พิพิธภัณฑ์ปลาน้ำจืด กรมประมง จังหวัดพิจิตร


พิพิธภัณฑ์ปลาน้ำจืดหรือสถานแสดงพันธุ์ปลาเฉลิมพระเกียรติ กรมประมงได้จัดสร้างในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ ของรัชกาลที่ 9 โดยอยู่ในความดูแลของศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพิจิตร ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนแรกคืออาคารเฉลิมพระเกียรติ สร้างเป็นรูป 9 แฉก ยื่นไปในบึงสีไฟ ภายในประกอบด้วยตู้แสดงพันธุ์ปลา จำนวน 12 ตู้ จัดแสดงพันธุ์ปลาแปลก ๆ ที่หายากและมีค่า ตรงกลางของตัวอาคารเป็นช่องเปิดสำหรับชมปลาในบึงสีไฟ ส่วนที่สองเป็นสะพานทอดไปสู่อาคาร ยาว 60 เมตร

ที่อยู่:
บึงสีไฟ ต.ท่าหลวง อ.เมือง จ.พิจิตร 66000
โทรศัพท์:
0-5661-6305
วันและเวลาทำการ:
เปิดจันทร์-ศุกร์ 09.00-18.00 น.และเสาร์-อาทิตย์ 09.00-19.00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2530
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์ปลาน้ำจืด กรมประมง จังหวัดพิจิตร

พิพิธภัณฑ์ปลาน้ำจืด กรมประมง จังหวัดพิจิตร จัดสร้างขึ้นเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสพระชนมายุครบ 5 รอบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกต่อการอนุรักษ์ของจังหวัดพิจิตรที่มีแหล่งน้ำทางธรรมชาติที่สำคัญ คือบึงสีไฟ อันเป็นแหล่งปลาน้ำจืดที่สำคัญและมีขนาดใหญ่พื้นที่ราว 18,000 ไร่ ครอบคลุมต่อเนื่องในเขตตำบลท่าหลวง ตำบลคลองคะเขนทร์ ตำบลโรงช้าง และตำบลเมืองเก่า

พิพิธภัณฑ์ปลาน้ำจืด กรมประมง จังหวัดพิจิตร เริ่มเปิดเป็นทางการเมืองวันที่ 4 กันยายน พ.ศ.2530 อาคารพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ภายในบึงสีไฟ รูปทรงอาคารเป็นทรงเก้าเหลี่ยม โดยมีทางเดินเป็นสะพานต่อเนื่องเข้าสู่อาคาร ภายในส่วนจัดแสดงที่เป็นโถงกว้าง ขนาด 400 ตารางเมตร ผนังห้องแต่ละเหลี่ยมเจาะตู้ปลา ภายในเลี้ยงปลาน้ำจืดสายพันธุ์ที่หายากของไทย จำนวน 12 ตู้ ตรงกลางของอาคารเจาะพื้นที่เป็นช่องเก้าเหลี่ยม ล้อมด้วยลูกกรงไม้ ผู้เข้าชมสามารถมองเห็นพื้นน้ำเบื้องล่างใต้อาคาร และให้อาหารปลาที่มีเป็นจำนวนมากในบึงสีไฟได้ ภายในอาคารยังแบ่งพื้นที่เป็นส่วนจำหน่ายอาหารปลาและของที่ระลึก ซึ่งเป็นรายได้อย่างหนึ่งของพิพิธภัณฑสถานแห่งนี้ ด้านนอก จัดแสดงสัตว์สตัฟฟ์ประเภทจระเข้ เต่า ที่พบในเขตจังหวัดพิจิตร ผนังตกแต่งด้วยกระเบื้องเคลือบลายนูนต่ำเกี่ยวกับเรื่องราวในวรรณกรรม พื้นบ้านเรื่องไกรทองและเรื่องประเพณีไทย

ข้อมูลจาก: กรมศิลปากร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. นามานุกรมพิพิธภัณฑสถานในประเทศไทย ภาคเหนือ เล่ม 2. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2546. หน้า 40.
ชื่อผู้แต่ง:
-