆ ที่แสดงความเป็นเอกลักษณ์ของไทยพวน อาทิ ขนมกงแหน ขนมข้าวโล้ง (หรือข้าวเหนียวเปียก) ข้าวจี่ ข้าวเกรียบว่าว ทั้งหมดจะแสดงให้เห็นส่วนประกอบและขั้นตอนการทำ
คงเป็นเรื่องที่ต้องติดตามว่าในอนาคต การฟื้นฟูพิพิธภัณฑ์และการแสดงวิถีชีวิตของชาวไทยพวน ตำบลหนองพยอม จะได้รับการพัฒนาไปในทิศทางใด เพราะคุณวัชรพงษ์กล่าวถึงโครงการของบประมาณและการปรับปรุงของเทศบาลอยู่ในระหว่างดำเนินการ ให้กลับไปมีความคึกคักมากเทียมเท่ากับทศวรรษที่แล้ว ที่มีกลุ่มศึกษาดูงานจำนวนไม่น้อยเดินทางเข้ามารู้จักไทยพวน วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของชาวบ้านป่าแดง
มากไปกว่านั้นสถานที่แห่งนี้สามารถเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ ในชุมชนได้อีก ไม่ไกลจากสถานที่ตั้งของเทศบาลตำบลหนองพยอม ปรากฏ “ศูนย์สืบสานภูมิปัญญาไทยบ้านป่าแดง” ที่เป็นโรงเรือนในการรวมกลุ่มแม่บ้าน “ทอผ้าป่าแดง” ที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ราว พ.ศ.2540 โดยมีผลงานต่าง ๆ ของกลุ่มแม่บ้านที่ได้รับรางวัลการันตีตลอดระยะทศวรรษ 2540 หลายรางวัล.
สัมภาษณ์
วัชรพงษ์ บุญหนุน, เทศบาลตำบลหนองพยอม อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร, วันที่ 28 กันยายน 2561.
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
ไทยพวน
พิพิธภัณฑ์ไทดำไผ่รอบ
จ. พิจิตร
พิพิธภัณฑ์ปลาน้ำจืด กรมประมง จังหวัดพิจิตร
จ. พิจิตร
พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งเมืองพิจิตร หลวงพ่อเงิน
จ. พิจิตร