พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านอาจารย์ศรี ธมฺมปาโล วัดโคกเหรียง


พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน อาจารย์ศรี ธมฺมปาโล ตั้งอยู่ที่วัดโคกเหรียง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา ตัวพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ที่อุโบสถหลังเก่าวัดโคกเหรียง ซึ่งก่อสร้างในสมัย พระอธิการศรี ธมฺมปาโล ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสสมัยนั้น ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ.2479 ในการก่อสร้างได้รับความร่วมมือจากพระ ชาวบ้าน ช่วยกันจัดหาเช่น หิน ทราย ไม้ ส่วนเหล็ก ซื้อจากตัวเมืองอำเภอหาดใหญ่ ส่วนกระเบื้องสั่งซื้อจากประเทศญี่ปุ่น สร้างโดยนายช่างชื่นและนายช่างชม บ้านควนเพ็ง จังหวัดพัทลุง สร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2482 ในปี พ.ศ.2528 พระครูกิติยารักษ์สมัยนั้นได้สร้างอุโบสถหลังใหม่ เพราะหลังเก่าทรุดโทรมมากแล้วเป็นอันตรายต่อพระสงฆ์และบุคคลทั่วไป ต่อมาพระครูโสภณคณาภิบาลได้ดำเนินการสร้างต่อจนแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2549 ได้มีการประชุมเกี่ยวกับอุโบสถหลังเก่า ที่ประชุมมีมติให้ปรับปรุงใช้เป็นที่ทำการพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านชื่อว่า “พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านอาจารย์ศรี ธมฺมปาโล”

ที่อยู่:
วัดโคกเหรียง เลขที่ 76 หมู่ 2 ต.โคกม่วง อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา 90230
โทรศัพท์:
081-9599628, 087-2881087 (ผู้ใหญ่บ้าน)
วันและเวลาทำการ:
09.00-15.00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2549
ของเด่น:
พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร, ตะเกียงสัญญาณรถไฟ, ไซพวย
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์วัดโคกเหรียง

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน อาจารย์ศรี ธมฺมปาโล ตั้งอยู่ที่วัดโคกเหรียง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา ตัวพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ที่อุโบสถหลังเก่าวัดโคกเหรียง ซึ่งก่อสร้างในสมัย พระอธิการศรี ธมฺมปาโล ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสสมัยนั้น ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ.2479 ในการก่อสร้างได้รับความร่วมมือจากพระ ชาวบ้าน ช่วยกันจัดหาเช่น หิน ทราย ไม้ ส่วนเหล็ก ซื้อจากตัวเมืองอำเภอหาดใหญ่ ส่วนกระเบื้องสั่งซื้อจากประเทศญี่ปุ่น สร้างโดยนายช่างชื่นและนายช่างชม บ้านควนเพ็ง จังหวัดพัทลุง สร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2482 ในปี พ.ศ.2528 พระครูกิติยารักษ์สมัยนั้นได้สร้างอุโบสถหลังใหม่ เพราะหลังเก่าทรุดโทรมมากแล้วเป็นอันตรายต่อพระสงฆ์และบุคคลทั่วไป ต่อมาพระครูโสภณคณาภิบาลได้ดำเนินการสร้างต่อจนแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2549

ได้มีการประชุมเกี่ยวกับอุโบสถหลังเก่า ที่ประชุมมีมติให้ปรับปรุงใช้เป็นที่ทำการพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านชื่อว่า “พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านอาจารย์ศรี ธมฺมปาโล”

คุณค่า

1. เป็นที่เก็บเอกสารโบราณ เช่น หนังสือสมุดไทย คัมภีร์ใบลาน

2. เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันในอดีต เครื่องจักรสาน เครื่องมือจับสัตว์ต่าง ๆ

3. เครื่องดินเผาของไทยและของชาวต่างประเทศ

4. อาวุธโบราณ เช่น กริช ปืนยาว มีด ขวาน เครื่องเป่าลูกดอก

5. จำลองครัวสมัยก่อน มีภาชนะหม้อดินถ้วยชาม ช้อน จาน ฯลฯ

วัตถุประสงค์ของพิพิธภัณฑ์

1.      เป็นแหล่งเรียนรู้แก่ชุมชนทุกเพศทุกวัยตลอดชีวิต รวมถึงชนต่างชาติด้วย

2.      สามารถนำภูมิปัญญานี้มาปรับใช้กับชีวิตประจำวัน การแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม

3.   เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการร่วมกันพัฒนาภูมิปัญญาวัฒนธรรมให้เป็นพลังของสังคมไทยในการดำรงอยู่ในประชาคมโลก

4.      เพื่อให้ทุกคนได้เกิดความตระหนัก เห็นคุณค่าของโบราณวัตถุ โบราณสถาน ในการสืบค้นชาติพันธุ์ของบรรพบุรุษ เกิดความรัก ความสามัคคีของชุมชน

5.      เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สามารถสร้างรายให้กับชุมชนต่อไปในอนาคตอย่างยั่งยืน

ที่มา: https://www.sac.or.th/exhibition/lmf2017/?p=90

ชื่อผู้แต่ง:
วัดโคกเหรียง